เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 10761 วรรณคดีในศตวรรษที่ 21 ฤๅจะถึงจุดจบ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 16 ก.ย. 19, 15:07

น่าจะเป็นว่า
1  ครูของคุณเก่งมาก ในการสอนให้เข้าถึงวรรณคดีได้
2  ยุคนั้น ผู้ใหญ่และเด็กยังอ่านหนังสือกันมาก  ทำให้ชินกับการใช้ภาษาไทย อ่านเรื่องราวยาวๆ ศัพท์ยาวๆได้เข้าใจง่าย  เมื่อติดศัพท์ ครูอธิบายให้ฟังก็เข้าใจได้ทะลุปรุโปร่ง
    ไม่ทราบว่าคุณทบทวนความหลังครั้งเรียนม.ปลาย หรือว่าเมื่อเรียนมหาวิทยาลัย   เพราะทักษะของนักเรียนกับนิสิตนักศึกษาผิดกัน

  โลกยุค 40-60 ปีก่อน คือเมื่อพ.ศ. 2502 ถึง 2522   เป็นยุคที่บริษัทเพิ่งจะเริ่มใช้แฟกซ์   สถานราชการยังใช้พิมพ์ดีด   ผู้คนยังเขียนจดหมายถึงกันอยู่  ตอนเช้า อ่านหนังสือพิมพ์อ่านข่าวยาวๆเต็มหน้ากระดาษ   ตอนเย็น ผู้คนยังแวะแผงหนังสือ ซื้อนิตยสารกลับบ้าน 
 โลกยังหมุนช้ากว่าเดี๋ยวนี้มากค่ะ
บันทึกการเข้า
jungo ka
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 16 ก.ย. 19, 17:58

ต้องยกความดีทั้งหมดให้คุณครูและอาจารย์ผู้สอนค่ะ
   รวมทั้งด้วยความชอบวิชาภาษาไทยเป็นการส่วนตัวด้วย ที่เรียนแล้วสนุก น่าจดจำ และประทับใจตั้งแต่ระดับมัธยมฯ เป็นต้นมา ทั้งในตำราเรียน หนังสืออ่านนอกเวลา นิยาย เรื่องแปล เรื่องสั้น และบทเพลงต่างๆ แต่มาหัดวิเคราะห์และเข้าถึง รวมทั้งคาดเดาความในใจของผู้ประพันธ์เอาตอนช่วงทำงานด้านนิตยสารค่ะ เนื่องจากต้องหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เยอะมาก ทำให้ได้กลับมาสัมผัสสาระของบทความ วรรณกรรมและวรรณคดีหลายเรื่องอย่างลึกซึ้งขึ้น
 
   อย่างไรก็ดี หนูก็ยังรู้สึกว่างานประพันธ์ของนักเขียนชั้นครู มีคุณค่าสูงทั้งในเชิงวรรณศิลป์ การจรรโลงสังคม รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม มากกว่าผลงานของนักเขียนรุ่นใหม่ ที่เน้นกระแสสังคม รวมทั้งความชอบของกลุ่มเป็นหลัก เวลาอ่านแล้วรู้สึกขัดใจเรืื่องข้อมูลที่ไม่แน่นหนา ขาดการรีเสิร์ช ไม่ว่าจะเรื่องภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ฯลฯ พล็อตเรื่องก็หลวม ขาดๆ เกินๆ รวมทั้งพัฒนาของตัวละครที่ไม่สมเหตุสมผลตามหลักจิตวิทยา และอาจเกิดจากประสบการณ์ชีวิต ความเข้าใจโลกที่ยังมีน้อยของนักเขียน
จนทำให้เข้าถึงประโยคที่ว่า วรรณกรรมคือภาพสะท้อนของสังคมในแต่ละสมัยได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 16 ก.ย. 19, 18:16

ขอร่วมคุยด้วยนะคะ ดิฉันไม่แน่ใจว่าหลายท่านเคยได้ยินไหมในประเด็นที่ว่าเด็กสมัยนี้ไม่ค่อยชอบวรรณคดีเพราะรับไม่ได้ที่เนื้อหาในนั้นจะไม่เป็นไปตามค่านิยมของสมัยนี้ เช่น ผู้ชายหลายคนมีเมียเยอะ การกดขี่ผู้หญิงอย่างนางโมรา นางกากีทั้งที่ทั้งสองไม่มีตัวเลือกมากนัก การฆ่าผู้หญิงเอาลูกมาทำเป็นกุมารอย่างขุนแผน การให้เมียตัวเองลุยไฟอย่างรามเกียรติ์ สุวรรณหงส์ตัดคอเมียชิมเลือด เป็นต้น คือทางนั้นเขามองว่ามันเลวร้ายไม่เหมาะที่จะเอามาให้เด็กวัยมัธยมเรียนทำนองนี้น่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 16 ก.ย. 19, 18:52

ขอต้อนรับมาร่วมวงค่ะ

เคยได้ยินทำนองนี้มาเหมือนกันค่ะ   ถ้าจะเอาประเด็นศีลธรรมเข้ามาจับก็จะได้ตามนั้นจริงๆค่ะ    คือประเด็นเหล่านี้ไม่ได้เป็นเรื่องสอนใจเด็กวัยเรียนได้เลย 
ความจริงคือเมื่อกวีแต่งเรื่องเหล่านี้ขึ้น  ท่านไม่ได้มุ่งหมายจะให้เป็นเรื่องสอนเด็กนักเรียน    แต่เป็นเรื่องที่แต่งตามใจรักของกวี  ในยุคสมัยที่ค่านิยมเป็นคนและแบบกับปัจจุบัน
เมื่อเวลาผ่านไปนับร้อยปี  หนังสือเหล่านี้ถูกยกขึ้นหิ้งเป็นวรรณคดีด้วยคุณสมบัติบางด้านที่เด่นชัด เช่นทางด้านวรรณศิลป์ ด้านสร้างความสะเทือนอารมณ์   แต่พอกลายเป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่อง เลยกลายเป็นว่าทุกด้านต้องได้รับการยกย่องหมด   ทั้งๆไม่จริง   
ถ้าเอาศีลธรรมปัจจุบันเข้าจับพฤติกรรมตัวละคร  ตัวเอกทั้งหลายสอบตกหมด  ขุนแผนเป็นผู้ชายที่ความประพฤติส่วนตัวใช้ไม่ได้เลย   ผู้ชายในเรื่องกากีก็เลวไม่น้อยไปกว่านาง แต่รอดตัวไม่ถูกตำหนิกันสักคน   พระรามเองก็เป็นสามีที่ไม่น่านับถือสักเท่าไร
เนื้อหาทั้งหมดนี้ไม่ควรนำมาสอนเด็กนักเรียน ทำให้เด็กสับสนได้ จริงค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 16 ก.ย. 19, 19:32

ฟ.ฮีแลร์เคยเล่าให้ ส. ศิวรักษ์ (ซึ่งขณะนั้นเป็นนักเรียนมัธยมปลายที่อัสสัมชัญ) ฟังว่า "ในตอนนั้นอยากเรียนภาษาไทย เมื่อสอนภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศสอยู่อีกห้องหนึ่ง หูมักพยายามเงี่ยฟังว่าห้องถัดไปเขาสอนภาษาไทยว่าอย่างไร"

ในสมัยนั้นเด็กไทยเรียนแบบเรียนชุด มูลบทบรรพกิจ ฟ.ฮีแลร์ กล่าวว่า “จังหวะจะโคนและลีลาแห่งภาษาน่าพิสมัยมาก” จึงพยายามเรียนคำศัพท์จนอ่านรู้เรื่อง

ในบรรดาบราเดอร์ทั้งหมด ฟ.ฮีแลร์ท่านสนใจภาษาไทยมากกว่าคนอื่น ท่านบอก มูลบทบรรพกิจ เพราะมากเลยนะ ท่านก็เอามาอ่าน อ้าว ตายจริง มันมีเรื่องลามกอยู่ในนั้นด้วย แบบฝรั่งเขาพิวริตัน (Puritans) ท่านก็เลย…ไม่ได้ ๆ ต้องแต่งใหม่

‘เรื่องลามก’ ใน กาพย์พระไชยสุริยา ที่ปรากฏในแบบเรียนเล่มนั้นมีเนื้อหากล่าวว่า

๏ อยู่มาเหล่าข้าเฝ้า  ก็หาเยาวนารี
ที่หน้าตาดีดี           ทำมโหรีที่เคหา
๏ ค่ำเช้าเฝ้าสีซอ     เข้าแต่หอล่อกามา
หาได้ให้ภริยา        โลโภพาให้บ้าใจ


ท่านบอกว่า ปล่อยให้นักเรียนเรียนแบบนี้ไม่ได้ ต้องให้เรียนความรู้ที่ดีกว่านี้ ท่านก็เลยแต่งแบบเรียนชุด ดรุณศึกษา นี่คือเหตุผลที่ทำให้ ฟ.ฮีแลร์ คิดแต่งแบบเรียนภาษาไทยอันลือเลื่อง

https://readthecloud.co/f-hilaire/
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 16 ก.ย. 19, 19:41

 กาพย์พระไชยสุริยา ที่ท่านฟ.ฮีแลร์น่าจะทนไม่ได้ มีมากกว่าบทนี้อีก   
 สุนทรภู่แต่งเรื่องนี้เป็นแบบเรียนตัวสะกดให้เด็กผู้ชายหัดเขียนอ่าน     แต่กวีเอกของเราก็ไม่ได้บันยะบันยังในสิ่งที่เห็นว่าเป็นปกติวิสัยของมนุษย์
 เรื่องนี้เอามาสอนในยุคนี้ไม่ได้แน่นอนค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 16 ก.ย. 19, 20:54

ทำให้ผมนึกถึงวรรณกรรมคำผวนที่เขียนเป็นเรื่องราวที่จะต้องอ่านออกเสียงเป็นสำเนียงของภาษาใต้ด้วยจึงจะได้อรรถรส ครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 16 ก.ย. 19, 21:34

คุณตั้งคงหมายถึงหนังสือเล่มนี้  ยิ้ม

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3436.msg69830#msg69830
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 17 ก.ย. 19, 13:35

ในวรรณคดีเลยมีคนว่าอยู่ค่ะว่าผู้แต่งแต่งเพื่อไว้ให้ผู้ใหญ่ด้วยกันอ่านเนื้อเรื่องก็เลยออกแนวเป็นชีวิตของผู้ใหญ่ซะเยอะ ไม่แน่ใจว่าของเราโหดน้อยกว่านิทานกริมม์แบบดั้งเดิมของฝรั่งไหม

ส่วนเรื่องการเรียนดิฉันว่านำมาเรียนได้ค่ะเพียงแต่ต้องบอกจุดประสงค์การเรียนให้แน่ชัด เด็กในวัยมัธยมน่าจะเข้าใจ แยกได้อยู่ว่าอะไรควรนำไปทำตาม

แล้วอีกอย่างดิฉันไม่แน่ใจว่าเป็นปัญหาไหม 1.เด็กเบื่อวรรณคดีเพราะผู้ใหญ่มักจะให้เด็กท่องจำเพื่อสอบจนเด็กเบื่อหน่าย ในกรณีนี้บางคนบอกเขาเสียงไม่ดีเลยผ่านยาก บางคนก็ว่าไม่อิน ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องท่องจำได้

 2 การแปลร้อยกรองไม่ออกเรื่องนี้ดิฉันเคยเจอคนบ่นอยู่ตามเว็บต่างๆ เดี๋ยวนี้ดิฉันว่าเด็กไทยมีคลังคำศัพท์น้อยลงและไม่ค่อยสนใจพวกคำเก่าๆเท่าไรการแปลคำพวกนี้เลยทำให้พวกเขามองว่าเชยไป
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 17 ก.ย. 19, 15:12

ความแตกต่างในเรื่องนี้ อาจจะอยู่ตรงที่ ผู้สอน นำหนังสือที่ตนคิดว่า "ควรอ่าน" ไปให้เด็กอ่าน ซึ่งหนังสือเล่มนั้น ไม่ใช่หนังสือที่เด็ก "อยากอ่าน" หนะครับ

ผมขออนุญาตยกตัวอย่างจากตัวของผมเอง ผมมีเรื่องที่ผมสนใจอยู่ก็คือเรื่องประวัติศาสตร์ ทั้งประวัติศาสตร์สากล ประวัติศาสตร์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประวัติศาสตร์การสงคราม (นั่นก็เลยเป็นเหตุให้ผมอ่านสามก๊กตั้งแต่ ป.6 เพราะนั่นคือความชอบของผม ส่วนมหาภารตะฉบับแปลไทย มาอ่านเอาตอนอยู่มัธยมแล้วครับ) นอกจากนี้ ผมยังสนใจเรื่องลึกลับ แบบว่า สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า อารยธรรมไอยคุปต์ มายา อินคา (จริงๆก็คือ อะไรๆที่มีอยู่ในเรื่อนไทยเนี่ยแหละครับ) ก็เพราะอย่างนี้ ผมจึงมีหนังสือที่ผมชอบอ่านของผมเป็นประจำอยู่แล้ว

แต่พอไปที่โรงเรียน ครูบอกให้อ่านหนังสือนอกเวลา ใจผมก็คิดว่า "ฉันมีหนังสือนอกเวลาของฉันอยู่แล้ว" และเมื่อหนังสือที่ครูให้อ่านคือ "นิกกับพิม" อย่างเนี้ย ไม่ใช่ว่าหนังสือไม่ดีนะครับ แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ผมชอบ ถ้าเลือกได้ ผมไปหยิบวารสาร "มิติที่สี่" หรือ "สมรภูมิ" หรือไม่ก็ "บางกอก" มาอ่านนิยายทหารเรือเรื่อง สามสมอ ของ อาจารย์พันทิวา ต่อดีกว่า

คำถามคือ กรณีอย่างผมเนี่ย เรียกว่า "รักการอ่าน" หรือยัง ผมก็ว่าผมรักแล้วนา แต่ผมไม่สนุกกับ นิกกะพิม หรือ ข้างหลังภาพ หรือ มัทนะพาธา นี่นา (แต่ถ้าเป็น ลิลิตตะเลงพ่าย กับสามก๊ก ตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ อันนี้สนุกครับ เพราะมีสงคราม แฮ่ๆ)
 
   
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 17 ก.ย. 19, 15:25

ทีนี้ถ้าจะแก้ว่า ครูไม่ได้เลือกหนังสือให้เด็ก เปิดกว้างไปเลย อ่ะ นักเรียนไปอ่านอะไรมาก็ได้ คำว่า "อะไรก็ได้" ก็หมายความว่า อะไรก็ได้จริงๆ เด็กที่สนใจเล่นแต่เกมส์ เธอก็ไปอ่านเรื่องเกมส์ของเธอมา คนที่สนใจฟุตบอล ก็ไปอ่านเรื่องบอลมา คนที่สนใจอาหารก็ไปอ่านเรื่องอาหารมา อะไรก็ได้ แต่มีเงื่อนไขข้อเดียว พรุ่งนี้ เธอช่วยมาสรุปเรื่องที่เธอไปอ่านมาให้เพื่อนฟังทีนะ

คนที่ไปอ่านเรื่องเกมส์มา ก็ต้องมาเล่าเรื่องเกมส์ที่ว่านั้น เท่ากับเด็กได้ทักษะการสรุปย่อความ และได้ทักษะการถ่ายทอดเล่าเรื่อง ซึ่งสองทักษะเนี่ยเวลาทำงาน จำเป็นมากๆเชียวละครับ

ถ้าสั่งงานแบบนี้ทุกสัปดาห์ เด็กก็ต้องไปอ่านเรื่องต่างๆมาสรุปให้เพื่อนฟังทุกวัน และด้วยความที่เป็นเรื่องที่ตัวเองสนใจ ผมว่ายิ่งทำก็ยิ่งสนุก ผ่านไป 1 ปี อ่านไปทั้งหมด ประมาณ 30 เรื่อง อาจจะไม่ใช่ 30 เล่ม แต่ 30 เรื่องก็เพียงพอที่จะสร้างนิสัยรักการอ่านและการค้นคว้าขึ้นได้

แต่ปัญหาคือ วิธีนี้อาจจะได้เรื่องการอ่าน แต่จะไม่ได้เรียน "ภาษาสวย" อย่างที่ผู้สอนต้องการเลยครับ       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 17 ก.ย. 19, 19:04

   ทฤษฎีการวางหลักสูตร มีพื้นฐานอยู่หลายประเด็น เช่นคำนึงถึงจุดมุ่งหมายของวิชา ว่าต้องการให้นักเรียนรู้อะไร   ต่อมาก็คือนึกถึงความต้องการและความพร้อมของนักเรียนด้วย    ส่วนใหญ่ระบบการศึกษาของไทย เอาความประสงค์ของผู้ใหญ่เป็นหลัก เช่นบรรจุวรรณคดีเรื่องต่างๆลงไปในหลักสูตรก็เพราะอยากให้เด็กได้รู้จักผลงานทรงคุณค่าของกวี     ให้เรียนในชั้นมัธยมเพราะถ้าไม่ทำเช่นนั้น   นักเรียนที่ไปสอบเข้าคณะที่สอนวิชาไม่เกี่ยวกับภาษาจะไม่มีโอกาสรู้วรรณคดีไทยเลย   แต่ไม่ค่อยมีหลักสูตรใดๆที่เอานักเรียนเป็นตัวตั้ง แล้วถามความต้องการของเด็กว่าอยากเรียนอะไรหรืออยากอ่านอะไรบ้าง
   ในศตวรรษที่ 21  ระบบการศึกษาจะเปลี่ยนไปอย่างพลิกระบบถล่มทลาย     การเรียนออนไลน์จะเข้ามาแย่งพื้นที่การเรียนในห้องเรียนไปมากกว่า 50%      เด็กสามารถเลือกเรียนสิ่งที่เขาต้องการได้จากบ้าน  เช่นต่อยอดความรู้จากสิ่งที่เขาชอบ   ถ้าอยากแต่งคำประพันธ์โคลงฉันท์กาพย์กลอนก็ไม่ต้องรอไปเรียนม.ปลายในวิชาภาษาไทย แต่เปิดเว็บไซต์ที่เปิดสอนวิธีแต่งได้เลย    จากนั้นสามารถซักถามตรวจสอบความรู้จากแอดมินได้โดยตรง  จะเรียนฟรีก็ได้  หรือเสียค่าเรียนก็โอนเงินให้ได้เลย แยกเป็นแต่ละหัวข้อไป ไม่ต้องเสียค่าเทอมที่เหมารวมทุกวิชา
   ส่วนเด็กที่เรียนเพื่อจะเอาไปทำงานหารายได้   เขาจะเลือกวิชาที่ตอบสนองได้ในการประกอบอาชีพ  เพราะนายจ้างสามารถกำหนดความต้องการได้โดยตรงจากคนหนุ่มสาว   ไม่จำเป็นต้องผ่านหลักสูตรปริญญาจากมหาวิทยาลัย  เขาปฏิบัติการได้ผ่านหน้าจอ เช่นวิชาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  หรือ AI 
   เพราะฉะนั้น คุณนริศอยากจะเรียนอะไรที่ไม่มีในระบบโรงเรียน เช่นอยากรู้เรื่องการศึกสงครามที่เยิ่งใหญ่พอกันแต่เก่าแก่กว่าสามก๊ก เช่นศึกของหลิวปังและฌ้อปาอ๋อง ก็ไปล็อคอินเข้าเรียนในเว็บไซต์ที่สอนเรื่องนี้ โดยผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์จากปักกิ่งโดยตรง  คุณไม่รู้ภาษาจีนก็ไม่เป็นไร  เพราะกูเกิ้ลแปลภาษา( ซึ่งได้รับการปรับปรุงให้มีความแม่นยำในการถอดภาษาให้อ่านรู้เรื่องเท่าล่ามระดับชาติแล้วในตอนนั้น)ช่วยได้ทันที    เสียค่าล็อคอินไม่กี่หยวน 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 17 ก.ย. 19, 19:15

  เกริ่นมาเสียยาวอ้อมโลกไปไกล   ขอตอบคุณนริศว่าคุณเป็นคนรักการอ่านค่ะ ขอมอบใบรับรองให้  แต่คุณรักหนังสือที่ไม่ตรงกับหลักสูตรในโรงเรียน เท่านั้นเอง
  ข้อนี้ไ่ม่แปลก   ครูกับนักเรียนไม่ค่อยตรงกันในเรื่องนี้     เมื่อดิฉันไปเรียนวิชาวรรณคดีในต่างแดน  ที่นั่นสอนแบบสัมมนา( seminar)  คือครูเลือกหนังสือตรงตามประวัติวรรณคดีมาให้อ่านและวิเคราะห์กันส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งนศ. ไปหากันมาเอง 
  ปรากฏว่าหนังสือที่นศ.หามาเองนั้น เกือบทั้งหมดอาจารย์ไม่รู้จัก  ทั้งๆเป็นศาสตราจารย์ทางวรรณคดี
  พอพวกเราส่งล่วงหน้ารายชื่อหนังสือและผู้แต่งไปให้อาจารย์เพื่อให้เตรียมตัวมาเข้าฟังสัมมนา   อาจารย์บอกว่า ไปหาควั่กอยู่ในห้องสมุด   ชื่อหนังสือที่เพื่อนเสนอ  อาจารย์เจอชื่อผู้แต่งปรากฏอยู่ครั้งเดียวในเชิงอรรถของหนังสือเล่มหนึ่ง   ส่วนของดิฉัน อาจารย์หาทั่วห้องสมุดแล้วไม่เจอเลยสักแห่งเดียว   
  สรุปว่ารสนิยมของอาจารย์กับนักศึกษา ถึงห่างกันคนละซีกโลกก็น่าจะลงรอยเดียวกัน

  คนรุ่นต่อไปจากนี้ จะโชคดีกว่าเราที่อยากอ่านอะไรก็อ่านได้ เรียนอะไรก็เรียนได้ ค่ะ     เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีการปรับปรุงการเรียนการสอนวรรณคดีไทย    ผลงานในอดีตเหล่านี้มีสิทธิ์สูญหายไปจริงๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 17 ก.ย. 19, 19:18

วิธีเรียนอย่างที่คุณนริศบอกมาในคห. 25   ดิฉันได้เรียนมาค่ะ แต่เป็นระดับปริญญาโท
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 17 ก.ย. 19, 19:39

วรรณคดี หมายถึง งานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์    การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6   ก่อนหน้า ไม่มีคำนี้   เพราะฉะนั้นถ้าเราย้อนเวลาไปถามสุนทรภู่ว่า วรรณคดีคืออะไร  กวีเอกของเราคงตอบไม่ได้ เพราะในยุคท่านไม่มีคำว่าวรรณคดี

ภาษาอังกฤษ มีคำว่า Literature  ซึ่งมีความหมายตรงกับคำว่าวรรณคดี  แต่ความหมายกว้างกว่า คือหมายถึงงานเขียนชั้นดีมีวรรณศิลป์ก็ได้   หมายถึงงานเขียนทั่วๆไปที่ไม่ได้กำหนดว่าดีหรือไม่ดีก็ได้  

เพราะฉะนั้น ถ้าจะหาภาษาไทยให้ตรงกับความหมายที่สอง จึงมีการคิดคำว่า "วรรณกรรม" ขึ้นมา   ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า  วรรณกรรมคืองานหนังสือ, บทประพันธ์ทุกชนิด ทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรอง คือเป็นการให้คำจำกัดความงานแต่ง ในวงกว้าง  ไม่ต้องประเมินคุณค่า

แต่คนรุ่นหลังเข้าใจผิดไปว่า วรรณกรรมหมายถึงหนังสือดีมีคุณค่าที่เป็นหนังสือสมัยใหม่   ไม่ใช่เรื่องโบราณอย่างวรรณคดี   จึงไปยกระดับให้ว่า เรื่องนี้เป็นวรรณกรรม  เรื่องนั้นไม่ใช่    เรื่องได้รางวัลเป็นวรรณกรรม  เรื่องที่เด็กนักเรียนหัดแต่ง  ไม่นับเป็นวรรณกรรม
ความจริงไม่ใช่ค่ะ     ใช้กันมาผิดจนกลายเป็นถูกไปแล้ว

การใช้คำว่า "วรรณคดี" เรียกงานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ ดูเหมือนจะใช้เรียกงานเขียนตั้งแต่ในรัชกาลที่หกขึ้นไป หลังจากนั้นงานเขียนที่มีคุณค่าก็เรียกว่า "วรรณกรรม" ทั้งสิ้น เช่นรางวัลซีไรต์ (S.E.A. Write) มีชื่อเต็มในภาษาไทยว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน

ดูรายชื่อหนังสือเรียนสำหรับมัธยมปลายในคคห.๑๓ มีแต่ของเก่าที่เรียกว่า "วรรณคดี" หากนำของใหม่ในนาม "วรรณกรรมสร้างสรรค์" มาให้เด็กมัธยมได้ศึกษาด้วย ตัวอย่างเช่น ข้างหลังภาพของศรีบูรพา, ปีศาจของเสนีย์ เสาวพงศ์ น่าจะประเทืองปัญญาเด็กไทยในวัยเรียนให้มองได้กว้างไกลยิ่งขึ้น
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง