เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 46 47 [48] 49 50 ... 68
  พิมพ์  
อ่าน: 76509 ไปตลาด
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 705  เมื่อ 28 ก.ค. 20, 19:36

ตลาด ไมว่าจะเป็นตลาสดเช้า ตลาดอาหารสำเร็จรูปบ่าย หรือตลาดโต้รุ่ง ล้วนแต่เป็นศูนย์การข่าวและศูนย์กระจายข่าวชั้นเยี่ยม ข่าวอะไรจะดีและเชื่อถือได้มากไปกว่าข่าวที่ได้ยินด้วยหูของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นแบบโดยตรงจากผู้ถูกจัดว่าเป็นผู้รู้จริงหรือจากปากต่อปาก  ในตลาดก็เลยมีทั้งข่าวจริง ข่าวโกหก ข่าวลือ ข่าวลวง เต็มไปหมด   คนที่ฟังข่าวแล้ววิเคราะห์หรือสังเคราะห์เป็น ก็เลยทำท่าจะเป็นกูรูประจำถิ่น น่าฟังมากกว่าข่าวจากวิทยุ ทีวี หรือสื่ออื่นใด   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 706  เมื่อ 29 ก.ค. 20, 20:21

แล้วด้วยเหตุใดข่าวจึงกระจายได้อย่างรวดเร็วและลงถึงทุกผู้คนในทุกหย่อมหญ้า     ด้วยที่ผมได้มีชีวิตคลุกคลีอยู่กับชาวบ้านและวิถีชีวิตของพวกเขาเป็นเวลาค่อนข้างนานและหลากหลายพื้นที่  ก็เลยมีความเห็นส่วนตนที่พอจะประมวลได้และเล่าโดยสังเขปได้ดังนี้

ชาวบ้านตื่นแต่เช้ามืดในช่วงเวลาประมาณตี 3 ถึง ตี 5  ฝ่ายชายเกือบทั้งหมดจะรีบออกบ้านไปดูเรือกสวนไร่นาของตน  ฝ่ายแม่บ้านก็จะเตรียมทำอาหารละเตรียมความพร้อมให้ลูกก่อนจะไปโรงเรียน เด็กที่เรียนในระดับประถมปลายและมัธยมจะเข้าไปเรียนในตัวเมือง ซึ่งรถรับจ้างรับส่งนักเรียนจะมารับในช่วงเวลาประมาณ 6 +/- โมงเช้าเพื่อให้ทันเข้าแถวเคารพธงชาติในเวลา 8.00 น   เวลาประมาณ 9-10 น. ฝ่ายชายจะกลับมาเพื่อกินข้าวเช้าที่บ้าน แล้วก็จะไปทำงานอื่นๆต่อไป เช่น รับจ้าง หาอาหาร ช่วยงานเอาแรงกัน งานสาธารณะประโยชน์ ฯลฯ  เสร็จงานก็ก๊งกันเล็กน้อยก่อนกลับถึงบ้านช่วงทุ่มสองทุ่ม  ในช่วงต้นปีและปลายปี ฟ้าจะมืดเร็วหน่อย ก็พอจะมีโอกาสได้อยู่บ้านก่อนมืด หรือไม่ก็ต้องออกไปนอนเถียงนาเฝ้านาเฝ้าไร่ เพราะเป็นช่วงเวลาของการผลิดอกออกผลของพืชพันธ์ุธัญญาหารต่างๆ   

ด้วยสภาพที่เล่ามาเป็นสังเขปนี้ คงพอจะเห็นได้ว่า มันไม่สัมพันธ์กับช่วงเวลาของการออกอากาศข่าวสารของทางราชการทั้งทางวิทยุและทีวี ซึ่งเป็นข่าวจริง(แต่ไม่มีคำอธิบายไม่ว่าจะในเชิงของ preamble และ obligation แถมการนำเสนอตัวข่าวก็ยังมักจะต้องแปลไทยเป็นไทย)   สำหรับหนังสือพิมพ์ ฉบับใหม่ล่าสุดที่ไปวางขายอยู่ใน ตจว.ก็จะเป็นข่าวของเมื่อวันหรือสองวันก่อน ราคาหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งก็มากพอที่จะซื้อกับข้าวได้ถุงนึงเลยทีเดียว จะใช้เน็ตก็เสียเงิน     แม่ค้าเอาของไปขายในตลาดในเมือง ไปได้ยินข่าวต่างๆที่พูดกันในตลาด เมื่อกลับมาบ้านในหมู่บ้านก็เอาไปเล่าสู่กันฟัง แต่งเติมเสริมสีใส่ไข่กันเล็กน้อยพองาม น่าฟังกว่าตั้งเยอะ

ข่าวสารถึงผู้คนที่เรียกว่ารากหญ้าก็จึงมักจะมาจากสภาพดังกล่าวนี้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 707  เมื่อ 30 ก.ค. 20, 19:35

เรื่องที่เล่ามานั้น สำหรับเราๆหลายคนอาจจะเห็นว่าเป็นข่าวหรือเรื่องราวที่ไร้สาระ  แต่สำหรับผมไม่เห็นว่าเป็นเช่นนั้น  ผมเห็นว่าเรื่องราวเหล่านั้นบอกอะไรๆอยู่หลายอย่างเลยทีเดียว ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะต้องไปให้ความสนใจกับเรื่องราวเหล่านั้นอย่างจริงจัง  ปล่อยให้มันผ่านเข้าหูซ้ายทะลุหูขวาไป นานเข้ามันก็มีตะกอนตกสะสมมากพอที่จะกลายเป็นข้อมูล กลายเป็นตัวจิ๊กซอเล็กๆที่ทำให้ได้รู้ ได้เห็น และเข้าใจถึงความเชื่อมต่อกันของ social elements ต่างๆที่กระจายอยู่ในกลุ่มชนพวกเดียวกันที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ต่างๆ  สนุกไปในเรื่องของชาติพันธุ์ การอพยพ การตั้งถิ่นฐาน และ varieties ทางวัฒนธรรม สังคม ความเป็นอยู่ และอาหารการกินของพวกเขา     เมื่อครั้งยังทำงานอยู่นั้น ในระหว่างการทำงานสำรวจในพื้นที่ ตลาดคือแหล่งข่าวในเชิงความปลอดภัย เป็นแหล่งกระจายข่าวการเข้าพื้นที่ การเข้าไปทำงาน กระบวนการทำงาน การแสดงตนของคณะสำรวจ  และเป็นสถานที่เรียนรู้ความต่างต่างๆของพื้นที่นั้นๆ     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 708  เมื่อ 30 ก.ค. 20, 20:28

ตลาดเย็นซึ่งมักจะเป็นตลาดขายอาหารสำเร็จรูปนั้น  เท่าที่ไปเดินตลาดในพื้นที่รอบนอกละแวกบ้าน ได้พบว่ามีแม่ค้าหน้าใหม่มาขายอยู่ไม่น้อย ใน ตจว.ที่เดินทางไปก็เช่นกัน   ได้ลิ้มลองฝีมือและรสอาหารที่แปลกออกไป  เท่าที่พูดคุยสอบถามกันก็ได้ความว่าเป็นอาหารแบบที่ครอบครัวทำกัน  หลายคนตกงานก็เลยซุ่มเงียบเรียนจากแม่แล้วเอามาทำขายหารายได้  ซึ่งดูจะขายดี เพราะมีที่บอกว่าจะเปลี่ยนอาชีพมาทำอาหารขายดีกว่า  ก็เลยพอจะนึกออกว่าคงจะทำกิจการแบบ food delivery    ใน ตจว.นั้น แม้จะเห็นว่าเมืองค่อนข้างจะเงียบๆ ร้านอาหารในเมืองเปิดกิจการแบบครึ่งกำลัง แต่จะเห็น food delivery เต็มไปหมด       
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 709  เมื่อ 31 ก.ค. 20, 12:24

เรื่องที่เล่ามานั้น สำหรับเราๆหลายคนอาจจะเห็นว่าเป็นข่าวหรือเรื่องราวที่ไร้สาระ  แต่สำหรับผมไม่เห็นว่าเป็นเช่นนั้น  ผมเห็นว่าเรื่องราวเหล่านั้นบอกอะไรๆอยู่หลายอย่างเลยทีเดียว ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะต้องไปให้ความสนใจกับเรื่องราวเหล่านั้นอย่างจริงจัง  ปล่อยให้มันผ่านเข้าหูซ้ายทะลุหูขวาไป นานเข้ามันก็มีตะกอนตกสะสมมากพอที่จะกลายเป็นข้อมูล กลายเป็นตัวจิ๊กซอเล็กๆที่ทำให้ได้รู้ ได้เห็น และเข้าใจถึงความเชื่อมต่อกันของ social elements ต่างๆที่กระจายอยู่ในกลุ่มชนพวกเดียวกันที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ต่างๆ  สนุกไปในเรื่องของชาติพันธุ์ การอพยพ การตั้งถิ่นฐาน และ varieties ทางวัฒนธรรม สังคม ความเป็นอยู่ และอาหารการกินของพวกเขา     เมื่อครั้งยังทำงานอยู่นั้น ในระหว่างการทำงานสำรวจในพื้นที่ ตลาดคือแหล่งข่าวในเชิงความปลอดภัย เป็นแหล่งกระจายข่าวการเข้าพื้นที่ การเข้าไปทำงาน กระบวนการทำงาน การแสดงตนของคณะสำรวจ  และเป็นสถานที่เรียนรู้ความต่างต่างๆของพื้นที่นั้นๆ     

สำหรับคนกรุงเทพอย่างดิฉัน การไปตลาดก็แค่ซื้อของแล้วก็กลับ แทบไม่มีปฏิสัมพันธ์ใดกับผู้คนในตลาดเลย
เรื่องราวที่อาจารย์เล่ามานี้เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้ดิฉันเลยค่ะ ขอบพระคุณนะคะที่กรุณาแบ่งปันประสบการณ์
ชอบฟังเรื่องราวเกี่ยวกับตจว. ป่าดงพงไพรที่อาจารย์เล่ามากค่ะ  ยิ้มกว้างๆ
ชอบอ่านเรื่องเกี่ยวกับตจว.
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 710  เมื่อ 31 ก.ค. 20, 18:39

ขอบคุณครับ และผมก็ต้องขอบคุณ อ.เทาชมพู ที่ได้ช่วยกรุณาหาภาพต่างๆมาช่วยเสริมเรื่องราวจนมีความกระจ่างชัดขึ้น   กระบวนวิธีในการใช้เทคโนโลยีต่างๆนั้น ผมเชื่ิอว่าต่างก็ล้วนมี handicap กันในบางเรื่องหรือหลายๆเรื่อง ผมเองก็เป็นหนึ่งในกลุ่มคนเหล่านั้น   
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 711  เมื่อ 31 ก.ค. 20, 19:28

ช่วงนี้ทำงานออนไลน์ ไม่เสียเวลาเดินทางเลยมีเวลาว่างมากขึ้น กำลังไล่อ่านกระทู้ที่เคยปักหมุดไว้ค่ะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 712  เมื่อ 31 ก.ค. 20, 19:48

กล่าวถึงตลาดมานาน ลืมไปว่ายังไม่ได้ว่าถึงประเภทของตลาดต่างๆเลย

ประเภทของตลาดที่เราเรียกชื่อและมีความเข้าใจตรงกันในทันที   สำหรับคนในเมืองหลวงและจังหวัดใหญ่ๆบางจังหวัด ก็มีอาทิ ตลาดสด ตลาดขายส่ง ตลาดขายผ้า ตลาดผลไม้ ตลาดนัด ตลาดน้ำ ตลาดดอกไม้ เป็นต้น  ชื่อเรียกเหล่านี้ต่างก็บ่งบอกว่าเป็นแหล่งรวมของสินค้าบริโภคหรืออุปโภค เป็นคำเรียกในเชิง collective noun (สมุหนาม) ที่บ่งชี้บนพื้นฐานเชิงปริมาณและความหลากหลายของสินค้านั้นๆเป็นหลัก    

ก็มีตลาดที่มีชื่อสถานที่กำกับ เช่น ตลาดบางลำพู ตลาดคลองถม ตลาดปีระกา(เลิกไปแล้ว) ตลาดปากคลองตลาด ตลาดพรานนก ตลาดเทเวศน์ ตลาดศาลาน้ำร้อน/ศาลาน้ำเย็น ตลาดน้อย ตลาดสามชุก ตลาดบ้านโป่ง ตลาดวังหลัง ตลาดแม่กลอง ตลาด อตก. ...เหล่านี้เป็นต้น  ตลาดที่มีชื่อสถานที่กำกับเหล่านี้ ส่วนมากจะเป็นตลาดที่มีการคัดคุณภาพของสินค้านำมาวางขาย คือเน้นไปในทางคุณภาพ

ตลาดอื่นๆจากนี้ก็มักจะเป็นตลาดขนาดเล็กของชุมชน หากเป็นในกรุงเทพฯก็มักจะอยู่ในพื้นที่ลานวัดหรือที่ๆเจ้าของพื้นที่ทำธุรกิจตลาด  หากเป็นใน ตจว.ก็จะเป็นตลาดในระดับตำบลหรือในระดับหมู่บ้าน

สำหรับตัวผม ผมชอบเดินตลาดชุมชน เว้นแต่กรณีจะต้องการหาซื้อของบางอย่างตามประสาคนเรื่องมากในบางเรื่องของผม ซึ่งบางครั้งก็มากเอาการเลยทีเดียว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 713  เมื่อ 01 ส.ค. 20, 18:56

ช่วงนี้เริ่มมีฝนชุกขึ้น ต้นไม้ใบหญ้าต่างก็แตกหน่อออกใบอ่อนกัน  ท่านที่มีที่พักอาศัยอยู่ในย่านที่เป็นพื้นที่สวนทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามีโอกาสที่จะได้กินพวกพืชผักอ่อนๆแตกหน่อแตกใบใหม่ต่างๆที่เป็นของติดสวน หาซื้อได้ในตลาดชุมชนซึ่งมักจะมีแม่ค้ามีอายุเก็บมาขาย บ้างก็สดๆ บ้างก็ทำสำเร็จรูปแล้ว     

ที่แนะนำก็จะมี หากชอบกินขิงอ่อนดองก็ควรจะซื้อกินในช่วงเวลานี้ น่าจะหาซื้อในตลาดชุมชนได้ไม่ยากนัก จะเป็นขิงที่อ่อนมาก อร่อยกว่าขิงดองที่กินกับอาหารญี่ปุ่นหรือที่มาจากธุรกิจทำขิงดองซึ่งเขาจะใช้ขิงที่แก่กว่านี้ คือมีเส้นในเนื้อใกล้จะเริ่มแข็ง   ขิงดองทางอุตสาหกรรมจะทำมาจากขิงดองเค็มแล้วนำมาแต่งรสในภายหลัง ต่างจากขิงอ่อนดองที่ทำกันกินกันเองตามบ้าน ซึ่งเป็นการดองกับน้ำดองที่ปรุงรสแล้ว    เมื่อผมยังเด็กอยู่ก็เคยช่วยคุณป้าทำ ขูดผิวแง่งขิงแล้วซอยสองด้านแบบขวางทางกัน แล้วไล้ด้วยมะนาวผ่าครี่งให้ทั่ว ก็จะได้ผลลัพท์ที่เป็นขิงดองออกสีชมพูอ่อนสวยงาม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 714  เมื่อ 01 ส.ค. 20, 19:06

ขิงดอง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 715  เมื่อ 01 ส.ค. 20, 19:12

ฝรั่งดองขิงเหมือนกัน เรียกว่า pickled ginger  คุณตั้งเคยรับประทานไหมคะ   เขามีไว้กินกับอะไร


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 716  เมื่อ 01 ส.ค. 20, 19:27

อีกเมนูหนึ่งใช้ยอดมะกอกอ่อนซึ่งมีวางขายแล้วในช่วงเวลานี้ เป็นเมนูโปรดของผม  เมนูนี้ต้องทำเอง ก็ซื้อมาสักกำมือหนึ่ง สรงน้ำเอามาแล้วเอามาย่างบนตะแกรงเหนือไฟเตาแกส (หากใช้เตาถ่าน ก็ไม่ต้องใช้ตะแกรง ซึ่งจะหอมอร่อยกว่ามาก) ย่างให้มันเหี่ยวสยบ รูดเอาก้านที่แข็งๆทิ้งไป เอาใบมาวางซ้อนกัน ม้วนแล้วซอยหนาประมาณครึ่งเซ็นต์  ยีให้แยกจากกัน ซอยหอมแดงประมาณ 5 หัว ใส่ลงไป  คราวนี้ก็เลือกเอาว่าใช้เนื้ออะไรและแบบใหน หากใช้หมูสับหรือไก่สับ ก็ลวกให้สุก  หากใช้คอหมูย่างก็เลือกส่วนที่มีมันน้อยหน่อย หั่นบาง  อาจจะใช้เนื้อเค็มทอดแบบชาวบ้าน(ทอดแห้งๆ) หั่นบางขวางเส้นกล้ามเนื้อ  จะใช้หมูสันนอกชิ้นบางเอามาย่างหรือทอดก็ได้ แม้กระทั้งหมูทอดกระเทียมพริกไทยแบบแห้งๆก็ได้   แล้วก็มาเลือกว่าจะปรุงรสแบบใหน จะใช้พริกขี้หนูสวนซอยหรือพริกป่นหอมๆ ใส่น้ำปลา  หรือจะใช้น้ำพริกตาแดงสัก 2 ช้อนกาแฟ   คลุกแบบขยำให้เข้าดี เอาใส่จาน ก็กินได้อย่างอร่อยแล้ว เป็นได้ทั้งกับแกล้มและกับข้าว จะกินกับข้าวสวยหรือข้าวเจ้าก็ได้ทั้งนั้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 717  เมื่อ 01 ส.ค. 20, 21:09

ฝรั่งดองขิงเหมือนกัน เรียกว่า pickled ginger  คุณตั้งเคยรับประทานไหมคะ   เขามีไว้กินกับอะไร

ผมไม่เคยทานอาหารฝรั่งที่มีขิงดองเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยเลยครับ   เข้าใจว่าฝรั่งคงจะไปติดใจรสที่แปลกออกไปของขิงดองเมื่อไปทานอาหารญี่ปุ่น ก็เลยเอามาทำกินกันเอง   ฝรั่งเอาพืชผักของเขาหลายอย่างมาดอง ซึ่งส่วนมากจะเป็นส่วนที่เป็นผล จะใช้ส่วนที่เป็นใบและรากไม่กี่ชนิด

ในความเห็นของผม ความต่างที่สำคัญระหว่าง pickle ที่ทำแบบฝรั่งกับที่ทำแบบเอเซีย ก็คือแบบของฝรั่งนั้นจะมีการใส่ herbs ลงไปด้วย เช่น dill, thyme, rosemary, เม็ดมัสตาร์ด กระเทียม ลงไปด้วย ในขณะที่แบบเอเซียนั้นจะไม่มี
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 718  เมื่อ 02 ส.ค. 20, 19:08

นึกขึ้นได้ว่า ฝรั่งทางยุโรปให้ความสนใจขิงมากขึ้น ผมไม่ทราบว่าเขาเอาไปทำอะไรกันบ้าง    แน่นอนว่าเขามีความนิยมที่จะทำเค็กที่เรียกว่า ginger cake และ/หรือ ginger bread ซึ่งใส่ขิงแห้งป่นและเครื่องเทศบางอย่าง ทำกินกันเนื่องในโอกาสฉลองวันสำคัญและวันแห่งความร่าเริงที่สำคัญ โดยเฉพาะในช่วงปลายปี (คริสมาส ปีใหม่) ซึ่งทำกินกันเป็นประเพณีอยู่แล้ว

เข้าใจว่การใช้ขิงที่มีเพิ่มมากขึ้น อาจจะเพราะได้รับอิทธิพลบางส่วนมาจากการทำอาหารแบบจีนที่มีการเผยแพร่ทางทีวีว่า เริ่มต้นตั้งกระทะ ใส่น้ำมัน หั่นขิงสดแว่นหนึ่ง บุบให้แหลกแล้วสับอีกเล็กน้อย นำใส่ลงไนกระทะ จะใส่กระเทียบบุบพอแหลกสักกลีบหรือจะไม่ใส่ก็ได้ เมื่อกระทะร้อนดีแล้วก็เอาเครื่องปรุงต่างๆใส่ลงไป     อีกเหตุหนึ่งก็อาจะเป็นเพราะว่า ฝรั่งให้ความสนใจในสุขภาพตนเองมากขึ้น พยายามกินผลไม้แห้งต่างๆให้หลากหลายชนิด ขิงก็เลยเข้าไปอยู่ในกลุ่มอาหารพวกนี้ แต่ก็แปลกที่ชอบกินขิงเชื่อมกัน    หรืออีกเหตุหนึ่งก็อาจจะเพราะมีการอพยพหรือเคลื่อนย้ายกลุ่มคนที่ในการปรุงอาหารของพวกเขาจะต้องมีการใช้ขิงและเครื่องเทศอื่นๆเป็นองค์ประกอบ (ข้าวหมก แกงที่เรียกว่า curry ต่างๆ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 719  เมื่อ 02 ส.ค. 20, 21:19

เค้กขิง กับขนมปังขิง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 46 47 [48] 49 50 ... 68
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 20 คำสั่ง