เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 6406 ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องคำที่ใช้ระบุลำดับของลูกชายและลูกสาวของไทยค่ะ
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


 เมื่อ 10 ก.ย. 19, 11:41

ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องคำที่ใช้ระบุลำดับของลูกชายและลูกสาวของไทยค่ะ เช่น คำเรียกลูกชาย ลำดับที่ ๑ อ้าย ลำดับที่ ๒ ญี่, ยี่ ลำดับที่ ๓ สาม  และคำเรียกลูกสาว ลำดับที่ ๑ เอื้อย ลำดับที่ ๒ อี่ ลำดับที่ ๓ อาม, อ่าม เป็นต้น

1 การเรียกลูกด้วยคำที่ใช้ระบุลำดับมีที่มาจากประเทศอะไรคะ หรือเป็นวัฒนธรรมที่ไทยและเพื่อนบ้านคิดขึ้นกันเอง

2 คำที่ใช้ระบุลำดับของลูกชายและลูกสาวจัดเป็นภาษาอะไรคะ ใช่ไทดั้งเดิมไหม หรือเป็นภาษาของชาติอื่น

3 ไทยเริ่มมีการเรียกลูกด้วยคำที่ใช้ระบุลำดับตั้งแต่สมัยไหนคะ ใช่สุโขทัยไหม

4 ในยุคอยุธยา พม่า ล้านนา ล้านช้าง กัมพูชา มีการเรียกลูกด้วยคำที่ใช้ระบุลำดับเหมือนกันไหมคะ

5 คำที่ใช้ระบุลำดับของลูกชายและลูกสาวเริ่มเสื่อมความนิยมไปในยุคสมัยไหนของไทยคะ และเพราะอะไรถึงไม่นิยมใช้กันแล้ว

6 คนในสมัยก่อนใช้คำที่ใช้ระบุลำดับของลูกชายและลูกสาวเป็นชื่อของบุคคลนั้นเลยไหมคะ หรือใช้เรียกลำดับเฉยๆแต่บุคคลนั้นอาจจะมีชื่อจริงของตัวเองอีกชื่อก็ได้

7 ถ้าคนในสมัยก่อนใช้คำที่ใช้ระบุลำดับของลูกชายและลูกสาวเป็นชื่อของบุคคลนั้นเลยจะไม่มีการสับสนคนกันหรือคะโดยเฉพาะคนแรกที่จะถูกเรียกว่าเอื้อย อ้าย

8 คนในสมัยก่อนเขาเคร่งไหมคะว่าต้องเป็นลูกสาว ลูกชายคนแรกเท่านั้นถึงจะใช้ได้ หรือไม่เคร่งกฏอะไรแค่อายุมากกว่าก็ใช้ได้แบบสมัยนี้

9  คำว่าเอื้อย อ้ายในภาษาอีสาน ภาษาเหนือดั้งเดิมจริงๆ (ยุคอยุธยาถึงรัตโกสินทร์ตอนกลาง) เขามีกฏแบบภาคกลางเลยไหมคะว่าต้องเป็นลูกสาว ลูกชายคนแรกเท่านั้นถึงจะใช้ได้ หรือไม่มีกฏอะไรแค่อายุมากกว่าก็ใช้ได้แบบสมัยนี้
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 ก.ย. 19, 15:27

เด็กใต้ถุนเรือนอย่างผมนี้ อ่านคำถามแล้วก็คิดตามไป ผมเดาว่า (เดาอีกหละ) ขึ้นชื่อว่าคน จะยุคไหนสมัยไหน สังคมเปลี่ยนไปอย่างไร เรื่องพื้นๆบางเรื่องก็ไม่เคยเปลี่ยน อย่างการตั้งชื่อเนี่ย ผมเชื่อว่า จะยุคนี้หรือยุคไหนๆ คนที่นึกอะไรไม่ออกแล้วตั้งชื่อลูกด้วยการเรียงลำดับตามอะไรสักอย่าง ย่อมต้องมีแน่นอน ที่เห็นก็มีแบบ
เรียงเลข น้องหนึ่ง น้องสอง น้องสาม ปราณีตเพิ่มขึ้นหน่อยก็ น้องปฐมา น้องทวีติยา น้องตริตา ผมก็เคยเห็นนะครับ
เรียงอักษร น้องเอ น้องบี น้องซี (มีน้องที่เป็นมุสลิมคนหนึ่งที่ผมรู้จัก แกเป็นลูกคนโต จึงได้ชื่อว่า อาลิป Aleph = อักษรตัวแรกในภาษาของเขา)
เรียงตามขนาด แบบว่า น้องใหญ่ น้องกลาง น้องเล็ก น้องก้อย  
ฯลฯ แล้วแต่จะหาวิธีการเรียง

เมื่อเป็นยังงี้ ถ้าคนไทย(หรือไท?) จะมีสักคนแหละที่นึกชื่อลูกไม่ออกแล้วตั้งชื่อเรียงนัมเบอร์ขึ้นมาบ้าง ก็คงไม่แปลก เราก็เลยมี เจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยา และเจ้าสามพระยา ตามลำดับ

ดังนั้น ถ้าจะถามว่า อย่างนี้เป็นวัฒนธรรมของชนชาติใด ก็คงไม่มีใครสามารถเคลมได้หรอกครับ  
สำหรับเรื่องเสื่อมความนิยม ก็อย่างที่เรียนอ่ะครับ ผมยังเห็นคนที่ตั้งชื่อลูกแบบรันนัมเบอร์นี้อยู่เลย แสดงว่า คนนึกไม่ออกทุกวันนี้ ก็ยังมีอยู่ แต่อาจจะเป็นเพราะทุกวันนี้ เรามีสื่อให้ดูมากขึ้น มีข้อมูลที่ผ่านไปผ่านมาให้เราได้เห็นได้รับรู้มากขึ้น คนนึกไม่ออก ก็อาจจะมีน้อยลงไป ก็เท่านั้นเองแหละครับ    
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 ก.ย. 19, 16:08

คำที่ใช้ระบุลำดับของลูกชายและลูกสาวมีระบุอยู่ใน พระไอยการบานแผนก ซึ่งเป็นหนึ่งในกฎหมายเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ถูกนำมารวบรวมไว้ใน “กฎหมายตราสามดวง” ยุคต้นกรุงเทพฯ กฎหมายฉบับนี้ตั้งศักราชไว้ถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง สาระสำคัญคือ “บานแผนก” ว่าด้วยการแบ่งลูกๆ ตามสังกัดไพร่ของพ่อแม่ ว่าต้องแบ่งสรรปันส่วนกันอย่างไรบ้าง

ข้อมูลสำคัญจากกฎหมายฉบับนี้คือคำเรียกลูกชายและหญิงตามลำดับเรียงพี่เรียงน้อง ได้แก่

ลูกชายคนที่ ๑ อ้าย / คนที่ ๒ ญี่ (ยี่) / คนที่ ๓ สาม / คนที่ ๔ ไส / คนที่ ๕ งัว (งั่ว) / คนที่ ๖ ลก / คนที่ ๗ เจด(เจ็ด) / คนที่ ๘ แปด / คนที่ ๙ เจา / คนที่ ๑๐ จง / คนที่ ๑๑ นิง / คนที่ ๑๒ สอง

ส่วนลูกสาวคนที่ ๑ เอื้อย / คนที่ ๒ อี่ / คนที่ ๓ อาม / คนที่ ๔ ไอ / คนที่ ๕ อัว / คนที่ ๖ อก / คนที่ ๗ เอก / คนที่ ๘ แอก / คนที่ ๙ เอา / คนที่ ๑๐ อัง


ชื่อทั้งชุดนี้ที่ได้จากพระไอยการ เชื่อว่าคงเป็นการระบุ “เผื่อไว้” มากกว่า เพราะผู้หญิงที่มีลูกได้ถึง ๒๒ คน (หรือเกือบเท่าทีมฟุตบอลสองทีม) จากท้องเดียวกัน คงมีไม่มากนัก

หลักฐานที่ว่าเคยมีการเรียกขานลำดับพี่น้องแบบนี้ประกอบกับ “ชื่อ” จริง ๆ ปรากฏเค้าเงื่อนในเอกสารโบราณหลายที่ ดังที่พงศาวดารสมัยอยุธยาตอนต้นเล่าว่าหลังจากสมเด็จพระนครินทราธิราชเสด็จสวรรคตในปี ๑๙๖๗ พระโอรสสองพระองค์ ได้แก่เจ้าอ้ายกับเจ้ายี่ เกิดวิวาทชิงราชสมบัติกันขึ้น เหตุการณ์ลุกลามบานปลายจนกลายเป็นศึกกลางเมือง ผลสุดท้ายเจ้าอ้ายเจ้ายี่ชนช้างกระทำยุทธหัตถีกันที่สะพานป่าถ่าน สิ้นพระชนม์คาคอช้างทั้งคู่ ราชสมบัติจึงลอยตกมาอยู่แก่เจ้าสาม พระอนุชาลำดับที่ ๓ ผู้ทรงมีนามรัชกาลต่อมาว่า “เจ้าสามพระยา”

ส่วนลำดับพี่น้องถัดไปจาก ๑-๒-๓ ก็มีให้เห็นร่องรอยจากหลักฐานประวัติศาสตร์อื่น ๆ อีก เช่น ไส ลูกชายอันดับ ๔ มีอยู่ในนาม “พนมไสดำ” หรือ “พ่อนมไสดำ” ขุนนางคนสำคัญของพระมหาธรรมราชาลิไท ซึ่งมีนามบันทึกอยู่ใน “จารึกวัดช้างล้อม” ปี ๑๙๒๗

ส่วน งั่ว ลูกชายคนที่ ๕ มีตัวอย่างเช่นขุนหลวงพะงั่ว หรือพ่องั่ว กษัตริย์อยุธยาตอนต้น และพญางั่วนำถม บุรพกษัตริย์สุโขทัย เป็นต้น

ประเพณีการมีคำเรียกเฉพาะสำหรับลำดับพี่น้องทำนองนี้ยังหลงเหลือในคนพูดภาษาตระกูลไตกลุ่มอื่น ๆ ด้วย ส่วนในภาคกลางคงสาบสูญไปหลายร้อยปีแล้ว เหลือตกค้างเพียงบางคำ เช่น “พี่เอื้อย” ซึ่งความหมายเลื่อนไป มิได้หมายถึงพี่สาวคนโต แต่กลายเป็นสำนวนหมายถึง “ลูกพี่” หรือ “พี่ใหญ่” แทน และใช้ได้ทั้งกับผู้หญิงและผู้ชาย

“สมเด็จครู” สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงรื้อฟื้นธรรมเนียมนี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้งจากที่เคยทรงพบเห็นในกฎหมายโบราณ โดยทรงนำมาใช้ตั้งเป็น “ชื่อเล่น” ประทานแก่พระโอรสพระธิดาในราชสกุลจิตรพงศ์ ได้แก่ หม่อมเจ้าหญิงปลื้มจิตร (เอื้อย) หม่อมเจ้าชายอ้าย (สิ้นชีพิตักษัยในวันประสูติ) หม่อมเจ้าชายเจริญใจ (ยี่) หม่อมเจ้าชายสาม (สิ้นชีพิตักษัยแต่ยังเล็ก) หม่อมเจ้าหญิงประโลมจิตร (อี่) หม่อมเจ้าหญิงดวงจิตร (อาม) หม่อมเจ้าชายยาใจ (ไส) หม่อมเจ้าชายเพลารถ (งั่ว) และหม่อมเจ้าหญิงกรณิกา (ไอ)

จาก ชื่อเล่นชื่อจริง (๘) โดย ศรัณย์ ทองปาน
https://www.sarakadee.com/2018/08/29/name-in-law/

อ่านเพิ่มเติมได้ใน คำบอกลำดับลูกของไทย โดย อุเทน วงศ์สถิตย์
http://www.damrong-journal.su.ac.th/upload/pdf/68_5.pdf


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 ก.ย. 19, 16:12

นอกจากนี้ วิธีนับลำดับลูกชายและลูกสาวของคนไทยสมัยก่อนยังใช้วิธีการนับแยกระหว่างชายกับหญิง เช่น บุตรคนที่ ๒ ของครอบครัวเป็นหญิง แต่เป็นลูกสาวคนแรก ก็จะเรียกว่า เอื้อย  หรือบุตรคนที่ ๔ ของครอบครัวเป็นชาย แต่เป็นลูกชายคนที่ ๒ ก็จะเรียกว่า ญี่  หรือมีบุตรสาวมา ๓ คน แล้วมีบุตรชายคนสุดท้องเพียงคนเดียว บุตรชายคนสุดท้องนั้นก็เรียกว่า อ้าย เพราะเป็นลูกชายคนแรก  และยังมีอีกคำหนึ่งที่ใช้เรียกลูกคนโตไม่ว่าลูกคนนั้นจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง คือ คำว่า หัวปี

จาก เอื้อย และ อ้าย โดย ปิยรัตน์  อินทร์อ่อน
http://www.royin.go.th/?knowledges=เอื้อย-และ-อ้าย-๖-กุมภาพั
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 ก.ย. 19, 08:59

(หวา อยู่ในกฎหมายตราสามดวงด้วย แต่เราดันไม่เคยเห็น เขินจัง หนีไปแอบในป่าพุทราหลังเรือนดีกว่า)
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 11 ก.ย. 19, 15:20

ขอบพระคุณคำตอบของหลายๆท่านค่ะ

พอทราบบ้างไหมคะว่าในภาคกลางคนทั่วไปน่าจะมีการเลิกใช้ชื่อเรียกแบบนี้กันในยุคไหน

และพอจะมีข้อมูลการใช้คำเรียกลำดับลูกของคนเหนือ คนอีสานบ้างไหมคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 ก.ย. 19, 15:35

มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองได้จัดพิมพ์ ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ ๑  จุลศักราช ๑๑๖๖ พิมพ์ตามฉะบับหลวง ตรา ๓ ดวง จำนวน ๓ เล่ม เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๘๒

เรื่องลำดับของลูกชายลูกสาวอยู่ในพระไอยการบานผแนก เล่ม ๑ หน้า ๒๗๒


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 ก.ย. 19, 15:36

คุณนริศสามารถศึกษากฎหมายตราสามดวงทั้ง ๓ เล่มได้โดยเข้าในลิงก์ที่ให้ไว้นี้

เล่ม ๑
http://203.131.219.242/utils/getdownloaditem/collection/tutext/id/460/filename/461.pdf/mapsto/pdf

เล่ม ๒
http://203.131.219.242/utils/getdownloaditem/collection/tutext/id/461/filename/462.pdf/mapsto/pdf

เล่ม ๓
http://203.131.219.242/utils/getdownloaditem/collection/tutext/id/462/filename/463.pdf/mapsto/pdf
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 12 ก.ย. 19, 11:24

ขอบพระคุณอีกรอบครับ อันที่จริงผมซื้อไว้แต่เล่มที่ 1 ครับ (ตอนนั้นเอามาดูพระอัยการนาทหาร/หัวเมือง) พระอัยการลักษณะอื่นๆ ไม่ค่อยจะได้อ่านครับ
พอมาตอนบุพเพสันนิวาสดัง มีการคุยเรื่องกฎหมายอยุธยาเพิ่มขึ้น จะกลับไปหาซื้ออีกสองเล่ม ที่ศูนย์หนังสือธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ก็หาไม่ได้ซะแล้วครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 ก.ย. 19, 11:29

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียกสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณฯ (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ)ว่า "พ่อใหญ่"
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงเรียกสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ ว่า "แม่เล็ก"
นับเป็นคำระบุลำดับได้หรือไม่คะ?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 13 ก.ย. 19, 10:11

คำระบุลำดับลูกชายลูกสาวในบ้านทรายทอง

หญิงใหญ่ ชายกลาง หญิงเล็ก ชายน้อย
  ยิ้มเท่ห์

บันทึกการเข้า
Kiangsak loekaudom
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 10 ก.ค. 20, 20:50

ตามแถวชนบททำไมถึงเรียก ลูกสาวคนโตว่า"สาว" ลูกสาวคนเล็กว่า"คนน้อย หรือ สาวน้อย" ส่วนลูกชายเรียกว่า "ชาย"ได้รับอิทธิพลมาจากคนในเมืองหรือเปล่าครับ แล้วมีมาตั้งแต่สมัยไหนครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 11 ก.ค. 20, 09:08

ไม่เคยได้ยินค่ะ 
เป็นชนบทแถวไหนคะ  คุณถามเหมือนกับว่าชนบททั้งประเทศใช้คำเหล่านี้  ซึ่งไม่จริง
บันทึกการเข้า
Kiangsak loekaudom
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 11 ก.ค. 20, 16:40

นครสวรรค์ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 11 ก.ค. 20, 16:49

ไม่มีความรู้เรื่องภาษาของนครสวรรค์ค่ะ    รอท่านอื่นมาตอบดีกว่า
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.127 วินาที กับ 19 คำสั่ง