เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 4985 ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องธรรมเนียมการโกนหัวไว้ทุกข์ของไทยค่ะ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 30 ส.ค. 19, 09:21

เหตุแห่งการโกนผมไว้ทุกข์

การโกนศีรษะให้ผู้ตายน่าจะมาจากอินเดีย ไทยน่าจะรับจากกัมพูชา บันทึกจีนสมัยราชวงศ์เหลียงระบุว่าชาวฟูนันโกนผมไว้ทุกข์ แสดงว่าโกนกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๖ เป็นอย่างต่ำ ผ่านมา ๑,๒๐๐ ปีแล้ว ทุกวันนี้ที่กัมพูชายังรักษาธรรมเนียมโกนศีรษะในงานศพ (สามีหรือภรรยาและลูก ๆ แล้วแต่งขาว) โดยเฉพาะในงานพระศพพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุเมื่อปี ๒๕๕๕ ก็มีสตรีโกนศีรษะไว้ทุกข์หลายคน (อนึ่งคำว่าโกนในภาษาไทยคล้ายกับภาษเขมรว่า "โกร" (เขียนว่า เการ) โกนผมคือ "โกร ส็อก" ส่วนใครรับของใครมา ค่อยว่ากันทีหลัง)

อยากรู้ว่าทำไมไทยโกน เขมรโกน ต้องย้อนกลับไปที่อินเดีย แต่เดิมงานศพที่อินเดียจะโกนผม ทั้งหญิงชาย แต่งขาวไว้ทุกข์ (บันทึกของการะฟัด) ปัจจุบันผู้ชายบางพื้นที่ยังโกนผม  ผู้หญิงที่โกนผมไปตลอดชีวิต คือพวกแม่หม้าย ที่โกนผมมีเหตุผล ๒ ระดับ

๑. เหตุผลระดับประเพณี เพื่อแสดงความเคารพผู้ตาย เรื่องนี้เป็นคำอธิบายที่คนส่วนใหญ่มักใช้กัน "แต่" ประเพณีย่อมมีนัยลึกซึ้งกว่านั้น

๒. เหตุผลในระดับศาสนา เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบพิธีศพรับพลังด้านลบรุนแรง (รชะ-ตะมะ) จากศพผู้ตาย โดยเฉพาะสีดำของเส้นผมจะรับพลังงานนี้ได้ง่าย (คำอธิบายจาก Hindu Janajagruti Samiti)  

คำอธิบายนี้มาจากสมาคมฮินดูในอินเดีย แต่ผมยังไม่ปักใจเชื่อเพราะยังไม่ได้ตรวจคัมภีร์พระเวท-พระธรรมศาสตร์ ซึ่งน่าจะมีเหตุผลอย่างละเอียด

https://www.facebook.com/765197073525028/posts/1672257926152267?sfns=mo
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 31 ส.ค. 19, 15:28

ถ้าดูจากวรรณคดีที่คุณเพ็ญชมพูนำมาลงก็เห็นว่าสาวชาววัง ชาวบ้านก็ไม่ชอบ แถมพิธีนี้ก็รับมาจากที่อื่น เลยสงสัยว่าทางชาววังทำไมเขายินยอมกันคะ ไม่มีใครขัดเลยหรอ

อีกอย่างเป็นไปได้ไหมคะว่าสมัยอยุธยาเป็นช่วงที่รบกับพม่าผู้หญิงเลยไว้ผมสั้นเรื่อยมาแล้วชิน พอมีพิธีนี้ผู้หญิงเลยไม่มีปัญหากับการโกนผมเพราะชินกับผมสั้นไปแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 01 ก.ย. 19, 09:51

https://www.matichonweekly.com/column/article_62573

คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง : บางแง่มุมของการ “ไว้ทุกข์”
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 01 ก.ย. 19, 11:15

ถ้าดูจากวรรณคดีที่คุณเพ็ญชมพูนำมาลงก็เห็นว่าสาวชาววัง ชาวบ้านก็ไม่ชอบ แถมพิธีนี้ก็รับมาจากที่อื่น เลยสงสัยว่าทางชาววังทำไมเขายินยอมกันคะ ไม่มีใครขัดเลยหรอ

ที่ต้องยอมเพราะมีบทลงโทษ

มีหลักฐานในศุภอักษรของอัครมหาเสนบดีเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๑ เสด็จสวรรคต ส่งไปยังเจ้าประเทศราชในเขตล้านนาและพระเจ้ากรุงกัมพูชา ให้โกนผมเดือนละครั้งจนกว่าถวายพระเพลิงแล้ว โดยระบุว่า

"ถ้าผู้ใดมิได้โกนผมจับได้จะเอาตัวเป็นโทษจงหนัก"

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=7033.msg168988#msg168988
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 02 ก.ย. 19, 15:20

หมายความว่าชนชั้นสูงผู้หญิงในวังทุกๆตำแหน่งก็ไม่มีสิทธิในการจะเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยต่อกฏของทางวังที่ออกมาเลยหรือคะ คือออกมาอย่างไงก็ต้องทำตามอย่างเดียวถูกต้องไหมคะ


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 02 ก.ย. 19, 16:19

ผมคิดว่า วิธีคิดของผู้คนในสมัยก่อน ต่างจากวิธีคิดของผู้คนสมัยนี้ครับ

ผู้คนสมัยก่อน เขายอมรับในความต่างกันของยศศักดิ์ครับ ผู้มีศิกดิ์สูง ก็มีหน้าที่อย่างผู้มีศักดิ์สูง เช่น การอุปถัมภ์ค้ำชู ให้การดูแลปกป้องผู้มีศักดิ์ต่ำกว่าซึ่งอยู่ในความคุ้มครอง ในขณะที่ผู้มีศักดิ์ต่ำกว่าก็มีหน้าที่เชื่อฟังและรับใช้มูลนาย เป็นลักษณะของการพึ่งพาอาศัยกันขึ้นไปเป็นทอดๆ ประกอบกับสังคนบ้านเราเชื่อเรื่องบุญวาสนา ผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ก็เชื่อว่าได้ทำบุญมาแต่อดีต ผู้ที่มีบุญญาบารมีน้อยกว่า ก็ไม่คิดจะไปแข่งบุญแข่งบารมีกันท่านไปทำไม ด้วยเหตุนี้ คำสั่งจากผู้มีศักดิ์มากกว่า จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำตามเท่านั้น

คนสมัยนั้น ไม่มีแนวคิดเรื่อง สิทธิ (ที่ชัดเจนน่าจะเรียกว่า สิทธิพื้นฐานของความเป็นมนุษย์) อย่างที่คนปัจจุบันคิดเลยครับ

ดังนั้น เมื่อหลวงท่านสั่งให้โกน ก็คือโกนครับ ไม่มีใครคิดว่า นี่เป็นการละเมิดสิทธิ เสรีภาพ อะไรทำนองนั้นแต่อย่างใด

บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 02 ก.ย. 19, 19:12


พลเมืองมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบังคับของกฎหมายครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 02 ก.ย. 19, 20:20

หมายความว่าชนชั้นสูงผู้หญิงในวังทุกๆตำแหน่งก็ไม่มีสิทธิในการจะเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยต่อกฏของทางวังที่ออกมาเลยหรือคะ คือออกมาอย่างไงก็ต้องทำตามอย่างเดียวถูกต้องไหมคะ
ถูกต้องค่ะ
กฎใหญ่ๆของทางวังเรียกว่ากฎมณเฑียรบาล     ถ้าละเมิดมีโทษกำหนดไว้ค่ะ
แม้แต่เจ้านายสตรีชั้นพระเจ้าลูกเธอก็ต้องอยู่ในกฎนี้ เช่นจะเสด็จออกนอกวังในยามวิกาลไม่ได้ เว้นแต่ได้รับพระบรมราชานุญาต
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 03 ก.ย. 19, 07:08

คนสมัยนั้น ไม่มีแนวคิดเรื่อง สิทธิ (ที่ชัดเจนน่าจะเรียกว่า สิทธิพื้นฐานของความเป็นมนุษย์) อย่างที่คนปัจจุบันคิดเลยครับ

อย่างน้อยก็มี "อำแดงเหมือน" ผู้เรียกร้องสิทธิสตรีคนแรก (ที่มีบันทึกไว้) ในประวัติศาสตร์สยาม

คราเมื่อรัชกาลที่ ๔ เสด็จสวรรคต  อำแดงเหมือนคงเต็มใจโกนศีรษะทดแทนพระคุณท่านเป็นแน่แท้

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5430.msg114891#msg114891


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 03 ก.ย. 19, 10:05

โกนหัวไว้ทุกข์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 03 ก.ย. 19, 10:46

^^
ภาพข้าราชสำนักฝ่ายในโกนศีรษะในงานออกพระเมรุพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ (ในเอกสารฝ่ายไทยออกพระนามว่า "สมเด็จพระศรีสวัสดิ์") พ.ศ. ๒๔๗๐

ใน หนังสือลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ภาคที่ ๒๐ ราชกำหนดกรุงกัมพูชา เรื่องการ พระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ พระเจ้ากรุงกัมพูชา  หน้า ๗ - ๙ บรรยายว่า

....ให้ชาวเมืองไว้ทุกข์นุ่งขาวถวายแต่ไม่ต้องโกนผม เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้ไว้ทุกข์พันแขนดำ นุ่งผ้าตามใจได้  ต่อเมื่อถึงคราวถวายพระเพลิงจึงให้กลับนุ่งขาวอีก....มีนางร้องไห้ประจำยาม ๒๐ คน ล้วนแต่โกนผมนุ่งขาวไว้ทุกข์ ร้องยำยามตามบทที่กรมพระราชนิพนธ์ได้แต่งถวายสำหรับพระบรมศพ ในเวลาที่ร้องยำยามถวายนั้น มีกลองชนะ ๑๐ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ ฯ
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 04 ก.ย. 19, 17:01

ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง