เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
อ่าน: 9668 สงครามเวียตนาม
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 24 ก.ค. 20, 19:51

สงครามเวียดนามสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2518 ไม่นานนักเวียดนามก็ก้าวเข้าสู่สังคมโลก ทั้งในด้านทวิภาคิ พหุภาคี รวมทั้งในรูปขององค์กรความร่วมมือหลายฝ่าย (Plurilateral)  องค์กรค์ความร่วมมือระหว่างรัฐ (Intergovernmental ) และอื่นๆ

ผมได้มีส่วนเข้าไปทำงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับงานและตัวผู้แทนของเวียดนามขององค์กรเหล่านั้นในบางเรื่อง ได้รับทราบเรื่องราวบางอย่างที่พอจะนำมาขยายความได้ เป็นฉากหนึ่งในช่วงเวลาของการทำสงครามที่อาจจะเป็นที่น่าสนใจสำหรับบางท่าน   

โปรยประเด็นไว้ก่อนว่าเป็นเรื่องของธรณีวิทยาในการสงคราม จะเรียกว่า Geological Warfare หรือ Geology and Warfare หรือ Military Geology ก็ได้ทั้งนั้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 25 ก.ค. 20, 18:50

ประมาณ 15 ปีต่อมาหลังจากสงคราม เวียดนามก็ได้กลายเป็นประเทศที่ค่อนข้างจะ active ในกิจกรรมต่างๆระหว่างประเทศในภูมิภาค  เวียดนามได้เสนอให้ใช้ประเทศของตนเป็นสถานที่สำหรับการจัดการประชุมนานาๆชาติต่างๆมากมาย 

ก็มีองค์กรหนึ่ง เป็นองค์กรเล็กๆระหว่างรัฐบาลของกลุ่มประเทศที่อยู่รอบๆพื้นที่ทะเลจีนใต้ ชื่อ CCOP ตั้งขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2509 ซึ่งรวมตัวกันเพื่อช่วยกันและกันในการสำรวจ แสวงหา และแบ่งปันข้อมูลพื้นฐานทางวิชาการที่เกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรธรณีในท้องทะเล (ไม่ขยายความต่อนะครับ)   ซึ่งในช่วงเวลาที่สงครามเวียดนามยังไม่ยุตินั้น องค์กรนี้(เวียดนามใต้ในขณะนั้น เป็นสมาชิก) ได้จัดประชุมประจำปีที่กรุงไซ่ง่อนครั้งแรกเมื่อ 2513

หลังสงคราม เวียดนามก็เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของ CCOP ขึ้นอีกครั้งหนึ่งในปี 2535 จัดขึ้นที่ฮานอย ในครั้งนี้ผมได้ไปร่วมและได้ทำหน้าที่เป็นประธานฝ่ายไทยเพื่อส่งมอบภารกิจต่อให้กับฝ่ายเวียดนาม   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 25 ก.ค. 20, 19:58

ตามธรรมเนียมปฏิบัติทั่วๆไปในการประชุมนาๆชาตินั้น ฝ่ายเจ้าภาพเขาจะจัดงานเลี้ยงรับรองแยกออกมาเฉพาะหัวหน้าคณะในลักษณะที่เป็นกันเอง (informal) เรียกกันง่ายๆว่า Head of delegate meeting จัดขึ้นในคืนก่อนวันที่จะมีเริ่มมีการประชุม ในงานครั้งนี้ประธานฝ่ายเวียดนามไม่ได้มาร่วมด้วยเพราะติดภารกิจสำคัญ  (แต่ก็ได้ทราบว่าผู้นั้นคือรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งภายหลังได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี 2540 - 2549)  งานเลี้ยงรับรองเช่นนี้เขาจัดกันเพื่อให้ได้มีการพูดคุยกันแบบค่อนข้างจะเปิดเผยถึงจุดยืนของแต่ละฝ่าย เพื่อจะได้พอมีเวลาไปเตรียมตัวและปรึกษาหารีอกับฝ่ายรัฐของตนเพื่อกำหนดท่าทีสนองตอบต่างๆ  ก็คงพอจะได้เห็นภาพที่มาที่ไปของภาษาดอกไม้ต่างๆในวงการเมืองระหว่างประเทศได้บ้างนะครับ

ก่อนขึ้นเวทีก็ได้มีโอกาสพบกับประธานฝ่ายเวียดนามโดยตรง คุยกันแบบผ่านล่ามแปล  ก็เลยได้รู้ว่าท่านเองเป็นนักธรณีฯ  ท่านเองเป็นผู้ที่เดินสำรวจทำแผนที่ธรณีฯครอบคลุมพื้นที่เวียดนามตอนใต้และเขมรทั้งหมด (ก็ช่วงเวลาที่มีข่าวหนาหนูว่าเวียดนามจะบุกไทยนั้นแหละครับ)   เมื่อพิธีการเป็นทางการบนเวทีเสร็จสิ้นแล้ว จากที่ต้องใช้ล่ามในการสนทนากัน ก็กลายเป็นการใช้ภาษาอังกฤษแบบ well educated ทั้งคำและสำเนียง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 26 ก.ค. 20, 19:07

ช่วงพักการประชุม ก็ได้มีโอกาสเดินชมนิทรรศการและโพสเตอร์ต่างๆซึ่งส่วนมากจะเป็นแผนที่ทางธรณีวิทยาและ Thematic map ต่างๆ    ด้วยที่ตนเองเป็นนักธรณีฯที่ทำงานอยู่ในภาคสนามเป็นหลัก  เมื่อเห็นสิ่งต่างๆที่นำมาแสดง ก็รู้ได้ในทันทีเลยว่าเวียดนามได้ใช้ความรู้ทางธรณีฯอย่างมากมายในระหว่างการสู้รบในสงคราม มีการสำรวจและใช้ประโยชน์ของความรู้ด้านนี้อยู่มากโขตลอดช่วงระยะเวลาของการรบ   

เคยมีความสงสัยบ้างหรือไม่ ว่า กองทัพอเมริกันได้ทิ้งระเบิดจำนวนมหาศาลแต่กลับไม่สามารถหยุดยั้งกิจกรรมที่ใช้ระบบ network ใต้ดินของเวียดนามเหนือได้ ทั้งๆที่มีความรู้(ชั้นสูง) มีเครื่องมือและอุปกรณ์ทางธรณีฟิสิกส์มากมาย ที่จะใช้ในการวัดค่าหาความค่าความผิดปกติหรือค่าเบี่ยงเบนบนผิวโลกต่างๆ เช่น สนามแม่เหล็กโลก ด้วย Magnetometer  ความหนาแน่นของพื้นดิน ด้วย Gravimeter   การนำพาของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำมาก ด้วยเครื่องมือชุดวัด VLF EM   ความร้อน/ความเย็นของพื้นดิน ด้วย Infrared sensor  อุปกรณ์ขยายคลื่น Geophone ... ฯลฯ ซึ่งค่าต่างๆเหล่านี้วัดได้ด้วยทั้งวิธีการบินและการวัดบนพื้นดิน    ความรู้ทางธรณีฯช่วยซ่อนเร้นและลดการสูญเสียได้มากเลยทีเดียว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 26 ก.ค. 20, 20:45

เรื่องธรณีวิทยากับการสงครามนั้น ผมไม่มีความรู้แน่ชัดว่ามีการสอนกันอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในโรงเรียนทหารต่างๆ(ทั่วโลก)หรือไม่  ที่แน่นอนก็มีแต่ว่า มีการนำความรู้มาใช้ในกระบวนยุทธวิธีในการรบในทุกๆสงคราม มากบ้างน้อยบ้าง  ซึ่งทั้งหลายก็เป็นลักษณะเหมือนกับที่เลือกใช้หลักการบางอย่างในตำราพิชัยสงครามของซุ่นวูในการสงครามต่างๆทั่วโลก

เมื่อครั้งที่กำลังเรียน Post Grad. อยู่นั้น ได้รับรู้เรื่องทางวิชาการธรณีต่างที่มีที่มาและมีพัฒนาการโยงกันไปมาระหว่างภาคทฤษฎี/วิชาการ  การทหาร/ความมั่นคง และ ภาควิจัย/พัฒนา  ก็เลยพอจะมีความรู้เกี่ยวกับด้านธรณีฯกับการสงครามอยู่เล็กๆน้อยๆ   แล้วก็เคยได้มีโอกาสรวบรวมความรู้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวไปสอน นนร. แผนที่ และบรรยายในบางหลักสูตรก่อนการเลื่อนระดับชั้นยศทางทหาร

คงจะต้องขอยุติการแทรกเรื่องไว้เพียงเท่านี้ครับ ที่เหลือคงจะต้องเป็นเรื่องเล่าหลังไมค์
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 27 ก.ค. 20, 09:27

ย้อนกลับมาอ่านที่ตนเองได้เขียนไป เกิดความไม่สบายใจ เกรงว่าข้อความที่การเขียนไปนั้นจะสื่อไปว่า ไม่มีความรู้อะไรแล้วไปสอนได้อย่างไร   

หัวข้อหลักที่สอนคือ การใช้แผนที่ในทางธรณีวิทยา เนื้อหาหลักก็คือ ความหมายทางธรณีวิทยาจากแผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map) จากภาพถ่ายทางอากาศ (Aerial photograph)  จากข้อมูลทางธรณีฟิสิกส์ (Geophysical anomaly) ลักษณะของพื้นที่ผิวดิน ใต้ดิน การกำเนิด และคุณสมบัติ (Geomorphology) และการประยุกต์ใช้ความรู้เหล่านั้น  ซึ่งได้แทรกตัวอย่างของการใช้ประโยชน์และศักยภาพอื่นๆในทางการทหารเท่าที่มีปรากฎเพื่อให้เห็นภาพต่างๆ   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง