เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 68
  พิมพ์  
อ่าน: 77130 ไปตลาด
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 23 ก.ย. 19, 19:55

มีสำนวนเก่าเกี่ยวกับฝนหนัก  คือ raining cats and dogs  แปลตามตัวคือตกเป็นหมาเป็นแมว  หมายถึงฝนตกหนักไม่ลืมหูลืมตา ค่ะ  คุณตั้งคงเคยอ่านเจอในหนังสือมาบ้าง  ปัจจุบันไม่ได้ยินใครพูดสำนวนนี้กันแล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 24 ก.ย. 19, 18:25


เดี๋ยวนี้มีพัฒนาการเอาเห็ดเข็มทองและเห็ดนางรมมาชุบแป้งทอดกรอบ สำหรับกินกับน้ำพริกหรือไม่ก็จิ้มน้ำจิ้มไก่ย่าง มีวางขายอยู่บนแผงที่ขายบรรดาผักชุบแป้งทอด เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน และมะเขือยาวซึ่งเปลี่ยนจากการชุบไข่ไปเป็นชุบแป้งแทน   เลยทำให้นึกถึงชะอมทอดไข่และมะเขือยาวชุบไข่ทอด ที่กำลังเปลี่ยนไปอยู่ในลักษณะของไข่เจียวใส่ชะอมหรือใส่มะเขือ  ซึ่งคิดว่าในอีกไม่นาน ชะอมทอดไข่และมะเขือชุบไข่ทอดกินกับน้ำพริกที่คนรุ่นหลังจะรู้จัก ก็จะเป็นในรูปของไข่เจียวใส่ชะอมหรือมะเขือยาวเท่านั้น     
พูดถึงผักชุบแป้งทอด    เมื่อก่อนนี้ ถ้ากินขนมจีนน้ำพริก ต้องนึกถึงใบเล็บครุฑชุบแป้งทอด     เดี๋ยวนี้ใบเล็บครุฑคงจะหายาก เลยไม่ได้กินมานานแล้วค่ะ
เคยปลูกเล็บครุฑไว้ที่บ้าน   แต่เพลี้ยลงเลยต้องถอนทิ้งไป น่าเสียดายมาก


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 24 ก.ย. 19, 18:46

สำนวนนี้ คิดว่าไม่เคยผ่านตาเลยครับ   เคยแต่ได้ยินการใช้คำว่า hammering downpour ครับ  

ในปัจจุบันนี้ดูจะนิยมใช้คำว่า torrential rain ในภาคข่าวภูมิอากาศที่ออกอากาศตามสื่อต่างๆ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 24 ก.ย. 19, 19:13

ที่มาของสำนวน it's raining cats and dogs ยังคลุมเครืออยู่  รู้แต่ว่ามาจากอังกฤษโบราณค่ะ   
อาจารย์เคยอธิบายว่า หมายถึงฝนซัดกระหน่ำหนัก ไม่หยุดยั้ง  ราวกับหมาแมวอาละวาดฟัดกันเต็มเหนี่ยว  แต่ในกูเกิ้ล บอกที่มาเอาไว้หลายอย่างด้วยกัน
https://www.loc.gov/rr/scitech/mysteries/rainingcats.html


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 24 ก.ย. 19, 19:48

ขนมจีนน้ำพริกเป็นเมนูอาหารโปรดของผมอีกอย่างหนึ่ง หากินได้ไม่ยากนักในภาคกลางและภาคใต้(แต่ก็ยังค่อนข้างจะหายากอยู่)   แต่สำหรับในภาคเหนือและอิสานนั้นคงจะหากินได้แต่เฉพาะในงานรับรองที่จัดขึ้นเพื่อฉลองวันมงคลใดๆที่จัดในโรงแรมและในช่วงเวลากลางวันเท่านั้น  

สำหรับตัวผมนั้นเห็นว่า ขนมจีนน้ำพริกเป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางด้านอาหารไทยที่อยู่ในระดับสุดยอดอีกอย่างหนึ่ง เป็นการผสมผสานของอาหารพื้นฐานของผู้คนต่างชาติต่างเผ่าพันธุ์ต่างๆที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนีเลยทีเดียว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 24 ก.ย. 19, 20:33

แปลกใจว่าทำไมเรียกน้ำพริกที่กินกับขนมจีนว่า "น้ำพริก" ทั้งๆ มันไม่ใช่น้ำพริกชนิดใดเลย   เผ็ดก็ไม่เผ็ดด้วยซ้ำไป
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 25 ก.ย. 19, 18:18

นั่นนะซิครับ  น้ำพริกมีรสไม่เผ็ด ออกไปในทางหวาน ในขณะที่น้ำยาแทนที่จะออกรสไปทางขื่นและกลิ่นแรง กลับกลายเป็นเผ็ดเอาการอยู่เลยทีเดียว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 25 ก.ย. 19, 18:33

ขนมจีนซาวน้ำอีกอย่าง ทำไมถึงเรียกอย่างนี้ล่ะคะ

เชิญคุณตั้งพาไปจ่ายตลาดต่อค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 25 ก.ย. 19, 19:48

ขนมจีนน้ำพริกที่ผมเห็นว่าเป็นการผสมผสานของอาหารพื้นฐานที่ทำกินกันในหมู่คนต่างชาติต่างภาษานั้น เมื่อเราแยกแยะดูก็พอจะได้เห็นภาพดังนี้    

ขนมจีน โดยชื่อเรียกขานก็พอจะบ่งชี้ได้ว่าเป็นของๆกินที่ทำกันในดินแดนของประเทศจีน  ผู้คนในภาคเหนือและอิสานนิยมเรียกขนมจีนว่า ขนมเส้น   และที่ใช้คำว่าขนมนำหน้าก็น่าจะเป็นเพราะว่ามันมิใช่เป็นของกินที่จัดเป็นอาหารในสำหรับอาหารมื้อหลัก  ก็เลยคิดเอาเองเออเองว่ามันเป็นของกินเล่นในช่วงเวลาบ่าย (น่าจะพอเทียบได้กับ high tea ของอังกฤษ)  

น้ำพริกที่ใช้กับขนมจีน ตัวเนื้อน้ำพริกเองทำด้วยถั่ว ก็ดูจะคล้ายๆกับแกงถั่วของแขกที่เรียกว่า แกง dal  แต่เราลดการใช้เครื่องเทศ น้ำพริกของเรามีทั้งแบบใส่และไม่ใส่เนื้อสัตว์(กุ้ง)ลงไป แล้วเราก็มีการปรุงรสด้วยน้ำตาลปึก น้ำมะขามเปียก และเกลือ ให้ออกรสไปทางหวาน เค็ม เปรี้ยว แล้วปรับแต่งรสและกลิ่นให้ละเอียดละเมียดละไมด้วยมะกรูด ส้มซ่า หอมเจียว กระเทียมเจียว

จะว่าไปโดยพื้นๆก็คือการแปลงแกง dal ของแขกที่เขาทำเพื่อกินกับโรตีหรือข้าว เอามากินกับขนมจีน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 25 ก.ย. 19, 20:27

ก็มาถึงในส่วนที่เป็นไทย  คนไทยกินน้ำพริกกับผัก   เมื่อพิจารณาขนมจีนน้ำพริกดูแล้วก็พอจะเห็นภาพได้อยู่เหมือนกันว่า ขนมจีนคลุกกับน้ำพริกก็เป็นภาพคล้ายๆกับข้าวคลุกน้ำพริกที่ต้องกินกับผัก แล้วผักอะไรบ้างที่กินอร่อยเข้าคู่กับน้ำพริกคลุกขนมจีนนี้ดีที่สุด   

ที่เป็นผักสดก็ดูจะมีอยู่เพียงไม่กี่อย่าง ก็มีเช่น ยอดกระถิน ซึ่งแม้จะมีกลิ่นออกไปทางเหม็นเขียว แต่กลับเข้ากันได้ดีอย่างเหลือเชื่อ คล้ายกับการกินกระถินร่วมกับหอยนางรมสด   ปลีกล้วยซอยละเอียด ซึ่งจะให้ดีที่สุดก็จะต้องเป็นปลีกล้วยตานีอีกด้วย  ซอยแล้วแช่ในน้ำที่ฝานมะนาวแช่ลงไปสักครึ่งลูก ก็จะทำให้ปลีกล้วยที่ซอยนั้นไม่ดำ แต่จะขาวสวยน่ากิน  ผักสดอีกอย่างหนึ่งที่นิยมกันแต่ไม่ค่อยจะได้เห็นมีการใช้กันแล้วก็คือ มะละกอดิบ สับซอยแบบส้มตำแต่ให้มีความละเอียดมากกว่ามากๆ

มีผักสดแล้วก็มีผักสุก(ลวกหรือต้ม) ที่นิยมก็จะมี ผักบุ้ง ซึ่งก็มีทั้งแบบหั่นซอยเป็นเส้นฝอยตามยาวหรือหั่นเป็นข้อสั้นๆ  มีมะระจีนซอยขวางเป็นแผ่นบาง  มีถั่วพูซอย   ไม่มีถั่วงอกในงานนี้เพราะไม่เข้ากันกับอาหารจานนี้เลย

แล้วก็มีผักทอดและอื่นๆ ค่อยๆว่ากันต่อไปครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 25 ก.ย. 19, 20:43

ขนมจีน โดยชื่อเรียกขานก็พอจะบ่งชี้ได้ว่าเป็นของๆกินที่ทำกันในดินแดนของประเทศจีน  ผู้คนในภาคเหนือและอิสานนิยมเรียกขนมจีนว่า ขนมเส้น   และที่ใช้คำว่าขนมนำหน้าก็น่าจะเป็นเพราะว่ามันมิใช่เป็นของกินที่จัดเป็นอาหารในสำหรับอาหารมื้อหลัก  ก็เลยคิดเอาเองเออเองว่ามันเป็นของกินเล่นในช่วงเวลาบ่าย (น่าจะพอเทียบได้กับ high tea ของอังกฤษ)

ว่าด้วยขนมจีนและชาวมอญ

ขนมจีนน้ำยา แม้จะพบว่ามีแพร่หลายทั่วไปทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เป็นที่ชัดเจนว่า เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดจากชาวมอญ ชาวมอญเรียกว่า "คะนอม" หรือภาษาพูดว่า “หะนอม” ซึ่ง “หะนอม” แปลว่า “เส้น” ส่วน “จิน” ที่เกิดจากการเรียกของคนไทย แปลว่า “สุก” กินกับน้ำยาที่มอญเรียกว่า "ฮะก่ม" หรือ "ทะก่ม"

สำหรับที่มาของชื่อขนมจีนนั้น ว่ากันว่า มีเรื่องเล่ากันว่าคนไทยได้ยินชาวมอญถามกันขณะที่กำลังทำอาหารเส้น ๆ ชนิดนี้ว่า “หะนอมจิน” ซึ่งหมายถึงเส้นสุกหรือยัง เนื่องจากกระบวนการทำเส้นขนมจีนนี้ต้องผ่านการทำให้แป้งสุกด้วยความร้อนหลายครั้ง เมื่อคนมอญบอกว่า “จิน” (สุกแล้ว) บ่อยครั้ง คนไทยจึงได้จดจำเรียกผสมรวมเข้าเป็นสร้อยคำว่า “ขนมจีน” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

จาก FB รามัญคดี - MON Studies
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 26 ก.ย. 19, 08:03

ขนมจีนน้ำพริกหากินยากมากพอๆ กับข้าวมันส้มตำ ที่พอหาเจอรสชาติไม่เหมือนสมัยเด็กน้อย ราคแอบแพงอีกต่างหาก เศร้า เศร้า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 26 ก.ย. 19, 08:51

ชอบข้าวมันส้มตำมากกว่าข้าวเหนียวส้มตำค่ะ  แต่หาได้ยากมาก มีขายในร้าน ซึ่งก็จอดรถลงไปกินได้ไม่ง่ายนัก สรุปคืออดกินมาหลายปีแล้ว

ข้าวมันส้มตำเป็นอาหารภาคกลาง    ไม่แน่ใจว่าดัดแปลงมาจากส้มตำอีสานหรือเปล่า   รู้แต่่ว่าชาวกรุงเทพกินข้าวมันส้มตำกันมาก่อนส้มตำอีสานจะเข้ามาแพร่หลายในเมืองหลวง อย่างทุกวันนี้      พอข้าวมันต้องหุงด้วยกะทิซึ่งเป็นของแสลงสำหรับคนรักอนามัย   ข้าวมันส้มตำก็เลยต้องลงจากเวที หลีกทางให้ไก่ย่างส้มตำอีสาน

แต่ถ้าใครอยากกินข้าวมันส้มตำ มีวิธีทำที่นี่ค่ะ
https://pantip.com/topic/35174810


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 26 ก.ย. 19, 18:19


ว่าด้วยขนมจีนและชาวมอญ
ขนมจีนน้ำยา แม้จะพบว่ามีแพร่หลายทั่วไปทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เป็นที่ชัดเจนว่า เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดจากชาวมอญ ชาวมอญเรียกว่า "คะนอม" หรือภาษาพูดว่า “หะนอม” ซึ่ง “หะนอม” แปลว่า “เส้น” ส่วน “จิน” ที่เกิดจากการเรียกของคนไทย แปลว่า “สุก” กินกับน้ำยาที่มอญเรียกว่า "ฮะก่ม" หรือ "ทะก่ม"

จาก FB รามัญคดี - MON Studies

ขอบพระคุณครับ  เป็นข้อมูลที่น่าสนใจยิ่ง  การค้นพบนี้น่าจะพอใช้เป็นข้อบ่งชี้ว่ามอญมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมครอบคลุมพื้นที่ของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว   ทำให้คิดเลยเถิดไปว่า ด้วยเหตุใดผู้คนหลายชาติพันธุ์ที่มีเมนูอาหารลักษณะนี้กลับใช้คำเรียกชื่ออื่นๆแทนคำในภาษามอญ เช่น ชาวลาวและคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจะเรียกว่า ข้าวปุ้น   ชาวมาเลย์ สิงคโปร์ อินโดฯเรียกว่า หลักซา  กลุ่มคนไทยใหญ่เรียก ข้าวเส้น (?)       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 26 ก.ย. 19, 19:03

ไปถึงพวกเหมือดของขนมจีนน้ำพริกที่ทำด้วยวิธีการทอดหรือชุบแป้งทอด  ผมเห็นว่าเหมือดชนิดนี้เป็นสิ่งที่สร้างความมีระดับและความมีราคาทั้งในทางรูปธรรมและนามธรรมให้กับขนมจีนน้ำพริกเลยทีเดียว ก็เป็นสุนทรีย์และเอกลักษณ์ของแต่ละแม่ครัวที่จะรังสรรค์เสริมสร้างเข้าไปในเมนูขนมจีนน้ำพริก  จะเป็นก้านผัก เป็นใบไม้ หรือเป็นดอกไม้ก็ได้ ซึ่งต่างก็ยังให้เกิดความรู้สึกอยากกินหรือไม่อยากกินแตกต่างกันไป     

การเปรียบเทียบต่างๆก็จะมีดังเช่น การใช้ใบเล็บครุฑ การใช้ใบพริก ใบกุหลาบ ....    ซึ่งทั้งหมดก็ยังสามารถลงรายละเอียดลงไปได้อาทิ การใช้ใบเล็บครุฑแบบใบเล็กฝอยกับใบใหญ่ ก็ให้เกิดความรู้สึกในความสุนทรีย์ที่ต่างกัน     พวกผักก้านก็เช่นกัน (ผักบุ้ง เห็ดเข็มทอง ผักกระเฉด...)     

แล้วถ้าเป็นพวกดอกไม้ล่ะ จะมิยิ่งน่าสนใจและรู้สึกดีมากขึ้นเพียงใดที่จะเลือกลิ้มลอง ที่พอจะมีการทำกันก็อาทิ ดอกเข็ม ซึ่งยังเย้ายวนให้ลิ้มลองได้มากขึ้นอีกด้วยการบอกว่าใช้ของดอกเข็มสีใด เป็นต้น   

คิดว่าสักวันหนึ่ง ก็คงจะได้เห็นขนมจีนน้ำพริกใช้เหมือดที่ทำด้วยดอกไม้ชุบแป้งทอดดังเช่นเทมปุระชั้นดีของญี่ปุ่น  เคล็ดลับสำคัญก็คือ แป้งที่ใช้ชุบจะต้องแช่ในตู้เย็นจนมีความเย็นทั่วกัน หากจะใช้เกล็ดขนมปังก็ต้องแช่เย็นด้วย   ทั้งนี้หากจะทำแล้วก็ทำให้มากๆหน่อย ให้เป็นมื้อเท็มปุระไปด้วยเลย ทำน้ำจิ้มแบบง่ายๆแต่มีระดับด้วยการใช้เกลือป่นผสมกับใบชาเขียวป่นเท่านั้นเอง 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 68
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง