เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 68
  พิมพ์  
อ่าน: 77038 ไปตลาด
pratab
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 13 ก.ย. 19, 19:02

ตามความเห็นที่ 115 ของคุณ naitang ที่ว่า 

   "poppy seeds แปลตรงตัวก็คือ เมล็ด(ของดอก)ฝิ่น   แต่ที่ใช้ในการทำอาหารนั้น poppy seeds เป็นชื่อเรียกของ "งาขี้ม่อน" ซึ่งก็คือเมล็ดของต้นชิโสะ " 

     ผมใคร่ขอความกรุณาท่านผู้รู้ช่วยบอกทีว่า ที่ฝรั่งเขาเรียกว่า Perilla seed ซึ่งเป็นธัญพืชที่สามารถรับประทานได้ทั้งเมล็ดและใบ ลักษณะของเมล็ดจะคล้ายงา มีสีน้ำตาลเข้มหรือเทามักใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารกินเล่นเช่นคุกกี้ หรือ begal อบโรยหน้าด้วยเมล็ดพืชชนิดนี้ มันเรียกว่าอะไรในภาษาไทย ในอาหารไทยมีใช้หรือไม่ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 13 ก.ย. 19, 19:07

 ตอบคุณตั้ง
  อย่าหยุดเขียนเลยค่ะ คุณตั้ง   เล่าต่อไปเถอะ   ลืมเล็กๆน้อยๆไม่ใช่เรื่องสำคัญ     เดี๋ยวก็มีคนเข้ามาช่วยแก้ไขให้เอง
 ประสบการณ์และอรรถรสที่เล่าเรื่องต่างๆหาฟังยาก เป็นสิ่งสำคัญกว่าค่ะ

  ตอบคุณ pratab
  Perilla seed  คือ งาขี้ม่อนค่ะ
  https://www.honestdocs.co/perilla-seed

  ถามคุณเพ็ญชมพู
  อ่านเรื่องสาววัย 19  กินเมล็ดฝิ่นผสมชากับยา แล้วถึงตาย  ยังสงสัยว่า เมล็ดฝิ่นกินยังไงถึงปลอดภัยคะ
  ถ้ามันผสมอะไรแล้วถึงตาย ก็น่าจะเป็นสารอันตราย  ไม่น่าปล่อยให้ขายในซูเปอร์ได้อย่างเสรี
บันทึกการเข้า
pratab
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 13 ก.ย. 19, 19:42

ผมยังมีความข้องใจอยู่ว่า poppy seed ที่มีขายอยู่ในประเทศไทยตาม super stores และ ขาย on-line อยู่นั้นแพคเป็นซอง ประมาณ 250 ถึง 300 กรัม ราคา 190 บาทขึ้นไปไม่น่าจะใช่เมล็ดฝิ่น น่าจะเป็น perilla seed มากกว่า เพาะแม้แต่ยาแก้ไอที่เรียกว่า brown mixtures ซึ่งมีฝิ่นผสมอยู่เล็กน้อยในรูปของ camphorated opium tincture ยังถูกห้ามเอกชนผลิตขาย มีแต่ผู้ผลิตยาของรัฐเท่านั้นที่ทำขายได้(เอกชนผลิตขายได้แต่ต้องไม่เข้าฝิ่น) แต่ในต่างประเทศผมไม่แน่ใจอาจเป็นเมล็ดฝิ่นแท้ก็ได้ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 13 ก.ย. 19, 20:07

ถามคุณเพ็ญชมพู
อ่านเรื่องสาววัย 19  กินเมล็ดฝิ่นผสมชากับยา แล้วถึงตาย  ยังสงสัยว่า เมล็ดฝิ่นกินยังไงถึงปลอดภัยคะ

ถ้ามันผสมอะไรแล้วถึงตาย ก็น่าจะเป็นสารอันตราย  ไม่น่าปล่อยให้ขายในซูเปอร์ได้อย่างเสรี

Side Effects & Safety

Poppy seed is LIKELY SAFE for most adults when taken by mouth in amounts commonly found in food. In some people, eating poppy seed can cause allergies, but this is uncommon.

Poppy seed is POSSIBLY SAFE when taken by mouth in amounts used for medical purposes. A single beverage or yogurt containing 35-250 grams of poppy seed has been used safely.

Drinking poppy seed tea is POSSIBLY UNSAFE. Poppy seed tea is made by soaking poppy seeds in water. The outer surface of poppy seed can contain morphine. When poppy seed is soaked in water to make the tea, the morphine can seep into the water. Drinking this water can cause side effects or death due to the morphine content.

เป็นเหตุผลว่าทำไมสาวน้อยวัย ๑๙ เสียชีวิตเพราะดื่ม poppy seed tea


Eating very large amounts of poppy seeds is also POSSIBLY UNSAFE. Eating very large amounts of poppy seed can block the bowels. But this is very uncommon.

จากลิ้งก์ที่ให้ไว้ในคคห. ๑๑๘
https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-1503/poppy-seed
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 13 ก.ย. 19, 20:51

สรุปว่า ต้องกินโดยไม่ละลายน้ำ     และกินน้อยๆ อย่ากินเข้าไปมาก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 14 ก.ย. 19, 07:35

มีเห็ดชนิดหนึ่ง หน้าตาสีสันสวยน่ารักมาก  ปรากฏอยู่ในภาพประกอบนิทานเด็ก ในหนังสือการ์ตูนฝรั่ง รวมทั้งออกแบบเป็นของเล่นด้วย ค่ะ
เป็นเห็ดสีแดงสด มีจุดกลมสีขาว  
มารู้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้วว่าเป็นเห็ดพิษ



เด็กเสียชีวิตจากการรับประทานเห็ดพิษ Amanita muscaria ออกข่าวเมื่อวานนี้เอง  ร้องไห้ ร้องไห้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 14 ก.ย. 19, 09:41

ไม่รู้ว่าเห็ดที่ยายให้หลานกินเข้าไปคือเห็นอะไร แต่เห็ดสีแดงจุดขาวมีชื่อว่า Toadstool แปลตามตัวว่าม้านั่งของคางคก    มาจากความเชื่อของชาวบ้านดั้งเดิมในยุโรปว่าคางคกชอบนั่งบนเห็ดชนิดนี้
เห็ดแดงชนิดนี้ไม่น่าจะมีในประเทศไทย   ไม่เคยเห็นค่ะ
แต่เป็นเห็ดมีพิษแน่นอน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 14 ก.ย. 19, 15:44

ไม่รู้ว่าเห็ดที่ยายให้หลานกินเข้าไปคือเห็ดอะไร

ในข่าวบอกว่าเป็น Amanita muscaria ยิงฟันยิ้ม

ญาติ ๆ ได้เก็บตัวอย่างเห็ดมาตรวจสอบที่โรงพยาบาล พบว่าเห็ดที่รับประทานคือเห็ดพิษลักษณะมีหมวกสีแดง มีลายจุดสีขาว จากการตรวจสอบเป็นเห็ดพิษสายพันธุ์ “อะมานิตา มัสคาเรีย” เห็ดชนิดนี้คล้ายกับเห็ดโคนที่สามารถนำมาประกอบอาหารและหามาวางขายได้จำนวนมาก จนเป็นเหตุทำให้เกิดความเข้าใจผิดและนำมาประกอบอาหารในครั้งนี้ขึ้น ทั้งเวลาดอกเห็ดตูมและบาน จะมีสารพิษที่สำคัญคือ “มัสคารีน” เมื่อรับประทานเข้าไปประมาณ ๑๕-๓๐ นาที จะมีอาการตัวร้อน ใจสั่น หัวใจเต้นช้าลง เส้นเลือดขยาย มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการเห็นภาพ ม่านตาหรี่ เหงื่อ น้ำลาย น้ำตาถูกขับออกมา ปวดบริเวณช่องท้อง คลื่นไส้อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจขัด และอาจเสียชีวิตฉับพลันได้

https://workpointnews.com/2019/09/13/chaiyaphum-poisonous-mushrooms/
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 14 ก.ย. 19, 18:44

ตอบคุณตั้ง
  อย่าหยุดเขียนเลยค่ะ คุณตั้ง   เล่าต่อไปเถอะ   ลืมเล็กๆน้อยๆไม่ใช่เรื่องสำคัญ     เดี๋ยวก็มีคนเข้ามาช่วยแก้ไขให้เอง
 ประสบการณ์และอรรถรสที่เล่าเรื่องต่างๆหาฟังยาก เป็นสิ่งสำคัญกว่าค่ะ ....

ขอบพระคุณสำหรับความปราถนาดีและไมตรีจิตครับ

ก็คงจะไม่หยุดเขียนและไม่หยุดเอาประสบการณ์ที่ได้สัมผัส ได้รับ และได้เรียนรู้จากภาคสนามและสัมผัสต่างๆที่ได้รับในช่วงเวลาของวัยที่ยังทำงาน เอามาเล่าสู่กันฟัง    คิดไว้แต่แรกเข้าเป็นสมาชิกเรือนไทยแล้วว่า เรือนไทยเป็นพื้นที่สาธารณะในภาคขององค์ความรู้ประกอบนอกตำราที่กระเดียดไปทาง writing journal ซึ่งข้อมูลมีแหล่งที่มาและอ้างอิงๆได้ตามควร  จึงเหมาะที่จะเป็นพื้นที่สำหรับการถ่ายทอดเรื่องราวที่เป็นเกล็ดความรู้เสริม เป็นเกล็ดเล็กๆน้อยๆที่อาจจะดูไร้สาระแต่กลับอาจจะไปมีคุณค่าไปกระตุ้นให้เกิดกระบวนทัศน์ใหม่ (paradigm shift) หรือ ตรรกะความคิดใหม่ๆ (conceptual )
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 14 ก.ย. 19, 19:20

ผมเชื่อว่าผู้อาวุโสทั้งหลายล้วนแต่มีประสบการณ์และมีเรื่องราวทั้งในทางภาคปฎิบัติและภาคความคิดเห็นที่สามารถนำมาเล่าแล้วเกิดเป็นประโยชน์อย่างมากมายแก่ผู้คนรุ่นหลังๆที่เขากำลังหาอ่านหรือกำลังทำการค้นหาและค้นคว้า(search & research)เพื่อเลือกเส้นทางในการดำเนินชีวิต   ผมจึงเลือกที่จะคายองค์ความรู้ที่ตนมีทั้งหลายมากกว่าที่จะอมพะนำหรือขยักหวงเก็บเอาไว้  ประกอบกับสำนึกได้ว่าชีวิตเราได้มีโอกาสมากกว่าคนอื่นๆมากมายหลายเท่านัก การคายองค์ความรู้ที่พอจะมีในรูปแบบบ้านๆให้แก่สังคมและคนที่มีโอกาสน้อยกว่าหรือจำกัดกว่าก็ดูจะเป็นคุณมากกว่าที่จะขยักเก็บเอาไว้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 15 ก.ย. 19, 18:37

ขอกลับไปต่อเรื่องหน่อไม้นะครับ

ได้ข้อยุติแล้วว่า หน่อไม้จะต้องกินแบบสุกเพียงอย่างเดียวเพื่อจะได้ของที่มีการลดหรือกำจัดสารพิษให้หมดไปแล้ว แม้ว่าวิธีการทำให้สุกจะมีหลากหลาย เช่น ต้ม นึ่ง หมก เผา ย่าง อบ .... แต่วิธีที่ใช้กันมากที่สุดก็คือการต้ม ซึ่งส่วนมากก็มักจะต้มกันสองน้ำ   ทั้งนี้ การต้มในความรู้และความเข้าใจที่ได้รับการถ่ายทอดกันต่อๆมาในหมู่คนที่นิยมทำครัวและชาวบ้านทั้งหลายก็คือ เพื่อเป็นการลดความขื่นและขมของหน่อไม้  ซึ่งก็ดูจะเป็นการบังเอิญอีกด้วยว่า เมื่อต้มหน่อไม้นั้น น้ำที่ต้มจะเปลี่ยนสีออกไปทางสีเหลืองส้มอ่อนๆ ซึ่งเมื่อผนวกกับที่เรานิยมความสะอาดแบบขาวใส ก็เลยต้มน้ำที่สองหรือสามจนได้สีน้ำจางมากๆหรือหายไป แล้วจึงเอาหน่อไม้นั้นมาจิ้มน้ำพริกหรือทำอาหารในเมนูต่างๆ  ทั้งหลายก็เป็นการกำจัดสารพิษให้หมดไปโดยไม่รู้ตัว    แม้กระทั่งหน่อไม้ป่าที่ชาวบ้านออกไปตัดเก็บมาจะมีการเผาเพื่อการลอกเปลือกและเพื่อกำจัดขนไผ่ที่ระคายเคือง (อันเป็นผลให้หน่อไม้สุกก็ตาม) ก็ยังมีการเอามาต้มในปี๊บกันอีก   

พื้นที่ๆมีการหาหน่อไม้ป่ามาต้มขายกันอย่าเป็นล่ำเป็นสันที่ผมเคยได้ประสบพบเห็นนั้น มีอยู่ในป่าย่านบ้านแม่ระมาดน้อย จ.ตาก และ ป่ารอยต่อระหว่าง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์  อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย และ อ.เด่นชัย จ.แพร่   ในปัจจุบันนี้คงเปลี่ยนไปหมดแล้ว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 15 ก.ย. 19, 18:53

ก็มีประเด็นที่อยากจะขอความรู้จากท่านผู้มีความรู้ทั้งหลายว่า  การทำหน่อไม้ให้สุกด้วยวิธีการที่นอกเหนือไปจากการต้มนั้น จะกำจัดสารพิษในหน่อไม้ให้ลดลงหรือให้หมดไปได้หรือไม่ ?  ก็พอจะมีความรู้อยู่บ้างว่าสารประกอบไซยาไนด์บางตัวสลายได้เพียงได้รับความร้อนจากแสงแดด แต่ไม่รู้ว่าสารในหน่อไม้จะเป็นเช่นนั้นด้วยหรือไม่ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 15 ก.ย. 19, 19:29

https://www.facebook.com/HealthHerbal/posts/429518563920361/

ดังนั้น! เพื่อความปลอดภัยที่น่าจะมั่นใจได้ที่สุด นพ.บุญชัย แนะนำว่า หน่อไม้สด-ดอง-ต้ม ซื้อจากที่ไหนมาก็ตาม ให้นำไปต้มใหม่อีกรอบด้วยตนเองจะดีที่สุด เพราะการศึกษาพบว่า ถ้านำไปต้มในน้ำเดือด 10 นาที ไซยาไนด์ที่ซุกอยู่ในหน่อไม้จะหายไป 91% ต้ม 20 นาที ไซยาไนด์จะหายไป 98%...และถ้า 30 นาที ไซยาไนด์จะถูกทำลายหมดไม่มีเหลือ

ต้องตากหน่อไม้ไว้กลางแดดนานเท่าไรกันคะ ถึงจะได้รับความร้อนเท่ากับต้มน้ำเดือด 30 นาที?
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 15 ก.ย. 19, 19:31

หน่อไม้ดองเป็นเรื่องของวิธีการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง  ก็เข้าใจเอาเองว่าคงจะเป็นอีกวิธีการหนึ่งในการลดหรือกำจัดสารพิษในหน่อไม้ (อยู่ในลักษณะขององค์ความรู้แอบแฝง)

หลายเมนูอาหารที่ใช้หน่อไม้ดอง เช่น ผัดกับกับพริกแห้งตำใส่เนื้อหรือหมูสับ จะใส่ใบกระเพราและอาจจะแถมด้วยใบโหระพาด้วยก็ได้  เป็นจานรู้สึกเผ็ดร้อนแรงดี คักหลายครับ    รวมถึงการใช้หน่อไม้ดองในการทำแกงกะทิหรือแกงอื่นใดที่นิยมจะทำกับเนื้อสัตว์ที่มีกลิ่น เช่น กับพวกปลาหนัง (ปลาค้าว ปลาสวาย ....)    

หน่อไม้ดองเอามากินกับน้ำพริกกะปีที่ตำแบบออกรสไปทางหวานปะเล่มๆก็เข้าท่าดีนะครับ

หากมีโอกาสนะครับ ลองหาหน่อไม้ดองใหม่ๆที่ใช้ส่วนยอดของหน่อ สีจะขาว จะเอามาทำอะไรกินก็อร่อยทั้งนั้น จะลองเอาไปใส่ลงในไข่เจียวก็อร่อยนะ    น่าเสียดายที่เรามักจะเห็นแต่หน่อไม้ดองที่ใช้ส่วนที่เป็นโคนของหน่อเอามาดองวางขายอยู่ในตลาดทั่วๆไป  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 16 ก.ย. 19, 19:17

แต่ก่อนโน้น หน่อไม้ดองเป็นของโปรดของผม ไม่ว่าจะทำเป็นแกงหรือผัดเผ็ด  แต่ในปัจจุบันนี้เกือบจะไม่ได้กินเลย เพราะเคยไปอ่านพบงานเขียนที่เกี่ยวกับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเจ็บป่วยเป็น Lymphoma กับสิ่งแวดล้อมและวิถีการดำเนินชีวิตของคนที่เป็นโรค   ก็อย่าเพิ่งไปเชื่อมากนัก มันเป็นเพียงรายงานที่รวบรวมมาจากข้อสังเกตจากประวัติของคนไข้  โรคนี้เกิดจาก Ebstein Barr Virus (EBV) ก็ได้   ดูจะยังไม่มีข้อสรุปถึงสมุฎฐานหลักๆที่ชัดเจน       

ผมเคยป่วยเป็นโรคนี้ (Extranodal NK T- cell nasal type Lymphoma) ก็เลยอ่านรายงานและเอกสารทางการแพทย์และสาธารณสุขค่อนข้างมากครับ เล่ามาเผื่อจะเป็นประโยชน์บ้างเล็กๆน้อยๆ   ท่านสมาชิกและท่านผู้อ่านที่อยู่ในภาคการสาธารณะสุขคงจะขยายความเป็นภาษาง่ายๆได้มากกว่านี้ โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับอาการบ่งชี้แต่แรกเริ่มต่างๆ  (โรคนี้อันตรายมากๆแต่หากจะสามารถเล่าความผิดปรกติแต่แรกให้หมอฟังได้ มันก็พอเอาอยู่ได้)

ขออภัยครับที่ได้ก้าวข้ามเขตของความรู้ทางวิชาการ   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 68
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.091 วินาที กับ 20 คำสั่ง