เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 6946 ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องผ้าทอกับผ้าลายอย่างของไทยค่ะ
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


 เมื่อ 23 ก.ย. 19, 11:09

ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องผ้าทอกับผ้าลายอย่างของไทยค่ะว่าผ้าทอกับผ้าลายอย่างมันต่างกันอย่างไรคะในกรณีมองผ่านคอมพิวเตอร์ คือดิฉันเองเวลาดูชุดไทยที่นักแสดง นักร้องใส่กันตามเว็บไซด์ต่างๆทำให้สงสัยว่าหลายๆชุดที่พวกเขาใส่เป็นผ้าทอหรือผ้าลายอย่างกันแน่ เพราะเวลาค้นหาเรื่องผ้าไทยจากกูเกิ้ลในเรื่องผ้าทอ ผ้าลายอย่างเห็นว่าลวดลาย สีของชุดก็ไม่ได้ต่างกันนักผ้าทอสมัยนี้ก็ทำลายได้เยอะขึ้น ยากขึ้น สีผ้าก็ดูสดขึ้นไม่ต่างกับผ้าลายอย่าง เลยอยากทราบว่าจะมีวิธีดูอย่างไรคะว่าผ้าไทยชุดนี้ที่นักแสดง นักร้องใส่เป็นผ้าทอหรือผ้าลายอย่าง ผ้าสองแบบนี้มีจุดสังเกตที่แตกต่างกันอย่างไร

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 ก.ย. 19, 11:28

ดิฉันรู้เรื่องผ้านิดหน่อย   ตอบได้ไม่มาก    แต่เดี๋ยวคุณเพ็ญชมพู หรือท่านอื่นๆคงเข้ามาอธิบายได้ค่ะ

เมื่อ 100  ปีก่อนนั้น ผ้าทอกับผ้าลายแตกต่างกันเห็นชัดค่ะ    เพราะวิธีทำเป็นแบบของใครของมัน   ผ้าทอก็คือใช้เส้นทอสลับสีกันให้เกิดลวดลายบนพื้นผ้า  ส่วนผ้าลายคือพิมพ์หรือเขียนลายลงไปบนผ้าพื้น   ลายผ้าทอและลายผ้าพิมพ์เป็นคนละอย่างไม่เหมือนกัน 
แต่ยุคนี้ การทำผ้าไทยพัฒนาไปมาก  ลวดลายต่างๆก็เกิดขึ้นมากมาย   ผ้ารุ่นใหม่ทำเทียมของเก่าก็มีมาก    ถ้าดูผ่านจอทีวีอาจไม่รู้ว่าอย่างไหนเป็นอย่างไหน  ต้องดูของจริงจึงจะรู้ค่ะ

ผ้าลาย กับผ้าลายอย่าง ไม่เหมือนกันนะคะ   
ผ้าลายอย่าง เป็นผ้าในราชสำนักในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น เหตุที่เรียกว่าผ้าลายอย่าง เพราะว่าเป็นผ้าพิมพ์ที่ออกแบบโดยราชสำนักสยามแล้วส่งไปพิมพ์ที่อินเดีย (แหล่งผลิตสิ่งทอคุณภาพเยี่ยมในสมัยนั้น) จึงได้ชื่อว่าผ้าลายอย่าง คือ ทำตามอย่างที่ออกแบบไปให้
ภาพข้างล่าง คือผ้าลายอย่าง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 ก.ย. 19, 11:43

ซ้าย ผ้าลายอย่าง
ขวา  ผ้าลายธรรมดา

ผ้าลายอย่างรูปขวา ราคาไม่แพง  จำได้ว่าเมื่อก่อนมีร้านขายผ้าลายแบบนี้ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด  อยู่ตามตลาดใหญ่ๆ ค่ะ  ที่ประตูน้ำก็มี  ในยุคที่คุณป้าคุณย่าคุณยายทั้งหลายยังนุ่งผ้าถุงอยู่กับบ้านหรือออกไปไหนมาไหน ก็ผเ้าถุง  ไม่ใช่กางเกงอย่างในปัจจุบัน
เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเห็นร้านขายผ้าลายในกรุงเทพแล้ว


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 ก.ย. 19, 12:14

ในสมัยก่อนเรื่อยลงมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ ผ้าทอที่ใช้ในราชสำนักเรียกว่า ผ้าสมปัก ส่วนผ้าลายในราชสำนักเรียกว่า ผ้าลายอย่าง เคยสนทนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ในกระทู้ "บุพเพสันนิวาส"

ว่าด้วยเรื่องผ้าสมปัก

"ผ้าสมปัก ผ้านุ่งพระราชทานให้ขุนนางตามตำแหน่งใช้เป็นเครื่องแบบมาก่อนสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จะใช้เฉพาะในเวลาเข้าเฝ้าหรือในพระราชพิธี เป็นผ้าทอด้วยไหมเพลาะด้วยวิธีมัดหมึกกลางผืนผ้าเป็นสีและลายต่างๆ สมปักมีหลายชนิด ได้แก่ “สมปักปูม ” ถือว่าเป็นชนิดที่ดีที่สุด "สมปักกล่องจวน” เป็นสมบักที่เป็นลายยาว เป็นสมปักชนิดท้องพื้น เชิงมีลาย นอกจากนี้มีสมปักลายและสมปักริ้ว ซึ่งเป็นผ้าสามัญที่บรรดา เจ้ากรมปลัดกรมนุ่งเท่านั้น มิใช่เป็นของขุนนางชั้นผู้ใหญ่"

และมีอธิบายอย่างละเอียดตรงเรื่องของผ้าปูมเจ้าค่ะ

"ผ้าปูม ประเทศที่ทอผ้าปูม มีประเทศไทย กัมพูชา และมาเลเซีย ด้วยเทคนิคมัดหมี่ ลายผ้าปูม เกิดจากการทอด้ายควบ คือเอาด้ายสีต่างกันทอไปตามอำนาจความลักลั่น จึงเกิดเป็นลายตาม ความคิด ผ้าปูมที่เห็นเป็นผ้าไหมทอ มีลวดลายเด่นด้วยไหมสีต่างๆ แต่ส่วนมากเป็นพื้นผ้าปูม (เส้นยืน) เป็นสีแดง ตัวผ้าปูมแบ่งส่วนผ้าออกเป็นส่วนขอบผ้า เชิงผ้า กับท้องผ้า ชายริม (เชิง) ผ้าเป็นลายเชิง หรือลายกรวยเชิง ขอบผ้าด้านยาวเป็นลายก้านแย่งขนาบด้วยลายแนวเส้นแคบๆ ต่อด้วยลายกรวยเชิงสั้นๆ ท้องผ้าปูมเองมักทอยกดอกลายเครือเถาก้านแย่งทั้งผืน ลายในผ้าปูมนี้จะไม่เห็นเป็นลายดอกเด่นชัด อย่างลายปักหรือลายพิมพ์ แต่จะเห็นเป็นลายโครงร่างคร่าวๆ เท่านั้น เพื่อให้ทราบว่าใช้เค้าโครงของ ลายอะไร คำว่า สมปัก บ้างว่าเพี้ยนมาจากภาษาเขมรที่ว่า สมปรต แปลว่า ผู้ชาย ปูมแปลว่าลาย ผ้าสมปักปูม หมายถึง ผ้าลายของผู้ชาย อย่างไรก็ดี ผ้าปูมนี้เดิมเป็นผ้าของหลวงที่ใช้พระราชทานเป็นเครื่องยศขุนนาง เดิมไทยเรามี โรงไหมของหลวงทอผ้าสมปักปูม และสมปักเชิงกรวยพระราชทานให้ขุนนางเป็นผ้าเบี้ยหวัดรายปี ทอด้วยไหมเพลาะ กลางผืนผ้าเป็นลายสีต่างๆ เชิงผ้ามีลายเป็นชั้นๆ แสดงถึงยศ ตำแหน่งของผู้นุ่ง มีสมปักปูมเป็นชนิดสูงสุด สมปักริ้วเป็นชนิดต่ำสุด ดังนั้นผ้าปูมคงหมายถึงเฉพาะผ้าสมปักปูมนั่นเอง ปัจจุบันเป็นผ้าหายากมาก"

ลายผ้าสมปักปูมพระราชทานคงประมาณนี้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 ก.ย. 19, 12:17

ว่าด้วยเรื่องผ้าลายอย่าง

ผ้าลายอย่างเป็นผ้าที่ใช้ในราชสำนัก ส่วนมากเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายก้านแย่ง หรือลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง ในสมัยกรุงศรีอยุธยามักเป็นลายเทพพนม และก้านแย่งเทพรำ ซึ่งเราส่งลายไปให้ทางอินเดียทำมาให้

แต่เมื่อลายอย่างเหล่านี้ขายดีขึ้นมา พวกแขกอินเดียก็ออกแบบพิมพ์ลายเองขึ้นมา โดยพยายามปรับลายให้เข้ากับลายไทย เมื่อส่งมาขายในบ้านเราก็ดูคล้ายลายของเรา จึงเรียกว่า "ลายนอกอย่าง" ต่อมาชาวบ้านที่มีเงินก็ซื้อหามาใช้ได้  

กำลังมีการฟื้นฟูผ้าลายอย่างในเมืองไทย แต่อาจารย์ประภัสสร ผู้ศึกษาผ้าลายอย่างในสยาม ได้ให้ข้อมูลว่าผ้าลายอย่างนั้นเป็นผ้าเขียนลาย ทางราชสำนักไทยออกแบบลายส่งไปให้ทางอินเดียเขียนลายตามนี้โดยส่งไปแถบโจฬะมณฑลเจ้าค่ะ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 ก.ย. 19, 19:05

น่าสนใจ ขอตามอ่านด้วยคนครับ

ผมมีความสนใจเรื่องผ้าทอของไทยมานาน แต่เป็นเพียงระดับผิวเผินที่พอจะคัดแยกงานระหว่างธรรมดากับที่ไม่ธรรมดา  ปัจจุบันนี้ก็ยังนิยมจะแวะไปเที่ยวชมแหล่งทอแหล่งผลิตเมื่อมีโอกาสขับรถเดินทางผ่าน  กล่าวได้แต่เพียงว่า รู้เท่าที่ได้จากการได้เห็นและจากการพูดคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังทอผ้าอยู่ แล้วที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ จำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 23 ก.ย. 19, 19:48

ถือโอกาสพูดถึงผ้าลายอย่างอีกอย่างคือผ้าเขียนทอง  
ผ้าเขียนทอง คือการนำผ้าลายอย่างที่สำเร็จบริบูรณ์แล้วทั้งผืน มาเขียนลายทองทับลงไปอีกที   มีทั้งสั่งให้เขียนทองมาจากเมืองเทศ หรือเอามาแต่ผ้าแล้วเขียนทองลงไปด้วยฝีมือช่างไทย
ผ้าเขียนทองเป็นผ้าชั้นสูง   ใช้เป็นพระภุษาของเจ้านาย      ไม่เคยเห็นขุนนางหรือเศรษฐีใช้ผ้าเขียนทองเป็นผ้านุ่ง   แต่จะว่าคนธรรมดาสามัญไม่มีเลยก็ไม่ใช่    คุณศุภร บุนนาคเคยเล่าว่าในบรรดาข้าวของของบรรพบุรุษฝ่ายมารดา ที่พังพินาศไปพร้อมกับลูกระเบิดในตอนสงครามโลก  ส่วนที่รอดมาได้มีผ้าเขียนทองผืนหนึ่งรวมอยู่ด้วย  ไม่ทราบความเป็นมาว่าเป็นผ้าพระราชทานหรือว่าได้มาจากไหน    


บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 23 ก.ย. 19, 20:40

ขอบคุณค่ะ สรุปว่าสมัยนี้ดูผ่านทีวี ผ่านคอมยากใช่ไหมคะว่าเป็นผ้าทอ หรือผ้าลายอย่าง

ในส่วนผ้าปูมมักจะทอกันกี่ลวดลาย มีความหลากหลายในลวดลายแค่ไหนคะเมื่อเทียบกับผ้าทอ ผ้าลายอย่างในรูปแบบต่างๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 23 ก.ย. 19, 20:50

ผ้าปูม (มัดหมี่)

ผ้าปูม หรือปัจจุบันทราบกันในชื่อมัดหมี่ ในประเทศไทยมีผลิตมาก ทั้งผ้าไหม และผ้าฝ้าย โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนล่างแทบทุกจังหวัด

ผ้าปูมนี้เดิมเป็นผ้าส่วยของหลวงมาจากเมืองเขมร ที่ใช้พระราชทานเป็นเครื่องยศขุนนาง เดิมไทยเรามีโรงไหมของหลวงทอผ้าสมปักปูม และสมปักเชิงกรวยพระราชทาน ทอด้วยไหมเพลาะ กลางผืนผ้าเป็นลายสีต่างๆ ใช้ตามยศตามเหล่า มีสมปักปูมเป็นชนิดสูงสุด สมปักริ้วเป็นชนิดต่ำสุด ดังนั้นผ้าปูมคงหมายถึง เฉพาะผ้าสมปักปูมนั่นเอง อันเป็นของหายากมาก

ลักษณะการทอ และรูปแบบของผ้ามัดหมี่นี้พบว่า เป็นเทคนิคที่มีอยู่ทั่วโลก ในประเทศที่มีอารยธรรมโบราณ ไม่ว่าจะเป็นประเทศในทวีปเอเชีย ทั้งจีน อินเดีย อินโดนิเซีย หรือในทวีปยุโรป และแอฟริกาด้วย ซึ่งจัดเป็นเทคนิคที่มีต้นกำเนิดที่น่าสนใจยิ่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 23 ก.ย. 19, 20:54

ผ้าปูมแบบเดิม คงมีลายเฉพาะตัว    เพราะเป็นผ้านุ่งบอกยศบอกเหล่าของขุนนาง  เทียบได้กับเครื่องแบบ   เพราะฉะนั้นจะทอลายตามใจชอบของช่างทอไม่ได้
ส่วนมัดหมี่ในปัจจุบันทอกันอยู่หลายจังหวัดทั้งภาคอีสานและภาคกลาง   แม้กรรมวิธีจะเหมือนเดิมคือมัดแล้วย้อมสี  แต่การออกแบบลายก็คงไม่จำกัด   แล้วแต่ช่างจะได้ไอเดียใหม่ๆแบบไหนขึ้นมาค่ะ   


บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 24 ก.ย. 19, 11:34

ขอถามเพิ่มเติมนะคะ ถ้าผ้าลายมีทั้งผ้าลายอย่างกับผ้าลายธรรมดา แสดงว่าในสมัยอยุธยานั้นคนไทยก็สามารถทำผ้าลายธรรมดาได้เองถูกไหมคะเพียงแต่อาจไม่สวยเท่าผ้าลายอย่างที่เป็นของนอก

และผ้าลายนอกอย่างที่แขกอินเดียออกแบบพิมพ์ให้เหมือนลายไทยมาขายให้ชาวบ้าน ทางราชการไม่ว่าอะไรหรือคะดิฉันเข้าใจว่าน่าจะมีบางลวดลายที่อาจจะมีการห้ามทำเหมือนกับทางในวัง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 24 ก.ย. 19, 11:56

ตัวอย่างหนึ่งของผ้าลายอย่างที่พบในงานจิตรกรรมฝาผนังวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 24 ก.ย. 19, 12:19

ขอเชิญคุณหนุ่มสยามไขข้องข้องใจให้คุณดาวกระจ่างในค.ห. นี้ค่ะ

ขอถามเพิ่มเติมนะคะ ถ้าผ้าลายมีทั้งผ้าลายอย่างกับผ้าลายธรรมดา แสดงว่าในสมัยอยุธยานั้นคนไทยก็สามารถทำผ้าลายธรรมดาได้เองถูกไหมคะเพียงแต่อาจไม่สวยเท่าผ้าลายอย่างที่เป็นของนอก

และผ้าลายนอกอย่างที่แขกอินเดียออกแบบพิมพ์ให้เหมือนลายไทยมาขายให้ชาวบ้าน ทางราชการไม่ว่าอะไรหรือคะดิฉันเข้าใจว่าน่าจะมีบางลวดลายที่อาจจะมีการห้ามทำเหมือนกับทางในวัง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 24 ก.ย. 19, 13:00

ขอเชิญคุณหนุ่มสยามไขข้องข้องใจให้คุณดาวกระจ่างในค.ห. นี้ค่ะ

ขอถามเพิ่มเติมนะคะ ถ้าผ้าลายมีทั้งผ้าลายอย่างกับผ้าลายธรรมดา แสดงว่าในสมัยอยุธยานั้นคนไทยก็สามารถทำผ้าลายธรรมดาได้เองถูกไหมคะเพียงแต่อาจไม่สวยเท่าผ้าลายอย่างที่เป็นของนอก

และผ้าลายนอกอย่างที่แขกอินเดียออกแบบพิมพ์ให้เหมือนลายไทยมาขายให้ชาวบ้าน ทางราชการไม่ว่าอะไรหรือคะดิฉันเข้าใจว่าน่าจะมีบางลวดลายที่อาจจะมีการห้ามทำเหมือนกับทางในวัง

ทำผ้าลายได้เองแต่จะลายจะต้องไม่ตรงกับลายที่ราชสำนักกำหนด นอกจากนี้ยังมีพ่อค้าชาวยุโรปนำผ้าพื้นเมือง ผ้าแพร ผ้าลายต่างๆ จากเมืองท่าทั่วโลกนำมาขายในอยุธยาด้วย
ผ้าลายอย่างที่ราชสำนักสั่งทำจากต่างประเทศจะถุกกำกับดูแลจากกรมท่าขวา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 24 ก.ย. 19, 13:13

ตัวอย่างหนึ่งของผ้าลายอย่างที่พบในงานจิตรกรรมฝาผนังวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี

หัวใจในลายผ้า : "ผ้าลายอย่าง" จากจิตรกรรมวัดใหญ่สุวรรณาราม


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.091 วินาที กับ 20 คำสั่ง