เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 2276 นางในทำผมอย่างไร - ยางขี้เลื่อยใส่ผม (刨花水)
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 27 ต.ค. 20, 23:43

นางในทำผมอย่างไร - ยางขี้เลื่อยใส่ผม (刨花水)

มีคนสงสัยว่าสตรีชาวแมนจูและชาวฮั่นสมัยก่อนทำอย่างไรให้ผมสวยเป็นทรงได้ถึงเพียงนี้ คำตอบคือเอายางไม้จากขี้เลื่อยมาทาผมให้เป็นทรง

ยางไม้ใส่ผมที่ว่าคือเอาไม้มาฝานบางๆเป็นเส้นๆ เป็นแผ่นแบบขี้เลื่อยเก็บไว้ เวลาจะใช้ทำผมก็เอามาแช่น้ำร้อนทิ้งไว้จนนุ่ม ขยำๆ จนน้ำสะอาดกลายเป็นยางเหนียวๆ อาจจะผสมเครื่องหอมอย่างอื่นด้วยก็ได้ เพียงเท่านี้ก็เอามาทาผมให้อยู่ทรงได้ ยางใส่ผมนี้เรียกว่าเป้าฮัวซุย (刨花水) โดยคำว่าเป้าฮัว (刨花) แปลว่าขี้เลื่อย ส่วนซุย (水)แปลว่าน้ำนั้นเอง

ชื่อยางใส่ผมนี้มีคำเรียกหลายอย่าง เช่น จานโถว่ซู่ (粘头树 )หรือ คนเซี่ยงไฮ้เรียกหนิงเป้าฮัว (凝刨花) ก็มี

ไม้ที่ใช้ในการทำแผ่นขี้เลื่อย เช่น ต้น Chinese Elm (榆树) ต้นเซียงเกา (香槁树) และต้นการบูร หรือเรียกภาษาจีนว่าต้นเซียงจ้าง (香樟树) ซึ่งเป็นไม้หอม มีมากทางภาคใต้ของจีน ยิ่งต้นเซียงเกา และต้นเซียงจ้างพบมากแถวกวางตุ้งและฮกเกี้ยน นอกจากจะทำให้ผมตั้งอยู่ทรงแล้วยังช่วงรักษาผม ปัจจุบันนี้ยังมีคนใช้เพื่อบำรุงเส้นผมอยู่

พระนางซูซีไทเฮาทรงใช้น้ำยางใส่ผมเช่นกัน แต่พระนางจะทรงผสมลูกไม้แห้งๆ เช่นลูกถั่ว (榧子) ลูกนัท(核桃仁) ใบสนพุ่ม(侧柏叶) ตำให้ละเอียด แล้วแช่ไปพร้อมๆกับขี้เลื่อย โดยน้ำที่ใช้ใช้น้ำที่ละลายจากหิมะบริสุทธิ์ เมื่อยางเหนียวออกมาแล้วจึงกรองเฉพาะน้ำยางแล้วทาเส้นพระเกษา

เหตุที่พระนางใช้สูตรวิจิตรพิสดารว่าผู้อื่น เขาว่าพระนางพระเกษาร่วง แพทย์หลวงจึงใช้สูตรยานี้รักษาเส้นพระเกษา แล้วใช้เป็นน้ำยางใส่ผมให้พระเกษาอยู่ทรง ผลที่ได้คือ นอกจากพระเกษาจะเป็นรูปแล้วยังดำเงางาม

เวลาจะใช้ก็ไม่ยาก แค่เอาแปรงเหมือนแปรงทาสีจุ่มแล้วทาไปมาตามเส้นผม แค่นี้ก็อยู่ทรงแล้ว

วิธีนี้คล้ายๆกับเจ้าสาวชาวภูเก็ตที่ใช้น้ำแช่ยางไม้ทาผมตอนแต่งเป็นทรงผมชักอีโบย ใครจะลองใช้ทำผมทรงแมนจูโบราณก็ได้

ที่มา

https://m.weibo.cn/5941694207/4526699700947328

https://baike.baidu.com/item/刨花


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 27 ต.ค. 20, 23:44

ตัวอย่างแผ่นไม้ที่ถูกฝานจนบาง เขาเรียกว่าขี้เลื่อย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 27 ต.ค. 20, 23:44

นำไปแช่น้ำร้อนขยำๆๆๆๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 27 ต.ค. 20, 23:45

ขยำจนยางออก เหลือแต่กากไม้แห้งๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 27 ต.ค. 20, 23:45

น้ำยางผสมน้ำอุ่นก็กรองแล้วเก็บไว้ใช้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 27 ต.ค. 20, 23:46

บ้างก็ใส่ถุงชาเลย ไม่ขยำแล้ว


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 27 ต.ค. 20, 23:47

กรองออกมาใช้ง่ายๆ แต่กากไม้อย่าทิ้งนะจ้ะ


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 27 ต.ค. 20, 23:48

กากไม้ในถุงอุ่นๆเอามาประคบศรีษะได้ ช่วยรักษาเส้นผม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 28 ต.ค. 20, 08:11

คงจะทำนองเดียวกันกับคนไทยใช้น้ำมันตานี แต่งผมให้อยู่รูปและเป็นเงางาม

จาก FB  คนรักไม้ดอกหอมและเครื่องหอมไทย

"น้ำมันตานี"
น้ำมันตานีเป็นเครื่องหอมอีกชนิดที่สูญหายไปแล้วน้อยคนที่จะรู้จัก น้ำมันตานีเป็นน้ำมันใส่ผมของคนโบราณรุ่นปู่ย่า สตรีชาวสยามเมื่อ100ปีก่อนนิยมตัดผมสั่นทรงดอกกระทุ่ม การใช้น้ำมันลูบจัดแต่งทรงผมให้ได้รูปอยู่ทรงสวย ถือเป็นสิ่งจำเป็นกับสตรีทุกผู้ทุกนามไม่ว่าสาวหรือแก่ แต่งตัวนุ่งผ้าลายใส่เสื้อลูกไม้งดงามผมจับน้ำมันเงาวับกลิ่นหอมฟุ้งทีเดียว

น้ำมันตานีถือกำเนิดมาแต่ยุคไหนไม่ปรากฏหลักฐานชี้ชัดได้แต่ เท่าที่มีบันทึกไว้ในบันทึกของ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศ สตรียุคสุโขทัยแผ่นดินพระร่วงเจ้า นางได้จารบันทึกว่าสตรีนุ่งผ้าเนื้อตัวสะอาดผมลูบน้ำมันหอม
จึงเห็นชัดว่าน้ำมันใส่ผมมีมานานมากแล้ว
หรือไล่มาจนแผ่นดินกรุงศรี สาวๆชาววังก้อรู้จักการปรุงน้ำมันใส่ผมขึ้นไว้ใช้กันเองตามตำหรับโบราณ น้ำมันตานีเป็นของเหลวข้น มีกลิ่นหอมชื่นใจแบบโบราณ เด็กที่ไว้จุกตามขั้นตอนการเกล้าจุกก้อจะรูดผมด้วยน้ำมันตานีให้ขึ้นเงาแล้วเกล้าขมวดเป็นจุกทรงลูกจันทร์ไว้กลางกระหม่อมก่อนจะยึดตรึงไว้ด้วยปิ่น

ความนิยมการใช้น้ำมันตานีมีเรื่อยมาถึงกรุงรัตนโกสินท์ นิยมเรื่อยมาตลอด จนมาถึงช่วงรัชกาลที่๕ ทรงผมเริ่มรับอิทธิพลจากต่างชาติมีการไว้ผมยาวมากขึ้น ผมโปรง ผมทรงดอกกระทุ่ม การใช้น้ำมันตานีลูบผมจัดแต่งทรงให้เข้ารูปยังคงใช้กันอยู่ตลอดมา
น้ำมันตานีจะทำให้ผมดกดำเงางาม มีกลิ่นหอมชวนดม

"ต่อไปจะเป็นส่วนประกอบที่ใช้ในการปรุงน้ำมันตานีค่ะ"" (กระทิขั้นสด ดอกลำเจียก ดอกกระดังงาไทย ดอกมะลิ น้ำมันจันทร์ ผิวมะกรูดนิดหน่อย ขี้ผึ้งแท้เล็กน้อย )
ขั้นตอนนำกระทิสดๆตั้งไฟเคี่ยวไปจนแตกมันจนกลายเป็นขี้โล้คือเคี่ยวจนแห้งจนเหลือแต่น้ำมันบริสุทธิ์สีขาวใส นำมากรองกากออก จะได้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สีขาวใส  
ขั้นตอนนี้ใช้เวลาในการทำนานค่ะคอยดูอย่าให้ไหม้จะมีกลิ่นไหม้ได้

ขั้นตอนคือไปฉีกดอกกระดังงาใส่ลงไปในน้ำมันมะพร้าว ดอกลำเจียกฉีกใส่ลงไป นำขึ้นตั้งไฟอ่อนเคี่ยวไปอีกนิดก้อยกลง ใส่น้ำมันจันทร์แท้กับน้ำมันลำเจียกลงไป๔-๕หยด แล้วถึงใส่ขึ้ผึ้งแท้นิดหน่อยอย่าใส่มากเวลาเย็นจะแข็งเกินไป น้ำมันตานีจะเหลวๆแต่จะไม่ใสจนแต่ะไม่ติดปลายนิ้ว ก่อนยกลงทิ้งไว้ให้เย็นถึงอบควั่นเทียนซัก๒รอบ อบด้วยดอกมะลิอีกซัก๑คืน เป็นอันเสร็จขั้นตอน
น้ำมันตานีจะต้องเนื้อสัมผัสเหมือนเราต้มไข่ตานีแล้วมีไข่แดงเป็นตานีเยิ่มออกมาแบบนั้นเลยค่ะ

ที่มาตามชื่อน้ำมันตานี คือลักษณะจะเหลวข้นเหมือนไข่ตานี เวลาจะใช้แต่ะมาลูบบนฝามือแล้วลูบฝามือก่อนจะไปลูบผม สรรพคุณ เป็นอันทราบกันดีว่าน้ำมันมะพร้าวบำรุงรากผมให้นุ่มสวยเงางามผมจะหงอกช้าถ้าใช้เป็นประจำ มะกรูดช่วยบำรุงรากผม ขี้ผึ้งแท้ทำให้หนังหัวเย็น อีกทั้งดอกไม้ที่ให้กลิ่นหอมจากธรรมชาติไม่มีเคมีใดๆทั้งสิ้น
คนโบราณหรือสาวชาววังผมหงอกช้ามากแก่แล้วผมยังดำธรรมชาติอยู่มีให้เห็นได้เมื่อ๑๐๐ปีก่อน
น้ำมันตานีทำเสร็จแล้วนิยมใส่โถ่ปริก เป็นโถ่โลหะลงยา เรียกโถ่ปริกมียอดสูงแหลม พอมาช่วงกลางรัชสมัยของพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่๕ เครื่องแก้วสีจากยุโรปได้เข้ามานิยมจากสังคมชั้นสูง น้ำมันตานีจึงเปลี่ยนจากโถ่ปริกแบบดั้งเดิมมาใส่ในโถ่แก้วตลับแก้วเจียรไรแทนของเดิมที่ดูโบราณสำหรับสมัยนั้น

ความนิยมในน้ำมันตานี เริ่มเสื่อมและหมดสิ้นลงในยุคของรัชกาลที่๗ทรงผมดัดหยิกเริ่มเข้ามามากสตรีสาวๆรุ่นๆเลิกไว้ผมดอกกระทุ่มอีกเด็ดขาดหันมาไว้ผมยาวใช้คีมเผาไฟดัดให้หยิกเป็นลอนหยักเป็นคลื่น ซึ้งนิยมมากทั้งเจ้านายและชาวบ้านก้อนิยมและเริ่มเปลี่ยนกันมาแต่ครั้งแผ่นดินรัชกาลพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ไม่ทรงโปรดให้ไว้ผมสั้นข้าราชบริพาลฝ่ายในที่ใกล้ชิดต่างเริ่มไว้ผมบ๊อบยาวมากขึ้น   แต่ก้อยังไม่มากเท่ายุครัชกาลที่๗

 ยุคปลายๆรัชกาลที่๗ของนอกไม่ว่าจะน้ำอบฝรั่ง ลิปสติกแบบที่แหม่มชาวต่างชาติทาปากแดงกัน หรือแม้แต่เจลใส่ผมแบบฝรั่งที่นำเข้ามากลืนกินความนิยมของโบราณให้หายไปโดยสิ้นเชิง  
ของใหม่จากเมืองนอกที่หรูหราและแพงถูกลดทอนคุณค่าของดั้งเดิมของไทยแท้จนหมด พอช่วงยุค2500 ชื่อของน้ำมันตานีก้อหายไปจากหูของคนไทยไปโดยปริยาย

เจลสีสวยจากเมืองนอกกลายเป็นสิ่งแปลกใหม่ในสายตาคนไทยที่เห่อของนอก ตั้งใจมานำเสนอให้คนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นได้เห็นกันว่าของไทยแท้ดีที่สุด ใครยากลองทำลองทำใช้ก้อลองได้ค่ะไม่ยากจนเกินไป ดอกไม้ปลูกไว้เด็ดมาอบมาทำสดๆจะดีมากกว่าใช้ดอกไม้จากตลาดที่แช่สารเคมีมา ชอบในถูกใจแชร์ต่อได้ไม่ว่ากันค่ะ อยากให้คนรุ่นใหม่ๆได้รู้จักของไทยๆที่สูญหายไปแล้ว......."น้ำมันตานี"

https://www.facebook.com/618245741648114/posts/722591744546846/


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 28 ต.ค. 20, 08:12

มาทักทายคุณ  han_bing  ค่ะ  หายไปนานทีเดียว
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง