เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 53 54 [55] 56 57 ... 68
  พิมพ์  
อ่าน: 76869 ไปตลาด
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 810  เมื่อ 16 ก.ย. 20, 19:19

ติดค้างไว้ในเรื่องของส้มโอ เลยจะขอต่อให้จบ

ก็มีความแปลกอยู่ที่สมโอดีๆ อร่อยๆ ของแท้ๆ จะหาซื้อได้ยากในกรุงเทพฯ แถมยังอาจจะถูกหลอกว่าเป็นพันธุ์นั้นพันธุ์นี้หรือพันธุ์ดังๆต่างๆอีกด้วย   ตัวผมเองไม่มีความรู้เรื่องรูปร่างลักษณะของสายพันธุ์ต่างๆ ก็เลยไม่สามารถจำแนกส้มโอที่วางจำหน่ายในที่ต่างๆ(ที่ยังไม่แกะและที่แกะแล้ว)ไม่ได้ ซึ่งหลายๆท่านก็คงจะเป็นเช่นเดียวกัน   แต่ด้วยที่ผมเป็นคนที่ต้องเดินทางไปทำงานในพื้นที่ต่างๆ ก็เลยได้มีโอกาสได้ลิ้มรสของดีประจำถิ่นหลายๆอย่าง ก็เลยจะขอแนะนำท่านที่ต้องเดินทางผ่านพื้นที่ดังที่จะกล่าวถึงต่อไป ให้หาโอกาสแวะซื้อมาลองทานดู จะเป็นที่แกะแล้วหรือที่ยังไม่แกะก็ไม่เป็นไร เพราะส้มโอมีความจำเป็นจะต้องเก็บเอามาทิ้งไว้ให้ลืมต้น(อย่างน้อยก็สัปดาห์หนึ่ง จนถึงประมาณหนึ่งเดืนกระมัง ?) เมื่อผิวของมันเหี่ยวๆและนิ่มๆ กดยุบบุ๋ม เมื่อนั้นส้มโอก็จะให้รสที่ออกหวานอร่อย แต่ก็มิไช่เสมอไปและอาจจะต้องเอามาจิ้มพริกกับเกลือกินเพื่อปรับรส หรือเอาไปทำอาหารอื่นใด เช่น ใส่ในข้าวยำ ทำตำส้มโอ ทำยำส้มโอ .....

พันธุ์ขาวใหญ่ของย่านแม่กลอง อัมพวา   พันธุ์ขาวแป้นและขาวพวงของย่านนครชัยศรี   พันธุ์ทับทิมสยามของย่านปากพนัง(นครศรีธรรมราช)  พันธุ์ขาวแตงกวาของย่าน จ.ชัยนาท  และพันธุ์ท่าข่อยของย่าน จ.พิจิตร      ผมขับรถขึ้นเหนือบ่อยก็เลยพอจะคุ้นเคยกับขาวแตงกวาของชัยนาท แต่กับท่าข่อยของพิจิตรนั้น ไม่ค่อยจะได้จอดรถแวะซื้อ (ประกอบกับไม่ค่อยจะเห็นวางขายข้างทางของถนนสายนครสวรรค์-พิษณุโลก)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 811  เมื่อ 16 ก.ย. 20, 20:17

วันนี้ได้ไปเดินตลาดเย็นของชุมชน พบแผงที่กำลังคั่วลูกกะ ซึ่งเป็นของจากทางภาคใต้ประจำฤดูกาลนี้ และลูกกระบก(มะรื่น)ที่คั่วแล้ว (ลูกกระบกมีมากในอิสานและภาคเหนือ) อดไม่ได้ที่จะซื้อเอามาขบ(กระเทาะ)เปลือกแล้วเคี้ยวกินมันๆ ราคาของลูกกะต่อหน่วยขายในช่วงนี้ดูจะสูงกว่าลูกเกาลัดที่นำเข้ามาเสียอีก 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 812  เมื่อ 17 ก.ย. 20, 07:30

ลูกกะ


บันทึกการเข้า
unicorn9u
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 813  เมื่อ 17 ก.ย. 20, 09:49

ลูกกระบก

ทำไมลูกกะ กับกระบกของอาจารย์ ถึงเหมือนกันเปี๊ยบแบบนั้นครับ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 814  เมื่อ 17 ก.ย. 20, 11:09

ขอโทษค่ะ โพสรูปผิดค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 815  เมื่อ 17 ก.ย. 20, 18:27

ขอเลือกใช้สำนวน 'no sweat'  ครับ อาจารย์ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 816  เมื่อ 17 ก.ย. 20, 18:45

ขอเลือกใช้สำนวน 'no sweat'  ครับ อาจารย์ ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 817  เมื่อ 17 ก.ย. 20, 19:26

มีข่าวว่าจะมีการใช้สนามหลวงเป็นส่วนหนึ่งสำหรับเป็นพื้นที่ชุมนุม  เลยทำให้นึกถึงตลาดนัดสนามหลวง ซึ่งได้ปิดไปอย่างสมบูรณ์และได้ย้ายไปเป็นตลาดจตุจักรเมื่อประมาณปี 2520+ (??) คิดว่ามีหลายท่านน่าจะได้เคยเดินกัน    

ในวันเสาร์และอาทิตย์ ก็จะมีพ่อค้าแม่ค้ามาเปิดแผงขายของบนสองฝั่งถนนรอบวงในรอบสนามหลวง   ตลาดนัดมิได้มีการจัดโซนแยกกลุ่มสินค้าบริโภคและอุปโภคที่ชัดเจน แต่ก็ยังพอจะสังเกตได้บ้างเช่น โซนขายพืชผักและของแห้งจะอยู่บริเวณฝัุ่งตรงข้ามกับอาคารศาล โซนขายพวกเสื้อผ้าและสินค้าอุโภคจะอยู่แถวฝั่งตรงข้ามกับประตูพระบรมมหาราชวัง   สำหรับในพื้นที่ๆเป็นสนามหญ้าก็จะมีเก้าอี้เอนนอนผ้าใบ มีแม่ค้าขายเมี่ยงคำ มีว่าวสำหรับให้เด็กไดซื้อและเล่นกัน   แล้วก็มีหลายๆคนเดินวนไปจนถึงหน้าวัดมหาธาตุฯแล้วข้ามถนนเข้าวัดไปเพื่อไปเดินดูตลาดของเก่าที่จัดกันอยู่ในพื้นที่วัด  ผมเองได้ของเก่าในราคาถูกหลายอย่างจากตลาดของเก่าในวัดนี้   เดินทะลุวัดด้านหลังแล้วข้ามถนน เดินลึกเข้าไปฝั่งถนนซอยเลียบน้ำท่าพระจันทร์ หาร้านอาหารอร่อยๆนั่งกินริมน้ำ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่า ในปัจจุบันนี้ หลายๆเจ้าได้เลิกกิจการไป อาทิ ข้าวหมกไก่ ซุปเนื้อ และเนื้อสะเต๊ะ  แต่ก็ยังมีเจ้าเก่าที่ยังขายอยู่เหมือนเดิม เช่น โรตีมะตะบะ ...     หรือไม่ก็เดินตามถนนไปท่าช้าง ก็จะผ่านร้านอร่อยๆอีกหลายๆร้านเช่นกัน รวมทั้งภัตตาคารที่พวกนักศึกษา ม.ศิลปากร นิยมไปนั่งแช่กัน ซึ่งมีของอร่อยเช่น ต้มข่าไก่ สตูลิ้นวัว... (ร้านนี้เลิกไปแล้ว ??)

หากยังไม่เหนื่อยมากพอ เมื่อกินอิ่มแล้วก็นั่งเรือข้ามฟากไปท่าวังหลัง    
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 818  เมื่อ 17 ก.ย. 20, 20:36

บรรยากาศในอดีตของตลาดนัดสนามหลวง  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 819  เมื่อ 18 ก.ย. 20, 18:12

ภาพของคุณเพ็ญชมพูได้สื่อเรื่องราวอยู่พอควรเลยทีเดียว  แม้จะไม่ทราบว่าถ่ายไว้เมื่อ พ.ศ.ใด แต่อย่างน้อยก็ต้องก่อนปี 2520+ ที่มีการปิดสนามหลวง

ภาพที่สะดุดตาผมแต่แรกสุดเลยก็คือภาพใหญ่ด้านซ้ายบน  เห็นแม่ค้าใส่งอบ นั่งขายมะตูมเชื่อมที่วางเรียงอยู่ในหาบกระจาดโดยที่ยังมีคานหาบคาอยู่กับชุดหาบ  ดูจะบอกได้เลยว่าแม่ค้าเหล่านั้นน่าจะมาจากตรอกมะตูม ย่านกรมอู่ทหารเรือ  ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ยังคงทำมะตูมเชื่อมและมะตูมตากแห้งขายกันอยู่     มะตูมจะออกผลมากในช่วงอากาศเย็น ในช่วงเวลานี้ก็พอจะมีขายบ้างแล้ว หากต้องการซื้อก็ลองไปดูที่สี่แยก รพ.ศิริราช (ฝั่งฟุตปาธขายของกิน) จะมีแม่ค้าอยู่เจ้าหนึ่งเอามาวางขาย(ตอนบ่าย) มีทั้งแบบเป็นชิ้นสวยงาม ไปจนถึงแบบเป็นชิ้นเล็กๆ ราคาอยู่ในเกณฑ์ประมาณ 100+/-    ท่านที่ยังไม่ต้องควบคุมปริมาณการบริโภคน้ำตาล อาจจะลองหาความสุนทรีย์ยามเย็น หรือจะเป็นตอนบ่ายแก่ๆ หรือหลังอาหารเย็นก็ได้ นั่งยกขาพาดเก้าอี้อีกตัวหนึ่ง ดูทีวีหรือเล่นเน็ต แล้วจิบน้ำชาร้อนๆกับมะตูมเชื่อม หรือหากจะได้เป็นเค็กมะตูมแบบอุดมไปด้วยเนื้อมะตูมเชื่อมในเนื้อละก็ จะยิ่งสุดยอดไปเลย ซึ่งก็จะต้องก็เป็นเค็กที่ทำกินเอง ผมชอบเค็กมะตูมเลยรู้ว่าต้องหาซื้อมะตูมเชื่อมที่ใหน

ที่ยังมีความแปลกใจอยู่บ้างก็คือ แม่ค้าใช้คานหาบแบบคานแข็ง ไม่ได้ใช้คานหาบแบบคานอ่อนแบบที่คนไทยในภาคกลางใช้สำหรับการหาบของที่ค่อนข้างหนัก  แต่เมื่อเหลือบไปเห็นเข่งที่วางอยู่ข้างตัวแล้ว ก็เลยรู้ว่าแม่ค้าน่าจะขนของมาโดยรถยนต์

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 820  เมื่อ 18 ก.ย. 20, 18:51

สนามหลวงในวัธรรมดาต่างกับวันเสาร์และอาทิตย์โดยสิ้นเชิง  ในวันธรรมดาจะมีกิจกรรมดูหมอ(หมอดู) ซึ่งหมอดูส่วนมากนั่งหลบแดดอยู่ตามโคนต้นมะขาม อาศัยร่มเงาของต้นมะขาม   ส่วนที่ถนนรอบสนามหลวงด้านตรงกันข้ามกับประตูทางเข้าพระบรมมหาราชวัง ก็จะเป็นแหล่งจอดของรถสามล้อเครื่อง(สมัยก่อน)และรถตุ๊กตุ๊ก

นึกย้อนไปแล้วก็สงสารต้นมะขามรอบๆสนามหลวงอยู่เหมือนกัน มีแต่ตะปูที่พ่อค้าแม่ค้าตอกเอาไว้ผูกผ้าใบ เอาไว้แขวนสิ่งของต่างๆ  ไม่รู้ว่าเมื่อทำการปรับปรุงสนามหลวงนั้น ได้มีการถอนตะปูเหล่านั้นออกไปมากน้อยเพียงใด  อีกอย่างหนึ่งที่หายไปจากสนามหลวงคือนกพิราบ     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 821  เมื่อ 18 ก.ย. 20, 20:34

เขียนไปเขียนมาก็เกิดความสับสนขึ้นมาเองกับการใช้คำว่า เม็ด กับ เมล็ด แล้วยังคิดโยงไปถึงคำว่า nut กับ seed   เลยแหย่มาให้ถกกันเล่นๆ

ไปเปิดดูท่านรอยอิน   ท่านว่า เม็ด - น. ส่วนภายในของผลไม้ที่เพาะเป็นต้นขึ้นได้ เช่น เม็ดมะม่วง เม็ดมะปราง     และท่านก็ว่า เมล็ด - น. ส่วนภายในของผลไม้ที่เพาะเป็นต้นขึ้นได้ เช่น เมล็ดมะม่วง เมล็ดมะปราง    ก็เป็นว่าเราจะเลือกหรือนิยมจะใช้คำใดก็ได้   ซึ่งก็หมายความต่อไปว่า nut กับ seed ของภาษาอังกฤษมีความหมายเหมือนกันในภาษาไทย  ฉะนั้น เม็ดแตงโมก็ในภาษาไทยก็สามารถแปล(เรียก)เป็น nut ในภาษาอังกฤษได้ มิจำเป็นต้องใช้คำว่า seed หรือ kernel

เพียงทำความกระจ่างเสียก่อนที่จะต่อไปเรื่องของเม็ดหรือเมล็ดของพืชผักผลไม้ที่บ้านเรานิยมเอามาทำกินกัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 822  เมื่อ 19 ก.ย. 20, 07:23

คำว่า เมล็ด แผลงมาจากคำว่า เม็ด ท่านรอยอิน* อนุญาตให้ใช้แทนที่กันได้  (คำแผลงอีกคำคือ แมง-แมลง สมัยก่อนก็มีความหมายเหมือนกัน เพิ่งมาแยกความแตกต่างในภายหลัง)

สำหรับในภาษาอังกฤษ คุณ Yoo Angrit อธิบายว่า คำว่าเมล็ดในภาษาอังกฤษมีใช้อยู่หลายคำ ชวนปวดหัวน่าดูเชียว

๑. seed เป็นคำที่กว้างที่สุดใช้เรียกเมล็ดพืชทั่ว ๆมไปทุกประเภท อย่างเช่น Papaya seeds are small, round, sticky, and black.  หรือ We sell vegetable seeds and herb seeds suitable for home growing.

๒. stone ใช้กับเมล็ดของผลไม้ ที่มีขนาดเมล็ดค่อนข้างใหญ่ และแข็ง กินไม่ได้ เช่น เมล็ดของอาโวคาโด (avocado) พลัม (plum)  มะกอก (olive)

๓. pip ใช้กับเมล็ดของผลไม้ ที่เป็นเมล็ดกินไม่ได้ ให้อารมณ์เป็นเมล็ดที่ต้องถุยออก เช่น เมล็ดแอบเปิ้ล (apple) ส้ม (orange) องุ่น (grape)

๔. grain คือเมล็ดของข้าวหรือธัญพืชต่าง ๆ เช่น Basmati rice has a longer grain than Jasmine rice.

๕. nut ใช้กับเมล็ดพืชแข็ง ๆ ที่เอามารับประทานได้ เช่นเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ (cashew nut)  อัลมอนด์ (almond)  เกาลัด (chestnut)

๖. kernel แปลว่าเนื้อในของเมล็ดพืชประเภท nut ที่เราเอามารับประทาน อย่าง มะม่วงหิมพานต์ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นผล (cashew apple) กับส่วนที่เป็นเมล็ด (seed) แล้วในเมล็ดมีเนื้อข้างใน (kernel) ที่เราเอามารับประทาน แล้วเรียกส่วนนั้นรวม ๆ ว่า cashew nut  คำว่า kernel ยังหมายถึงเมล็ดของข้าวโพด หรือเรียกว่า corn kernel ด้วย


* ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ท่านรอยอิน (royin) จะเปลี่ยนชื่อเป็น ท่าน เอิร์สท (orst)
   https://www.facebook.com/206167399441363/posts/3458374397553964/


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 823  เมื่อ 19 ก.ย. 20, 19:27

ได้ความกระจ่างดีครับ

ก็มาติดใจกับคำว่า stone   ฝรั่งมีกลุ่มผลไม้ที่เรียกว่า stone fruits ซึ่งเป็นพวกที่มีเนื้อแน่น(firm) มีเม็ดเดี่ยว และสามารถแกะหรือเฉาะแยกเม็ดออกไปได้ง่าย   ในบ้านเราก็มีผลไม้ในลักษณะเช่นนั้น เช่น มะกอกน้ำ มะขามป้อม ชมพู่มะเหมี่ยว ลูกหว้า(มะเกี๋ยง) ลูกสมอ...  ซึ่งดูจะมีความสอดคล้องกับกลุ่มผลไม้พวก stone fruits    แต่สำหรับพวกผลไม้ที่มีเนื้อนิ่ม เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก... และพวกที่มีเนื้อออกไปทางเป็นวุ้น (ลำไย เงาะ...) รวมทั้งผลไม้ในลักษณะเดียวกันแต่มีหลายเม็ด (ทุเรียน ละมุด มะขามหวาน...)  พวกนี้จะจัดเป็นกลุ่มที่เรียกว่าเป็นพวก stone fruits หรือไม่ ?? 

มากไปกว่านั้น บ้านเราก็มี มังคุด กระท้อน มะไฟ ... ซึ่งเป็นพวกที่เม็ดกับเนื้อเชื่อมต่อเป็นตัวตนเดียวกัน เม็ดกินไม่ได้ แถมยังมีหลายเม็ดในผลไม้ลูกเดียวกันอีก เลยเลือกใช้คำในภาษาอังกฤษไม่ถูกว่าจะใช้คำอะไรดี ??
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 824  เมื่อ 19 ก.ย. 20, 20:14

ลองนึกดูว่าเม็ดหรือเมล็ดผลไม้ไทย น่าจะจัดเข้าประเภทไหน

๑. seed  แตงโม
๒. stone เงาะ
๓. pip  ส้มโอ 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 53 54 [55] 56 57 ... 68
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 20 คำสั่ง