ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
 
ตอบ: 89
|
ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องธรรมเนียมการโกนหัวไว้ทุกข์เพื่อแสดงความอาลัยต่อผู้ที่จากไปของไทยค่ะ
1 การโกนหัวไว้ทุกข์ของไทยได้รับอิทธิพลมาจากไหนคะหรือเป็นธรรมเนียมที่คิดขึ้นมาของไทยเอง
2 การโกนหัวไว้ทุกข์เริ่มต้นมีมาตั้งแต่สมัยไหนคะ ดิฉันไม่แน่ใจว่าอยุธยามีแล้วหรือยังหรือมีช่วงรัตนโกสินทร์
3 การโกนหัวไว้ทุกข์มีแบ่งระดับไหมคะว่า เช่นว่า คนยศ ฐานะนี้ให้โกนหัวทั้งประเทศ แต่ถ้าเป็นยศ ฐานะนี้ให้โกนหัวแค่ญาติพี่น้อง คนที่ทำงานด้วย
4 เชื้อพระวงศ์ (ที่ไม่ใช่พระมหากษัตริย์ พระมหาราชินี) และข้าราชการที่ทำงานให้หลวง สองตำแหน่งนี้ถูกจัดเป็นตำแหน่งที่จะมีคนโกนหัวไว้ทุกข์ให้มากแค่ไหนคะ มีมีคนที่ฐานะไหน อาชีพไหนต้องมีใครโกนหัวไว้ทุกข์ให้บ้าง
5 การโกนหัวไว้ทุกข์ทำให้คนในสังคมไทยยุคที่มีธรรมเนียมนี้ไม่ชอบไว้ผมยาวไหมคะเพราะเดี๋ยวก็ต้องตัดถ้าเชื้อพระวงศ์ และข้าราชการที่ตัวเองทำงานด้วยเสีย
6 ประเทศราชหรือเมืองขึ้นของไทยมีกฏที่ต้องโกนหัวไว้ทุกข์ด้วยไหมคะหรือมีข้อยกเว้นว่าไม่ต้องทำ
7 มีกลุ่มคนไทยที่อยู่ห่างจากจุดการปกครองมากๆแล้วไม่โกนหัวไว้ทุกข์ไหมคะ เพราะการรับข่าวสารอาจไม่ดี
8 การโกนหัวไว้ทุกข์คนไทยที่โกนจะมีทุกเพศ ทุกวัย ทุกฐานะ ทุกอาชีพเลยไหมคะ มีกลุ่มคนไทยที่ได้รับการยกเว้นไหม
9 มีวรณกรรม วรรณคดีของไทยที่อาศัยอยู่ในสมัยที่มีการโกนหัวไว้ทุกข์ที่พูดถึงเรื่องนี้ไว้บ้างไหมคะว่ามีความคิดเห็นกับเรื่องนี้อย่างไร และเมื่อเปรียบเทียบกับชาติพันธ์อื่นที่ไม่มีธรรมเนียมนี้
10 มีงานเขียนของคนต่างประเทศที่อาศัยอยู่ในสมัยที่มีการโกนหัวไว้ทุกข์ที่พูดถึงเรื่องนี้ของไทยไว้บ้างไหมคะว่ามีความคิดเห็นกับเรื่องนี้อย่างไร และเมื่อเปรียบเทียบกับชาติพันธ์อื่นที่ไม่มีธรรมเนียมนี้
11 มีชนชาติอื่น ชาติพันธ์อื่นไหมคะที่มีธรรมเนียมการโกนหัวไว้ทุกข์แบบไทย ซึ่งถ้ามีจะเป็นเพราะไทยได้รับอิทธิพลของเขามา เขาได้รับอิทธิพลจากเราไป หรือเป็นธรรมเนียมที่เกิดมาเหมือนๆกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 22 ส.ค. 19, 17:07
|
|
บางคำถามนั้น แนะนำจขกท. ดาวน์โหลดไฟล์
เสด็จสู่แดนสรวง: ศิลปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
หาได้ในกูเกิ้ล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 22 ส.ค. 19, 17:10
|
|
แล้วดูในบทความนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 22 ส.ค. 19, 20:26
|
|
 ธรรมเนียมการไว้ทุกข์ที่ปฏิบัติกันอยู่เช่น การนุ่งขาวห่มขาว การใส่ชุดดำ หรือแม้แต่การโกนผม จะเป็นธรรมเนียมแต่ดั้งเดิมหรือไม่ ดูเหมือนว่า สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงมีพระวินิจฉัยเป็นพระองค์แรกว่า “ธรรมเนียมการไว้ทุกข์เราเอาอย่างต่างประเทศมาทั้งนั้นของเราเองไม่มี” และ “ดั้งเดิมเราไม่มีธรรมเนียมการนุ่งผ้าสีในการไว้ทุกข์ ขุนนางที่เข้าขบวนแห่ต่างก็นุ่งผ้าสมปักลายสีต่าง ๆ และ พนักงานที่ชักราชรถรวมถึงพนักงานที่เชิญเครื่องสูงก็ยังแต่งแดง”.....
หลักฐานเกี่ยวกับการไว้ทุกข์ในสมัยอยุธยา
จากข้อมูลขนบในการไว้ทุกข์สมัยอยุธยาเท่าที่พบคือ จดหมายเหตุโยสต์ สเคาเต็น ที่กล่าวว่า“เมื่อคนตายไปแล้วก็โกนผมห่อศพแล้วทำบุญให้ทานไปตามความเชื่อถือและแล้วก็เอาไปเผาในบริเวณวัด นอกจากนี้ยังมีพิธีอื่น ๆ อีก เช่น มีการร้องไห้อาลัยกัน ส่วนพวกญาติสนิทจะตัดผมของตน” (กรมศิลปากร ๒๕๓๙: ๒๗๔)
ส่วนบันทึกของลา ลูแบร์ กล่าวว่า ในขบวนแห่ศพบุคคลในครอบครัวผู้ตายทั้งชายและหญิงล้วนแต่งขาว ศีรษะของคนเดินตามศพคลุมด้วยผ้าสีขาว ส่วนการไว้ทุกข์นั้นจะไว้ในช่วงที่มีความทุกข์เท่านั้น (เดอ ลา ลูแบร์ ๒๕๔๘: ๓๖๗, ๓๗๒) ซึ่งการที่ลา ลูแบร์ กล่าวว่าการไว้ทุกข์นั้นจะไว้เฉพาะตอนมีทุกข์อาจจะตีความได้ว่ากำหนดการไว้ทุกข์ไม่เป็นที่แน่นอน สำหรับลักษณะการเอาผ้าขาวคลุมศีรษะยังมีปรากฏในภาพถ่ายเก่าคราวงานพระเมรุสมเด็จพระศรีสวัสดิกรุงกัมพูชา และยังทำให้นึกถึงธรรมเนียมของไทแดงที่มีการใช้ผ้าขาวคลุมศีรษะด้วย
นอกจากนี้ในบันทึกนิโกลาส์ แชรแวส ก็กล่าวไปในทำนองเดียวกันว่า บิดามารดาและมิตรสหายของผู้ตายนุ่งขาวห่มขาว ภรรยาและญาติที่ใกล้ชิดก็นุ่งขาวและโกนศีรษะเกลี้ยง (นิโกลาส์ แชรแวส ๒๕๕๐: ๑๘๐)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
 
ตอบ: 89
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 23 ส.ค. 19, 11:46
|
|
ขอบพระคุณสำหรับคำตอบของหลายท่านมากๆค่ะ ดิฉันจะไปหาอ่านดู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 23 ส.ค. 19, 12:06
|
|
โกนทั้งแผ่นดิน รัชกาลที่ ๑ หน้า ๑๕๐-๑๕๑
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 23 ส.ค. 19, 14:59
|
|
หน้า ๑๕๒-๑๕๓
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 24 ส.ค. 19, 17:07
|
|
ภาพในช่วงระหว่างพระบรมศพรัชกาลที่ ๔ ประดิษฐานในพระที่นั่งดุสิตฯ ชาวสยามต่างโกนผมไว้ทุกข์ ยกเว้นเด็กที่ยังไม่โกนจุกไม่ต้องโกนหัว
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 24 ส.ค. 19, 17:22
|
|
ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งทรงผนวช วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ข้าราชบริพารกำลังเตรียมงานพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในภาพจะเห็นการไว้ทุกข์ตามโบราณราชประเพณีที่โกนผมและนุ่งขาวห่มขาว ภาพจาก https://www.voicetv.co.th/read/267456
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 26 ส.ค. 19, 09:01
|
|
ข้อความในประกาศเรื่องโกนผม ในคราวสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสวรรคต มีตอนหนึ่งว่า
"การที่โกนศีศะนั้น ก็ไม่เปนที่ต้องพระราชอัธยาไศรยอันใด"
อีกทั้งในประกาศฉบับเดียวกันยังย้ำว่า การโกนผมเป็นเกียรติยศแบบเก่า ซึ่งหมายความว่า รัชกาลที่ ๕ ไม่ทรงโปรดเรื่องการโกนผม ด้วยเป็นธรรมเนียมที่พ้นสมัย
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2437/048/439_1.PDF
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กะออม
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 27 ส.ค. 19, 08:22
|
|
เรื่องการยกเลิกโกนศีรษะคราวงานพระบรมศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพระองค์แรก เนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระบรมราชเทวี พระชนนี ทรงเห็นว่าพระบรมศพยังอยู่อีกนาน ข้าราชบริพารต้องโกนผมตลอด โดยเฉพาะสตรี คนเราย่อมรักสวยรักงาม จึงมีลายพระราชหัตถ์ถึงสมเด็จกรมพระยาเทววะวงศ์ฯ ให้กราบบังคมทูลพระกรุณา ให้ยกเลิกเสีย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 27 ส.ค. 19, 09:57
|
|
ข้าราชบริพารต้องโกนผมตลอด โดยเฉพาะสตรี คนเราย่อมรักสวยรักงาม ไม่เฉพาะแต่สาวชาววัง แม้แต่สาวชาวบ้านก็เศร้าเสียใจเสียดายผมเช่นกัน  อย่างในงานศพของนางทิพเกสร บรรดาผู้หญิงในเมืองไม่อยากโกนผมไว้ทุกข์ตามหมายประกาศเพราะกลัวเสียโฉม หากจ่ายเงินทดแทนได้ก็จะยอม แล้วแจกหมายต่อต่อเป็นข้อขัน ประกาศกันโกนเกล้าทั้งกรุงศรี แสนสงสารสาวสาวเมื่อคราวนี้ จะเศร้าศรีเสียผมให้ตรมใจ ปรึกษานางเพื่อนเรือนเจ้าเพื่อนรัก อกจะหักแล้วจะทำอย่างไรได้ ห้าตำลึงแม้เขาจะเอาไป ถ้าคุ้มได้แล้วหนอไม่ขอเลย อย่าน้อยใจนั่งคิดให้จิตเจ็บ รักษาเล็บไว้ให้ยาวเถิดเจ้าเอ๋ย ทับทิมเพลาะซัดเข้าอย่าเบาเลย แป้งชะมดชดเชยก็พอชม ซังตายว่าข้าวิตกอกจะแตก เขาโกนแกรกใจหายเสียดายผม นํ้าตากับน้ำชุบเป็นเกลียวกลม ทำพูดถมโทษมีดว่าเจ็บจริง จาก นิทานคำกลอนเรื่องลักษณวงศ์ ตอนที่ ๑๙ ลักษณวงศ์โศกถึงนางทิพเกสร ของสุนทรภู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 28 ส.ค. 19, 18:57
|
|
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีประกาศยกเลิกการโกนผมแทนการไว้ทุกข์ ความว่า มีรับสั่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ซึ่งได้สำเร็จราชการแผ่นดิน ให้ประกาศจงทราบทั่วกันว่า สมเด็จพระบรมชนกนารถ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรพระโรคพระธาตุพิการมาแต่ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พระโรคกลายไปในทางพระวักกะพิการ แพทย์ได้ประกอบพระโอสถถวาย พระอาการหาคลายไม่ ถึง ณ วันเสาร์ ที่ ๒๒ ตุลาคม เสด็จสวรรคตเวลา ๒ ยาม กับ ๔๕ นาที จะได้เชิญพระบรมศพสู่พระโกษฐ์แห่จากพระราชวังดุสิต ไปประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม
ความเศร้าโศรกสาหัสอันบังเกิดขึ้นในพระบรมราชวงษ์ครั้งนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทรงแน่ในพระหฤทัยว่า จะเปนความเศร้าโศรกแก่ประชาชนทั้งหลายทั่วไปในพระราชอาณาจักร เพราะเหตุที่สมเด็จพระบรมชนกาธิราชได้ทรงพระกรุณาทนุบำรุงมาทั่วกัน
อนึ่งตามโบราณราชประเพณี ในเวลาเมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จสวรรคต พระบรมวงษานุวงษ์แลข้าราชการ ราษฎรทั้งหลายต้องโกนผมแทนการไว้ทุกข์ทั่วทั้งพระราชอาณาจักร แต่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกนารถ ได้ทรงมีพระราชดำรัสสั่งไว้ว่า การไว้ทุกข์ดังเช่นที่กล่าวมาแล้วนั้น ย่อมเปนเครื่องเดือดร้อนอยู่เป็นอันมากให้ยกเลิกเสียทีเดียว
ประกาศมา ณ วันที่ ๒๓ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ข้อมูลจาก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 30 ส.ค. 19, 09:19
|
|
คุณกรกิจ ดิษฐาน เขียนถึงเรื่องการโกนผมไว้ทุกข์
ความทุกข์แห่งการโกนผม
ในอัตตปวัตติของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ สิริจันโท (จันทร์) บันทึกเรื่องราวในวัยเยาว์ของท่านเอาไว้ว่า
ครั้นย่างเข้าปีอายุ ๑๓ เป็นปีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต เป็นธรรมเนียมต้องโกนผมไว้ทุกข์ทั่วพระราชอาณาจักร ประเทศลาวทั้งสิ้นบรรดาผู้หญิงไม่ว่าสาวหรือแก่ไว้ผมยาวทั้งสิ้น พอทราบประกาศว่าให้โกนผม พากันระงมไปด้วยเสียงร้องไห้ทั่วบ้านทั่วเมือง น่าสลดใจเสียดายผมเท่านั้น พากันอายศีรษะโล้น ต้องคลุมผ้าไว้เสมอ ส่วนอัตตโนชอบใจเห็นศีรษะโล้นเป็นงามดี
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์เกิดที่เมืองอุบล ถิ่นวัฒนธรรมลาวล้านช้าง สตรีแถบนั้นแต่ไรมาไว้ผมยาวมัดเป็นมวยตบแต่งสวยงาม จู่ ๆ จะมาให้โกนทั้งหมดเพื่อไว้ทุกข์ ทั้งสาวทั้งแก่จึงร้องไห้เสียดาย และอายที่ต้องหัวโล้น ส่วนผู้หญิงไทยแถบภาคกลางไว้ผมสั้น บางครั้งสั้นเกือบเกรียนผมเดาว่าน่าจะเสียดายน้อยกว่าผู้หญิงลาว เคยคิดเล่น ๆ ว่าที่ผู้หญิงสยามไว้ผมสั้น ชะรอยคงเพราะต้องหมั่นโกนไว้ทุกข์ถวายเจ้านายกระมัง ?
ในรัชกาล ๕ - ๖ ทรงเห็นว่าการโกนศีรษะเป็นการเบียดเบียนราษฎร ทรงสั่งให้เลิกเสีย พวกเราจึงไม่ต้องโกนกันอีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|