uglykidney
อสุรผัด

ตอบ: 7
|
วิหารพระศิวะหรือวิหารไกรลาส อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของประเทศอินเดีย ตั้งที่เมืองออรังคาบัด รัฐมหาราษฏระ รัฐที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศอินเดีย ตัววิหารนั้นอยู่ในอาณาเขตของถ้ำ Ellora ซึ่งประกอบด้วยโบราณสถานอื่นๆ ทั้งของศาสนาพุทธ และ ฮินดู รวมทั้งหมดกว่า 32 แห่งในบริเวณเดียวกัน โดยวิหารไกรลาสนี้ตั้งอยู่ในถ้ำที่ 16
โดยตัววิหารนั้นถูกสร้างขึ้นเมื่อ 1300 ปีที่แล้ว สมัยจักรวรรดิราษฏรกูฏ (Rashtrakuta) ที่ปกครองโดยราชวงศ์จาลุกยะ ราชวงศ์ที่เรืองอำนาจทางตอนใต้ของประเทศอินเดียในยุคนั้น โดยกษัตริย์คริชนะ ตามตำนานเล่าว่าพระมเหสีของพระองค์นั้นป่วยหนัก จึงสวดอ้อนวอนต่อพระศิวะ โดยอธิษฐานว่าหากรอดตายนั้นจะสร้างวิหารถวายให้พระองค์ เมื่อพระมเหสีนั้นหายดีแล้ว กษัตริย์คริชนะจึงได้เกณฑ์ช่างแกะสลักมาเพื่อสร้างวิหารแห่งนี้ถวายแด่พระศิวะ
ตัววิหารนั้นออกแบบโดยการผสมผสานศิลปะของวัฒนธรรมปัลลวะ (Pallava) และศิลปะจากราชวงศ์จาลุกยะ (Chalukya) เข้าด้วยกัน โดยเริ่มแกะสลักจากด้านบนลงไปด้านล่าง จนได้ตัววิหารที่มีความสูง 19 เมตร ซึ่งเป็นที่เดียวในโลกที่สลักจากข้างบนลงล่าง เพราะโดยปกติแล้วนั้นวิหารที่สลักจากหินทั่วทั้งโลกจะใช้การสลักจากข้างหน้าเข้าไปข้างใน ที่สำคัญวิหารแห่งนี้มันยังสลักจากหินขนาดมหึมาเพียงแค่ก้อนเดียวเท่านั้น โดยนักประวัติศาสตร์คำนวนโดยประมานการกัน มันว่าจะต้องสกัดหินแล้วขนออกจากพื้นที่ทั้งหมดเป็นจำนวน 4 แสนตัน หากแต่ทว่ามันใช้เวลาสร้างเพียงแค่ 18 ปีเท่านั้น ถ้าเราลองมาคำนวนตัวเลขง่ายๆจาก สมมติให้ขนหินทุกวันไม่มีวันหยุด ในระยะเวลา 18 ปี ขนวันละ 12 ชั่วโมงต่อวัน ก็จะเท่ากับว่าจะต้องขนหินออกจากวิหารแห่งนี้ในอัตรา 5 ตันต่อชั่วโมง ออกจากพื้นที่แกะสลัก ต่อให้ใช้เทคโนโลยีของยุคปัจจุบันยังไม่น่าจะทำได้เลย นี่ขนาดเรานับแค่ขนหินออกไปทิ้งนะ ซึ่งมันน่าที่จะเป็นขั้นตอนที่ง่ายที่สุด ยังไม่ได้นับว่าขั้นตอนของการแกะสลักนั้นมันน่าที่จะใช้เวลามากที่สุด นั่นมันก็ชวนทำให้สงสัยว่า เครื่องมือในยุคนั้นที่มีเพียงแค่ ค้อน ลิ่ม และสิ่ว ทำไมถึงสามารถสร้างวิหารแห่งนี้ได้
|