เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 52 53 [54] 55 56 ... 68
  พิมพ์  
อ่าน: 76517 ไปตลาด
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 795  เมื่อ 03 ก.ย. 20, 18:38

ในอีกมุมของอาหารภาคเหนือ  ก็ดูจะจำกัดเช่นกัน 

ผมยังไม่เคยเห็นร้านอาหารที่ขายอาหารของภาคเหนือเป็นหลักเลย แม้กระทั่งในร้านอาหารพื้นที่ภาคเหนือเองก็มีอยู่น้อยมากๆ     อาหารของภาคเหนือที่ถูกจัดเป็นตัวแทนในเมนูอาหารในทางวัฒนธรรมดูจะมีแต่เพียงน้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม แคบหมู และใส้อั่ว   ซึ่งแท้จริงแล้วก็อื่นๆอีก เช่น แกงอ่อม จอผัก แกงฮังเล ข้าวซอย ....   

แล้วก็เลยนึกถึงตำส้มโอ  ของกินอร่อยๆที่ทำง่ายๆด้วยการเอาส้มโอผลที่ออกรสไม่หวานมาทำ       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 796  เมื่อ 03 ก.ย. 20, 19:32

ผมมีความเห็นว่า อาหารไทยที่ใช้ส้มโอเป็นพื้นในการทำเมนูใดๆนั้นๆ น่าจะจัดเข้าเป็นอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ในเมนูทางวัฒนธรรมของอาหารไทยอีกหนึ่งเมนู   เรามีตำส้มโอ (ตำบะโอ) แบบทางทางเหนือ เรามียำส้มโอแบบภาคกลางและแบบภาคใต้ที่หลากหลายด้วยสัดส่วนของสมุนไพรที่นำมาใส่คลุกด้วย (ตะไคร้ มะพร้าวคั่ว ผิว/ใบมะกรูด ...)  เรามียำแบบ veggie  เรามียำแบบใส่เนื่อสัตว์ (พวกกุ้ง กั้ง)  เรามีการใช้ส้มโอเป็นส่วนประกอบในจานอาหาร เช่น ข้าวยำ    เราเอาเปลือกส้มโอมาเชื่อมน้ำตาลทำเป็นของหวาน    เราเอาส้มโอมาจิ้มกับน้ำปลาหวานหรือพริกกับเกลือ เป็นของกินเล่น   เท่าที่มีประสพการณ์จากการเดินทางมากพอควร ก็ยังไม่เห็นตวามหลากหลายในการใช้ส้มโอแบบไทยเราเลย  (คลับคล้ายคลับคลาว่า เหมือนกับจะเคยเห็นที่ศรีลังกา แต่ไม่แน่ใจนัก)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 797  เมื่อ 03 ก.ย. 20, 19:51

ส้มโอที่มีชื่อเสียงโด่งดังของไทยเรามานานจนเป็นตำนานแล้วก็คือส้มโอในพื้นที่นครชัยศรี สามพราน และบางแห่งในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีนและแม่กลอง  แต่ดูเหมือนว่าทั้งหลายเหล่านี้ล้วนได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากจากกรณีน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี '54   

ผมคิดว่า อ.เทาชมพู น่าจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้และความเห็นได้อย่างดีเกี่ยวกับส้มโอในพื้นที่ย่านที่กล่าวถีงนี้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 798  เมื่อ 12 ก.ย. 20, 20:31

หายไปหลายวันเลยครับ ด้วยเหตุว่าต้องไปรบอยู่กับ HDD ของคอมพิวเตอร์ที่มีปัญหา มันรวน มันไม่ยอมตื่นและลุกออกมาจากที่นอน (ไม่ Boot) ทั้งๆที่ใช้งานมันเพียงไม่กี่เดือน  ก็เลยต้องเปลี่ยนใช้ตัวใหม่แล้วเอาตัวเก่าไปจัดการกู้ข้อมูล   ที่จริงแล้วก็กำลังค่อยๆจัดระบบข้อมูลเพื่อจะนำไปเก็บในอีกที่หนึ่ง (back up) แต่ด้วยที่งุ่มง่ามไปตามประสา สว. คิดช้าบ้าง ลืมบ้าง หลงบ้าง ...ฯลฯ เลยไม่ทันการณ์กับอาการง่อยเปลี้ยของมัน     

ใช้คอมพิเตอร์มาตั้งแต่ CPU 8086 ก็เพิ่งจะมาเจอะเจอกับความเสียหายที่รุนแรงในครั้งนี้ จะด้วยเหตุจากภายในตัวเอง (manufacturing) หรือจากสภาวะภายนอก (electrical surge หรืออื่นใด) ก็มิรู้ได้   ทำให้เห็นว่า การใช้ระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ ควรจะต้องมีการคำนึงถึงและมีความขยันในการจัดการ back up ข้อมูลลงไปในตัวกลางที่หลากหลายตามทิศทางและการเปลี่ยนแปลงไปตามแนวโน้มของเทคโนโลยี (เราเคยใช้ cassette และเทปก็หายไป เราเคยใช้ diskette ขนาด 3.5 นิ้วและขนาดอื่นๆก็หายไป  เราเคยใช้ external HDD ในปัจจุบันนี้เรามี SSD มาให้เลือกใช้  แม้กระทั่ง data format เองก็เปลี่ยนไปพอสมควรแล้ว....ฯลฯ) 
บันทึกการเข้า
pratab
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 799  เมื่อ 12 ก.ย. 20, 22:16

การเก็บข้อมูลสมัยนี้ถ้าไม่ขยัน back up ไว้เสมอๆถ้าเกิดข้อมูลหายไปด้วยเหตุใดใดก็ตามอาจทำงานต่อไม่ได้และเกิดความเสียหายร้ายแรงเช่นข้อมูลลูกค้าหาย หรือข้อมูลคนไข้หาย ทำงานต่อไม่ได้และยุ่งยากในการกู้คืน(ยกเว้นจากข้อมูลที่ back up ไว้) จากเอกสาร ได้ติดตามคุณ naitang ในกระทู้นีัแล้วเกิดความสงสัยว่าทำไมที่เชียงรายจึงปลูกสับปะรดหรือแตงโมได้ดีเหมือนภาคตะวันออกและภาคกลาง แสดงว่าดินคงมีลักษณะเดียวกันใช่ไหมครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 800  เมื่อ 13 ก.ย. 20, 18:00

หายไปหลายวันเลยครับ ด้วยเหตุว่าต้องไปรบอยู่กับ HDD ของคอมพิวเตอร์ที่มีปัญหา มันรวน มันไม่ยอมตื่นและลุกออกมาจากที่นอน (ไม่ Boot) ทั้งๆที่ใช้งานมันเพียงไม่กี่เดือน  ก็เลยต้องเปลี่ยนใช้ตัวใหม่แล้วเอาตัวเก่าไปจัดการกู้ข้อมูล   ที่จริงแล้วก็กำลังค่อยๆจัดระบบข้อมูลเพื่อจะนำไปเก็บในอีกที่หนึ่ง (back up) แต่ด้วยที่งุ่มง่ามไปตามประสา สว. คิดช้าบ้าง ลืมบ้าง หลงบ้าง ...ฯลฯ เลยไม่ทันการณ์กับอาการง่อยเปลี้ยของมัน      

ใช้คอมพิเตอร์มาตั้งแต่ CPU 8086 ก็เพิ่งจะมาเจอะเจอกับความเสียหายที่รุนแรงในครั้งนี้ จะด้วยเหตุจากภายในตัวเอง (manufacturing) หรือจากสภาวะภายนอก (electrical surge หรืออื่นใด) ก็มิรู้ได้   ทำให้เห็นว่า การใช้ระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ ควรจะต้องมีการคำนึงถึงและมีความขยันในการจัดการ back up ข้อมูลลงไปในตัวกลางที่หลากหลายตามทิศทางและการเปลี่ยนแปลงไปตามแนวโน้มของเทคโนโลยี (เราเคยใช้ cassette และเทปก็หายไป เราเคยใช้ diskette ขนาด 3.5 นิ้วและขนาดอื่นๆก็หายไป  เราเคยใช้ external HDD ในปัจจุบันนี้เรามี SSD มาให้เลือกใช้  แม้กระทั่ง data format เองก็เปลี่ยนไปพอสมควรแล้ว....ฯลฯ)  

เครื่องของคุณตั้งเจอไวรัส จากการโหลดอะไรลงหรือเปล่าคะ  
ส่วนเรื่องแบคอัพข้อมูล  ดิฉันใช้ external portable drive ค่ะ     อีกทางคือเอาไฟล์เก็บไว้ใน dropbox   ถ้าเครื่องเจ๊ง  ซื้อเครื่องใหม่มาก็เข้า dropbox  เอาข้อมูลที่เก็บไว้ออกมาใช้ได้เลย    อย่าทำรหัสผ่านหายก็แล้วกันค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 801  เมื่อ 13 ก.ย. 20, 19:53

สำหรับข้อสงสัยของคุณ pratab นั้น    

การอธิบายความอาจจะต้องจำแนกออกเป็นเรื่องในทางวิทยาการของศาสตร์ทางวิชาธรณีวิทยา (Geological science) กับ ศาสตร์ทางวิชาปฐพีวิทยา (Soil science)  ซึ่งแม้เรื่องราวดูว่าน่าจะคล้ายๆกัน แต่มันก็มีลักษณะของการมองที่ค่อนข้างจะต่างกัน  ในทางธรณีฯจะมองไปในเชิงของที่มาของมันและการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นกับมันตลอดมาก่อนที่เราจะเห็นสภาพของมันที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งกระบวนการทางธรรมชาติในปัจจุบันที่ยังมีและยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับมัน(Physically, Chemically, biologically)   ในทางปฐพีฯค่อนข้างจะให้ความสำคัญกับการมองไปในเชิงของคุณภาพของดินเป็นบริเวณๆหนึ่งใด และค่อนข้างจะจำกัดความลึกที่ไม่มากไปกว่าระดับน้ำใต้ผิวดินมากนัก คือค่อนข้างจะมองไปในมาง 2D (area-wise)
 
ขอต่อในวันพรุ่งนี้ครับ
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 802  เมื่อ 14 ก.ย. 20, 07:34

ถ้าท่านอาจารย์ใช้ windows ไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหน ผมขอแนะนำโปรแกรมสำรองข้อมูลตัวนี้ครับ (ใช้ License แบบ GNU)
https://sourceforge.net/projects/robomirror/

เมื่อตอนเริ่มใช้ อาจจะดูงงๆบ้างสักหน่อย แต่เมื่อใช้ได้แล้วก็น่าจะช่วยทำให้เบาใจได้ในระดับหนึ่งครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 803  เมื่อ 14 ก.ย. 20, 19:03

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำและความเห็นเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ต่างๆครับ

ที่ผมปฏิบัติเป็นปกติก็คือ ผมจะแบ่ง HDD ออกเป็นสามส่วน คือ C: สำหรับ OS และโปรแกรมต่างๆ  อีกส่วนคือ D: สำหรับการเก็บข้อมูลและการทำงานต่างๆบนข้อมูลเหล่านั้น  และ G: สำหรับเก็บข้อมูลดิบที่ยังไม่มีการปรับหรือปรุงแต่งใดๆ  การติดไวรัสส่วนมากจะไปรวนที่ C: ซึ่งเราสามารถทำ low format แล้วลง OS ใหม่ได้โดยที่ข้อมูลต่างๆยังอยู่ครบ ซึ่งก็เป็นวิธีการที่ดูค่อนข้างจะปลอดภัยดี    แต่ในครั้งนี้ เจอเข้าไปที่ความไม่ปกติของตัว HDD  ก็เป็นมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ไม่เอะใจมากนัก  ที่พบก่อนที่จะพังพาบก็คือ Boot ได้บ้างไม่ได้บ้างหลังจาก Window auto update และบางทีก็มี miss startup ของบางแอป เช่น WiFi  ซึ่งอาการก็ไม่ชี้ชัดว่าเป็นเพราะไวรัสหรืออื่นใด  ด้วยความรู้ที่มีไม่มากพอ ก็ทำได้เพียงการตรวจสอบ(สแกนหา)ไวรัสทั้งระบบ ซึ่งก็ปลอดภัยดี  ทำต่อไปด้วยการ Defrag. และ Optimized ซึ่งก็ดูดีทั้งหมด   จนกระทั่งมาเกิดเหตุและทราบจากผู้ที่ทำการกู้ข้อมูลในเบื้องแรกว่า ดูเหมือนปัญหาจะเกี่ยวกับระบบของกลไกการอ่านข้อมูล   

ตอนนี้ผมเลยคิดถึงการใช้ SSD คู่ไปกับ HDD และการใช้ external portable drive ดังที่ อ.เทาชมพู ได้กล่าวถึง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 804  เมื่อ 14 ก.ย. 20, 19:05

ขอบคุณคุณ ninpaat สำหรับคำแนะนำครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 805  เมื่อ 14 ก.ย. 20, 20:40

...ได้ติดตามคุณ naitang ในกระทู้นีัแล้วเกิดความสงสัยว่าทำไมที่เชียงรายจึงปลูกสับปะรดหรือแตงโมได้ดีเหมือนภาคตะวันออกและภาคกลาง แสดงว่าดินคงมีลักษณะเดียวกันใช่ไหมครับ

ความเห็นสำหรับกรณีดิน(ของพื้นที่ๆคุณพ่อของผมปลูกนั้น) มีลักษณะเดียวกันใช่ใหม คำตอบของผมคือ ก็คงเป็นไปในลักษณะนั้น   

เท่าที่ผมได้เคยพบเห็นจากการเดินทางผ่านพื้นที่ปลูกแตงโมที่มีผลผลิตและมีคุณภาพดี    ข้อสังเกตแรกก็คือ  พื้นที่เหล่านั้นจะอยู่ในพื้นที่ราบที่เป็นบริเวณที่มีตะกอนดินทรายของระบบน้ำจืดตกสะสมทับถมกันอยู่ (เรียกรวมๆว่า alluvial deposit) เป็นดินทรายที่มีเนื้อค่อนข้างละเอียดมาก มีส่วนผสมในปริมาณพอๆกันระหว่างทรายละเอียด (find sand sized particles) ขนาดละเอียดมาก (silt sized particles) และขนาดละเอียดยิบ (clay sized particles) ซึ่งในทางปฐพีฯดูจะใช้คำว่า ดิน loam   

ด้วยที่พื้นที่เพาะปลูกแตงมักจะเป็นพื้นที่ๆมีการแตกระแหงของดิน ผมก็จึงมีความเห็นว่าดินเหล่านี้น่าจะมีแร่ดินในกลุ่มที่พองตัวและหดตัวได้เนื่องมาจากความชุ่มชื้น(แร่ดิน Smectite group) ผสมอยู่กับแร่ดินในกลุ่มดินเหนียว (แร่ดิน Kaolin group)                 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 806  เมื่อ 14 ก.ย. 20, 20:55

ข้อสังเกตที่สองก็คือ ด้วยที่แตงโตเป็นผลผลิตส่วนที่เป็นผลของพืช ก็เลยเดาเอาว่า น่าจะบ่งชี้ว่าพื้นที่ๆมีผลผลิตดีก็ควรจะต้องเป็นบริเวณที่มีตวามผิดปกติ(anomaly)เกี่ยวกับธาตุ K (Potassium) คือมีธาตุ K สูงกว่าปกติ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 807  เมื่อ 14 ก.ย. 20, 21:08

ลักษณะดินที่ปลูกแตงโม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 808  เมื่อ 15 ก.ย. 20, 19:36

นอกจากจะเป็นดินที่มีส่วนประกอบทางอนินทรีย์ดังที่กล่าวแล้ว ก็จะต้องมีส่วนที่เป็นทางอินทรีย์อีกด้วย ซึ่งก็คือพวกซากพืชซากสัตว์ต่างๆที่ถูกพัดพามาหรือที่มีอยู่ในพื้นที่นั้นๆ   

ลักษณะดังกล่าวนี้ มองอย่างผิวเผิน พื้นที่ก็จะมีลักษณะเป็นดินทรายที่มีปุ๋ยธรรมชาติอยู่พอควร  ซึ่งด้วยชื่อก็ดูจะบ่งบอกว่าเป็นพื้นที่แห้งแล้ง  แต่หากมองลึกลงไป ความแล้งนั้นจะเป็นแต่เพียงผิวหน้าดิน ลึกลงไปดินก็จะยังคงมีความชุ่มชื้นอยู่ในระดับหนึ่ง (ซึ่งไปเกี่ยวกับเรื่องของความพรุนของเนื้อดิน _porosity และความสามารถในการไหลของน้ำผ่านเนื้อดิน _permeability)   ด้วยความรู้ที่พอจะมีของผม แตงโมและพืชเถาหลายชนิดล้วนมีรากที่สามารถหยั่งลึกลงไปหาความชื้นได้ลึกมาก มันก็เลยขึ้นได้ดีในพื้นที่ลักษณะดังกล่าวนี้ ซึ่งลักษณะของผืนดินเช่นนี้ก็พบเห็นได้ทั่วไป แต่ก็จะมีความต่างกันอยู่บ้างในเรื่องของความมีและปริมาณของ trace elements ที่ได้มาจากกลุ่มหินที่มีอยู่ในละแวกใกล้เคียงที่เป็นพวกที่เกิดในสภาวะอุณหภูมิและแรงดันสูง (high temperature & pressure) ซึ่งธาตุเหล่านั้นล้วนแต่เป็นตัวเสริมสร้างความเจริญเติบโตและความเป็นเอกลักษณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆของแต่ละถิ่น

สรุปว่า ได้แหกโค้งออกไปไกลเพียงเพื่อจะกล่าวว่า ทั้งแตงโมและสับปะรดมีชื่อที่ปลูกได้ในพื้นที่ต่างๆกันนั้น  พื้นที่เหล่านั้นล้วนแต่เป็นพื้นที่ราบที่มีเหล่าหินพวก high T & P อยู่ในบริวณใกล้เคียงทั้งนั้น

บันทึกการเข้า
pratab
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 809  เมื่อ 15 ก.ย. 20, 21:28

ขอบคุณมากครับคุณ naitang  ได้ความรู้เยอะเลยแม้ผมจะไม่ได้เรียนด้านนี้มาโดยตรง ก็พอเข้าใจได้ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 52 53 [54] 55 56 ... 68
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 20 คำสั่ง