เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 6940 ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องผ้าทอกับผ้าลายอย่างของไทยค่ะ
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 24 ก.ย. 19, 17:22

ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะคุณ siamese

ถ้าคนอยุธยาสามารถทำผ้าลายธรรมดาเองได้ พอจะทราบไหมคะว่าสมัยก่อนนิยมทำผ้าลายธรรมดาในลายอะไร และผ้าลายนอกอย่างที่แขกอินเดียออกแบบพิมพ์ให้เหมือนลายไทยพอจะมีตัวอย่างลายไหมคะ ดิฉันไปค้นที่กูเกินส่วนใหญ่จะไม่ค่อยกล่าวถึงเท่าผ้าลายอย่างเลย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 24 ก.ย. 19, 17:57

ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะคุณ siamese

ถ้าคนอยุธยาสามารถทำผ้าลายธรรมดาเองได้ พอจะทราบไหมคะว่าสมัยก่อนนิยมทำผ้าลายธรรมดาในลายอะไร และผ้าลายนอกอย่างที่แขกอินเดียออกแบบพิมพ์ให้เหมือนลายไทยพอจะมีตัวอย่างลายไหมคะ ดิฉันไปค้นที่กูเกินส่วนใหญ่จะไม่ค่อยกล่าวถึงเท่าผ้าลายอย่างเลย

จะเก็บข้อมูลทำอะไรหรอ  ฮืม ฮืม ฮืม ฮืม
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 24 ก.ย. 19, 20:37

ไม่ได้เอาไปทำอะไรหรอกค่ะแค่สงสัยเพิ่มเติมเรื่องผ้าเฉยๆค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 25 ก.ย. 19, 18:40

  การศึกษาผ้าพิมพ์ลาย

      ผ้าลาย คือ ผ้านุ่งที่มีลายเป็นดอกดวงต่างๆ และผ้าพิมพ์ คือผ้าลายที่ไทยสั่งพ่อค้าชาวอินเดียไปจัดทำตาม
แบบและลายไทยที่สั่งไป เช่น ลายพุ่มข้าวบิณฑ์พรหมก้านแย่ง ลายดาราราย ลายแก้วชิงดวง ลายกินรีรำ เป็นต้น
ผ้าพิมพ์ที่มีลายตามกระบวนลายไทยดังกล่าว เรียกว่า ผ้าลายอย่าง ต่อมาพ่อค้าชาวอินเดียคิดทำาลายผ้าพิมพ์ขึ้น
ตามลายไทย แต่มีการนำเอาแบบลวดลายผ้าอินเดียมาผสมแต่งเติมเข้ากับลายไทย ผ้าลายดังกล่าวนี้จึงเรียกว่า
ผ้าลายนอกอย่าง

      ลายไทยเดิมอาจจะออกแบบเพื่อใช้เป็นลายผ้ามาก่อนแล้วเพราะมีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านที่ศึกษาวิจัยลาย
ไทยในภาพจิตรกรรมฝาผนังบนผนังอาคาร โบสถ์ วิหาร ตลอดจนขื่ออาคาร พบว่ามีการตกแต่งด้วยลายดังกล่าว
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาคารต่างๆแต่เดิมคงตกแต่งโดยใช้ผ้าพิมพ์ลายหุ้มคลุมส่วนต่างๆของอาคาร เพื่อความสวยงาม
ต่อมาเมื่อช ารุดไปจึงเกิดการเขียนลายผ้านั้นด้วยสีต่างๆ ลงบนขื่อหรือเพดาน เพื่อจะได้ไม่ต้องเปลี่ยนหรือซ่อมแซม
ลายบ่อยๆ เราจึงเห็นลายประดับอาคารมีรูปแบบคล้ายลายผ้าอยู่มากมายหลายแห่ง อันเป็นต้นแบบของพัฒนาการ
ลวดลายภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่มีต้นก าเหนิดมาจากลวดลายผ้าก่อนที่จะเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้า หรือเรื่องเล่า
ชาดกต่างๆ

อ่านต่อได้ที่นี่ค่ะ

https://www.sacict.or.th/uploads/items/attachments/b219f59c2dd596abfadbcecfc2277659/_c51433679c37a58bbf1c49099a0a404d.pdf
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 25 ก.ย. 19, 18:42

ผ้าพิมพ์ลายอย่าง สมัยอยุธยาตอนปลาย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 25 ก.ย. 19, 19:23

ขุนช้างขุนแผน / นุ่งผ้าตามะกล่ำ / นุ่งผ้าตาบัวปอก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 25 ก.ย. 19, 19:37

ผ้ายกทองของขุนช้าง เห็นจะเป็นผ้าทอกับเส้นทอง   ไม่ใช่ผ้าพิมพ์ลายใช่ไหมคะ คุณ Siamese


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 25 ก.ย. 19, 19:41

นางพิมก็นุ่งผ้ายกทองพื้นสีแดง   หรูหราไม่ใช่เล่นเหมือนกัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 25 ก.ย. 19, 19:47

ศรีประจันตอนแรกก็จะนุ่งผ้ายกตานี  ห่มดอกคำ  แต่ลูกสาวหัวเราะว่าแม่แก่แล้ว แต่งเว่อวังคนจะหัวเราะได้   แม่ก็เลยรีบเปลี่ยนเป็นนุ่งผ้าฝ้ายตารางดำ ห่มผ้าขาวม้า  น่าจะเป็นผ้าฝ้ายทอ

สงสัยมานานแล้วว่าชาวบ้านอย่างขุนช้าง นางพิม และนางศรีประจัน  มีผ้ายกทองนุ่งด้วยหรือ  มันออกจะเกินหน้าไปหน่อยมั้ง   เพราะแม้แต่ขุนนางก็ยังไม่นุ่งผ้ายก ยกเว้นในงานพระราชพิธี
แต่จะว่ากวีท่านแต่งผิด    ก็ไม่น่าใช่ เพราะสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ และคณะกรรมการหอพระสมุดคงไม่ปล่อยอะไรที่แต่งผิดๆขนาดนี้ออกมาเป็นเล่มได้
คุณหนุ่มสยาม Siamese  มีความเห็นว่ายังไงคะ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 27 ก.ย. 19, 11:41

ผมนึกถึงผ้าสไบปักเส้นไหมทองเป็นดอกๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 27 ก.ย. 19, 17:28

   นึกภาพตามที่คุณ Siamese บอก   เห็นภาพขึ้นมาทันที
   ก่อนอื่น  ขอแยกเครื่่องแต่งกายของนางศรีประจันก่อนนะคะ
แม่ของนางพิมนุ่ง "ผ้ายกตานี"  ส่วนท่อนบน ห่มดอกคำ   คุณหนุ่มสยาม Siamese บอกว่าเห็นผ้าสไบยกดอกด้วยไหมทองเป็นดอกๆ    ก็น่าจะใช่  เพราะระบุไว้ชัดว่า ดอกคำ คือลายดอก สีทอง

  มาดูว่าผ้ายกตานีคืออะไร

  ผ้าจวนปัตตานี หรือ ผ้ายกตานี หรือ ผ้าล่องจวน  เป็นผ้าพื้นเมืองดั้งเดิมแบบหนึ่งของปัตตานี และจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ คือ มีสีล่องหรือลวดลายตามชายผ้า หรือที่ริมผ้า ช่างทอผ้าชาวเมืองปัตตานีรุ่นเก่าๆ เรียกผ้าดังกล่าวว่า "จูวา" จูวา หมายถึง ลวดลายที่ปรากฏอยู่บริเวณชายผ้าทั้งสองด้าน หากลวดลายวางเป็นแนวอยู่ในช่องขนานมีลักษณะเป็นร่องริ้วเรียกว่า "ล่องจูวา" ลายจูวาส่วนอื่นเป็นลายที่ใช้กรรมวิธีมัดหมี่ รูปแบบของลายจูวามีหลากหลายลักษณะ ผ้าที่เป็นลายจูวาเต็มผืนเรียกว่า "ผ้าลีมา" เป็นผ้าชั้นสูง ต้องใช้ความประณีต มีราคาแพง สำหรับกรณีที่เอาลายจูวาไปทำเป็นลายผ้าที่ตำแหน่งสะโพก(ปาต๊ะ) เรียกว่า "ปาต๊ะจูวา" หากเป็นโสร่ง เรียกว่า "ผ้าโสร่งปาต๊ะจูวา" ผ้าโบราณที่พบในปัตตานีพบว่า ผ้าโบราณมีหลากหลายแบบทั้งกรรมวิธีกาทอ เทคนิคพิเศษหรือวิธีการผลิตลวดลาย และ วัสดุหรือเส้นใยที่นำมาใช้

          สมัยอยุธยาและต่อมา เมืองไทยกลายเป็นตลาดผ้า พ่อค้าชาวอาหรับ เปอร์เซีย อินเดีย จีน และชาวยุโรปต่างนำสินค้าผ้าของตนเข้ามาจำหน่ายตามเมืองท่า โดยเฉพาะที่เมืองตานี ได้ชื่อว่าเป็น "แหล่งรวมสินค้าผ้าไหมชั้นนำนอกเหนือจากกวางตุ้ง" จึงเกิดมีผ้าแปลกแผกชนิดมีชื่ออย่างเทศและไทยมากมาย เช่น ผ้านุ่งซึ่งเป็นที่นิยมกันทั้งหญิงและชาย เพิ่งมาเลิกในปลายสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้แก่ ผ้าที่ทอด้วยไหมล้วนๆ เรียกว่า ผ้าไหม ถ้าทอยกเป็นดอกแลดูเด่นด้วยไหมต่างสีเรียกว่า ผ้ายก ผ้าที่ให้มีลวดลายเต็มทั้งผืนผ้า เรียกว่า ผ้าปูม ถ้าทอเกลี้ยงๆ ไม่มีลาย เรียกว่า ผ้าม่วง ถ้าทอมีเชิง เรียกว่าผ้าม่วงเชิง ถ้าทอด้วยไหมปนเส้นด้าย เรียก ผ้าด้ายแกมไหม แต่ถ้าทอด้วยด้ายล้วนไม่จำกัดสี เรียก ผ้าพื้น ผ้าที่ทอประกายด้วยเส้นลวดทอง เรียก ผ้าทอง ถ้าทอเป็นดอกเรียก ผ้ายกทอง
     ผ้ายกตานีเป็นผ้าที่ทอด้วยไหมจากประเทศจีน และใช้เส้นลวดทองเงินจากอินเดีย เปอร์เซีย ทอด้วยฝีมือช่างชั้นดีจึงเป็นที่นิยมกันแพร่หลาย สาเหตุต้องเลิกทอ เลิกใช้ผ้าพื้นเมือง สรุปได้ว่าการช่างฝีมือเราไม่ด้อยไปกว่าชนชาติใด แต่ขาดผู้ผลิตวัตถุดิบ ต้องซื้อไหมเส้นลวดทองเงินจากต่างประเทศ และถูกพ่อค้าคนกลางขายวัตถุดิบและรับซื้อผ้าเอาเปรียบราคาของผ้าที่ผลิตออกมาต้นทุนสูงกว่าผ้าที่ผลิตจากต่างประเทศ เลยต้องเลิกกิจการ
https://www.gotoknow.org/posts/445029
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 27 ก.ย. 19, 17:33

ผ้ายกตานี


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 27 ก.ย. 19, 17:36

ห่มดอกคำ?


บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 28 ก.ย. 19, 16:58

ขอบคุณสำหรับคำตอบเรื่องผ้าลายค่ะ

นางพิม นางศรีประจัน มีสถานะเป็นชั้นไหนในสังคมสมัยนั้นคะ ใช้ไหมทองได้คงจะเป็นระดับขุนนางขึ้นไปถูกไหมคะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 28 ก.ย. 19, 20:08

ขุนช้าง นางศรีประจัน เป็นคหบดีค่ะ  เรียกว่าเป็นเศรษฐีเมืองสุพรรณทั้งสองคน
เมื่อขุนช้างรับเชิญไปงานแต่งงานของพลายแก้วกับนางพิม     ก็แต่งกายหรูหรา นุ่งผ้ายกทองที่ได้เป็นของกำนัลจากพระยานครศรีธรรมราช  ห่มส่านปักทอง
ถ้าเป็นยุคนี้เห็นทีขุนช้างจะแต่งทักซีโดของ Kiton ไปร่วมงานมั้งคะ

ข้อความตอนนี้ตีความได้ว่าขุนนางอย่างพระยานครฯ มีผ้ายกทองในครอบครอง  แล้วยกผ้านั้นให้ขุนช้าง จะด้วยเป็นเพื่อนสนิทหรือมีบุญคุณกันแต่ครั้งไหนในหนังสือไม่ได้บอก    
ข้อความตอนนี้บอกให้รู้ว่า ขุนนางระดับสูงมีสิทธิ์นุ่งผ้าทองได้  และจะมอบผ้านั้นให้เศรษฐีที่ไม่ได้มียศมีตำแหน่งแต่มีเงิน ให้ใช้นุ่งก็ได้เหมือนกัน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 20 คำสั่ง