เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 68
  พิมพ์  
อ่าน: 77010 ไปตลาด
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 300  เมื่อ 03 พ.ย. 19, 20:14

พัฒนาการต่างๆก็มีอาทิ มีการใช้ข้าวเหนียวดำ มีการใช้ของอื่นๆลงไปด้วย เช่น เผือก เม็ดบัว มะพร้าวอ่อน ....ฯลฯ   มีการปิดหน้าข้าวหลามในกระบอกด้วยสังขยา...ฯลฯ  มีการใช้แกสในการเผาแทนการใช้ถ่านไม้ ฟืน หรือกาบมะพร้าว  มีการเผาแบบพอเป็นพิธีว่ามีการเผาแล้วนะ คือเพียงเผาให้เห็นว่ามีร่องรอยของการเผาใหม้อยู่ที่กระบอกไม้ไผ่บริเวณข้อต่อของปล้องไม้ไผ่  มีแม้กระทั่งมูลข้าวเหนียวสุกกับกะทิก่อนที่จะเทใส่กระบอกแล้วจึงเอาไปเผา   

ตัวผมเองมีความสนใจอยู่เรื่องหนึ่งว่า การทำข้าวหลามของนครปฐม กับ ของหนองมน นั้น ใครเริ่มต้นก่อนใครหรือใครลอกเลียนใคร   

ข้าวหลามของทางภาคเหนือนั้น เขามีตัวตนและเอกลักษณ์ที่ต่างออกไป เช่น การเลือกใช้ไม้ไผ่เฉพาะชนิด การทำแบบหลามเต็มปล้องไม้ไผ่  ทำกันในช่วงฤดูหนาว อากาศเย็น  ทำกันโดยใช้ข้าวเหนียวใหม่ของฤดูการเพาะปลูกนั้นๆ (ที่เก็บเกี่ยวกันในช่วงประมาณประมาณเดือนพฤศจิกายน)  ข้าวหลามที่ได้ก็จะมีความนิ่มและนุ่มนวลมาก มีความหอมในตัวเองผนวกกับความหอมของไม้ไผ่ที่ตัดกันมาสดๆ ซึ่งจะคายน้ำออกมาผสมกับข้าวเหนียวและกลิ่นใหม้เล็กน้อยของเยื่อไผ่  โดยนัยหนึ่งก็คงจะกล่าวได้กระมังว่าเป็นการนึ่งข้าวเหนียวใหม่ในกระบอกไม้ไผ่ ซึ่งทำออกมาในรูปของการเป็นของกินแบบกินเล่น/ของหวาน  หรือไม่ก็กินกับน้ำตาลอ้อยซึ่งจะหีบอ้อยหันในช่วงปลายปี โดยเฉพาะน้ำตาลส่วนสุดท้ายในกระทะเคี่ยวน้ำตาลที่มักจะนิยมใส่กะทิ(และเนื้อมะพร้าว)ลงไปด้วย ทำให้กินได้อย่างอร่อยมากๆ     

การท่องเที่ยวน่าจะรื้อฟื้นวิถีชาวบ้านบางอย่างดังเล่ามา อาจจะช่วยสร้างเสริมตวามแข็งแรงของวิถีชุมชนและเสริมสร้างรายได้จำเพาะฤดูกาลได้พอควรทีเดียว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 301  เมื่อ 04 พ.ย. 19, 19:01

น้ำตาลสดก็เป็นอีกสินค้าหนึ่งที่มีวางขายอยู่ตลาดริมถนนหน้าตลาดหนองมน  ผมไม่ได้ไปแถวนั้นนานมากแล้ว เลยไม่รู้ว่ายังมีทำกันอยู่อีกหรือไม่ แม้เมื่อครั้งกระโน้นก็ยังมีไม่มากเจ้า ปัจจุบันนี้ชุมชนขยายตัวมากขึ้น สวนมะพร้าวก็ถูกแปรสภาพหายไปมาก ก็เลยเดาเอาว่าคงจะยังคงพอมีขายอยู่เป็นบ้าง โดยเฉพาะที่เป็นหาบแร่ ด้วยก็ยังคงมีสวนมะพร้าวเล็กๆอยู่บ้างในพื้นที่และในที่ๆอยู่ไม่ห่างไกลนัก   

จากตลาดหนองมนก็ไปตลาดอ่างศิลา  แต่ก่อนนั้นเป็นหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ สินค้าในตลาดส่วนมากจะเป็นพวกของทะเลตากแห้ง พวกของทะเลสดส่วนมากดูจะถูกนำไปขายในตลาดหนองมน บางส่วนก็ไปอยู่ในร้านอาหารแถวแหลมแท่น  แหลมแท่นก็เลยมีของอร่อยประจำถิ่น เช่น น้ำพริกไข่ปู ซึ่งเข้ากันได้ดีกับผักแนมเหง้าขมิ้นขาว   พล่าปลากุแล ที่ทำง่ายๆด้วยเครื่องเคราเพียง หอมแดง ตะไคร้ และพริกชี้ฟ้า ซอยบางๆ ปรุงรสด้วยน้ำปลากับมะนาว ปรับความน่ากินสุดท้ายด้วยใบสะระแหน่   ไข่เจียวหอยนางรม ซึ่งดูจะแปลกตรงที่ไม่ค่อยจะมีชื่อในย่านนี้ แต่กลับเป็นเมนูโด่งดังในที่อื่นๆ   ที่นึกออกอีกอย่างหนึ่งคือปูม้า เป็นพวกตัวไม่ใหญ่ แต่อร่อยด้วยความสด

ในปัจจุบันนี้ อ่างศิลามีสะพานปลาที่ค่อนข้างจะมีชีวิตชีวา น่าจะเป็นแหล่งแวะซื้อของทะเลสดๆก่อนกลับ กทม. ทั้งนี้ก็จะต้องดูช่วงเวลาที่เรือประมงเข้ามาเทียบท่าด้วย             
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 302  เมื่อ 04 พ.ย. 19, 19:35

ขัดจังหวะเรื่องของทะเลนิดนึง  ของดังของอ่างศิลาอย่างหนึ่งก็คือ ครกหินอ่างศิลา    ผมเองไม่รู้ประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวข้อง เลยคิดได้แต่เพียงจากการประมวลสภาวะแวดล้อมและร่องรอยต่างๆในเชิงวิชาการ ผนวกกับความรู้ในเรื่องราวอื่นๆที่พอจะมี เลยทำให้พอจะเห็นว่าน่าจะเป็นอุตสาหกรรมพื้นบ้านที่เกิดขึ้นไม่นานนัก   

ค่อยๆว่ากันต่อ ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 303  เมื่อ 05 พ.ย. 19, 17:31

ประวัติความเป็นมาครกหินอ่างศิลา
อ่างศิลา   
     ลักษณะภูมิประเทศตำบลอ่างศิลา ประกอบด้วยหินอัดเป็นประเภทหินแกรนิตและหินทราย หินแกรนิตที่พบแทรกตัวขึ้นมาสลับระหว่างหินชันซึ่งพบมากตามแหล่งที่เป็นเขา ติดกับฝั่งทะเล และจากการที่มีหินแกรนิตซึ่งมีสีขาวนวล, สีเหลืองอ่อนและมีความแข็งแกร่งจำนวนมากที่ตำบลอ่างศิลาทำให้เกิดอาชีพการท ครกหินและกลายเป็นสัญญลักษณ์ของหมู่บ้านชาวประมงอ่างศิลา
            สภาพหมู่บ้านตำบลอ่างศิลาเดิมเรียกว่า “อ่างหิน” เนื่อง จากมีอ่างหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านอาชีพที่สำคัญของชาวตำบลอ่างศิลา นอกจากการทำประมงทางทะเล ทอผ้าแล้วอาชีพที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาชีพแกะสลักหิน เมื่อกล่าวถึง “อ่างศิลา” สิ่ง แรกที่คนทั่วไปจะนึกถึงก็คือครกหิน เพราะครกหินเป็นสัญญลักษณ์ของสินค้าพื้นเมือง ที่นำชื่อเสียงมาให้แก่ชาวตำบลอ่างศิลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจาก ครกหินอ่างศิลามีจุดเด่นอยู่ที่หินมีความแข็งแกร่งตำแล้วไม่เป็นทรายและมีสี ขาวนวลหรือเหลืองอ่อนนอกจากการทำครกหินแล้วชาวตำบลอ่างศิลายังนำหินมาแกะ สลักเป็นรูปต่าง ๆเช่นรูปเจ้าแม่กวนอิม พระพุทธรูป ซึ่งมีความสวยงามมาก
มีคนจีนอพยพและมาอาศัยอยู่ในตำบลอ่างศิลาซึ่งต้องการทำของต่าง ๆ เช่น อาหารขนมเครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่มีส่วนผสมที่ทำมาจากข้าวแล้วนำมาบดให้ ละเอียดเป็นแป้ง คนจีนเหล่านั้นจึงหาวิธีที่จะนำหินมาทำโม่เพื่อโม่แป้งและเห็นว่าอ่างศิลามี หินที่เหมาะสมที่จะทำโม่ จึงสกัดหินมาเพื่อใช้ทำโม่ และเมื่อมีเศษหิน เหลือชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ไม่สามารถทำโม่ได้แล้วจึงลองนำมาทำครกหินดูเพื่อ ใช้ตำน้ำพริก และหรือบดของอื่น ๆจนกระทั่งกลายมาเป็นของใช้ประจำบ้านอย่างหนึ่งแต่เดิมครกที่ทำที่ตำบลอ่าง ศิลาจะไม่มีการซื้อขายครกกันในพื้นที่ของตำบลแต่จะนำไปส่งขายที่ กรุงเทพฯหรือ ต่างจังหวัด ดังนั้นชื่อเสียงของครกหินอ่างศิลาจึงเป็นที่รู้จักของชาว กรุงเทพฯและคนในจังหวัดอื่น ๆ เป็นอย่างดี
                        ต่อมาความต้องการสินค้าประเภทครกหินเพิ่มมากขึ้นอาชีพการทำครกหินก็มากขึ้น จนบ้านอ่างศิลา ได้ถูกสกัดหินนำมาใช้จนหินมีปริมาณเหลือน้อย ดังนั้น จึงนำหินจากต่างจังหวัดเข้ามาทำครกหินกันในตำบลอ่างศิลา รวมทั้งมีการปรับปรุงรูปแบบและมีเอกลักษณ์เป็นการเฉพาะตัวคือ “ครกหินอ่างศิลาจะต้องมีสองหู” เท่านั้น

 http://fusionstone.blogspot.com/p/blog-page.html
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 304  เมื่อ 05 พ.ย. 19, 20:06

สะดุดที่ประโยค "ครกอ่างศิลาแท้จะต้องมีสองหู"  เลยทำให้นึกถึงเรื่องที่น่าจะตั้งข้อสังเกตไว้

ชลบุรีตั้งอยู่ในพื้นที่ชายทะเลใกล้กับปากแม่น้ำบางปะกง มีป่าชายเลนตลอดตั้งแต่ปากแม่น้ำไปจนถึงอ่างศิลา (ปัจจุบันนี้ไม่มีแล้วเพราะถูกถมทำเป็นเมืองใหม่)  แต่ก่อนนั้นก็มีการทำนาเกลือในพื้นที่บริเวณก่อนถนนจะขึ้นเนินเข้าสู่พื้นที่เมือง ซึ่งเทคโนโลยีและเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆก็เหมือนๆกับที่ชาวนาเกลือแถวสมุทรสาครและสมุทรสงครามใช้กัน ทั้งระหัดน้ำและกังหันลม  มีการเลี้ยงหอยกะพงเหมือนกัน แต่ภายหลังทางอ่างศิลาหันไปเลี้ยงหอยนางรม ทางแม่กลองหันไปเลี้ยงหอยแมลงภู่ หอยแครง หอยลาย..  มีกระบวนแนวคิดในการถนอมอาหารจากของทะเลเหมือนๆกันทั้งน้ำปลา ชนิดของๆแห้ง (กุ้งแห้ง หอยแห้ง ปลาเ๕้มที่ทำจากปลากุเลา...)    ทั้งหมดนี้ดูจะบ่งชี้ว่าเมืองดังที่กล่าวนี้มีชาวจีนที่มาจากภูมิภาคเดียวกันมาตั้งถิ่นฐานแต่แยกกันอยู่  ก็เลยมีประเพณีวัฒนธรรมที่คล้ายๆกันปรากฏให้เห็นอยู่หลายอย่างทั้งในเรื่องบริโภคและอุปโภค    ครกมีหู ก็เป็นเรื่องหนึ่ง

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 305  เมื่อ 05 พ.ย. 19, 20:24

อันที่จริงแล้ว ครกของเก่าจากเมืองจีนนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบมีสองหู (มีตุ่มอยู่สองตุ่มที่ขอบครก)  หากแต่จะเป็นครกที่ทำด้วยหินอัคนีชนิดหนึ่งทีมีสีออกไปทางเขียวๆดำๆ เป็นหินที่มีชื่อเรียกว่า หินแอนเดอไซท์ (Andersite) มีคุณสมบัติในด้านมีเนื้อที่แน่นเหนียว ไม่กะเทาะเมื่อโขลกตำ  หน้าตาของหินก็เหมือนกับหินที่ใช้เป็นอับเฉาของเรือสำเภาที่มีการแกะสลักเป็นตัวสิงห์ เป็นตัวยักษ์ ฯลฯ ที่เราเอามาจัดวางไว้หน้าวัดหรือหน้าบ้าน   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 306  เมื่อ 05 พ.ย. 19, 20:56

 หิน andesite


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 307  เมื่อ 06 พ.ย. 19, 18:12

เกิดมาเอะใจว่า คนเชื้อสายจีนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่รอบๆส่วนหัว ก.ไก่ ของอ่าวไทยตอนบน เกือบทั้งหมดจะเป็นคนแต้จิ๋ว   ซึ่งเมนูอาหารแบบเก่าๆของพวกเขาที่ยังพอหลงเหลือให้เราได้เห็นได้ลิ้มลองรสกันนั้น ก็จะเป็นพวกที่มีรสไม่จัด มักจะมีน้ำจิ้มเป็นองค์ประกอบ และมาจากวิธีการทำให้สุกด้วยการทอด การต้ม การอบหรือการนึ่ง   ยังนึกไม่ออกว่ามีเมนูอาหารใดที่ต้องใช้ครกในการเตรียมเครื่องปรุง  ต่างกับโม่ที่ต้องใช้โม่เม็ดธัญพืชหลายชนิดเพื่อทำเป็นแป้งชนิดต่างๆสำหรับทำอาหารต่างๆที่หลากหลายต่างกันไป   

ผมมีความเห็นว่า ครกอ่างศิลาที่มีชื่อเสียงมาแต่เก่าก่อนนั้น น่าจะเริ่มจากความต้องการของคนไทยที่ต้องใช้ในการตำบรรดาน้ำพริกที่ใช้ในการทำอาหารทั้งหลาย คือต้องการเปลี่ยนจากการใช้ครกดินเผาซึ่งมักจะแตกและจะตำน้ำพริกที่มีเนื้อละเอียดเนียนไม่ได้ เปลี่ยนไปเป็นการใช้ครกหินซึ่งจะตำเครื่องแกงได้แหลกละเอียดมากกว่า    แต่ครกหิน andesite (ผมสะกดผิดไป ใส่ตัว จากเมืองจีนนั้นคงจะมีน้อยและหาได้ยาก ซึ่งผมก็เดาเอาอีกว่า ครกหินของจีนที่เข้ามาในไทยในสมัยนั้นเป็นครกที่ใช้สำหรับการบดสมุนไพรต่างๆในการทำยาแผนโบราณ เช่น พวกยาหอม ยานัตถ์ ทั้งหลาย 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 308  เมื่อ 06 พ.ย. 19, 18:16

อาหารแต้จิ๋ว


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 309  เมื่อ 06 พ.ย. 19, 18:44

นิ้วมือมันซน เลยไปกดเอาอะไรก็ไม่รู้ ส่งข้อความไปเลย  ที่จริงกำลังปรับข้อความอยู่ครับ  เอาเป็นว่าอ่านได้เข้าใจก็แล้วกันนะครับ

ต่อประโยคท้ายว่า  ครกหินของจีนที่ผมมีเก็บไว้นั้นก็เป็นของคุณยายของผมซึ่งเป็นแพทย์แผนโบราณ เมื่อครั้งยังเป็นเด็กๆไปเยี่ยมคุณยายที่แม่กลองก็ยังเคยซนขอช่วยตำสมุนไพรบางอย่าง ในภาษาของแพทย์แผนโบราณเขาเรียกครกที่ใช้บดยาว่า โกร่งยา     โกร่งยาที่ตกทอดมาทางสายของภรรยาผมเป็นครกเหล็ก ตัวสากก็มีหัวเป็นเหล็กแต่มีด้ามทำด้วยไม้ แถมมีแผ่นหนังสวมสากเพื่อปิดมิให้สมุนไพรกระเด็นเมื่อเวลาบดตำอีกด้วย     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 310  เมื่อ 06 พ.ย. 19, 20:02

ย้อนกลับไปต่อเรื่องครกหินและโม่หิน 

ผมมีข้อสังเกตที่อาจจะไม่มีความถูกต้องใดๆเลยก็ได้ คือ ในบรรดาโม่หินของเก่าที่ผมได้เคยเห็นทั้งในบ้านคนและในตลาดของเก่านั้น ดูคล้ายกับว่าจะเป็นโม่ที่ทำมาจากหินแกรนิตเท่านั้น    ก็ไม่แน่นะครับ ดีไม่ดีแหล่งที่ผลิตโม่ขายแต่ดั้งเดิมอาจจะเป็นที่อ่างศิลาก็ได้

พักไว้ว่ากันต่อในวันพรุ่งนี้ครับ

ขอคั่นเวลาด้วยเมนูหอยกะพงผัดกับเต้าเจี้ยวและใบโหระพา   เป็นของอร่อยที่หายไปจากพื้นที่ใกล้ทะเลรอบหัวตัว ก.ไก่ ของอ่าวไทยตอนบน ซึ่งได้หายไปนานมากแล้ว  หอยกะพงมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีซังเหมือนหอยแมลงภู่ เป็นหอยที่เติบโตได้ดีในพื้นที่อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงเช่นเดียวกับหอยแมลงภู่    หอยกะพงน่าจะเริ่มค่อยๆหายไปพร้อมๆกับการเริ่มธุรกิจในรูปแบบใหม่ของไทยเราในช่วงประมาณ พ.ศ.2510+   หอยกะพงเป็นหอยที่มีราคาย่อมเยาว์มาก สามารถเลี้ยงและกู้ได้ต่อครั้งในปริมาณมากๆ  ได้ผันแปรไปจากการเป็นอาหารบริโภคของคนไปเป็นอาหารของสัตว์เลี้ยงจำพวกสัตว์ปีก  ก็ดูจะเริ่มต้นจากธุรกิจการเลี้ยงเป็ด ที่แปรเปลี่ยนไปจากการเลี้ยงแบบไล่ทุ่งไปสู่การเลี้ยงแบบขุน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 311  เมื่อ 06 พ.ย. 19, 20:05

โกร่งยา เป็นคำเก่าไม่ผ่านสายตามานานมาก     ตัววัตถุเองก็ไม่เห็นมาหลายสิบปีแล้วค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 312  เมื่อ 06 พ.ย. 19, 20:07

หอยกะพงผัดโหระพา


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 313  เมื่อ 07 พ.ย. 19, 19:21

หอยกะพงผัด ใส่เต้าเจี้ยว ใสใบโหระพาแบบดั้งเดิมนั้น จะใส่หอยลงไปทั้งตัว ไม่ใช้หอยที่แกะแล้ว และก็เป็นการผัดแบบไม่ใส่พริกเช่นเดียวกันกับผัดหอยลาย     

คิดว่าประมาณช่วงต้น '20s กระมัง จึงได้เริ่มเห็นเมนูผัดหอยลายเข้าไปปรากฎอยู่ในร้านอาหารประเภทข้าวต้มโต้รุ่ง เป็นการผัดแบบใส่น้ำพริกเผา แล้วก็กลายเป็นเมนูหอยลายผัดน้ำพริกเผายอดนิยมที่แพร่กระจายไปทั่วทุกแห่งอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งกลายเป็นวิธีการที่ดูจะเป็นมาตรฐานสำหรับการทำอาหารกับหอยลาย    ส่วนหอยกะพงผัดซึ่งเป็นเมนูอาหารแบบครอบครัวเช่นเดียวกับหอยลาย ไม่ปรากฏโฉมออกมาตามร้านอาหารเลย     หอยกะพงยังพอหาซื้อได้ในบางตลาด แต่จะเป็นแบบแกะเอาเปลือกออกแล้ว เมื่อเอามาผัดก็จะดูไม่น่ากิน  เช่นกัน หอยลายแกะเปลือกแล้วเอามาผัดก็ดูไม่น่ากินเหมือนกัน     

หอยชนิดต่างๆที่เป็นหอยน้ำจืดหรือหอยน้ำเค็มเหล่านั้น แต่ละเมนู แต่ละวิธีการทำ แต่ละวิธีการปรุงให้เป็นอาหาร ต่างก็เป็นเรื่องที่ได้รับถ่ายทอดต่อกันมา ยังไม่ค่อยเห็นว่ามีวิธีการอื่นใดที่แหกคอกออกไป เมนูอร่อยที่เกี่ยวกับหอยจึงดูค่อนข้างจะมีจำกัด             
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 314  เมื่อ 07 พ.ย. 19, 19:28

หอยกะพงผัดโหระพา ทั้งเปลือกค่ะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 68
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง