เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 60 61 [62] 63 64 ... 68
  พิมพ์  
อ่าน: 76530 ไปตลาด
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 915  เมื่อ 02 พ.ย. 20, 20:13

ข้าวใหม่จากนาของตนเองมันช่างหอมจริงๆนะครับ เปิดฝาหม้อข้าวก็ได้กลิ่นโชยออกมาอย่างแรง  เลยได้รู้จักว่าคุณสมบัติและคุณภาพที่แท้จริงของข้าวหอมมะลิของจริงว่ามันเป็นเช่นใด

ก็มีเรื่องบอกเล่าอีกเรื่องหนึ่ง    นา 1 ไร่ ปลูกข้าวจะได้ผลผลิตอย่างแย่สุดๆ(หากไม่ขาดน้ำจนเกินไป)ก็จะประมาณ 50 ถัง  หากมีการดูแลกันบ้างตามสมควรก็จะได้ประมาณ 70 -80 ถัง หากแก่ปุ๋ยและน้ำดีก็อาจจะได้ถึง 100 ถัง  คืออย่างน้อยที่สุดก็จะได้ข้าวที่สีแล้วไม่น้อยกว่า 25 ถัง หรือประมาณ 350 กิโลกรัม หรือประมาณ 25 ถุงข้าวสาร (15 กก.)ที่ขายกันตามห้างสรรพสินค้า  หากมีนา 2 ไร่ก็ได้ข้าวบริโภคมากขึ้นอีกเท่าหนึ่ง ก็เป็นตัวเลขที่น่าสนใจสำหรับไปปรับใช้ในวิถีชีวิตแบบพอเพียง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 916  เมื่อ 03 พ.ย. 20, 18:19

ไปตลาดต่างๆในช่วงเวลานี้ เรามักจะเห็นแม่ค้านั่งแกะขนุนขายอยู่เจ้าหนึ่งอยู่เสมอ แล้วก็มักจะไม่ค่อยเห็นว่าขายผลไม้อื่นร่วมอยู่ด้วย ราคาขายก็จะอยู่ประมาณ 80 บาทต่อกิโลฯ ผู้ซื้อก็มักจะซื้อกั้นครั้งละครึ่งกิโลฯ   ได้รับรู้จากแม่ค้าว่า ขนุนลูกหนึ่งๆนั้น ราคาหลายร้อยบาทอยู่ เมื่อซื้อก็จะต้องคะเนเอาว่าจะได้เนื้อในสักกี่กิโลฯ  ตามลักษณะของการขายดังที่เล่า แสดงว่าก็น่าจะได้กำไรอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว สำหรับเม็ดขนุนนั้นไม่มีราคานัก ก็จึงมีทั้งให้และขาย

ขนุนเป็นผลไม้ที่มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย เป็นผลไม้ที่เอามาเป็นอาหารได้ทั้งในรูปของผลไม้ ทำอาหารคาว อาหารหวาน และแต่งกลิ่นอาหาร  ใช้ประโยชน์ได้ทั้งลูก ตั้งแต่มันยังอ่อนจนแก่ จนสุกเละร่วงจากต้น 

ในประสบการณ์เดินป่าเดินดงในการทำงานของผม ได้พบว่า เมื่อใดที่ได้พบหมู่บ้านเล็กๆที่อยู่ห่างไกลจากการคมนาคมทั้งหลายแต่มีต้นขนุนปลูกให้เห็นโด่เด่อยู่ ผืนดินของพื้นที่นั้นๆจะค่อนข้างมีความชุ่มชื้นและร่มรื่นไปด้วยพืชพรรณไม้   ขนุนเป็นต้นไม้ที่บ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ของผืนดิน บ่งชี้ถึงความสงบสุขของผู้คนในชุมชน และยังบอกถึงความสงบทางจิตใจของผู้คนในชุมชนแห่งนั้นๆ         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 917  เมื่อ 03 พ.ย. 20, 18:50

ขนุนอ่อน เอามาทำอาหารใน 3 รูปแบบ คือ

แบบแรก เอามาต้ม ตำให้แหลกกับเครื่องปรุง(น้ำพริก) หากทำในแบบภาคเหนือก็จะเอาไปผัดกับน้ำมัน โรยด้วยกระเทียมเจียวกรอบๆ ในภาคเหนือเรียกว่า ตำขนุน กินกับแคบหมู(แบบติดมัน)อร่อยนักแล ทำแบบดั้งเดิมก็จะมีการใส่มะเขือส้มลงไปด้วย  ทำแบบอิสานก็เรียกว่า ตำบักมี่ ใส่น้ำปลาร้าและข้าวคั่ว  สำหรับแบบตำนี้ดูจะทำกันเฉพาะในภาคเหนือและอิสาน 

แบบที่สอง คือเอามาทำเป็นต้มหรือแกง เรีกกว่า แกงขนุนอ่อน    ทำแบบภาคเหนือก็ใส่มะเขื้อส้มและชะอม บางคนก็ใส่มะแขว่น(พริกพราน พริกหอม ซวงเจี่ย)ลงไปเล็กน้อย เนื้อสัตว์ที่ใช้ก็มีได้ทั้งปลาแห้ง ซี่โครงหมู ไม่นิยมใช้เนื้อไก่   ทำแบบภาคใต้ก็จะทำเป็นแบบแกงเผ็ดเข้ากะทิ ซึ่งส่วนมากก็จะใช้เนื้อไก่     ขนุนอ่อนที่เอามาทำเป็นแกงนั้น เกือบจะไม่พบเห็นในภาคอิสานเลย

แบบที่สาม คือ ฝานเป็นแว่นๆ เอามาต้ม แล้วเอามากินกับน้ำพริก พบเห็นได้ทั้งภาคเหนือ อิสาน และภาคใต้ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 918  เมื่อ 03 พ.ย. 20, 18:57

ตำขนุน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 919  เมื่อ 03 พ.ย. 20, 19:00

แกงขนุนอ่อน


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 920  เมื่อ 03 พ.ย. 20, 19:21

ขนุนแก่หรือขนุนสุก  ดูจะเป็นเรื่องเฉพาะของผู้คนในภาคกลาง  โดยพื้นๆผู้คนก็ดูจะมีการเลือกกินตามลักษณะของเนื้อขนุน เช่น หอม แห้ง กรอบ นิ่ม นุ่ม หวาน  ก็จึงเลยไปถึงเรื่องของสายพันธุ์ชื่อต่างๆซึ่งมีอยู่มากมาย   อย่างไรก็ตาม ด้วยที่การแกะขนุนเป็นเรื่องที่แม้จะไม่ยากแต่ก็ไม่ง่าย  การซื้อกินที่แม่ค้าแกะเสร็จแล้วจะสะดวกมากว่ามากๆ โอกาสที่จะเลือกกินเฉพาะสายพันธุ์ที่ชอบก็จึงมีข้อจำกัด  มิฉะนั้นก็จะต้องปลูกเอง

ปลูกขนุนเองก็สนุกดีนะครับ น้ำในดินฉ่ำมากไปมันก็ตาย  เมื่อมันโตแล้วยังไม่ออกดอกออกรวงก็ต้องแกล้งมันหรือต้องบังคับข่มขู่มัน  โบราณท่านว่าให้ใช้มีดฟันที่ต้นมัน จะเป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ก็ไม่ทราบ  แต่ผมเคยทำ แล้วมันก็รีบออกดอกดอกออกรวงจริงๆ ก็จึงอาจจะเป็นการกระทำที่มีเหตุผลอยู่ไม่น้อย   หากท่านทั้งหลายมีโอกาสเดินผ่านต้นขนุนที่มีลูก ก็น่าจะสังเกตเห็นรอยแผลเป็นจากการถูกมีดฟันอยู่ไม่น้อย  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 921  เมื่อ 03 พ.ย. 20, 19:39

ขอบคุณอาจารย์ครับ    เห็นภาพแล้วนึกถึงความอร่อยของมัน กินกับข้าวเหนียวใหม่นิ่มๆ(ยิ่งเป็นเหนียวที่หลามด้วยไม้ไผ่ข้าวหลามแบบไม่ผสมกะทิ ก็จะสุดยอดไปเลย) ก้บแคบหมูทอดใหม่ๆ กับพริกแห้งทอดกรอบๆ  ตั้งสำรับหรือตั้งโตกที่มีน้ำพริกหนุ่มตำแบบแห้งๆใส่น้ำปลาร้าปลากระดี่และแมลงดานา แนมด้วยผักกาดดอก(ผักกาดจอ) ผักขี้หูด ยอดหวาย ผักเชียงดา ฟักทอง ลวก/นึ่ง มีหมูชุบแป้งบางๆทอดหรือเนื้อวัวนึ่ง  อื์ม 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 922  เมื่อ 03 พ.ย. 20, 20:09

แถมวิธีทำค่ะ



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 923  เมื่อ 04 พ.ย. 20, 18:25

ตำราอาหารของหมึกแดง (หม่อมหลวงศิริเฉลิม สวัสดิวัตน์)ถือว่าใช้ได้ดีนะครับ   อย่างน้อยก็ถือว่าเป็นต้นทางสำหรับปริมาณเครื่องปรุงต่างๆของเมนูที่จะเลือกทำนั้นๆ  ผมเอาสูตรทำแพนเค็กหอยทอดมาทำเป็นหอยทอดแบบบ้านๆที่เราคุ้นกัน ทำเลี้ยงแขกอยู่หลายครั้งเมื่อครั้งยังประจำการอยู่ ตปท.  ด้วยที่ทำอาหารเป็น ก็เลยพอจะรู้ว่าจะแปลงได้อย่างไรให้ออกมาคล้ายๆกับหอยทอดที่เราคุ้นเคยกัน ก็เพียงเปลี่ยนจากการใช้ไข่ 4 ฟองมาเป็นใช้ 2 ฟอง แล้วใช้น้ำแทนปริมาณไข่ที่หายไป ก็เพียงเท่านั้นเอง  ใช้หอยแมลงภู่ของนิวซีแลนด์ตัวใหญ่  ใช้วิธีทอด 2 ขยัก ครั้งแรกทอดให้สุก ครั้งที่สองทอดให้แห้งกรอบ ใช้กระทะค่อนข้างร้อน ต่อยไข่ใส่ลงไปในขณะทอดด้วย  ดูเีแล้วก็ก้นไว้ขอบกระทะ เจียวกระเทียมเล็กน้อย ใส่ถั่วงอกลงไป เหยาะซีอิ๊วขาวลงไป พลิกไปมาเร็วๆสองสามครั้งแล้วเอาหอยที่กันไว้ข้างกระทะมาโปะทับ ตักใส่จาน  แต่ละจานใช้ประมาณ 8-10 ตัว ก็จะได้ปริมาณพอดีสำหรับแต่ละคน     ลองทำกินเองที่บ้านแล้วจะรู้ว่ามันอร่อยกว่าหรือไม่อร่อยกว่าที่เขาทำขายกันเพียงใด 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 924  เมื่อ 04 พ.ย. 20, 18:38

ฟังคำบรรยายแล้วอยากกินหอยแมลงภู่ทอดกรอบขึ้นมาทันทีค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 925  เมื่อ 04 พ.ย. 20, 19:13

กลับมาเรื่องของขนุน เราคงเคยจะได้ยินชื่อ 'ขนุนสำปะลอ'  ซึ่งคิดว่าเราส่วนมากจะไม่เคยเห็นต้นของมัน หรือเมื่อเห็นต้นของมันแล้วก็นึกว่าเป็น 'ต้นสาเก'     เช่นกัน เมื่อเห็นลูกของมันก็อาจจะนึกว่าเป็นลูกสาเก   หากจะว่าไปอย่างหลวมๆก็คือ ขนุนสำปะลอคือสาเกที่มีแต่เม็ด ส่วนสาเกที่เอามาเชื่อมกินกันนั้นเป็นสาเกที่มีแต่เนื้อ ไม่มีเม็ด    ก็อาจจะเป็นเรื่อง(ที่ผม)ไม่รู้เลยว่า มันเป็นต้นตัวผู้กับต้นตัวเมีย ฮืม?

เม็ดขนุนสำปะลอนิยมเอามาต้มกินกัน ผมไม่มีความรู้ว่ามีการเอาไปทำอาหารอะไรกันบ้าง นอกเสียจากเอาเม็ดของมันมาต้มกินเท่านั้น    ต่างกับเม็ดขนุนที่แกะขายกันท้่วไปซึ่งผู้คนในภาคต่างๆจะเอามาต้มกินเป็นของกินเล่น  แตกต่างไปจากในภาคใต้ที่จะเอาเม็ดขนุนมาทำอาหาร  ใส่ทั้งในผัดเผ็ดและแกงในบางเมนู    

กินเม็ดขนุนต้มก็มักจะให้มีลมในท้องใส้เยอะ ท้องขึ้นและผายลมมากกว่าปกติ ก็ไม่แน่ใจนักว่าเม็ดขนุนสำปะลอจะให้ผลเช่นนั้นหรือไม่   สำหรับเม็ดขนุนที่ใส่ในผัดและแกงของภาคใต้นั้น ด้วยที่ในเครื่องแกงจะมีการใส่กระชายและขมิ้นซึ่งเป็นสมุนไพรที่ใช้ขับลมอยู่แล้ว ก็จึงอาจจะไม่เป็นปัญหาที่ทำให้ท้องขึ้นมากนัก  

ว่ากันว่า คำว่า 'สำปะลอ' เพี้ยนมาจากคำว่า 'กำมะลอ'  ก็เลยอยาถามความเห็นท่านอาจารย์ทั้งหลายว่า คำว่า 'กำมะลอ' นี้พอจะตรงกับคำว่า 'quasi' ได้หรือไม่ ครับ  

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 926  เมื่อ 04 พ.ย. 20, 20:34

ฟังคำบรรยายแล้วอยากกินหอยแมลงภู่ทอดกรอบขึ้นมาทันทีค่ะ

ก็มีเรื่องสำคัญที่ซ่อนอยู่ในการทำให้มันออกมาดูดีครับ ก็คือ ควรจะต้องเลือกใช้กระทะแบบหนาที่ออกแบบให้ทนไฟแรง (ทนความร้อนสูง) ซึ่งมักจะน้ำหนักมากกว่าปกติ  แต่ก็ไม่จำเป็นจะต้องใช้กระทะแบบเหล็กหล่อ ซึ่งค่อนข้างจะมีราคาสูงมาก     

กระทะเหล็กหล่อ(ทั้งแบบมีร่องและไม่มีร่อง)นั้นเหมาะที่จะใช้ทำอาหารประเภทที่ต้องใช้ความร้อนคงที่ในการปรุง  เช่น ใช้นาบชิ้นเนื้อสัตว์ให้สุกสำหรับการทำอาหารในรูปของสเต็ก  หากมีขอบสูงหรือเป็นหม้อก็เหมาะที่จะใช้ในการทำอาหารประเภทซุปหรือที่ต้องต้มตุ๋นเนื้อสัตว์ให้เปื่อยด้วยความร้อนต่ำ  หากเป็นหม้อที่มีฝาปิด ก็จะใช้ในลักษณะของเตาอบที่เรียกกันว่า Dutch oven ซึ่งจะใช้ทำได้ทั้งสตูว์ ขนมปัง และขนมอบต่างๆ (เมื่อออกไปตั้งแคมป์ ...)     จัดเป็นประเภทของอยากได้มากกว่าเป็นของจำเป็นที่จะต้องมีประจำครัวในวิถีชีวิตแบบบ้านเรา แต่ละใบจะมีราคาในหลักหลักพันบาทกลางๆไปจนถึงหมื่นบาทต้นๆ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 927  เมื่อ 05 พ.ย. 20, 07:58

Dutch pan


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 928  เมื่อ 05 พ.ย. 20, 19:14

นึกไปถึงเมื่อครั้งขาดอุปกรณ์ทำอาหารในขณะเดินทำงานในป่าดง ได้ปลามาจากการลงตะคัด(ตาข่าย)ในห้วยขาแข้งช่วงที่มีน้ำลึกประมาณหน้าอก   

ปลาที่อยู่ในห้วยมีน้ำไหลทั้งหลายนั้น เกือบทั้งหมดจะเป็นปลาเกล็ดที่มีรูปทรงภายนอกดูเหมือนๆกัน ความแตกต่างของแต่ละชนิดเพื่อการจำแนกและเรียกชื่อ ก็จะดูกันอย่างหลวมๆที่ความสั้น ยาว ความหนาและความกว้างของลำตัว ดูลักษณะหัวและหน้าตา ดูลักษณะเกล็ด สี และลวดลายของเกล็ด ดูลักษณะครีบ หางและสีของมัน   ปลาที่ใช้เป็นมาตรฐานกลางสำหรับใช้ในการบรรยายเปรียบเทียบ(เมื่อมีการสอบถามถึงชื่อของปลา)เพื่อการจำแนกชนิดก็จะใช้ปลาตะเพียนกัน   เมื่อครั้งยังทำงานอยู่ ก็พอจะมีความสามารถจำแนกชนิดปลาได้เมื่อเห็นในทันใด นานเข้าจนเป็นผู้เฒ่าความจำก็ถดถอย จำได้แต่ชื่อและแถมด้วยความสับสนอีกต่างหาก  คงเหลือแต่ปลาตะเพียนและปลาตะโกก(ของชอบ)เท่านั้น ที่จำแนกได้ในทันทีที่เห็น

ยกเรื่องปลาเกล็ดขึ้นมากล่าวถึงก็เพียงแต่จะขยายความว่า ปลาเกล็ดเหล่านั้น ส่วนมากจะมีก้างรูปทรงตัว Y แทรกอยู่ในเนื้อ  ซึ่งวิธีทำกินในแบบพื้นบ้านมักจะมีอยู่ 3 วิธี คือ ย่าง ต้มเป็นแกง หรือหมักดอง   สำหรับคนชาวเมืองก็จะมีวิธีการทำอาหารเพิ่มขึ้นไป กรณีใช้ปลาสด ก็บั้งปลาให้ถี่มากๆแล้วทอดให้กรอบ  หรือแล่ปลาแล้วแบะออกตากแดด แล้วจึงเอามาทอดให้กรอบ  หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือการต้มจนก้างเปื่อยยุ่ย (ต้มเค็มหวาน) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 929  เมื่อ 05 พ.ย. 20, 19:33

ปลาเกล็ดที่เป็นปลาน้ำจืดที่มีวางขายอยู่ตามแผงปลาในตลาดใน กทม. เกือบทั้งหมดจะเป็นปลานิลและปลาตะเพียน  ที่จะมีแปลกออกไปก็จะเป็นตลาดชุมชนที่เน้นการขายวัตถุดิบสำหรับการทำอาหารจีน ซึ่งจะมีที่ปลาเราเรียกชื่อคละกันไปว่าปลาจีน หรือปลาใน (หรือปลาหลีฮื้อ)  แล้วก็ยังมีบางพื้นที่ๆมีปลาน้ำจืดของท้องถิ่น (ทั้งธรรมชาติและเพาะเลี้ยง) เช่นปลานวลจันทร์ ปลายี่สกเทศ ปลาม้า ปลาชิกคัก เป็นต้น
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 60 61 [62] 63 64 ... 68
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 19 คำสั่ง