เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 9578 สงครามเวียตนาม
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 18 ธ.ค. 19, 15:06

หนังสือรวมเรื่องสั้นเวียตนาม "ด้วยเลือดและชีวิต" แปลโดย จิตร ภูมิศักดิ์ พิมพ์ครั้งที่ ๒ มกราคม ๒๕๓๗ (พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม ๒๕๑๙)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 18 ธ.ค. 19, 15:25

ตัวอย่างสำนวนแปลของจิตร  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 18 ธ.ค. 19, 18:10

ในห้วงที่ความขัดแย้งระหว่างเวียดกง และเวียดนามใต้ได้ปะทุขึ้น เวียดนามใต้ได้ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย ให้ช่วยฝึกนักบินของกองทัพอากาศเวียดนามใต้ที่ส่งเข้ามาฝึกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ รัฐบาลเวียดนามใต้ได้ขอความช่วยเหลือทางทหารจากไทยเพิ่มเติม โดยขอให้จัดส่งเรือไปช่วยปฏิบัติการลำเลียง และเฝ้าตรวจบริเวณชายฝั่ง และป้องกันการแทรกซึมทางทะเลให้แก่เวียดนามใต้ และในปีเดียวกัน ก็ได้ขอกำลังจากกองทัพไทยและประเทศพันธมิตร เพื่อช่วยยับยั้งการคุกคามของเวียดนามเหนือ

คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลไทย ได้ลงมติอนุมัติหลักการให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่รัฐบาลเวียดนามใต้ และได้จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจขึ้นเรียกว่า "กรมทหารอาสาสมัคร" (กรม อสส.) ถือว่าเป็นกองกำลังทหารไทยหน่วยแรก ที่ปฏิบัติการรบในเวียดนาม มีสมญานามว่า "จงอางศึก"(Queen's Cobras Regiment)



หลังจากที่ กรมทหารอาสาสมัคร เดินทางไปปฏิบัติการรบในสาธารณรัฐเวียดนาม เป็นเวลา ๑ ปี กองทัพบกได้มอบให้คณะกรรมการพิจารณา เตรียมการส่งกำลังไปผลัดเปลี่ยนกรมทหารอาสาสมัคร และเพิ่มเป็น ๑ กองพลทหารอาสาสมัคร

เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๑ จึงมีคำสั่งจัดตั้ง "กองพลทหารอาสาสมัคร " บรรจุมอบเป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก มีที่ตั้งปกติ ณ ค่ายกาญจนบุรี ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี และไปปฏิบัติการรบในสาธารณรัฐเวียดนาม เป็นที่รู้จักกันในนามว่า "กองพลเสือดำ"(Black Panther Division)

ที่มา: กรมยุทธศึกษาทหาร,ประวัติการรบของทหารไทยในสงครามเวียดนาม, (กรุงเทพฯ: กรมยุทธศึกษาทหาร, ๒๕๔๑), ๕๓

ชายหนุ่ม ๒ คน กำลังอ่านประกาศรับทหารอาสาสมัครไป "สงครามเวียนาม" เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 18 ธ.ค. 19, 19:03

ความในใจของทหารผ่านศึกสงครามเวียดนามคนหนึ่ง



https://www.bbc.com/thai/thailand-43947999
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 18 ธ.ค. 19, 20:30

เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๑ จึงมีคำสั่งจัดตั้ง "กองพลทหารอาสาสมัคร " บรรจุมอบเป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก มีที่ตั้งปกติ ณ ค่ายกาญจนบุรี ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี และไปปฏิบัติการรบในสาธารณรัฐเวียดนาม เป็นที่รู้จักกันในนามว่า "กองพลเสือดำ"(Black Panther Division)

กองพลเสือดำลงจากเรือที่ท่าเรือไซง่อนเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๒

เวียนามขอต้อนรับด้วยความยินดี
  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 20 ธ.ค. 19, 10:20

ไม่ได้เข้ามานาน ขอส่งเรื่องราวสงครามเวียดนาม  พร้อมภาพสวยๆ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 20 ธ.ค. 19, 10:55

ช่วงหนึ่งเพื่อนพาไปเที่ยวบ้านเขา   ที่บ้านฉาง
ครอบครัวเขาเปิดเป็นบ้านพักให้ทหารอเมริกาเช่าอยู่
เป็นเรือนบังกาโล ยกพื้นสูง หลังเล็ก พื้นที่หลายไร่
ได้คุยกับทหารอเมริกาที่ประจำเครื่องบินทิ้งระเบิด  นิดหน่อย
กลางคืนเพื่อนพาไปเที่ยวที่บาร์ทหารอเมริกาไปเที่ยว
จำรายละเอียดไม่ค่อยได้  ที่จำได้มีแสงสีเสียงคึกคัก
เป็นถนนแคบๆ สองข้างเป็นร้านเรียงกันเป็นแถวยาว
ไปวันเดียวรุ่งขึ้นก็กลับ กทม. 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 21 ธ.ค. 19, 13:53

เดาว่าคุณ visitna คงไปเที่ยวบ้านฉางราว พ.ศ. ๒๕๑๑ แถวหมู่บ้านนิวแลนด์ บทความข้างล่างนี้คงช่วยฉายภาพเมื่อ ๕๐ ปีก่อน ให้เห็นความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจสวนทางกับความตกต่ำทางศีลธรรมของ "นิวแลนด์" ได้ดี

พลวัตจากฐานทัพของสหรัฐอเมริกาที่สนามบินอู่ตะเภาใน พ.ศ. ๒๕๐๔ รัฐบาลไทยและสหรัฐอเมริกาได้มีโครงการร่วมกัน โดยคณะรัฐมนตรี ได้ลงมติให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาใน พ.ศ. ๒๕๐๘ เพื่อเป็นหน่วยในการลำเลียงหน่วยรบไปยังจุดยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ภายในประเทศ การให้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาในการสร้างสนามบินอู่ตะเภา เป็นกิจกรรมของสงครามเย็นที่สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนแก่ประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยอาศัยข้อตกลงของสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ซีโต้ (South East Asia Treaty Organization - SEATO) กับประเทศไทย ในช่วงสงครามเวียดนาม ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๑๕ ทหารอเมริกันมาตั้งฐานทัพอู่ตะเภาในพื้นที่บ้านหนองม่วง ตำบลพลา ซึ่งติดกับพื้นที่บ้านสัตหีบ ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างเห็นได้เด่นชัด คือสองฝั่งของถนนสุขุมวิทนั้นมีการอพยพของคนนอกพื้นที่ เพื่อมาทำธุรกิจร้านค้าและบริการ เพราะทหารอเมริกันกลับจากการรบแต่ละครั้ง (ที่เขาเรียกว่า On tour) พอได้รับเงินค่าจ้างก็จะใช้เงินเหล่านั้นกันเต็มที่แบบไม่คิดจะเหลือเก็บ ทั้งนี้เพราะไม่รู้ว่าพอออกไปปฏิบัติหน้าที่ครั้งต่อไปแล้วจะได้กลับมาใช้เงินที่เก็บเอาไว้หรือไม่ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่บริเวณดังกล่าวจะเต็มไปด้วยสถานบริการต่าง ๆ มากมาย บาร์แห่งแรกอยู่ที่ คลองไผ่ เส้นแบ่งเขตจังหวัดชลบุรีกับจังหวัดระยอง ตรงกิโลเมตรที่ ๑๑ ชื่อ บาร์สวีทฮาร์ท และบาร์เบรนดาลี ตอนนั้นใครทำบาร์ก็ได้ทั้งนั้นถ้ามีเงิน ยังไม่มีความยุ่งยาก ยังไม่มีเงื่อนไขกฎเกณฑ์ทางกฎหมายอย่างไร ชื่อบาร์ก็สรรหามาจากคนดังในฮอลลีวู้ด หรือสถานที่ดัง ๆ ในสหรัฐ ยกเว้นชื่อ บ๊อบ ไดแลน นักร้องเพื่อชีวิตที่ต้านสงคราม คนแถวนั้นบอกชื่อไม่เป็นมงคล เพราะพวกเขากำลังทำมาหากินกับสงคราม ขณะที่ทุกคนแสวงหาความมั่งคั่งจากอเมริกันทาวน์สัตหีบ

วิถีชีวิตของคนบ้านฉางก็เปลี่ยนไป เมื่อคณะรัฐมนตรีรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ได้มีคำสั่งให้ย้ายสถานบันเทิงออกจากเขตปลอดภัยทหารเรือ เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๑ ทำให้เกิดอเมริกันทาวน์แห่งใหม่ที่เรียกว่าหมู่บ้านแผ่นดินทอง หรือฟรีแลนด์ (นิวแลนด์) ทางฝั่งอำเภอบ้านฉาง จังหวัดะยอง เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๑ ทำให้บ้านฉางมีธุรกิจบริการเกิดขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจของบ้านฉาง กลับมาคึกคักอีกครั้งมีธุรกิจใหม่ ๆ เกิดขึ้นโดยเฉพาะธุรกิจบริการ เพื่อให้กับทหารอเมริกาและครอบครัว ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากที่เดิม คือ มีไนต์คลับ ภัตตาคาร หญิงขายบริการ พาร์ทเนอร์ เมียเช่า บ้านเช่า บังกะโล

ผู้คนที่เข้าไปทำงานหน้าค่ายทหาร สามารถหารายได้จากอาชีพต่าง ๆ ได้มากมาย คนใดรู้จักเก็บออมก็สามารถนำเงินมาจับจ่ายใช้สอยในครอบครัว และมีเงินเก็บได้อย่างสบาย แต่หลายคนก็หลงมัวเมาอยู่กับอบายมุขนานาชนิด ทั้ง สุรา ยาเสพติด หญิงบริการ และการพนัน คนเหล่านี้ไม่รู้คุณค่าของเงินทอง เพราะเชื่อว่าใช้จ่ายออกไปแล้วพรุ่งนี้ก็หาใหม่ได้ไม่ยาก เหล่าบรรดาเมียเช่าจะทำตัวฟุ้งเฟ้อจับจ่ายใช้สอยอย่างสุรุ่ยสุร่ายกับการแต่งตัว ทานอาหารก็จ่ายแบบไม่ต้องทอน เข้าร้านเสริมสวย และเสพยาเสพติด ชาวอำเภอบ้านฉางและผู้คนที่อพยพมาทำงานจำนวนไม่น้อยรับค่านิยมตะวันตกจากทหารอเมริกันโดยไม่มีการยับยั้งชั่งใจก่อน ไม่รู้ถึงความแตกต่างของวัฒนธรรมประเพณีระหว่างสังคมชาติตะวันตกกับสังคมชนบท การยอมรับวัฒนธรรมแบบอเมริกันและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตไปตามอย่างอเมริกันอย่างเห็นได้ชัดที่บ้านฉาง โดยเฉพาะสถานบันเทิงยามค่ำคืน ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อผ่อนคลายความเครียดสำหรับบริการทหาร นายทุนท้องถิ่นจึงได้เปิดกิจการบาร์เบียร์ ไนท์คลับ อาบอบนวด และบังกะโล ที่หมู่บ้านนิวแลนด์ ซึ่งเกิดจากนโยบายควบคุมสถานบันเทิงในขณะนนั้ เป็นยุคเฟื่องฟูของวัฒนธรรมแบบอเมริกันที่ชุมชนบ้านฉางรับมา คือ ฟังเพลง เต้นรำ แต่งตัวตามแฟชั่น แต่สหรัฐอเมริกาเองก็ได้ให้ความช่วยเหลือในด้านการศึกษา การสาธารณสุข อุตสาหกรรม และพลังงาน เป็นต้น แต่หลักมุ่งไปที่การคมนาคม เนื่องจากสหรัฐอเมริกาได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาการคมนาคมเพื่อใช้ในการเดินทางและการขนย้ายยุทโธปกรณ์ได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น เส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๓๐๔ และหมายเลข ๓๐๑ รวมถึงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ทุ่งโปรงและจุกเสม็ด

ระยะเวลากว่า ๑๐ ปี ที่สหรัฐอเมริกาตั้งฐานทัพอยู่ที่อู่ตะเภาทำให้ชุมชน บ้านฉางมีสถานะทางเศรษฐกิจที่ดีมาก จากกิจการสถานบันเทิงหน้าค่ายทหาร เติบโตและสร้างรายได้อย่างมหาศาลให้แก่นายทุนทั้งหลาย จนกระทั่งสงคราม เวียดนามสิ้นสุดลงพร้อมกับการถอนกำลังทหารของสหรัฐอเมริกา คนบ้านฉางยังคงจำภาพบาร์รำวงหรือบาร์นิวแลนด์ และภาพทหารอเมริกันหลั่งไหลมาโยนดอลลาร์ทิ้งไว้ให้มากมาย ซื้อชีวิตกลางคืนของพวกเขาให้ผ่านไปอย่างชุ่มโชก ทั้งเหล้าและผู้หญิง ร้องเพลงคันทรีบนเวทีรำวง กิจการสถานบันเทิงยามราตรีทั้งหลายได้ปิดตัวลงอย่างรวดเร็ว เพราะสถานบันเทิงส่วนใหญ่เป็นสถานบันเทิงแบบตะวันตก คนไทยไมน่านิยมเที่ยวอย่างฝรั่งอเมริกัน

จากดุษฎีนิพนธ์เรื่อง พลวัตทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนในพื้นที่อำเภอบ้านฉางจังหวัดยอง (พ.ศ. ๒๔๙๘-๒๕๖๐) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

https://www.tci-thaijo.org/index.php/husojournal/article/download/137991/102647/
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 21 ธ.ค. 19, 15:57

บันทึกการเข้า
c136
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 01 ก.ค. 20, 12:17

ผมยังเรียน ป.1 ป.2 ได้มั้ง  ฝรั่งตัวใหญ่เดินกันเต็มบ้านเต็มเมือง ครั้งแรกที่เห็นนิโกร ตัวดำมากๆ ดูน่ากลัว คุณพ่อกับคุณแม่พาผมไปส่งพี่ชายที่ดอนเมือง (นร.นายร้อยชั้นปีที่ 5 ถูกส่งไปเวียดนามหมด)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 01 ก.ค. 20, 12:28

จำอะไรได้อีกคะ
บันทึกการเข้า
THOReN
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 08 ก.ค. 20, 15:37

สวัสดีครับทุกท่าน ไม่ได้เข้ามาชมหลายปีแล้ว พอเข้าโควิท เลยตามพี่ Navarat C. เข้ามาเยี่ยมตามกระทู้ต่างๆที่พี่เขาเขียน
พอรู้เรื่องอะไรตามหัวข้ออื่นบ้าง เลยมาสนทนาครับ

เรื่องการค้าขายกับฝรั่งอเมริกัน ฟังจากท่านหนึ่ง ที่เจ้าตัวเล่าเอง ยี่สิบกว่าปีมาแล้ว ตอนนี้ท่านเสียไปแล้ว จึง(แอบ)เอามาเล่าสู่กันฟัง

เจ้าของเรื่องท่านเล่าเรื่องนี้จบ ก็ตบท้ายว่า ของที่เบียดเบียนคนอื่นมาน่ะ มันอยู่ไม่ทนหรอก เพราะท่านก็ใช้สุรุ่ยสุร่ายหมดเช่นกัน
ท่านเล่าว่า ท่านค้าขายกับอเมริกัน โดยรับจัดหาสินค้าไปส่งที่ในฐานทัพอากาศ ห่างออกไปจากตลาดราวชั่วโมงเศษ

ฝรั่งสั่งถ่านไฟฉาย แทนที่ท่านจะส่งไปเป็นกล่องๆ ลังๆ ท่านก็แกะออกจากห่อ จากกล่องทั้งหมด เทเป็นก้อนๆใส่หลังรถหกล้อเข้าไป ใครมันจะไปนับ
ฝรั่งสั่งสังกะสี มุงหลังคา ท่านกะให้ไปถึงบ่ายนิดๆ แดดกำลังเปรี้ยง แล้วไปให้ฝรั่งนับ ใครมันจะไปนับไหว มือไม้พองหมด
ด้วยวิธีแบบนี้ ฝรั่งก็เลยไม่เคยได้ของครบเลยสักเที่ยว ท่านนั้นก็อู้ฟู่ทันใจ
ฟังมาว่า "ใครๆ" เขาก็ทำแบบนี้กันทั้งนั้น ฟังถึงตรงนี้ก็ละเหี่ยใจ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 08 ก.ค. 20, 15:59

ขอบคุณสำหรับเรื่องเล่าค่ะ  ฟังแล้วก็คิดว่าไม่มีแค่รายเดียวที่ทำแบบนี้ 
สงครามเวียตนามยังเป็นฉากหลังของความรักที่จบด้วยการพลัดพรากอีกหลายเรื่อง เช่นเรื่องนี้เป็นต้น

ยิ่งกว่านิยาย! ทหารอเมริกันพลัดพรากสาวไทยยุคสงครามเวียดนาม ญาติเผยยังรักตราบสิ้นลม วอนช่วยหาตัว
วันที่ 20 มกราคม 2560 -


https://www.matichon.co.th/social/news_435024


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 23 ก.ค. 20, 20:59

ขออนุญาตแทรกเข้ามาเพื่อช่วยเติมเรื่องเรื่องราวเล็กๆน้อยๆที่ได้ประสบมาด้วยตนเองในบางช่วงเวลาที่เกี่ยวข้องกับสงครามเวียดนาม

ในช่วงวันและเวลาที่กรุงไซ่ง่อนของเวียดนามแตกนั้น ผมผมกำลังเรียนในระดับ Post Grad. อยู่ที่สหรัฐฯ  ในช่วงเวลานั้นก็มีนักศึกษาทั้งของไทย เวียดนาม ลาว และกัมพูชา ได้รับทุนไปเรียนหรือฝึกอบรมกระจายอยู่ในหลายมลรัฐทางด้านตะวันออก เข้าใจว่าเป็นทุนของ USAID หรือไม่ก็ของ UNDP   ผมมีเพื่อนชาวอเมริกันที่เป็นทหารอากาศฝ่ายส่งกำลังบำรุงของกองทัพสหรัฐฯซึ่งเคยมาประจำการอยู่ในเมืองไทย เรียนอยู่ ม.เดียวกัน เขาชอบคนไทย มีน้ำใจชอบมาช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ก็เลยค่อนข้างจะสนิทกันมาก

ก็มีสาวเจ้าเวียดนามนางหนึ่งที่เพื่อนอเมริกันของผมได้รู้จัก ซึ่งหมู่นักเรียนทุนที่เป็นข้าราชการกลุ่มเล็กๆพวกผมก็เลยได้รู้จักด้วย  สาวเจ้าผู้นั้นมาเดี่ยว อยู่เดี่ยว อยู่ในสภาวะที่มีความจำกัดต่างๆ   พวกเราก็สงสารชวนเข้ากลุ่มเฮฮาบ้างสองสามครั้ง ครั้งหนึ่งก็ที่บ้านเพื่อนอเมริกันของผม    แล้วไม่นานก็มีข่าวออกทางทีวีถึงวาระสุดท้ายที่ไซ่ง่อน  คนที่สาวเจ้าติดต่อแต่แรก(ส่วนหนึ่ง)ก็คือเพื่อนอเมริกันและตัวผม  มันเป็นการสนทนาที่สั้น เศร้า สุดจะบรรยาย สงสารและเข้าใจคนที่อยู่ในสภาพการณ์เช่นนี้  วิถีชีวิตและบริบทต่างๆของชีวิตที่ดำเนินมาถูกทำให้หยุดแบบฉับพลัน ไม่รู้เลยว่าก้าวแรกที่จะก้าวออกไปต่อจากนั้นจะต้องก้าวอย่างไร ก้าวไปทางใหน ไปหาอะไร ปฏิบัติอย่างไร....  ความสับสนเหมือนคนกำลังจะจมน้ำที่จะทำทุกอย่างอันที่จะยังให้ชีวิตอยู่รอดได้ ที่ทำกันได้ก็คือการ encourage มิใช่การ take advantage ดั่งที่มีการกระทำปรากฏอยู่ในบ้านเมืองเราในปัจจุบันนี้           
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 23 ก.ค. 20, 21:17

ฝรั่งสั่งถ่านไฟฉาย แทนที่ท่านจะส่งไปเป็นกล่องๆ ลังๆ ท่านก็แกะออกจากห่อ จากกล่องทั้งหมด เทเป็นก้อนๆใส่หลังรถหกล้อเข้าไป ใครมันจะไปนับ
ฝรั่งสั่งสังกะสี มุงหลังคา ท่านกะให้ไปถึงบ่ายนิดๆ แดดกำลังเปรี้ยง แล้วไปให้ฝรั่งนับ ใครมันจะไปนับไหว มือไม้พองหมด
ด้วยวิธีแบบนี้ ฝรั่งก็เลยไม่เคยได้ของครบเลยสักเที่ยว ท่านนั้นก็อู้ฟู่ทันใจ
ฟังมาว่า "ใครๆ" เขาก็ทำแบบนี้กันทั้งนั้น ฟังถึงตรงนี้ก็ละเหี่ยใจ

ผมเคยได้ยินมาอีกเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับใบมีดโกนหนวด  ก็อย่างที่ว่าแหละครับ ใบมีดโกนหนวดบรรจุมาในหนึ่งกล่องใหญ่ จะมีจำนวนกี่แพ็คเล็กๆก็ไม่รู้ คนเมืองซื้อกันเป็นแพ็คเล็กๆ แต่ชาวบ้านซื้อกันเป็นใบๆ ถีบลงหนึ่งกล่องใหญ่เพียงกล่องเดียว เอาไปขายก็จะได้เงินอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.148 วินาที กับ 19 คำสั่ง