เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 3115 รบกวนสอบถามเกี่ยวกับ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


 เมื่อ 23 พ.ย. 19, 00:06

เท่าที่ทราบมาคือ
เนื้อความเริ่มตั้งแต่สร้างพระพุทธรูปพระเจ้าพนัญเชิง ในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ และความมาจบลงในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อทรงเตรียมทัพจะเสด็จไปตีอังวะ เป็นอันจบความ

ที่จะรบกวนสอบถามท่านผู้รู้คือ

ผมอ่านกี่ฉบับ ก็เจอข้อความจบลงตรงที่รัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถทั้งนั้น สังเกตได้จาก

ศักราช ๙๕๔ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๑๓๕) วัน ๖๒๑๒ คํ่า  ..... กล่าวถึงทรงกระทำยุทธหัตถี
ศักราช ๙๕๕ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๑๓๖) วัน ๒๕๑๐ คํ่า  ...... ทรงไปเอาเมืองละแวก

ศักราช ๙๖๖ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๑๔๗) วัน ๕๖๒ คํ่า เสด็จพยุหบาตรจากป่าโมกโดยทางชลมารค แลฟันไม้ข่มนามตำบลเอกราช ตั้งทัพไชยตำบลพระหล่อ วันนั้นเป็นวันอุน แลเป็นสงกรานต์ พระเสาร์ไปราศีธนูเป็นองค์ษาหนึ่ง ครั้งนั้นครั้นเสด็จพระราชดำเนินเถิงเมืองหลวงตำบลทุ่งดอนแก้ว

ซึ่งเมื่อเทียบรัชสมัยกลับไป ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ แสดงว่าผู้จัดทำพระราชพงศาวดารนี้เข้าใจคลาดเคลื่อน  หรือว่าจริง ๆ แล้วยังมีสำนวนที่ถูกต้องกว่านี้อีกครับ ?
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 พ.ย. 19, 08:52


คนเขียนคำอธิบายของ​ เวอร์ชันที่อยู่ในเว็บหอสมุด​วชิรญาณเขียนผิดครับ
น่าจะผิดมาหลายปีแล้ว

กรมพระยาดำรงฯท่านคาดว่าฉบับหลวงประเสริฐฯ​ น่าะมีสองเล่มสมุดไทย
เล่มแรกจบที่ปลายรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่สองน่าจะบันทึกเหตุต่อมาจนถึงพระนารายณ์มหาราช

แต่ปัจจุบันพบเพียงเล่มแรก​(a​ few​ copies​ of​ volume​1)​เท่านั้น
(คาดว่า​ หลวงประเสริฐ​ edition  มี​ 2​ volume)​
ในฉบับหลวงประเสริฐ​ พระนารายณ์บพิตรเป็นเจ้าคือพระนเรศวร​ ฯ

เราอาจลองคาดเดาต่อไปว่าถ้ามี​ volume​ 2​ จะกล่าวถึงพระนามพระนารายณ์ฯว่าอย่างไร

เหตุใดคนเขียนคำอธิบายเขียนผิด​ ไม่อาจทราบได้

บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 พ.ย. 19, 15:20

สมเด็จพระนารายณ์บพิตรเป็นเจ้า ในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ หมายถึงสมเด็จพระนเรศวรครับ

พระองค์มีอีกพระนามหนึ่งว่าพระนารายณ์ ในคำให้การขุนหลวงหาวัดออกพระนามว่า พระนารายณ์เมืองห่าง  เช่นเดียวกับตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราชออกพระนามว่า พระบาทนารายน์เมืองหาง  เนื่องจากพระองค์สวรรคตที่เมืองหางครับ


รัชกาลสมเด็จพระนเรศวรอยู่ในช่วง พ.ศ. ๒๑๓๕ ถึง ๒๑๔๘  เหตุการณ์ในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ จบแค่ จุลศักราช๙๖๖ (พ.ศ. ๒๑๔๗) ยังอยู่ในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรครับ



แต่ในต้นฉบับสมุดไทยของพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ  มีลายมือเขียนด้วยดินสอขาวเพิ่มข้อความต่อท้ายไว้ว่า  "๏ ลุะศักราช ๙๖๘ ปีมเมิยฉัอศกไดทำพรพุทธบาท"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 พ.ย. 19, 15:45

คุณศรีสรรเพชญ์เจอหลักฐานว่าทำไมถึงเรียกสมเด็จพระนเรศวร ว่าพระนายรายณ์ไหมคะ
เกี่ยวกับคำว่า "พระรามาธิบดี" หรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 27 พ.ย. 19, 11:21

คุณศรีสรรเพชญ์เจอหลักฐานว่าทำไมถึงเรียกสมเด็จพระนเรศวร ว่าพระนายรายณ์ไหมคะ
เกี่ยวกับคำว่า "พระรามาธิบดี" หรือเปล่าคะ

ผมยังหาหลักฐานไม่พบครับ  แต่ส่วนตัวผมสันนิษฐานว่ามาจากค่านิยมในสมัยโบราณที่จะไม่ออกพระนามจริงของเจ้านาย จึงสมมติพระนามที่เป็นคุณนามขึ้นเพื่อเรียกขานแทน "นเรศ" หรือ "นเรศวร" ที่เป็นพระนามจริงครับ

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ใน "อธิบายพระนามพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี" ว่า

"พระนามที่เรียกว่า พระนารายณ์ นั้น ข้าพเจ้าเข้าใจว่า เป็นพระนามพิเศษ ด้วยได้พบในหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐซึ่งเป็นฉบับหลวงครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเรียกพระนามสมเด็จพระนเรศวรว่า สมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้า ทุกแห่ง แลพบหนังสือตำนานแต่งครั้งกรุงศรีอยุธยาราวแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศอีกเรื่องหนึ่งที่เมืองนครศรีธรรมราชเรียกพระนามสมเด็จพระนเรศวรว่า สมเด็จพระนารายณ์เมืองหาง หมายว่า สมเด็จพระนารายณ์พระองค์ที่สวรรคตที่เมืองหาง หนังสือนี้ทำให้เข้าใจว่า เวลาเมื่อแต่ง จะมีพระเจ้าแผ่นดินที่เรียกว่า พระนารายณ์ กว่าพระองค์เดียว (คือ มีพระนารายณ์ลพบุรีขึ้นอีกองค์หนึ่ง) จึงเรียกพระนารายณ์เดิมว่า พระนารายณ์เมืองหาง ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ จึงเข้าใจว่า พระนามที่เรียกว่า พระนารายณ์ นั้นเป็นพระนามพิเศษครั้งหลัง"

(แต่สำหรับพระนามของสมเด็จพระนารายณ์นั้น ปรากฏในหลักฐานต่างประเทศหลายชิ้นยืนยันว่าเป็นพระนามเดิม เมื่อเสวยราชย์แล้วจึงมีพระนามวิเศษอย่างอื่นไปอีก)



พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุทธยาในสมัยหลัง ก็มักมีพระนาม "พระนารายณ์" ประกอบอยู่ในพระนามทางการเสมอ เช่น

สมเด็จพระนารายณ์ ในกฎหมายลักษณะรับฟ้อง มหาศักราช ๑๕๔๖ ออกพระนามว่า "พระบาท สํมเดจํเอกาทศ รํทอีสวรบ่อรํมนาฎบรมบํอพีด พระพุทีเจาอยูห้ว คืออ่ง่พระณ่รายเปนเจาอันประเสีท"

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  สำเนากฎเรื่องตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชครั้งกรุงเก่าออกพระนามว่า "พระราชโองการพระบาทพระศรีสรรเพช สมเด็จเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว คือองค์สมเด็จพระนารายน์เปนเจ้า พระเจ้าปราสาททอง พระเจ้าช้างเนียม พระเจ้าช้างเผือก ทรงทศพิธราชธรรม์ ราชอนันตสมภาราดิเรก เอกอุดมบรมจักรพรรดิสุนทรธรรมมิกราชบรมนารถ บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว"

ในพระราชสาส์นจองพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศที่ส่งไปลังกา ออกพระนามเป็นภาษามคธ แปลเป็นภาษาไทยใกล้เคียงกัน เช่น  "สมเด็จพระเอกาทศรุทธ์ อิสรบรมนารถบรมบพิตร พระนารายน์เป็นเจ้า" หรือ "สมเด็จพระเอกทศรุทธ์อิศร บรมนารถบรมบพิตรพระนารายณ์มหาราช"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 27 พ.ย. 19, 11:28

ดิฉันสันนิษฐานว่า คำ " พระนารายณ์เป็นเจ้า" มีความหมายเดียวกับ "สมเด็จพระรามาธิบดี" ค่ะ   
ในเมื่อเมืองหลวงมีนามว่า "ศรีอยุธยา"  พระเจ้าแผ่นดินที่ครองก็เลยได้เฉลิมพระนามเป็นอย่างเดียวกับพระรามที่ครองกรุงอโยธยาด้วย
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 27 พ.ย. 19, 21:24


ตรงนี้กรมพระยาดำรงน่าจะเขียนผิดครับ

ในตำราพราหมณ์เมืองนครนั้น
พระนารายณ์เมืองหางไม่ตรงกับพระนเรศวร
และพระนารายณ์นเรศร์ไม่ใช่พระนารายณ์เมืองลพบุรี

ตำนานนี้ออกพระนามพระราชาทุกพระองค์ว่าพระนารายณ์หมด

แต่ฉบับหลวงประเสริฐฯ  เฉพาะพระองค์เท่านั้น
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง