เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 68
  พิมพ์  
อ่าน: 76498 ไปตลาด
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 240  เมื่อ 13 ต.ค. 19, 19:37

ปลาดุกเป็นปลาโปรดของผม ที่ชอบจริงๆก็มีอยู่ 5 เมนู คือปลาดุกย่าง (กินแบบจิ้มกับน้ำปลา) ปลาดุกทอดกรอบแล้วเอาไปผัดเผ็ด (บ้างก็ว่าปลาดุกทอดกรอบผัดพริกแกง) หลนปลาร้าที่ใส่ปลาดุก (บ้างก็ว่าเห็นหลนปลาร้าใส่ปลาดุก) ปลาดุกฟู  และปลาดุกร้าของ จ.พัทลุง    ที่ชอบรองลงไปก็คือ แกงเขียวหวานปลาดุก แกงเผ็ดปลาดุกใสใบยี่หร่าแบบทางใต้ ปลาดุกผัดฉ่า อร่อยได้ทั้งที่ทำด้วยปลาดุกทะเลหรือปลาดุกน้ำจืด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 241  เมื่อ 13 ต.ค. 19, 19:47

แกงป่าปลาดุก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 242  เมื่อ 13 ต.ค. 19, 19:52

ตอนเด็กๆอาหารจานโปรดจานหนึ่งคือปลาดุกย่าง  แค่ตักเนื้อเหลืองออกมา เหยาะน้ำปลา คลุกข้าวก็อร่อยแล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 243  เมื่อ 13 ต.ค. 19, 19:54

ผัดเผ็ดปลาดุก ก็สุดยอดค่ะ


บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 244  เมื่อ 14 ต.ค. 19, 13:39

จำได้ว่าเคยกินแกงเขียวหวานปลาดุก...อร่อยมากกกกกค่ะ แต่เดี๋ยวนี้หาไม่ได้เลยค่ะ ไม่เคยเจอร้านไหนทำขาย ไม่ว่าร้านอาหารหรือร้านข้าวแกง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 245  เมื่อ 14 ต.ค. 19, 14:40

พอคุณ Annaพูดถึงก็อยากกินขึ้นมาทันที ไม่ว่าแกงเผ็ดหรือแกงเขียวหวานปลาดุกค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 246  เมื่อ 14 ต.ค. 19, 18:18

ยิ่งถ้าเป็นปลาดุกอุย ยิ่งน่าอร่อย  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 247  เมื่อ 14 ต.ค. 19, 19:18

ผมก็ชอบแกงเขียวหวานปลาดุกเหมือนกัน แต่ชอบกินกับขนมจีนที่ใส่ข้าวปนลงไปประมาณหนึ่งในสามส่วน  

หากเป็นอาหารจานเดียวแบบข้าวราดแกง ผมชอบข้าวผสมขนมจีน จะราดด้วยแกงเผ็ดหรือแกงเขียวหวานก็ได้ เพียงแต่จะเลือกดูว่าแกงใหนดูน่ากินและคู่ควรกว่ากัน ใส่ไข่พะโล้ด้วยหนึ่งใบ (อาจจะมีหมูสามชั้นแถมมาด้วยสักชิ้นก็ไม่ว่ากัน) หากไม่มีไข่พะโล้ จะเป็นไข่ต้มยางมะตูมก็ได้ ซึ่งหากเป็นไข่เป็ดก็จะยิ่งดีใหญ่เลย  และยิ่งมีน้ำปลาพริกซอยใส่หอมซอยแล้วบีบมะนาวไห้ลิ้นพอรับรู้ว่ามีรสเปรี้ยวอยู่ด้วย ก็สุดยอดไปเลย  

ทำให้นึกถึงไข่พะโล้แบบโบราณที่ใช้ไข่เป็ด และใช้วิธีผัดน้ำมันรากผักชี พริกไทยบุบเแหลก และเกลือทะเลป่น บางสูตรก็เจียวกระเทียมก่อนแล้วจึงผัดเครื่อง ใส่น้ตาลปี๊บลงไปผัดด้วยจนได้ caramel สีเข้มตามชอบ จากนั้นจึงใสน้ำลงไปเล็กน้อยเพื่อละลายคาราเมล ใส่หมูสามชั้นลงไปผัดพอหนังและมันกระชับ  จากนั้น บ้างก็ใส่ไข่เป็ดที่ต้มแล้วลงไปคลุกแล้วจึงเติมน้ำ บ้างก็เติมน้ำลงไปก่อน ตามด้วยอบเชยและโปยกั๊ก (เคยเห็นมีการใส่ข่าลงไปด้วยสักแว่นหนึ่ง) เมื่อน้ำร้อนดีแล้วจึงใส่ไข่และเต้าหู้ลงไป แต่มิใช่ใช้เต้าหู้ทอดดังที่ทำกันในปัจจุบัน  ก็เคยเห็นเมือนกันที่ใส่ฟองเต้าหู้ที่แช่น้ำจนนิ่มแล้วลงไปด้วย      

สำหรับฝีมือของคนทำที่จะสรรสร้างความต่างและความอร่อยอย่างเด็ดขาดลงไปนั้น เท่าที่พอจะรู้อย่างหนึ่งก็คือกระบวนการจำกัดความมันของหมูสามชั้นให้ลดลงไป และการทำให้หมูสามชั้นนั้นออกไปทางกรุบอร่อยมากกว่าในทางนิ่มเละ  ส่วนในด้านความหอมน่ากินนั้นก็มีการใช้สมุนไพรที่เราเรียกว่า พริกหอม(พริกพราน มะแขว่น หรือซวงเจีย) บางสายพันธุ์ที่ไม่มีกลิ่นแรง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 248  เมื่อ 14 ต.ค. 19, 20:30

ยิ่งถ้าเป็นปลาดุกอุย ยิ่งน่าอร่อย  ยิงฟันยิ้ม

เรื่องนี้ไม่ค่อยแน่ใจครับ   ด้วยที่ปลาดุกอุยมีลักษณะเนื้อที่ค่อนข้างจะออกไปทางหยาบและไม่ละเอียดแน่นเหมือนกับปลาดุกด้าน  การเอาไปย่างจึงดูจะเหมาะกว่าการเอาไปทำแกง การย่างช่วยทำให้เนื้อปลาดุกอุยแห้งและฟู ประกอบกับมีสีของเนื้อออกไปทางเหลืองอ่อนด้วย จึงทำให้ดูน่ากินกว่าปลาดุกด้านที่มีสีเนื้อออกไปทางขาวซีด

เท่าที่ตัวเองพอจะมีความคุ้นเคยมา ปลาดุกอุยจะนิยมนำไปย่างกินในเมนูปลาดุกอุยย่างกินกับดอกสะเดาและน้ำปลาหวาน  หรือย่างแล้วกินกับน้ำปลาปรุงรสต่างๆ (น้ำปลามะนาว น้ำปลามะนาวกับพริกขี้หนูสวนและหอมซอย น้ำปลาใส่มะม่วงเปรี้ยวซอย ...) ปลาดุกอุยในเมนูที่นำไปทำแบบผัดเผ็ดหรือแกงนั้น ผมนึกไม่ออกเลยว่าได้เคยลิ้มรสในพื้นที่ต่างจังหวัดใดๆ จะมีก็คงจะเป็นในพื้นที่ของกรุงเทพฯและปริมณฑลเท่านั้น   

ปลาดุกที่ว่าเป็นปลาดุกอุยที่ย่างขายกันอยู่ในตลาดทั่วๆไปนั้น ผมเห็นว่าเป็นปลาดุกเลี้ยงทั้งนั้น อาจจะมีบางสายพันธุ์ที่มีสีเนื้อเป็นสีเหลืองอ่อน(เมื่อย่าง) หรือไม่ก็ประด้วยน้ำขมิ้นอ่อนๆหรือสีผสมอาหารที่จะทำให้เนื้อมีสีเหมือนปลาดุกอุยเมื่อย่าง   ผมไม่เคยเห็นปลาดุกอุยที่มีขนาดลำตัวที่ใหญ่เท่ากับปลาดุกด้านที่เลี้ยงขายส่งกันอยู่ในตลาดต่างๆในปัจจุบันนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 249  เมื่อ 15 ต.ค. 19, 08:56

ปลาดุกย่าง  (ไม่รู้ว่าอุยหรือเปล่านะคะ)น้ำปลาหวาน สะเดาลวก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 250  เมื่อ 15 ต.ค. 19, 11:09

ปลาดุกทำอาหารอร่อยได้อีกอย่างหนึ่ง คือยำปลาดุกฟูค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 251  เมื่อ 22 ต.ค. 19, 18:35

หายไป ตจว.มาครับ ได้ไปเดินตลาดอย่างที่ชอบทำเป็นกิจวัตร ซึ่งได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจอยู่พอควร

ในเบื้องแรก จะขอแบ่งตลาดขายของเพื่อการบริโภคสำหรับการสนทนาในกระทู้นี้ออกเป็น 5 ลักษณะหลักๆ ได้แก่ ตลาดเช้า ตลาดบ่าย ตลาดขายส่งเฉพาะสินค้าบางประเภท ตลาดกลาง และตลาดเพื่อนักท่องเที่ยว

ตลาดขายส่งเฉพาะสินค้าบางประเภท ก็มีอาทิ ตลาดไข่ ที่เทเวศน์  ตลาดผลไม้ ที่สะพานขาว(ตลาดมหานาค) ...     แต่ก่อนโน้นมีตลาดท่าเตียนและปากคลองตลาด ซึ่งเป็นแหล่งรวมของสินค้าที่เป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมที่สามารถขนส่งได้ทางน้ำ กล่าวได้ว่าเป็นแหล่งรวมของสรรพผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในพื้นที่ภาคกลางที่สามารถขนส่งผ่านระบบคูคลองที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา   ในปัจจุบันนี้ระบบการขนส่งหลักได้เปลี่ยนไปเป็นทางบกโดยใช้รถกระบะและรถ 10 ล้อ พืชผลทางการเกษตรก็เลยไปวางรวมรอการขายส่งอยู่ที่ตลาดกลางของพื้นที่ต่างๆ     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 252  เมื่อ 23 ต.ค. 19, 18:57

ตลาดขายส่งเฉพาะสินค้าบางประเภทในต่างจังหวัดนั้น เท่าที่นึกออกได้ในทันใดก็จะเป็นตลาดที่จะเรียกกันว่าสะพานปลา   ในกรุงเทพฯเองก็มีอยู่ในพื้นที่ขององค๋การสะพานปลาในย่านเจริญกรุง  ในพื้นที่รอบๆกรุงเทพฯก็จะมีเช่นที่ปากน้ำ(สมุทรปราการ) มหาชัย(สมุทรสาคร) แม่กลอง(สมุทรสงคราม)  ที่ไกลออกไปก็จะมีเช่น อ่างศิลา(ชลบุรี) ระยอง ชะอำ หัวหิน ชุมพร ระนอง ฯลฯ  ก็คือตามจังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายทะเลทั้งหลาย 

ด้วยที่แต่ก่อนนั้นการท่องเที่ยวภายในประเทศของเรามีข้อจำกัดค่อนข้างจะมาก ทั้งในด้านเส้นทางและโครงข่าย ด้านการสื่อสารคม ด้านยานพาหนะ ด้านที่พักค้างแรม ....  สถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนที่จัดว่าดีและเหมาะสมที่สุดน่าจะอยู่ในระยะของการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวที่ใช้เวลาประมาณครึ่งวัน ประกอบกับนิยมกระทำกันเป็นครอบครัวและไปเล่นน้ำทะเล ก็จึงมุ่งไปพักค้างแรมในที่ๆมีลักษณะของความเป็นส่วนตัว ซึ่งก็คือ บังกาโล  แล้วก็ไปสะพานปลาตามเวลาที่เรือหาประมงเข้าเทียบท่า จับจ่ายของทะเลสดๆมาทำกินกันที่บังกาโล  เป็นความสุขของคนรุ่น สว.ในปัจจุบัน 

ต่างกับสมัยนี้มากๆที่จะนอนก็ในโรงแรม จะกินก็ต้องเป็นไปตามเมนูของร้านอาหาร แถมเจอวิธีการทำแบบของเขามิใช่แบบที่ชอบของเรา
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 253  เมื่อ 23 ต.ค. 19, 19:54

แท้จริงแล้ว แต่ละสพานปลาก็จะมีของทะเลสดที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของการทำประมง หากจะจำแนกออกง่ายๆแบบของผมก็น่าจะมีอยู่ 3 ประเภท คือประมงชายฝั่ง ประมงน้ำลึก และประมงในน่านน้ำสากล   

สำหรับประมงชายฝั่งนั้น ของ(สัตว์)ทะเลก็ยังมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ซึ่งส่วนหนึ่งของเรื่องก็ไปเกี่ยวข้องกับตะกอนที่พื้นท้องทะเลว่าจะเป็นหิน (rocky) เป็นทรายหยาบ (sandy) เป็นทรายละเอียด (silty / loamy) หรือเป็นโคลน (clayey / muddy)   อีกส่วนหนึ่งก็ไปเกี่ยวกับเรื่องของความเค็มของน้ำทะเล(salinity)  แล้วก็ยังไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของการไหลเวียนของกระแสน้ำที่ก้นทะเล (abyssal current) ที่ส่วนบน (เช่น long shore current)  เรื่องของอุณหภูมิ เรื่องของกายภาพของพื้นท้องทะเล   เพียงนี้ก็คงจะพอ คงจะไม่ลงไปถกในทางวิชาการต่อไปนะครับ

เอาเป็นว่าแต่ละพื้นที่ชายทะเลก็จะมีของทะเลหลักๆที่ต่างกันหรือที่อร่อยไม่เหมือนกัน   อาทิ แถบสมุทรสงครามก็จะมีหอยแครง หอบแมลงภู่ หอยหลอด เป็นต้น  แถบอ่างศิลาก็จะมีหอยนางรม หอยกะพง แถวสงขลาก็จะมีปลากระบอก  แถวระยองก็จะมีปลาหมึก  เป็นต้น

จึงคงจะมิใช่เรื่องที่ถูกต้องนักที่จะไปหากินหอยแครงหรือหอยแมลงภู่แบบสดใหม่อร่อยๆในพื้นที่ชายทะเลย่านชลบุรี ระยอง...   เช่นกัน ไปหาดใหญ่ สงขลา ก็คงจะต้องกินปลากระบอกนึ่ง หรือทอดจึงจะถูกโฉลก 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 254  เมื่อ 24 ต.ค. 19, 18:42

ลองสำรวจดูว่า จังหวัดที่อยู่ชายทะเลใดมีของทะเลหรืออื่นใดที่โดดเด่นที่ผู้คนมักจะกล่าวถึงบ้าง ไล่เรียงขึ้นมาตั้งแต่ จ.ตราดเลย

ตั้งแต่ครั้งกระโน้น...เรื่อยมาจนถึงเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว การไปเมืองตราดของบุคคลปกติทั่วๆไปมักจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพลอย แล้วก็คุ้นกับชื่อของสถานที่เพียงสองสามแห่ง โดยเฉพาะบ่อไร่และเขาสมิง (ปัจจุบันมีระดับเป็นอำเภอ) ซึ่งเป็นแหล่งขุดพลอย ก็เพียงเพื่อจะหาซื้อไพลิน ทับทิมสยาม เขียวบางกระจะ และพุดน้ำบุษ  ขากลับก็แวะซื้อผลไม้แถว อ.ขลุงของจันทบุรี  คิดว่าก็จนกระทั้งเริ่มมีการเผาพลอยเพื่อให้ได้สีที่เข้มขึ้น การไปตราดจึงเป็นการไปหาซื้อของธรรมชาติที่ไม่ผ่านการเผา   สุดท้ายเมื่อพลอยทุกชิ้นได้ผ่านการเผาและมีการนำเข้ามาจาก ตปท. ผนวกกับพื้นที่ชายทะเลทางภาคตะวันออกได้มีการพัฒนามากขึ้นและอน่างรวดเร็ว  การคิดจะไปตราดจึงได้เปลี่ยนไปเป็นเรื่องของการท่องเที่ยว ไปเกาะช้าง เกาะกูด...   

ก็อาจจะด้วยเพราะพัฒนาการดังกล่าว ของทะเลของเมืองตราดจึงไม่เด่นดังออกมา กระทั่งของดีในพื้นที่บนบกที่ใช้เป็นองค์ประกอบในเครื่องต้มเครื่องแกงก็ไม่เด่นดังออกมา    หน่อเร่ว ครับ     
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 68
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.096 วินาที กับ 20 คำสั่ง