เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 9581 สงครามเวียตนาม
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 12 ธ.ค. 19, 07:35


สงครามอินโดจีนเฟสสุดท้าย
จบปี​ 2518  ครับ
ไซ่ง่อน​ กับ​ พนมเปญแตก
ถูกยึดโดยเวียดกงและเขมรแดง
อเมริกันถอนทหารออกจากไทย
และนำไปสู่ปฏิกิริยา​ตุลาทมิฬ​ 19
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 12 ธ.ค. 19, 11:50

อเมริกันถอนทหารออกจากไทย
และนำไปสู่ปฏิกิริยา ตุลาทมิฬ 19

เครดิตส่วนหนึ่งสำหรับเรื่องนี้ต้องยกให้ขบวนการนักศึกษาหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ / ก่อนเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙

http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=นักศึกษาเดินขบวนประท้วงที่สถานฑูตสหรัฐอเมริกา



บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 12 ธ.ค. 19, 20:58


"The​ answer, is​ blowin' in​ the​ wind."  Bob  Dylan

ประชาชนชาติใดประท้วงต่อต้านสงครามเวียดนามมากที่สุด? -​--> USA

หลังปี​ 23  ผู้นำนักศึกษากลับออกมาจากป่า
หลายคนไปเรียนต่อที่อเมริกา
กระแสต่อต้านอเมริกาจางลงไป​ เป้าหมายเปลี่ยน
กลับมาก็แบ่งฝ่าย​ ต่อสู้กันทางความคิดต่อไป
หยิบเป้าหมายใหม่ขึ้นมาโจมตีกันอีกเป็นทอดๆ

ปี​ 24-35 ศึกแย่งอำนาจในกองทัพระหว่าง
ศิษย์เก่าสงครามเวียดนาม
จีนมุ่งสู่การเป็นทุนนิยมพรรคเดียว
พคท.ปรับตัวไม่ทันและล่มสลาย
สิงคโปร์พอใจกับการมีฐานทัพสหรัฐในประเทศ
ใช้ประโยชน์จากภูมิยุทธศาสตร์ได้อย่างเต็มที่
เวียดนาม​ ลาว​ กัมพูชา​ พัฒนาการเมืองในประเทศที่มีเสถียรภาพ​ กลับมาเป็นสมาชิกอาเซียนเต็มตัว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 13 ธ.ค. 19, 06:36

"The​ answer, is​ blowin' in​ the​ wind."  Bob  Dylan

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 13 ธ.ค. 19, 07:31

ประชาชนชาติใดประท้วงต่อต้านสงครามเวียดนามมากที่สุด? -​--> USA

เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ ชาวอเมริกันกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คนได้ร่วมชุมนุมประท้วงที่วอชิงตัน ดี.ซี. คัดค้านการร่วมสงครามเวียดนามของสหรัฐ แต่รัฐบาลยังคงเพิกเฉยต่อการเรียกร้อง  หากเสียงคัดค้านสงครามเวียดนามของคนอเมริกันเริ่มดังขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อจำนวนทหารอเมริกันที่ได้รับบาดเจ็บ, สูญเสียอวัยวะ และเสียชีวิต มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงงบประมาณจำนวนมากจากภาษีของพวกเขาที่ใช้ในสงคราม

วันเสาร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๒ ผู้คนกว่า ๕๐๐,๐๐๐ คน ได้มาชุมนุมประท้วงอย่างสันติที่วอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อคัดค้านการส่งทหารอเมริกันไปร่วมสงครามเวียดนาม ประชาชนได้มาออกมารวมตัวกันตั้งแต่ช่วงเย็นวันพฤหัส จำนวนผู้ชุมนุมเพื่อขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดทั้งคืนและวันถัดไป ผู้คนกว่า ๔๐,๐๐๐ คนมารวมตัวกันเพื่อเดินขบวนไปตามถนนเพนซิลเวเนียเพื่อไปยังทำเนียบขาว พร้อมกับการประกาศชื่อทหารที่เสียชีวิตในสงคราม ถึงวันศุกร์  การประท้วงยังคงเป็นไปอย่างสงบแม้เจ้าหน้าที่จะใช้แก๊สน้ำตาเพื่อสลายผู้ชุมนุม ขณะที่โรงเรียนและพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียนเปิดให้พวกเขาได้เขาไปพักผ่อน สุดท้ายประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ก็เริ่มฟังเสียงประชาชน เกิดการผ่อนคลายความตึงเครียดในช่วงสงครามเย็นกับสหภาพโซเวียต และประเทศจีน จนนำไปสู่การถอนตัวออกจากสงครามเวียดนามในที่สุด

https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_41717

ภาพยนตร์เรื่อง Forrest Gump (พ.ศ. ๒๕๓๗) พระเอกของเรื่องที่แสดงโดย ทอม แฮงค์ส ก็อยู่ในเหตุการณ์สำคัญนี้ด้วย  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 13 ธ.ค. 19, 15:41

ฟังอย่างนี้แล้ว ก็ให้ชวนสงสัยนะครับ ในเมื่ออเมริกันไม่เห็นด้วยกับการส่งทหารไปรบในเวียตนาม ทำไมตอนสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามอัฟกานิสถาน ไม่มีชนชาวอเมริกันออกมาคัดค้านบ้างนะ หรือเป็นเพราะว่า ถ้าชนะโอเค ถ้าทำท่าว่าจะไม่ชนะ ถึงค่อยประท้วง

สงครามเวียตนาม จะบอกว่าเป็นสงครามภายในของชนชาวเวียตนามเอง ก็อาจพูดเช่นนั้นได้อยู่ แต่ในเวลานั้น มีเวียตนามเหนือซึ่งมีระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย กับเวียตนามใต้ที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การที่รัฐประชาธิปไตยกำลังจะถูกทำลาย แล้วชาติประชาธิปไตยอื่นๆเข้าไปช่วยเพื่อธำรงรักษาประชาธิปไตยไว้ ทำไมถึงถูกต่อต้านจากประชาชนของประเทศที่รักในประชาธิปไตย ไม่ว่าจะ ไทย หรือ อเมริกา ได้หละครับ

ถ้าเช่นนั้นคราวสงครามเกาหลี รัฐซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตย กำลังจะทำลายรัฐประชาธิปไตยเช่นกัน เหตุใดอเมริกาไม่ปล่อยวางแล้วมองว่าเป็นสงครามรวมชาติเกาหลีบ้าง

ใกล้กว่านั้นคือ ฮ่องกง การที่จีนซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตย พยายามริดรอนเสรีภาพฮ่องกง (ซึ่งเขาเชื่อว่าตัวเขาเป็นประชาธิปไตย) ด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งเบากว่าการกรีฑาทัพเข้ายึดเหมือนคราวเกาหลีหรือเวียตนามเยอะ เมื่ออเมริกาพยายามเข้าแทรกแซงกระบวนการนี้ ทำไมชาวอเมริกัน หรือแม้แต่นักเคลื่อนไหวชาวไทยไม่มีทีท่าจะคัดค้านเลย 
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 13 ธ.ค. 19, 20:23

ใช่สงครามนี้ไหมคะที่ทำให้ไทยต้องรีบพัฒนาภาคอีสานเพื่อกันคอมมิวนิสต์หรือดิฉันจำผิด
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 13 ธ.ค. 19, 20:26

ฟังอย่างนี้แล้ว ก็ให้ชวนสงสัยนะครับ ในเมื่ออเมริกันไม่เห็นด้วยกับการส่งทหารไปรบในเวียตนาม ทำไมตอนสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามอัฟกานิสถาน ไม่มีชนชาวอเมริกันออกมาคัดค้านบ้างนะ หรือเป็นเพราะว่า ถ้าชนะโอเค ถ้าทำท่าว่าจะไม่ชนะ ถึงค่อยประท้วง

สงครามเวียตนาม จะบอกว่าเป็นสงครามภายในของชนชาวเวียตนามเอง ก็อาจพูดเช่นนั้นได้อยู่ แต่ในเวลานั้น มีเวียตนามเหนือซึ่งมีระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย กับเวียตนามใต้ที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การที่รัฐประชาธิปไตยกำลังจะถูกทำลาย แล้วชาติประชาธิปไตยอื่นๆเข้าไปช่วยเพื่อธำรงรักษาประชาธิปไตยไว้ ทำไมถึงถูกต่อต้านจากประชาชนของประเทศที่รักในประชาธิปไตย ไม่ว่าจะ ไทย หรือ อเมริกา ได้หละครับ

ถ้าเช่นนั้นคราวสงครามเกาหลี รัฐซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตย กำลังจะทำลายรัฐประชาธิปไตยเช่นกัน เหตุใดอเมริกาไม่ปล่อยวางแล้วมองว่าเป็นสงครามรวมชาติเกาหลีบ้าง

ใกล้กว่านั้นคือ ฮ่องกง การที่จีนซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตย พยายามริดรอนเสรีภาพฮ่องกง (ซึ่งเขาเชื่อว่าตัวเขาเป็นประชาธิปไตย) ด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งเบากว่าการกรีฑาทัพเข้ายึดเหมือนคราวเกาหลีหรือเวียตนามเยอะ เมื่ออเมริกาพยายามเข้าแทรกแซงกระบวนการนี้ ทำไมชาวอเมริกัน หรือแม้แต่นักเคลื่อนไหวชาวไทยไม่มีทีท่าจะคัดค้านเลย 

ลองแยกดูนะครับ
1.​ Political​ socialization
2.​ Political​ will
3.​ Public​ opinion
4.​ Ideology
5.​ Propaganda
6.​ Ignorance
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 14 ธ.ค. 19, 08:16

บางคำตอบ  ยิงฟันยิ้ม

ทำไม! สหรัฐฯถูกฝ่ายประชาชนต่อต้านสงครามเวียดนาม เพราะอะไร

https://pantip.com/topic/35480797?
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 17 ธ.ค. 19, 11:13

เรื่องราวมหากาพย์ สงครามเวียดนาม นั้น,ซับซ้อนหลากประเด็นหลายแง่มุมมากมาย (เ)กินเวลา
ไม่สามารถ
               แต่วันนี้ ขอแว่บมาเรื่อง เวียดนาม  หรือ  เวียตนาม

               เชื่อว่าคนรุ่นก่อน จะคุ้นเคยกับการสะกดว่า เวียตนาม ตามภาษาอังกฤษ - Vietnam แต่
เมื่อดูในเว็บไซต์ต่างๆ ณ ปัจจุบันนี้จะพบว่ามีแต่ เวียดนาม
               เท่าที่พอจะมีตกค้างเหลืออยู่ให้สืบค้น(ในเวลาจำกัด)ก็คือ คำบรรยายในโปสเตอร์หนังเรื่อง
ทอง ปี 2516 ซึ่งมีข้อความบนใบปิด,ที่แม้สไตล์การเขียนจะดูยากแต่ก็สามารถแยกได้ระหว่าง ด กับ ต รวมทั้ง
ข้อมูลจากฟบ.หนังเก่า ถอดอักษรว่า

มิส ถ่ำถุยหั่ง สายลับสาวจากเวียนาม

และ สรุปลงที่ รอยอิน เลือกใช้คำว่า เวียดนาม ในพจนานุกรมปี พ.ศ. ๒๕๕๔

คุณเพ็ญฯ น่าจะเป็นรุ่นที่ใช้ เวียตนาม มาก่อนเช่นกัน?


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 18 ธ.ค. 19, 08:46

คุณเพ็ญฯ น่าจะเป็นรุ่นที่ใช้ เวียตนาม มาก่อนเช่นกัน?

สมัยเรียนมัธยมเคยทำรายงานเรื่อง "สงครามเวียตนาม" โดยตัดภาพข่าวจากหนังสือพิมพ์ติดลงในสมุดภาพ ครานั้นก็ใช้ ต เต่า สะกดในคำว่า "เวียต" มาตลอด

หนังสือ "สงครามเวียตนาม" โดย 'เชษฐ' พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 18 ธ.ค. 19, 09:24

อันที่จริงคำว่า Vietnam ในสมัยนั้นก็ทับศัพท์เป็น ๒ เวอร์ชั่น ทั้ง "เวียตนาม" และ "เวียดนาม"  ยิงฟันยิ้ม

เหรียญพระราชทานผู้ไปสงครามเวียดนาม พ.ศ. ๒๕๑๐


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 18 ธ.ค. 19, 09:58

หนังสือเก่าของคุณเพ็ญฯ ทำให้นึกถึงหนังสือเก่าอีกเล่ม

          เวียกง พิมพ์พ.ศ. ๒๕๑๑


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 18 ธ.ค. 19, 10:35

หนังสือ สงครามเวียตนาม / สงครามเวียดนาม โดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ / พ.ศ. ๒๕๕๗


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 18 ธ.ค. 19, 11:05

ในเว็บเรือนไทย  ใครจะสะกด เวียดนาม ตามท่านรอยอิน
หรือจะสะกด เวียตนาม ทับศัพท์จาก Vietnam ก็ตามสะดวกนะคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 20 คำสั่ง