เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 6785 การเรียกผู้ชายว่า "ตา อ้าย พ่อ" เขาเรียกใช้อย่างไรคะ
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


 เมื่อ 20 ส.ค. 19, 14:56

ขอถามเรื่องสรรพนามเรียกผู้ชายของคนไทยภาคกลางสมัยก่อน "ตา อ้าย พ่อ"หน่อยซิคะว่าคำเหล่านี้มีหลักการใช้อย่างไรคะ จะเรียกคนด้วยสรรพนามเหล่านี้ในสถานการณ์ไหน ต้องมีความสัมพันธ์ไหนกับผู้ที่ใช้ ถูกใช้อย่างไร หรือไม่มีหลักการ กฏอะไรจะเรียกแบบใดก็ได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 ส.ค. 19, 19:38

จะเอาไปเขียนนิยายย้อนยุคหรือเปล่าคะ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ถ้าระบุมาว่า "สมัยก่อน" คือสมัยไหน ช่วงพ.ศ.อะไรถึงอะไร หรือในรัชกาลไหน จะช่วยให้ตอบง่ายขึ้นค่ะ
เพราะสมัยก่อนของคุณอาจจะหมายถึงพ.ศ. 2520   แต่สมัยก่อนของดิฉันอาจจะย้อนไปไกลถึงต้นรัตนโกสินทร์ก็ได้ค่ะ

ขอถามเรื่องสรรพนามเรียกผู้ชายของคนไทยภาคกลางสมัยก่อน "ตา อ้าย พ่อ"หน่อยซิคะว่าคำเหล่านี้มีหลักการใช้อย่างไรคะ จะเรียกคนด้วยสรรพนามเหล่านี้ในสถานการณ์ไหน ต้องมีความสัมพันธ์ไหนกับผู้ที่ใช้ ถูกใช้อย่างไร หรือไม่มีหลักการ กฏอะไรจะเรียกแบบใดก็ได้

อยากขอแก้ไขภาษาของคุณให้รื่นหูขึ้นนะคะ    เวลาจะขอความช่วยเหลือจากใคร   การใช้คำว่า "ขอถาม...หน่อยซิคะ"
คุณคงไม่ทราบว่าสำนวนนี้ มันไม่ค่อยให้เกียรติบรรดาผู้ใหญ่ที่คุณขอข้อมูลถามสักเท่าไรค่ะ     มันค่อนไปทางคำสั่งค่ะ  เหมือนไปนั่งในร้านอาหารแล้วบอกเจ้าของร้านว่า " ขอเติมพริกป่นหน่อยซิคะ   ยังไม่แซบพอ"
ถ้าเปลี่ยนเป็น  "ขอเรียนถามการใช้สรรพนามเรียกผู้ชายของคนไทยภาคกลาง สมัย.... คือคำว่า "ตา อ้าย พ่อ" ว่า
1 คำเหล่านี้มีหลักการใช้อย่างไรคะ
2 จะเรียกคนด้วยสรรพนามเหล่านี้ในสถานการณ์ไหน
3 ต้องมีความสัมพันธ์(อย่าง)ไหน กับผู้ที่ใช้
4 ถูกใช้อย่างไร
5 หรือไม่มีหลักการ หรือกฎใดๆ จะเรียกแบบไหนก็ได้

พอเรียงเป็นข้อๆแล้วคุณคงจะเห็นว่าเป็นคำถามจำนวนมาก และขอบเขตกว้างขวางมากค่ะ
   
ดิฉันก็ไม่ทราบว่าจะตอบได้มากน้อยแค่ไหน   เพราะคุณไม่ให้รายละเอียดที่มาที่ไปเลยค่ะ   ว่า ตา หมายถึงพ่อของแม่   พ่อ คือ บิดา  หรืออะไร
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 ส.ค. 19, 10:13

ต้องขอโทษจริงๆค่ะที่ดิฉันยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องมารยาท กฎเกณฑ์ในเว็บนี้เท่าไร ขอบคุณที่ช่วยแนะนำมากๆค่ะ

เรื่องคำถามดิฉันเพียงแค่สงสัยเฉยๆค่ะไม่ได้เอาไปทำอะไร ถ้าไม่ว่าอะไรดิฉันขอเรียบเรียงคำถามใหม่ในที่นี้แล้วกันนะคะจะได้ไม่ต้องตั้งกระทู้ใหม่


ขอเรียนถามการใช้สรรพนามเรียกผู้ชายของคนไทยภาคกลางสมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง คือคำว่า "ตา อ้าย พ่อ" ที่เขาจะเอาไว้เรียกกับชื่อผู้ชาย เช่น ผู้ชายชื่อทศก็จะเรียก ตาทศ อ้ายทศ พ่อทศ ว่า

1 การใช้คำเหล่านี้ขึ้นอยู่กับอายุของผู้เรียกกับผู้ที่ถูกไหมคะ เช่น ผู้เรียกต้องเป็นผู้ใหญ่กว่าไหมถึงจะใช้คำนี้ได้ ถ้ารุ่นเดียวกัน หรืออายุอ่อนกว่าใช้ได้ไหมคะ

2 การเรียกคนด้วยสรรพนามเหล่านี้ขึ้นยู่กับในสถานการณ์ไหนไหมคะ เช่นตอนทำงานเรียกได้ไหมหรือเป็นคำที่ควรเรียกตอนที่ไปมาหาสู่ คุยเล่นกันเท่านั้น

3 ผู้เรียกต้องมีความสัมพันธ์(อย่าง)ไหน กับผู้ที่ถูกเรียกคะ เช่น ผู้เรียกต้องเป็นญาติ เพื่อน คนรู้จักสนิทสนมเท่านั้นไหมคะถึงใช้คำนี้ได้ ความสัมพันธ์แบบนาย-บ่าว เจ้านาย-ลูกน้องใช้ได้ไหมคะ

4 การเรียกคนด้วยสรรพนามเหล่านี้ขึ้นยู่กับยศ ชนชั้นทางสังคมไหมคะ เช่น ทาสใช้กับนายได้ไหมคะ คนทั่วไปใช้กับข้าราชการได้ไหมคะ

5 หรือที่จริงแล้วการเรียกผู้ชายด้วยคำเหล่านี้กับชื่อไม่มีหลักการหรือกฎใดๆ ไม่ว่าจะเป็นใคร อายุเท่าไร มีความสัมพันธ์ ฐานะอย่างไรกับผู้ที่ถูกเรียกก็สามารถเรียกแบบไหนก็ได้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 ส.ค. 19, 10:33

คำที่คุณดาวกระจ่างถามไม่เรียกว่า "สรรพนาม" แต่คำนำหน้าหรือประกอบหน้าชื่อ

คุณรอยอินท่านกรุณาอธิบายไว้ดังนี้

ตา

๑. คำเรียกชายสูงอายุที่ตนไม่ค่อยเคารพนับถือ เช่น ตาเถร ตาแก่
๒. เรียกชายรุ่นราวคราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง เช่น ตาเกิ้น ตาโย่ง
๓. คำเรียกเด็กชายที่ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น ตาหนู

อ้าย  

๑. คำประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่างนายเรียกคนใช้
๒. คำประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามีความสนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย
๓. คำใช้ประกอบหน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม
๔. คำประกอบคำบางคำที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามากด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อ้ายหนู อ้ายน้องชาย
๕. คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น อ้ายทึ่ม อ้ายโง่ อ้ายควาย
๖. ในสมัยโบราณใช้นำหน้าชื่อผู้ชาย มักใช้ในทางไม่ดี เช่น อ้ายดีผู้ร้ายรับเปนสัจให้การซัดพวกเพื่อนถึงอ้ายเชด อ้ายแสน อ้ายคง อ้ายมั้น (จากกฎหมายตราสามดวง)

พ่อ

เป็นคำที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่

คำประกอบหน้าชื่อสำหรับผู้หญิงที่เข้าคู่กัน คือ ยาย อี แม่ ก็มีวิธีใช้ทำนองเดียวกัน  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 ส.ค. 19, 11:36

มีคำประกอบหน้าชื่อผู้ชายอยู่ ๒ คำ ซึ่งคำอธิบายของคุณรอยอินครอบคลุมไปไม่ถึงคือ น้า และ ลุง

น้า

ความหมายตามคำอธิบายของคุณรอยอิน คือ น้องชายหรือน้องสาวของแม่, เรียกผู้ที่มีวัยอ่อนกว่าแม่  

การใช้งานที่เพิ่มขึ้นมาของ "น้า" คือ นิยมใช้ประกอบหน้าชื่อนักร้องโดยเฉพาะแนวเพลงเพื่อชีวิต เช่น น้าหงา คาราวาน, น้าแอ๊ด คาราบาว หรือนักการเมืองบางท่าน เช่น น้าชาติ

ลุง

คุณรอยอินท่านว่าคือ พี่ชายของพ่อหรือแม่ หรือชายที่มีวัยไล่เลี่ยแต่แก่กว่าพ่อหรือแม่, คำเรียกชายที่ไม่รู้จักแต่มักจะมีอายุแก่กว่าพ่อหรือแม่

ปัจจุบันบางสื่อใช้คำนี้ประกอบหน้าชื่อนักการเมือง เพื่อทำให้ดูใกล้ชิดกันมากขึ้น เช่น ลุงตู่ ลุงป้อม

สมัยนี้ "ลุง" ดูขลังกว่า "น้า" ไปเสียแล้ว  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 21 ส.ค. 19, 14:01

แต่กลับไม่มีนักการเมืองสตรี ที่ใช้คำ น้า และ ป้า นำหน้าชื่อบ้างเนอะครับ
นักแสดงมีอยู่บ้าง แต่นักการเมืองผมลองนั่งๆนึกดู ก็นึกไม่ออกครับ
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 ส.ค. 19, 15:38

ขอบพระคุณสำหรับคำตอบของหลายท่านมากๆค่ะ
บันทึกการเข้า
pratab
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 ส.ค. 19, 18:23

แต่กลับไม่มีนักการเมืองสตรี ที่ใช้คำ น้า และ ป้า นำหน้าชื่อบ้างเนอะครับ
นักแสดงมีอยู่บ้าง แต่นักการเมืองผมลองนั่งๆนึกดู ก็นึกไม่ออกครับ
เคยได้ยินเขาเรียกนักการเมืองสตรีว่า "เจ๊" เช่น เจ๊หน่อย เจ๊แดง หรือ เจ๊เบียบ ทั้งๆทีบางท่านอาจเป็น "ป้า" แล้วแต่ยังคงเรียกเจ๊ แบบนี้พอเป็นคำนำหน้าได้ไหมครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 23 ส.ค. 19, 19:56

น่าจะได้นะคะ
ถ้าทางภาษาศาสตร์ เรียกว่า "คำเรียกขาน" ค่ะ
เอ่ยถึงเจ๊ทำให้นึกได้ว่า  การนับญาติเป็น "เฮีย" ก็มี
แต่บุคคลที่สื่อเรียกว่า "เฮีย" มักจะเป็นคนดังระดับเจ้าพ่อ
บันทึกการเข้า
pratab
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 26 ส.ค. 19, 17:50

ขออุญาตถามว่า "คำเรียกขาน" ทางภาษาศาสตร์ตรงกับภาษาอ้งกฤษว่า "designation"ใช่ไหมครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 26 ส.ค. 19, 18:07

คำเรียกขาน =address terms ค่ะ
บันทึกการเข้า
pratab
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 26 ส.ค. 19, 18:27

ขอบคุณมากครับ ผมเพิ่งเรียนภาษาไทยยังไม่เข้าใจอะไรนัก
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 27 ส.ค. 19, 16:03

ขออนุญาตสอบถามเพิ่มเติมค่ะคงไม่เป็นการรบกวนนะคะที่อยู่ๆก็นึกคำถามเพิ่มมาอีก

1 คำว่า "ตา อ้าย พ่อ" ที่เขาจะเอาไว้เป็นคำนำหน้าชื่อผู้ชายจัดอยู่ในหมวดภาษาไทกะไดทั้งสามคำไหมคะ

2 คำว่า ตา อ้าย พ่อ คำไหนเกิดขึ้นก่อน เกิดขึ้นหลังหรือคะ ดิฉันเดาว่าคำว่าอ้ายเกิดขึ้นก่อนถูกไหม

3 เพราะอะไรคำว่าอ้ายถึงมีความหมายที่ไม่ค่อยดีเหมือนจะเป็นคำที่เอาไว้เรียกคนที่อีกฝ่ายไม่ชอบ คนที่ทำตัว ทำนิสัยไม่ดีเลย แต่อีกสองคำที่เหลือความหมายดีกว่า มีการกดความหมายให้แย่ลงไหม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 28 ส.ค. 19, 08:28

รอคุณเพ็ญชมพูมาตอบดีกว่าค่ะ  ดิฉันได้แต่เดา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 28 ส.ค. 19, 15:54

อยากถามคุณดาวกระจ่างเกี่ยวกับคำว่า "อ้าย" ว่าทำไมคิดว่าเกิดก่อนคำว่า ตา และ พ่อ และถูกกดความหมายให้แย่ลง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 20 คำสั่ง