เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 9580 สงครามเวียตนาม
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


 เมื่อ 10 ธ.ค. 19, 16:06

ก่อนที่คุณ superboy จะไปสายบันเทิง ขอแทรกข้อความ -

          คห.ก่อนได้ข้ามเรื่องใหญ่ใกล้บ้านไปเพราะเป็นมหากาพย์ยาวเหยียดข้ามทศวรรษ เพื่อจะได้เข้าเรื่องวิกฤตนิวเคลียร์คิวบา ช่วงนี้ขอแวะแว้บเรื่องนั้น คือ

          สงครามเวียดนาม หรือ สงครามอเมริกา ที่ชาวเวียดนามเรียก

          หลังจากยุทธการเดียนเบียนฟูที่ฝรั่งเศสยอมจำนนต่อกองกำลังคอมมิวนิสต์เวียดมินห์ในเดือน พ.ค. 1954
 มหาอำนาจอเมริกา-รัสเซียก้าวเข้ามาคลี่คลายสถานการณ์ จัดการเจรจาหยุดยิงและคืนเอกราชแก่กัมพูชา ลาวและ
เวียดนาม
          โดยที่เวียดนามถูกแบ่งเป็นสองด้วยเส้นขนานที่ 17 ตามข้อตกลงเจนีวา ฝ่ายเหนือ - ใต้ร่มโซเวียต,จีน และ
ใต้ - ในร่มสหรัฐ
          ปี 1956 โง ดินห์ เดียม นักต่อต้านคอมมิวนิสต์ชนะการเลือกตั้ง ขึ้นเป็นประธานาธิบดีเวียดนามใต้และดำเนินการกวาดล้างคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง จนกลุ่มคอมมิวนิสต์ใต้เรียกร้องขอให้พรรคคอมมิวนิสต์เหนือใช้วิธีการรุนแรงโค่นล้มรัฐบาลของเดียม แต่ในที่สุดปธน.เคเนดี้ได้สนับสนุนทหารโค่นล้มรัฐบาลนี้ที่มีปัญหาคอรัปชั่นรุนแรงร่วมด้วย ทั้งยังได้ทยอยส่งทหารมาเวียดนามมากมายจนมีจำนวนถึง 540,000 นายในปี 1969
          ในช่วงเวลาราวสิบปีของสงครามนี้(อเมริกาเริ่มวิธีการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือ*อย่างต่อเนื่องในปี 1965 - การลงนามข้อตกลงสันติภาพในปารีสเมื่อปี 1973) มีทหารเมกันมาเสียชีวิตในสมรภูมินี้รวมแล้วราว 58,000 นาย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 ธ.ค. 19, 10:31 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 ธ.ค. 19, 16:08

* ประมาณว่า 80% ของระเบิดเหล่านั้นออกจากสนามบินของฐานทัพในไทย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 ธ.ค. 19, 16:21

สงครามเวียตนามเป็นเรื่องใหญ่มาก    พูดได้หลายประเด็น
ขออนุญาตแยกกระทู้ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 ธ.ค. 19, 16:24

มาแปะป้ายโฆษณา เชิญชวนเข้ากระทู้


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 ธ.ค. 19, 17:00

สมัครเป็นคนอ่าน มหากาพย์สงครามเวียดนาม


 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 10 ธ.ค. 19, 17:39

อ้าว  ทำไมคุณหมอ SILA ไม่เล่าล่ะคะ
ดิฉันจะช่วยเสริมให้
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 ธ.ค. 19, 10:26

เอ๊ะ ห้องนี้ฉายหนังสงคราม ผมต้องแวะเข้ามาดูด้วย
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 ธ.ค. 19, 10:54

ตั้งใจแค่สรุปคร่าวๆ แทรกในเรื่อง 1950s 
งานระดับมหากาพย์นี้, ขอผ่าน ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 ธ.ค. 19, 10:56

ระหว่างรอคุณหมอ SILA และคุณ Superboy   ขอคั่นโปรแกรมด้วยการฉายความทรงจำเก่าๆสมัยไทยยุคสงครามเวียตนาม
ตอนนั้นยังเรียนหนังสือ    ไม่รู้เรื่องอะไรมากไปกว่าอยู่ๆทหารอเมริกันก็นั่งรถทหารเข้ามากันคึกคักในเมืองหลวง    แต่คนไทยก็เฉยๆไม่ได้ตื่นเต้น  ยังคงดำเนินชีวิตไปตามปกติ  เพราะได้รับคำบอกเล่าว่านี่ไม่ใช่สงคราม  เขารบกันในประเทศอื่น แค่ผ่านมาเท่านั้น
โอเค   ไม่มีสงครามก็ดีแล้ว  

ช่วงนั้นเป็นการเปลี่ยนผู้นำรัฐบาล จากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์มาเป็นจอมพลถนอม กิตติขจร    แต่ก็เปลี่ยนแบบไม่มีผลกระทบต่อการเมือง  เพราะจอมพลถนอมเป็นรองนายกฯ  พอนายกฯ ถึงแก่กรรมท่านก็เลื่อนตำแหน่งขึ้นมาแทน  กองทัพก็ดำเนินไปตามปกติ
จำเหตุการณ์ได้อย่างเดียว คือมีประกาศทางทีวีว่าไทยอนุญาตให้อเมริกาตั้งฐานทัพในประเทศไทย   จากนั้น
 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ออกมาตั้งคำถามต่อรัฐบาลว่า ทำแบบนี้เท่ากับไทยเสียสิทธิ์ในอาณาเขตของเราหรือเปล่า (อาจใช้คำไม่ตรงนัก แต่ความหมายก็ทำนองนี้ละค่ะ) จอมพลถนอมออกมาตอบแบบแบ่งรับแบ่งสู้ว่า ก็มีบ้าง

จากนั้นก็ได้ข่าวว่ามีสนามบิน 2 แห่งในไทย คือที่อู่ตะเภา กับตาคลี   สำหรับทหารอเมริกันมาประจำการ   เอาเครื่องบินขึ้นลง ไปรบที่เวียตนาม
สองแห่งนี้เดิมไม่มีใครได้ยินชื่อ  แต่พอมีทหารอเมริกันมา  ก็คึกคักมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ   แต่ไม่ใช่ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวของประชาชนทั่วไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 11 ธ.ค. 19, 10:57

ตั้งใจแค่สรุปคร่าวๆ แทรกในเรื่อง 1950s 
งานระดับมหากาพย์นี้, ขอผ่าน ครับ

อ้าว คุณหมอ  ทำกันได้นะคะ
ช่วยเล่าเรื่องในภาพประกอบของคุณหมอหน่อยเถอะค่ะ
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 11 ธ.ค. 19, 19:13

มีกระทู้นี้ด้วยเหรอ อูยยยย...ซี๊ด

จริงๆ สงครามเวียดนามมีความเกี่ยวพันกับสงครามคอมมิวนิสต์ในไทยยุคบุกเบิกเล็กน้อย ไล่จนมาจนถึงยุคกลาง แต่จบก่อนยุคนักศึกษาหนีเข้าป่า เหมือนว่าจะรุ่งเรืองสุดท้ายกลับต้องโรยรา แต่ผมไม่ทันนะครับตอนนั้นเด็กเกินไป

เสียดายเหมือนกันที่หนังสือเก่าๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้แทบไม่เหลือ สมัยเด็กๆ มีเยอะแบบอ่านทิ้งอ่านขว้าง พออยากอ่านจริงจังหายไปเกือบหมด

ตอนประถมเพื่อนพาไปเที่ยวบ้านพี่คนหนึ่ง แกมีห้องสำหรับหนังสือการ์ตูน 1 ห้อง สำหรับนิตยาสารและนิยายอีก 1 ห้อง ตื่นเต้นยิ่งกว่าแข่งบอลกินตังแล้วชนะลูกโทษเสียอีก

ตอนมาเรียนหนังสือในกรุงเทพเพื่อนบ้านมีห้องสมุดภายในบ้าน ผมนี้อยากทำแบบเขาบ้างใจจะขาดรอนๆ ไม่น่าเชื่อว่าถึงตอนนี้ร้านหนังสือหายไปหมดแล้ว หนักยิ่งกว่าโดนคอมมิวนิสต์บุกเสียอีก เพราะทางนั้นบุกมายังมีแพ้มีชนะ แต่แบบนี้ัมันแพ้แล้วแพ้เลย เศร้า
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 11 ธ.ค. 19, 19:41

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 11 ธ.ค. 19, 20:08

ท่าทางกระทู้จะยาว
ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูค่ะ  รออยู่ว่าเมื่อไรจะเข้ามาร่วมวง
เชิญคุณ Superboy ต่อเลยค่ะ

ดิฉันไม่ค่อยแม่นเรื่องสงครามเวียตนาม   เพราะช่วงแพ้ชนะกันเด็ดขาด  เราอยู่ไกลปืนเที่ยง    เลยไม่รู้ว่าเขาเป็นยังไงกันบ้าง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 11 ธ.ค. 19, 21:23

จากนั้นก็ได้ข่าวว่ามีสนามบิน 2 แห่งในไทย คือที่อู่ตะเภา กับตาคลี   สำหรับทหารอเมริกันมาประจำการ   เอาเครื่องบินขึ้นลง ไปรบที่เวียตนาม
สองแห่งนี้เดิมไม่มีใครได้ยินชื่อ  แต่พอมีทหารอเมริกันมา  ก็คึกคักมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ   แต่ไม่ใช่ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวของประชาชนทั่วไป

ไม่ใช่มีเพียง ๒ แห่งที่อู่ตะเภาและตาคลี หากมีถึง ๗ แห่ง

สหรัฐอเมริกาได้เข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๑๘ ในช่วงสงครามเวียดนาม เพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการโจมตีเวียดนามเหนือ  ๗ แห่ง คือ

๑. ฐานทัพอากาศดอนเมือง
๒. ฐานทัพอากาศโคราช
๓. ฐานทัพเรือนครพนม
๔. ฐานทัพอากาศตาคลี
๕. สนามบินทหารเรืออู่ตะเภา
๖. ฐานทัพอากาศอุบลราชธานี
๗. ฐานทัพอากาศอุดรธานี

การทิ้งระเบิดกว่าร้อยละ ๘๐ ต่อเวียดนามเหนือมาจากฐานทัพเหล่านี้ในประเทศไทย

ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/กองทัพอากาศสหรัฐในประเทศไทย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 11 ธ.ค. 19, 22:28

จริงๆ สงครามเวียดนามมีความเกี่ยวพันกับสงครามคอมมิวนิสต์ในไทยยุคบุกเบิกเล็กน้อย ไล่จนมาจนถึงยุคกลาง แต่จบก่อนยุคนักศึกษาหนีเข้าป่า เหมือนว่าจะรุ่งเรืองสุดท้ายกลับต้องโรยรา แต่ผมไม่ทันนะครับตอนนั้นเด็กเกินไป

รัฐบาลไทยตั้งแต่ต้นทศวรรษ ๑๙๕๐ ได้สนับสนุนให้สหรัฐเข้ามาป้องกันคอมมิวนิสต์ในอินโดจีนเพราะต้องการป้องกันพรมแดนด้านตะวันออกให้ปลอดจากคอมมิวนิสต์ ผู้นำรัฐบาลทหารไทยยังเชื่อด้วยว่าเวียดนามเหนือต้องการขยายอิทธิพลคอมมิวนิสต์เข้ามาไทยโดยได้รับการสนับสนุนจากจีน ในกลางทศวรรษ ๑๙๕๐ ภัยคุกคามจากเวียดนามเหนือที่ผู้นำทหารมักอ้างถึง คือการรุกเข้าไปในดินแดนลาวของกองกำลังคอมมิวนิสต์เวียดนามและการเผยแพร่อิทธิพลคอมมิวนิสต์ในหมู่ชาวเวียดนามในภาคอีสาน อย่างไรก็ตาม เหตุผลอื่นที่สำคัญเท่าเทียมกัน คือ ผู้นำทหารไทยคาดหวังความช่วยเหลือด้านการทหารและอื่น ๆ จากสหรัฐ

ความร่วมมือกับสหรัฐในสงครามเวียดนามซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งเรื่องอธิปไตย ความมั่นคง และเกียรติภูมิแห่งชาติเกิดจากการกำหนดนโยบายในวงแคบที่สุดและมีลักษณะไม่เป็นทางการ ในช่วงเวลานี้ รัฐบาลทหารยังคุมอำนาจภายในได้มั่นคง นโยบายด้านความมั่นคงก็ถูกจำกัดในกลุ่มทหาร การตัดสินใจเรื่องเวียดนาม รวมทั้งการให้สหรัฐใช้สิ่งเกื้อหนุนการทำสงครามในประเทศไทยเกิดในกลุ่มผู้นำทหารและโดยเฉพาะผู้นำสูงสุด ๓ คน คือ  จอมพลถนอม กิตติขจร (นายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรีกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด),  จอมพลประภาส จารุเสถียร (รองนายกรัฐมนตรี, ผู้บัญชาการทหารบกและรัฐมนตรีมหาดไทย) และ พล.อ. ทวี จุลทรัพย์ (รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารอากาศ และรัฐมนตรีช่วยมหาดไทย) การเจรจาทำข้อตกลงต่าง ๆ แทบทั้งหมดเกิดขึ้นระหว่างผู้นำทหารและสถานทูตสหรัฐในประเทศไทย ข้อตกลงสำคัญโดยเฉพาะการใช้ฐานทัพส่วนใหญ่ไม่มีลายลักษณ์อักษรและไม่เปิดเผยในเวลานั้น เป็นไปได้ว่า การตัดสินใจนี้ในแง่หนึ่ง บุคคลเหล่านี้มีความเชื่ออย่างลึกซึ้งต่อภัยจากจีนและเวียดนามเหนือ และการส่งทหารไปรบในเวียดนามถูกอธิบายว่าเป็นการป้องกันคอมมิวนิสต์ให้ห่างไกลจากดินแดนไทยให้มากที่สุด ในอีกแง่หนึ่ง การสนับสนุนสหรัฐในเวียดนามช่วยเสริมสร้างความมั่นคงแก่รัฐบาลทหารเพราะความช่วยเหลือจากสหรัฐมุ่งเป้าที่ความมั่นคงและโดยเฉพาะการเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ทหารไทย ยิ่งกว่านั้น การลงทุนมหาศาลในไทยในด้านอุปกรณ์เกื้อหนุนสงครามทำให้สหรัฐต้องช่วยรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศกับรัฐบาลไปด้วย เมื่อนโยบายเวียดนามถูกกำหนดจากทัศนะและผลประโยชน์ของทหารเช่นนี้จึงไม่น่าแปลกใจว่า ประเทศไทยแทบไม่ได้ปรับตัวเลยเมื่อสหรัฐส่งสัญญาณปรับเปลี่ยนนโยบายการทำสงครามซึ่งเห็นชัดตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ แต่ผู้นำทหารไทยยังเรียกร้องต่อไปให้สหรัฐใช้นโยบายแข็งกร้าวในสงคราม

อย่างไรก็ตาม สงครามเวียดนามได้ก่อกระแสการคัดค้านและต่อต้านในกลุ่มนักคิด นักเขียน นักวิชาการ และนักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งซึ่งจะขยายวงกว้างและรุนแรงขึ้นพร้อม ๆ กับการขยายตัวของสงคราม ในทัศนะคนเหล่านี้ รัฐบาลทหารร่วมมือกับสหรัฐทำสงครามที่ไร้ความชอบธรรมและไร้ศีลธรรม การต่อสู้ของชาวเวียดนามและอินโดจีนเป็นการต่อสู้เพื่อเอกราช ยิ่งกว่านั้น ฐานทัพและทหารอเมริกันในไทยได้ทำให้ไทยเสียเอกราชและอธิปไตย อีกทั้งสร้างความเสื่อมโทรมในสังคมด้วย

เมื่อสงครามเวียดนามยุติตามข้อตกลงปารีสในเดือนมกราคม ๒๕๑๖ และสหรัฐถอนทหารจากไทยในเวลาต่อมานั้น ประเทศไทยได้รับผลสะเทือนมากที่สุด ทั้งเพราะได้ร่วมในสงครามและได้ผูกพันความมั่นคงของประเทศไว้กับสหรัฐมายาวนาน และเหนืออื่นใดคือความโกรธแค้นเกลียดชังไทยของชาวอินโดจีน ๓ ประเทศ ชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในอินโดจีนยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในดุลอำนาจด้านภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย รัฐบาลพลเรือนในยุคหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ จึงต้องเผชิญกับภาวะยากลำบากยิ่งในการปรับตัวให้อยู่กับประเทศเพื่อนบ้าน

จาก สงครามเวียดนาม เรียบเรียงโดย  จุฬาพร เอื้อรักสกุล

http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=สงครามเวียดนาม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 20 คำสั่ง