เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 1532 ตอร์ปิโด
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


 เมื่อ 11 ก.พ. 20, 15:40

ในสมัยร.๕ มีคำว่า "ตอร์ปิโด" ซึ่งในราชกิจจานุเบกษาระบุว่ามีคนนำ "ตอร์ปิโด" มาแสดง
ให้ทอดพระเนตรที่บางปะอิน และใช้ "ตอร์ปิโด"ในการปิดปากน้ำในตอนร.ศ. ๑๑๒
คำถามก็คือ อะไรคือ"ตอร์ปิโด"ครับ มันคือทุ่นระเบิดใช่ไหมครับ มันทำงานอย่างไรครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 ก.พ. 20, 20:56

ตอร์ปิโดในสมัยรัชกาลที่ ๕ ไม่ใช่อาวุธที่ใช้ยิงจากเรือดำน้ำ แต่เป็นทุ่นระเบิดใต้น้ำที่จุดชนวนให้ระเบิดด้วยไฟฟ้า ต้องต่อสายไฟไปยังตู้ควบคุมที่ติตั้งอยู่บนบก หรือในแพในเรือสุดแล้วแต่ หน้าตาคล้าย ๆ กับในภาพ พระเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จไปทอดพระเนตรที่ทหารเรือจัดการทดลองถวายแล้ว ทรงพอพระทัย สั่งการให้ติดให้ครบตามตำแหน่ง ประมาณสามสิบกว่าจุด

ระเบิดเหล่านี้ประดิษฐ์ขึ้นเองจากถังน้ำมันเหล็กที่ใช้แล้ว ผู้อาสาเป็นวิศวกรเดนมาร์กชื่อเวสเตนโฮลช์ผู้ประสพความสำเร็จในการติดตั้งโรงไฟฟ้าขึ้นจ่ายกระแสไฟให้กับกิจการเดินรถราง และต่อมาถึงกับขยายกำลังผลิตเพื่อให้บริการบ้านเรือนในกรุงเทพด้วย

แม้จะเป็นพระราชกระแสรับสั่ง แต่ดินปืน ชนวน และสายไฟฟ้าชนิดกันน้ำที่ต้องสั่งจากสิงคโปรกว่าจะเดินทางมาถึงและส่งมายังสถานที่ทำงาน ก็มีเวลาผลิตระเบิดถังแค่วันเดียวก่อนที่เรือรบฝรั่งเศสจะมาถึง ทั้งได้น้อยกว่าปริมาณที่ขอไปมาก ถึงกระนั้นเวสเตนโฮลช์และเรือเอกคริตสมาศก็ช่วยกันทำได้ในวันแรกถึง ๑๖ ลูก แล้วนำใส่เรือเล็กไปติดตั้งไว้ในแม่น้ำระหว่างพระสมุทรเจดีย์ถึงเมืองปากน้ำ ระเบิดถัง (ผมน่าจะเรียกอย่างนี้นะ) ทั้งหมดได้ถูกต่อสายไปยัง ๔ สถานี เวสเตนโฮลช์ประจำอยู่ที่สถานีหนึ่งซึ่งเป็นเรือนำร่องเก่า ๆ และหงุดหงิดไม่หายที่ต้องลดปริมาณดินปืนไปครึ่งหนึ่งของที่ควรจะเป็น ร้อยเอกคริตสมาสเป็นผู้อธิบายวิธีทำงานให้กับคนเดนมาร์กด้วยกันที่มาจากกรมแผนที่ซึ่งน้องชายของนายพลริชลิวทำงานอยู่ และอาสาเป็นผู้ควบคุมสวิตช์ระเบิด เสร็จแล้วพวกนั้นขอตัวไปทานอาหารเย็น ในช่วงที่ยิงกันตูมตามนั้น ไม่มีใครเห็นคนเหล่านั้นกลับมาที่สถานีอีกเลย

เมื่อเรือแองกงสตังต์วิ่งมาถึงตำบลระเบิดที่เวสเตนโฮลช์คุมอยู่ เขาก็สับสวิตช์บังคับให้ระเบิดถังระเบิดขึ้นน้ำกระจายเป็นลำตาล เดนมาร์กว่าเฉียดไปนิดเดียว ฝรั่งเศสบอกระเบิดเร็วกว่าที่เรือจะไปถึงมากไปหน่อย ไทยไม่รู้จะเชื่อใคร

ร้อยเอกคริตสมาสเขียนในรายงานสรรเสริญความมานะพยายามของเวสเตนโฮลช์ และบอกว่าตนเองไม่ควรจะมีความผิดที่ระเบิดถังไม่ได้ผล เพราะได้รับของมาน้อยนิด และกระชั้นชิดเสียจนไม่มีเวลาจะหายใจหายคอ ถ้ามีระเบิดถังสัก ๒๐๐ ลูกรับรองว่าไม่มีใครจะสามารถฝ่าแม่น้ำเข้าไปโดยไม่ได้รับพระบรมราชานุญาต



บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 17 ก.พ. 20, 09:02

ทุกอย่างดูกระชั้นชิดไปหมดเลยนะครับ ปืนก็เพึ่งติดตั้ง ทุ่นระเบิดก็ยังติดไม่ครบ ลูกที่ติดแล้ว มีดินระเบิดไม่เต็มน้ำหนักอีกต่างหาก
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 19 ก.พ. 20, 13:52

ทุกอย่างดูกระชั้นชิดไปหมดเลยนะครับ ปืนก็เพึ่งติดตั้ง ทุ่นระเบิดก็ยังติดไม่ครบ ลูกที่ติดแล้ว มีดินระเบิดไม่เต็มน้ำหนักอีกต่างหาก

ไม่มีเงินมากพอครับ

ป้อมพระจุลฯ​ เริ่มสร้างก่อนฝรั่งเศสจะบุก​ ๑๐​ ปี​ แต่มาเสร็จก่อนวันที่ฝรั่งเศสบุกไม่กี่เดือน​ โดยต้องใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดหาหลายอย่าง

ถ้าดูรายงานประชุมเสนาบดีสภา​ จะเห็นถึงมติของเสนาบดีบางพระองค์ที่ทรงรับสั่งไว้ในทำนองว่า​ "เงินไม่พอ" เพราะมีแนวทางในการต้านการบุกฝรั่งเศสหลายอย่างทั้ง
- ปรับปรุงป้อมแบบโบราณทั้งฝั่งตะวันตกเช่นเมืองสมุทรสาคร​ ฝั่งตะวันออก
- จัดตั้งโรงงานผลิตกระสุน​ ดินระเบิด​ ไว้ใช้เองกันกรณีโดนปิดล้อม
- เกณฑ์ทหารทั้งใน​ และหัวเมืองรอบพระนครราว​ ๆ​ ๗​ หมื่นนาย​ เพื่อเตรียมทำศึกกับฝรั่งเศส
ฯลฯ​ เป็นต้น

ภายหลังเมื่อมีการปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษีใหม่​ ทำให้​ งป.​แผ่นดินเพิ่มขึ้นมหาศาลพอจะปรับปรุงแลจัดซื้อยุทโธปกรณ์ได้มากขึ้นครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง