เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 48
  พิมพ์  
อ่าน: 62269 เกี่ยวกับโคโรนาไวรัส อู่ฮั่น
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 360  เมื่อ 19 เม.ย. 20, 17:19

ไม่ใช่แต่ชาติมหาอำนาจ ที่เร่งเครื่องผลิตวัคซีน ป้องกันโควิด เพราะไทยเอง ก็ร่วมอยู่ในเกมนี้ด้วย

ล่าสุด

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยว่า ขณะนี้ไทยอยู่ระหว่างการผลิตวัคซีนต้านไวรัส COVID -19 โดยมีทีมวัคซีนไทยแลนด์ นำโดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (สวช.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลและเอกชน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลอง

นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (สวช.) กล่าวว่า

ในส่วนการพัฒนาวัคซีนต้านไวรัส COVID -19 ของไทย สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ร่วมมือกับ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เริ่มวิจัยในขั้นห้องทดลอง

ขณะที่ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ เอกชน สามารถเดินหน้าทดลองจากขั้นตอนของห้องทดลองสู่ขั้นของการทดลองในสัตว์แล้ว

นพ.นคร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในไทยหากจะให้เข้าถึงวัคซีนต้านไวรัส COVID -19 หากไทยสามารถทำแผนร่วมมือในการวิจัยและแผนในการถ่ายทอดเทคโนโลยี จะเป็นหนทางในการเข้าถึงวัคซีนโดยเร็วที่สุด พร้อมกันนั้นต้องมีการพัฒนาวัคซีนต้นแบบ ที่ขณะนี้ดำเนินการอยู่เพื่อให้ไทยมีนักวิจัยและโรงงานที่ผลิตวัคซีนที่มีศักยภาพที่ต้องดำเนินการไปพร้อมกัน

นพ.นคร กล่าวว่า ไทยไม่สามารถรอจนกว่าเข้าสู่ภาวะสงบ เนื่องจากต้องรอให้ประชากรมีภูมิคุ้มกันมากกว่าร้อยละ 60 หรืออย่างน้อยประชากร 35 ล้านคน ซึ่งการมีภูมิคุ้มกันต่อโรคไม่ว่าจะด้วยการติดเชื้อตามธรรมชาติหรือวัคซีน หากปล่อยเป็นไปตามธรรมชาติจะสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก

"การรอซื้อวัคซีนโดยไม่ทำอะไรเลยจะทำได้ยากเพราะต้องรอต่อคิวซื้อ การผลิตวัคซีนครั้งแรกที่ได้ผลแล้ว ไม่มีประเทศใดในโลกที่จะผลิตให้เพียงพอต่อคนทั้งโลกได้ การผลิตวัคซีนของไทยได้เริ่มแล้วและควรสร้างโรงงานผลิตวัคซีนที่ได้มาตรฐาน หากทำได้เร็วขึ้นแม้เพียง 1 เดือนก็ถือว่าคุ้มค่า และจะเป็นพื้นฐานในการรับภาวะโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ได้ในอนาคต"

ดร.สุภาพร ภูมิอมร ผู้อำนวยการสถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า การทดลองวิจัยพัฒนาวัคซีนในสัตว์ทดลองมีแล้ว คือที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยขณะนี้ฉีดทดลองในสัตว์ทดลองไปแล้ว 2 ครั้ง สถาบันฯอยู่ระหว่างการตรวจสอบระดับภูมิคุ้มกันว่ามีเพิ่มแค่ไหน

นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ขอให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพิ่มจำนวนไวรัสเพื่อจะนำไปฆ่าเชื้อ เพื่อให้เป็นวัคซีนเชื้อตายเพื่อนำไปทดสอบในสัตว์ทดลอง และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันต่อไป

ขอให้สำเร็จโดยไวครับ
ข้อมูล :



#Covid19thailandfact

บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 361  เมื่อ 20 เม.ย. 20, 15:51



#Covid19thailandfact



ร่วมมือกับจีนครับ
https://www.sanook.com/news/8086711/

ไม่แปลกใจครับที่ต้องคิดเอง  เพราะค่าใช้จ่ายถ้าต้องฉีดวัคซีนให้คนในประเทศ คงอยู่ระดับหมื่นล้านบาทได้ครับ

ถ้านำเข้าอย่างเดียวก็หน้ามืด  

สิ่งที่น่าสนใจคือใช้ได้ครอบคลุมกับทุกสายพันธุ์หรือไม่?

เพราะตอนนี้เชื้อมี ๓ สายพันธุ์เข้าไปแล้ว  กลัวว่าจะเหมือนกรณีไวรัสตับอักเสบครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 362  เมื่อ 20 เม.ย. 20, 18:35

ผมเคยป่วยด้วยโรคที่เรียกว่า Lymphoma (มะเร็งต่อมน้ำเหลือง) ซึ่งแสดงอาการออกในบริเวณที่เรียกว่า Nasopharynx (โพรงจมูก) รักษาหายมา 5 ปีแล้ว ก็เข้าใจว่าน่าจะมีโอกาสหายถาวรได้ รักษาด้วยการฉายแสงแต่เพียงอย่างเดียว ผลข้างเคียงที่สำคัญก็คือ มันไปยังให้เกิดความไม่สมบูรณ์ของระบบที่เกี่ยวกับสารคัดหลั่งในโพรงจมูก  ก็เลยให้ความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการเจ็บป่วยอันเนื่องด้วยเชื้อ Covid-19 ด้วยจะต้องระวังตัวเองมากเป็นพิเศษ   

ติดตามอ่านข่าวสารต่างๆเกี่ยวกับเรื่อง Covid-19 ทั้งด้านการแพทย์และการวิจัย    ตั้งแต่แรกที่เป็นข่าวตลอดมาจนในปัจจุบัน เรื่องราวต่างๆจะเน้นไปในเรื่องที่ปอดถูกทำลายและผู้ตายมีโรคประจำตัว  แล้วต่อมาก็มีข่าวเล็กๆว่า มีหมู่บ้านในอิตาลีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขาสูงปราศจากผู้ติดเชื้อ ว่าอาจจะช่วยให้วงการวิจัยทางการแพทย์และสาธาณสุขได้มีความเข้าใจอะไรต่อมิอะไรมากขึ้น ซึ่งอาจจะนำไปสู่การป้องกัน (environment ต่างๆ) และกระบวนการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ตอนนี้ ดูเหมือนว่าจะมีความเห็นและการวิจัยที่ไปในทางเดียวกันว่า เชื้อตัวนี้ไปทำให้เม็ดเลือดแดงหมดประสิทธิภาพในการนำพา Oxygen ไปให้เซลต่างๆในร่างกาย  ยังผลให้อวัยวะหลายอย่างในร่างกายด้อยสภาพในการทำงาน  ผมเลยคิดเอาเองว่า มิน่าเล่า ผู้เสียชีวิตทั้งหลายส่วนมากจะเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว

เลยขอทราบความเห็นของท่านที่เป็นแพทย์ด้วยครับ 

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12602



ความคิดเห็นที่ 363  เมื่อ 21 เม.ย. 20, 10:05

โควิด-๑๙ : ไม่ใช่แค่ปอด แต่เข้าถึงหัวใจ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ทำลายอวัยวะอื่น ๆ ในบางกรณีได้อย่างไร

แม้จะทราบกันดีว่าโรคทางเดินหายใจโควิด-๑๙ ที่กำลังแพร่ระบาดหนัก สร้างความเสียหายให้กับปอดเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังมีอวัยวะอื่น ๆ ที่ถูกทำลายไปด้วยในบางกรณีและเป็นเหตุให้ถึงแก่ชีวิตได้

รายงานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ JAMA Cardiology เผยว่ามีผู้ป่วยโรคโควิด-๑๙ ที่หัวใจได้รับความเสียหายมากถึง ๑ ใน ๕ ของผู้ป่วยทั้งหมดในเมืองอู่ฮั่นของจีน ผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหลายคน ไม่ได้มีประวัติอาการของโรคหัวใจมาก่อน

นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังไม่ทราบถึงสาเหตุแน่ชัดที่ทำให้โรคโควิด-๑๙ สามารถเข้าทำลายหัวใจได้ แต่มีการสันนิษฐานไว้สามกรณีด้วยกันคือ ๑) หัวใจล้มเหลวเพราะทำงานหนักในการสูบฉีดเลือดให้ร่างกายที่ขาดออกซิเจน ๒) ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ SARS-CoV-2 เข้าไปทำลายเซลล์หัวใจโดยตรง ๓) ภูมิคุ้มกันร่างกายเกิดปฏิกิริยาต้านไวรัสอย่างรุนแรงจนทำลายเซลล์หัวใจเสียเอง

สำหรับข้อสันนิษฐานแรกนั้น ผศ.ดร. โมฮัมหมัด มาดจิด จากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งมหาวิทยาลัยเทกซัสของสหรัฐฯ (UTHealth) บอกว่าในกรณีของผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไปนั้น โอกาสที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวจะพุ่งสูงขึ้นกว่าเดิมถึง ๖ เท่า และในการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่หลายครั้งที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตเพราะอาการแทรกซ้อนที่เกิดกับหัวใจมากกว่าจากปอดอักเสบ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่โรคโควิด-๑๙ จะส่งผลลบต่อหัวใจได้เช่นเดียวกัน เพราะการติดเชื้อไวรัสจะไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจ ทำให้หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะและหัวใจวายได้

ส่วนข้อสันนิษฐานที่ว่าไวรัส SARS-CoV-2 อาจเข้าโจมตีเซลล์หัวใจโดยตรงนั้น ดร.อีริน ไมคอส จากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์อธิบายว่า กรณีความเสียหายต่อหัวใจนั้น ส่วนใหญ่จะพบในคนไข้โรคโควิด-๑๙ ที่มีอาการรุนแรง โดยไวรัสที่อยู่ในกระแสเลือดซึ่งไหลเวียนไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สามารถจะเข้าโจมตีอวัยวะใดก็ได้ รวมทั้งหัวใจด้วย
ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่มีโปรตีนที่ส่วนหนาม อันเป็นเสมือน "กุญแจ" ไขประตู ผ่านเข้าสู่เซลล์ปอดและเซลล์หัวใจของคนเราได้ โดยโมเลกุลของโปรตีนอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ACE2 ซึ่งเคลือบอยู่ที่ผิวเซลล์ จะถูกไวรัสแทรกเข้าไปและทำให้มันไม่สามารถทำหน้าที่ปกป้องเซลล์ได้ตามปกติ

ยิ่งไปกว่านั้น ในกรณีที่ภูมิคุ้มกันร่างกายของผู้ป่วยมีปฏิกิริยาตอบโต้ไวรัสอย่างรุนแรง จนหลั่งสารไซโตไคน์ (Cytokine) ที่ทำให้เกิดการอักเสบออกมาในปริมาณมาก หรือที่เรียกว่า "พายุไซโตไคน์" (Cytokine storm) ในขณะที่โปรตีน ACE2 ก็อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถปกป้องเซลล์หัวใจจากการอักเสบได้ สภาพวิกฤตนี้จะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายตกเป็นฝ่ายทำลายอวัยวะสำคัญเสียเอง
"หากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเพราะภูมิคุ้มกันร่างกาย ซ้ำยังถูกไวรัสทำลายจากข้างในเซลล์พร้อมกันด้วย หัวใจก็ไม่อาจจะทำหน้าที่ของมันต่อไปได้" ดร.ไมคอสกล่าว

อย่างไรก็ตาม แพทย์ยังไม่ทราบชัดว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยบางรายมีการทำงานของภูมิคุ้มกันที่รุนแรงเกินปกติ แต่ที่ผ่านมางานวิจัยบางชิ้นชี้ว่าอาจมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม

ดร. ไมคอสยังบอกอีกว่า การรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่หัวใจได้รับความเสียหายนั้นยากมาก เพราะต้องจำแนกให้ได้เสียก่อนว่าแต่ละกรณีได้รับความเสียหายเพราะเหตุใด ถ้ามีการติดเชื้อไวรัสที่หัวใจโดยตรงก็จะต้องใช้ยาต้านเชื้อ แต่ถ้าเกิดจากการอักเสบรุนแรงก็ต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกันร่างกายเข้าช่วย ซึ่งทั้งหมดเป็นการรักษาแบบประคับประคองอาการเท่าที่ทำได้ เนื่องจากยังไม่มียารักษาโรคนี้โดยตรง

ส่วนผู้ที่มีอาการความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคหัวใจชนิดต่างๆ ที่ใช้ยาจำพวก ACE Inhibitors หรือ ARBs ซึ่งยับยั้งการทำงานของโปรตีนต้านการอักเสบที่ผิวเซลล์ ACE2 อยู่นั้น วงการแพทย์ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า ผู้ใช้ยากลุ่มดังกล่าวที่มีความเสี่ยงติดโรคโควิด-๑๙ ควรจะหยุดยาเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลวดีหรือไม่

อย่างไรก็ตาม คำแนะนำล่าสุดจากวิทยาลัยหทัยวิทยาอเมริกัน (American College of Cardiology) และสมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA) ได้ระบุให้ผู้ใช้ยากลุ่มที่อาจมีผลต่อหัวใจหากติดโรคโควิด-๑๙ยังคงรับประทานยาชนิดเดิมอยู่ต่อไป เว้นแต่จะมีคำแนะนำจากแพทย์ประจำตัวเป็นอย่างอื่น

https://www.bbc.com/thai/features-52269322
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 364  เมื่อ 21 เม.ย. 20, 12:20

ถ้าอเมริกาเป็นคนป่วย ก็เป็นคนป่วยที่ไม่ยอมรับการรักษา  แหกคอกออกจากโรงพยาบาลจะกลับบ้านท่าเดียว ทั้งๆอาการก็ยังไม่ทุเลาลง มีแต่จะหนักขึ้น
คนป่วยคนนี้ไม่สนใจด้วยว่าครอบครัวและเพื่อนบ้านจะติดเชื้อหรือไม่

โควิด-19 ทำสหรัฐฯ แตกแยกหนัก! รีพับลิกันนำคนนับพันฮือต้านคำสั่งล็อกดาวน์ผู้ว่าการเดโมแครต
เผยแพร่: 21 เม.ย. 2563 04:15   ปรับปรุง: 21 เม.ย. 2563 09:18   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ฟ็อกซ์นิวส์ - สมาชิกรีพับลิกันนำผู้ประท้วงหลายพันคนชุมนุมบริเวณหน้าศาลาว่าการรัฐวอชิงตันเมื่อวันอาทิตย์ (19 เม.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น เพื่อเรียกร้องให้ เจย์ อินส์ลี ผู้ว่าการรัฐจากเดโมแครตยกเลิกคำสั่งให้หยุดอยู่กับบ้านเพื่อปกป้องพลเมืองจากไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ โดยบางส่วนชูป้ายข้อความสะท้อนคำขวัญย้อนไปในยุุคปฏิวัติอเมริกา “ปลดปล่อยฉัน ไม่อย่างนั้นก็ปล่อยให้ฉันคิดโควิด-19”

อ่านต่อได้ที่
https://mgronline.com/around/detail/9630000041476
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 365  เมื่อ 21 เม.ย. 20, 12:33

ท้ายข่าวข้างบนนี้สรุปสถิติให้ว่า

จนถึงวันจันทร์ (20 เม.ย.) รัฐวอชิงตันพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่แล้ว 11,948 คน ในนั้นเสียชีวิต 634 คน
ส่วนยอดรวมผู้ติดเชื้อทั่วสหรัฐฯ นั้นอยู่ที่ 786,566 คน เสียชีวิต 42,201 คน สูงสุดในโลกทั้ง 2 กรณี


คงมองเห็นได้ไม่ยาก  ว่าเมื่อทรัมป์และพรรครีพับลิกันตัดสินใจเอาเศรษฐกิจนำหน้าสาธารณสุข   คนอเมริกันจำนวนมากจะกลับมาทำงานตามเดิม ดำเนินชีวิตในสังคมแบบไม่มีช่องว่างระหว่างกันเหมือนเดิม    
คนไหนติดเชื้อก็ป่วยตายไป  คนไหนไม่ติดเชื้อก็รอดไป  
ึคนที่กลัวติดเชื้อก็ต้องดิ้นรนหาทางออกกันเอาเอง  เช่นอพยพย้ายถิ่นไปอยู่ในชุมชนที่กลัวติดเชื้อเหมือนกัน เพื่อปกป้องชีวิตตัวเองและลูกหลานให้รอด

ประเทศชาติก็จะดำเนินไปในแบบประชากรค่อยๆร่อยหรอลงไปเรื่อยๆ  แต่ในเมื่ออเมริกามีประชากรจำนวนมหาศาล  คงอีกนานกว่าจะตระหนักถึงการสูญเสียคนในวัยทำงาน ตลอดจนเด็กและเยาวชน   ไม่เฉพาะแต่ผู้สูงอายุซึ่งเป็นประชากรที่ไม่มีผลทางด้านเสริมสร้างเศรษฐกิจเท่าไหร่

ถ้ายุโรปและเอเชียปล่อยให้อเมริกาติดต่อคมนาคมกับทวีปอื่นๆโดยเสรี   โควิดก็จะแพร่ไปทั่วโลกไม่มีทางหาย   จนต้องมี social distancing กับคนอเมริกัน  คือจำกัดคนอเมริกันเข้าประเทศต่างๆ  จะยอมก็ต้องผ่านการคัดกรองอย่างเข้มงวด
ทางรอดของอเมริกามีทางเดียวคือรอวัคซีน เพื่อหยุดยั้งโควิดเท่านั้น  แต่กว่าจะถึงวันนั้น การสูญเสียอาจมากที่สุดตั้งแต่ตั้งประเทศเป็นต้นมา

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 366  เมื่อ 21 เม.ย. 20, 14:52

สุขภาพ มาก่อน เสรีภาพ
ในพจนานุกรม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 367  เมื่อ 21 เม.ย. 20, 15:25

Fear มาก่อน Health ในพจนานุกรมค่ะ
เมื่อถึงกาลวิบัติ สติปัญญาก็ย่อมวิบัติ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 368  เมื่อ 21 เม.ย. 20, 20:20

มีอยู่คำหนึ่งที่ใช้เรียกผู้คนที่มีตวามคิดและพฤติกรรมในลักษณะนี้ว่า พวก Redneck  ก็คือผู้คนที่เห็นว่าคนที่คิดต่างหรือกระทำต่างไปจากตนนั้นไม่ถูกต้องด้วยประการใดทั้งปวง เป็นกลุ่มคนที่ค่อนข้างจะมีจิตใจในลักษณะอารมณ์สองขั้ว (Bipolar) คุ้มดีคุ้มร้าย การแสดงออกต่างๆจะขึ้นอยู่กับระดับการศึกษาและสิ่งแวดล้อมทางสังคมรอบๆตัว  (คนกลุ่มนี้พบได้ในทุกประเทศทั่วโลก)    เป็นประสบการณ์ตรงของผมเมื่อครั้งไปเรียนต่อในรัฐในพื้นที่ๆมีความโด่งดังในเรื่องเหล่านี้   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 369  เมื่อ 21 เม.ย. 20, 20:33

  เผื่อท่านสมาชิกที่ไม่ทราบว่า redneck คืออะไร
  ความหมายของ redneck ตาม Cambridge Dictionary หมายถึง   a poor white person without education, especially one living in the countryside in the southern US, who has prejudiced (= unfair and unreasonable) ideas and beliefs
 
 เชิญคุณตั้งวิสัชนาต่อค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 370  เมื่อ 21 เม.ย. 20, 22:37

ผลงานของพวก redneck ในรัฐเคนตักกี้

จาก FB ของ Covid-19 Thailand FACT
6 ชม. ·
ยอดผู้ติดเชื้อในเคนตักกี้ สหรัฐฯ พุ่งกระฉุด หลังชุมนุมต้านล็อกดาวน์

โดยใน 24 ชั่วโมง พบรวดเดียว 293 เคส ซึ่งถือว่าขึ้นมากที่สุดในรอบ 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่ทำสถิติมา

ส่งผลให้ยอดติดเชื้อของเมืองนี้อยู่ที่ 2,960 ราย

ข้อมูล :

https://www.independent.co.uk/…/ame…/kentucky-a9475236.html…
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12602



ความคิดเห็นที่ 371  เมื่อ 22 เม.ย. 20, 08:37

กลับมาที่บ้านเรา มุมมองที่ดี ๆ ของต่างชาติในการต่อสู้โควิด  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12602



ความคิดเห็นที่ 372  เมื่อ 22 เม.ย. 20, 09:05

ปิดเมืองอย่าปิดนาน
คนในบ้านจะอดตาย
ปิดเมืองต้องมีคลาย
วางแผนไว้ให้เดินตาม


บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 373  เมื่อ 22 เม.ย. 20, 13:02

เผยแพร่: 21 เม.ย. 2563 23:01   ปรับปรุง: 22 เม.ย. 2563 09:41  
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ไต้หวันงานเข้า! ทหารหลายสิบติดเชื้อโควิด-19 ตอนอยู่บนเรือรบ ปล่อยตะลอนไปทั่วเพิ่งเรียกตัวกลับ
https://mgronline.com/around/detail/9630000041894


Text messages warn those who may have brushed shoulders with Panshih crew

บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 374  เมื่อ 22 เม.ย. 20, 14:28

.
เราผ่อนปรนได้ แต่ขอว่า การ์ดห้ามตกนะครับ


Taiwan Navy in hot water after Palau visit, confidential mission in Indo-Pacific

https://www.taiwannews.com.tw/en/news/3919919

The full list of locations where the infected sailors visited

https://www.google.com/maps/d/viewer?mid=1sUZjqrx-c7mnLDGjb0GUhI_Xf4N30wEc&ll=23.828279098560273%2C120.81313825000007&z=8

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 48
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 19 คำสั่ง