เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 45 46 [47] 48 49 ... 68
  พิมพ์  
อ่าน: 76859 ไปตลาด
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 690  เมื่อ 29 ก.พ. 20, 16:45

ไม่รู้ว่าตลาดแถวบ้านคุณตั้งเงียบเหงาลงไปมากไหมคะ ในวันนี้     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 691  เมื่อ 29 ก.พ. 20, 18:47

ตลาดเงียบลงไปใหม?  ขอตอบดังนี้ครับ  จำนวนผู้มาเดินซื้อของก็ดูเท่าๆเดิม ความหลากหลายและปริมาณของที่นำมาวางขายของแต่ละเจ้าก็ดูเท่าๆเดิม ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเกือบทั้งหมดต่างก็ไม่ได้คาดที่ปิดจมูกกัน มีแต่เด็กๆที่มาเดินกับพ่อแม่ในวันเสาร์-อาทิตย์ที่คาดกรองปิดจมูก ก็คือเป็นสภาพของตลาดตามปกติครับ   

สำหรับที่เห็นว่าต่างออกไปจากปกติในช่วงเวลานี้ก็คือ ผู้ซื้อจะใช้เวลาเดินซื้อของเร็วกว่าปกติ ไม่ใช้เวลานานในพื้นที่ๆมีผู้คนเป็นจำนวนมากอยู่ร่วมกัน  ก็คือไม่ค่อยจะเดินนวยนาดและใช้เวลาพูดคุยกับพ่อค้าแม่ค้านานดังเช่นแต่ก่อน ตลาดก็เลยดูจะวายเร็วกว่าปกติเล็กน้อย   สำหรับเสียงบ่นของผู้ขายในกรณีผู้คนไม่ค่อยจะจับจ่ายซื้อของหรือขายของไม่ค่อยได้นั้น เป็นเรื่องที่ได้ยินเป็นปกติ โดยเฉพาะจากปากของพวกผู้ขายที่นำของมาขายตามนัด  เมื่อประกอบกับเป็นช่วงเวลาพวกเขาต้องเร่งทำเงินสะสมสำหรับการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลขึ้นศกใหม่กลางเดือนเมษายน ผนวกกับข่าวลือ-ลวง-จริงเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การบ่นก็เลยมีมากขึ้น

ตลาดที่เงียบลงไปจริงๆที่ผมเห็นก็คือพวกตลาด supermarket   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 692  เมื่อ 29 ก.พ. 20, 19:51

ลองออกจากตลาดชุมชนในพื้นที่ของวัดไปดูตลาดใหญ่ประจำย่าน(ถิ่น)  ในกรุงเทพฯจะมีตลาดใดบ้างที่น่าสนใจ   ผมคิดว่าชื่อแรกสำหรับคนรุ่นใหม่ที่จะนึกออกก็คือ ตลาดบางลำพู  สำหรับนักกินรุ่นเก่าหน่อยก็อาจจะนึกถึง ตลาดนางเลิ้ง  สำหรับแม่บ้านที่ต้องจ่ายของเพื่อทำกับข้าวก็อาจจะนึกถึง ตลาดใหญ่ในถิ่นที่ตนอยู่ อาทิ ตลาดเก่าเยาวราช ตลาดปีระกา ตลาดประแจจีน ตลาดเทเวศร์ ตลาดบางขุนนนท์ ตลาดศาลาน้ำร้อน ตลาดพรานนก.....   แต่หากต้องหาจะซื้อของมาทำกินเฉพาะบางอย่าง ก็จำเป็นจะต้องไปซื้อในบางตลาดเป็นการเฉพาะ เช่น ฝักเพกา(ลิ้นฟ้า)ก็จะต้องไปตลาดเทเวศร์     ผักกุ่มดอง ก็จะต้องไปตลาดที่สี่แยกประชาชื่น    หากจะใช้เนื้อสัตว์สดทำอาหารแบบจัดเต็มหรือแบบฝรั่งก็คงจะต้องไป ตลาดพรานนก    เป็นผลไม้ ก็อาจจะต้องไปตลาดสะพานขาว   ดอกไม้ก็ไปตลาดปากคลอง (ปากคลองตลาด)....   

คงจะพอสังเกตได้ว่า ตลาดดังๆเหล่านี้ล้วนแต่อยู่ติดแม่น้ำลำคลองสายต่างๆ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 693  เมื่อ 01 มี.ค. 20, 18:21

อาจจะมีคำถามว่า ไปเดินตลาดบ่อยๆแล้วไม่รู้สึกเบื่อบ้างหรือ?   

ผมคิดว่าหากไปเดินตลาดเพื่อหาซื้อของของสดมาทำอาหารที่บ้านเพียงจุดประสงค์เดียว มันก็คงจะเป็นเรื่องที่น่าเบื่ออยู่ไม่น้อย  กลุ่มคนที่มีความรู้สึกเช่นนี้ก็คงจะหนีไม่พ้นกลุ่มผู้หญิงที่รับภาระเป็นฝ่ายแม่บ้านของครอบครัวอย่างเต็มตัว ต้องควบคุมรายจ่าย ต้องจัดเตรียมอาหารและเรื่องอื่นใดสำหรับสามีและบุตร/ธิดา โดยเฉพาะในกรณีของอาหารที่สามีและลูกชอบหรือไม่ชอบ กินหรือไม่กิน และข้อจำกัดต่างๆของแต่ละคน เมื่อผนวกกับความที่ตนเองก็มีข้อจำกัดในการทำอาหารที่มีความหลากหลายด้วย ก็จึงไม่แปลกและเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นผู้คนเดินไปเดินมา เดินวนรอบตลาดรอบสองรอบหรือหลายๆรอบ รอบแรกก็อาจจะเป็นเพียงดูว่าในตลาดวันนี้มีอะไรที่ดูน่าจะเอามาทำอาหารที่ต่างไปจากปกติและที่ครอบครัวทุกคนกินได้  รอบที่สองก็จะเป็นรอบของการเลือกซื้อส่วนประกอบต่างๆให้ครบ รอบอื่นๆที่ตามมาก็อาจจะเกี่ยวกับความครบถ้วนของหมู่อาหารเช่นขนมและผลไม้ และเรื่อง shopping

   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 694  เมื่อ 01 มี.ค. 20, 19:13

หลายคนไปตลาดเพราะเป็นแหล่งชุมนุมทางสังคม กลู่มคนพวกนี้จะเป็นพวกผู้ชาย และมีอยู่สองกลุ่มวัย คือพวกที่มีธุรกิจ กับพวกสูงวัย เกษียณแล้ว   ทั้งสองกลุ่มนี้ต่างก็จะมีมุม(จุด,บริเวณ)ที่จะไปสนทนากัน  กลุ่มคนพวกนี้ถูกบังคับในเชิงให้ต้องปรากฎตัว มิฉะนั้นก็จะถูกถามหา ซึ่งเมื่อมาปรากฎตัวหลังจากการหายตัวไปแล้ว ก็มักจะถูกซักถามในหลายๆเรื่องที่ผู้ตอบอาจจะรู้สึกอึดอัด

หลายคน(เช่นตัวผม) มิได้มีจุตประสงค์เรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นการเฉพาะนักในการไปเดินตลาด แม้ว่าจะเป็นเรื่องของการไปหาซื้อของมาทำกินเป็นหลักก็ตาม ตลาดมันก็มีพลวัตของมันในแต่ละวันแต่ละช่วงเวลา ตัวเราเองก็นึกอยากทำโน่นทำนี่กิน เมื่อไปตลาดแล้วก็อาจจะหาเครื่องต่างๆได้ไม่ครบหรือยังไม่ถูกใจ แต่ก็อาจจะไปพบของเตะตาอื่นๆที่ทำให้นึกถึงการทำอาหารแบบอื่นๆ ซึ่งหากยังไม่ถูกใจอีก ก็ยังสามารถเดินไปดูสินค้าแบกะดินตามท้ายตลาดได้อีก ผมได้ของเก่าประเภท collectible อยู่หลายชิ้นจากการเดินท้ายตลาดเช่นนี้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 695  เมื่อ 01 มี.ค. 20, 19:24

ด้วยมีเรื่องจะต้องไป ตจว.อีกครั้งหนึ่ง  ก็เลยจะขอหายแว๊ปไปสัก 10 วัน ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 696  เมื่อ 01 มี.ค. 20, 20:21

ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพค่ะ 
กลับมาค่อยเล่าว่า ของเก่าประเภท collectible ที่ได้มาหลายชิ้น คืออะไรบ้างคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 697  เมื่อ 18 มี.ค. 20, 18:24

กลับจาก ตจว.มาหลายวันแล้ว แต่ยังไม่เข้าห้องกระทู้เพราะมัวแต่ไปตามข่าว โควิด-19 อยู่ครับ

จังหวัดที่ไปหมกตัวอยู่ก็คือเชียงราย นักท่องเที่ยวหายไปเยอะเลยทีเดียว ไม่มี นทท.จีน มีแต่ฝรั่ง   ตลาดที่ดูจะมีคนค่อนข้างบางตาจนสังเกตเห็นได้ชัดก็คือตลาดบ่ายในตัวเมือง(ที่ขายอาหารสำเร็จรูปเป็นหลัก) ส่วนตลาดใหญ่ชองชุมชนท้องถิ่นยังคงมีปริมาณคนเดินเป็นปกติเหมือนเดิม หากแต่มีความแตกต่างออกไปอยู่อย่างหนึ่งว่า มีของสดพวกกุ้ง ปลา ปลาหมึก ออกมาวางขายเป็นจำนวนมากและในราคาที่จัดว่าถูกกว่าปกติ   ซึ่งก็คงจะเพราะว่ามีการใช้ตลาดชุมชนใน ตจว. เป็นแหล่งระบายสินค้าที่มีมากเกินพอในการทำอาหารให้กับนักท่องเที่ยว(ที่ลดปริมาณลงอย่างมากๆๆๆๆ)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 698  เมื่อ 19 มี.ค. 20, 19:05

อ้างถึง คห.232 และ 233 ในกระทู้ "เกี่ยวกับโคโรนาไวรัส อู่ฮั่น"

ผมเชื่อว่า อาหารกักตุนที่นึกถึงกันในอันดับต้นๆโดยทั่วๆไปก็คงจะหนีไม่พ้น ไข่ไก่ บะหมี่สำเร็จรูปหลากรส ต่างจากนี้ไปก็คงจะเป็นพวกอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง สำหรับผู้ที่อยู่กันแบบครอบครัวก็คงจะนึกถึง ข้าวสาร น้ำมันพืช เครื่องปรุงอาหารต่างๆ (เช่น แป้ง น้ำตาล....) และอาหารกระป๋องบางอย่าง   อะไรๆในทำนองนี้    จะตุนมากหรือน้อยเช่นใดก็ตาม เรื่องที่จะเกิดตามมาอย่างหนึ่งก็คือความเบื่อและจิตใจที่หงุดหงิดกับรูปแบบอาหารที่จำเจ

ก็เลยคิดว่า น่าจะลองมาดูกันว่าจะปรับแต่งหรือแปรรูปบรรดาของที่ตุนกันไว้ได้มากน้อยเพียงใด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 699  เมื่อ 19 มี.ค. 20, 19:09

ตั้งกระทู้ใหม่ไหมคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 700  เมื่อ 20 มี.ค. 20, 17:46

ก็น่าจะดีนะครับ เผื่อว่าจะมีเมนูอาหารใหม่ๆจากสมาชิกเรือนไทยปรากฎออกมาบ้าง รวมทั้งอาหารที่ดัดแปลงกันไปตามข้อจำกัดทางวัตถุดิบและเครื่องปรุงต่างๆเท่าที่มีเก็บหรือคงเหลืออยู่

ยังคิดไม่ออกว่าควรจะตั้งกระทู้ชื่ออะไรดีครับ    ชื่อกระทู้ว่า "อาหารการกินในสภาวะการณ์ปิดเมือง" จะดีใหมครับ ? 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 701  เมื่อ 20 มี.ค. 20, 17:49

ดีค่ะ เชิญคุณตั้งไปตั้งเลยค่ะ
ที่บ้านตอนนี้มีไข่ ผัก  เครื่องกระป๋อง เต็มเพียบ  รวมทั้งขวดน้ำดื่มขนาดกลางด้วย  ขนาดเล็กเกลี้ยงแม็คโครเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 702  เมื่อ 21 มี.ค. 20, 20:25

ต่อที่กระทู้นี้ค่ะ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=7102.msg171669;topicseen#msg171669
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 703  เมื่อ 27 ก.ค. 20, 18:29

เมื่อมาตรการล็อกดาวน์ผ่อนคลายลง ตลาดก็เริ่มกลับมามีชิวิตชีวา  สินค้าและแม่ค้าที่เคยเห็นอยู่เป็นประจำก็ค่อยๆกลับมาปรากฎ   ตัววัตถุดิบพื้นฐานที่ใช้ในการทำอาหารแบบคนกรุงกลับมามีวางขายเหมือนเดิม แต่ที่เป็นของพื้นบ้านรวมทั้งผู้ขายยังไม่เหมือนอย่างที่เป็นไปตามปกติ ซึ่งส่วนหนึ่งคงจะเป็นเพราะอยู่ในช่วงการลงนากัน    สภาพต่างๆดูจะกลับมาเหมือนปกติแต่ก่อน แต่หากสังเกตดูลึกลงไปในรายละเอียดแล้ว มันมีการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างจะมากในทุกด้านเลยทีเดียว จะเห็นผู้ขายหน้าใหม่ที่วัยเยาว์มากขึ้น มีอาหารที่แปลกใหม่มากขึ้น มีการจัดที่วางของขายที่แปลกออกไป มีการใช้เสียงพูดดังๆหรือตะโกนลดลง ....  แต่ที่สำคัญ คือ ผู้คนที่มาตลาดและพ่อค้าแม่ขายล้วนแต่คำนึงถึงการใช้หน้ากากและการเว้นระยะห่าง หากโล่งโปร่งก็ลดหน้ากากลง หากคนมากหรือคุยกันก็เอาขึ้นมาปิดจมูก และที่ในหลายจุดตลาดก็มีเก้าอี้วางแอลกอฮอล์เจลให้ใช้ทำความสะอาดมือกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 704  เมื่อ 28 ก.ค. 20, 19:00

ในช่วงแรกๆของการเปิดตลาดแบบมีการควบควบคุม จะมีเชือกฟางขึงอยู่รอบๆตลาด มีช่องเปิดให้คนเข้าออก มีคนคอยวัดอุณหภูมิร่างกาย มีเจลให้ทำความสะอาดมือและคอยบอกให้ใส่หน้ากาก  ต่อมาคนที่มาคอยวัดอุณหภูมิก็มาบ้างไม่มาบ้าง แล้วก็เหลือแต่เจลทำความสะอาดมือวางไว้บนเก้าอี้  และในที่สุดก็หายไปทั้งหมด กลายสภาพเป็นอย่างที่เคยเป็นมาแต่ก่อน

ตลาดในช่วงแรกๆจะมีแต่ของบริโภค ต่อมาก็ค่อยๆมีพวกเครื่องอุปโภคมาวางขาย ในที่สุดก็ตามมาด้วยพวกขายของเก่าแบกะดิน

ตลาดสดเช้าของชุมชนทั่วๆไปทัังในกรุงเทพและต่างจังหวัดจะมีลักษณะเป็นสถานที่ทางสังคมด้วย     สำหรับใน ตจว. พอจะจำแนกผู้คนที่มาตลาดได้อยู่ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มาหาซื้อวัตถุดิบเอาไปทำอาหาร โดยเห็นว่าจะได้ของที่สดใหม่ กลุ่มคนพวกนี้เกือบทั้งหมดจะอยู่ในวัยกลางคน       มีกลุ่มที่มาตลาดเพื่อพบปะจับกลุ่มสนทนากันในเรื่องราวต่างๆที่เป็นที่น่าสนใจตั้งแต่ในระดับชุมชนไปจนถึงเรื่องในระดับประเทศ  กลุ่มคนพวกนี้มักจะเป็นพวกคนสูงวัยที่ยังมีสุขภาพแข็งแรง พบได้ตามสถานที่ๆขายกาแฟในพื้นที่ตลาด      และก็มีกลุ่มคนที่มีปัญหาสุขภาพทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งจะพบเห็นตามตลาดชุมชนในเมืองเป็นหลัก กลุ่มคนพวกนี้มีตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงวัย  ตลาดเป็นเสมือนพื้นที่ๆเป็นโลกกว้างของพวกเขา เป็นพื้นที่ปลดปล่อยข้อจำกัดของความอึดอัดทางกายและจิตใจต่างๆ   

หากมีโอกาส น่าจะลองจัดเวลาส่วนหนึ่งเข้าไปเดินในตลาดต่างๆ ทั้งตลาดขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทั้งที่อยู่ในเมืองและในชนบท  เราจะได้พบเห็นอะไรต่อมิอะไรมากมายเลยทีเดียว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 45 46 [47] 48 49 ... 68
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 20 คำสั่ง