เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 10260 สอบถามเรื่องการแต่งกายของหญิงชายบ้านนอกสมัยก่อนครับ
Kiangsak loekaudom
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


 เมื่อ 15 ก.ค. 19, 22:50

ผมอยากทราบว่า ทำไมคนบ้านนอกในสมัยก่อนถึงแต่งตัวแบบเดิมครับ เช่นแม่ของคุณตาผม เกิดปีพ.ศ.2457 แต่ท่านก็นังไว้ทรงผมคล้ายทรงดอกกระทุ่ม นุ่งโจงกระเบนล่ะครับ ซึ่งต่างจากคนในเมืองมากทั้งๆที่จริงการนุ่งโจงกระเบนถูกยกเลิกไปแล้วอ่ะครับ แต่ทวดของน้องที่เป็นญาติกับผมนั้น แก่กว่าทวดผมร่วมสิบปี แต่ทำไมท่านนุ่งผ้าถุงไว้ผมยาวครับ(ท่านเป็นเชื้อสายลาวโซ่ง) หรืออาจเป็นเพราะทวดผมเป็นลูกคนเล็กของคุณเทียดครับ เพราะพี่คนโตของทวดผม เกิดราวๆ2433-2435 ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 16 ก.ค. 19, 10:10

วัฒนธรรมการแต่งกายของคนไทยในชนบท เป็นไปตามความเคยชินส่วนตัว  อีกอย่างคือแต่งตามเชื้อสาย     ไม่มีใครบังคับให้แต่งแบบไหน  ยกเว้นสมัยสงครามโลกที่จอมพลป. สร้าง"วัธนธัม" ขึ้นมา   ห้ามนุ่งโจงกระเบน ผู้หญิงจึงต้องนุ่งกระโปรงหรือไม่ก็ผ้าถุง    แต่พอหมดยุคนี้ ก็ไม่มีใครบังคับอีก  คนก็กลับไปแต่งกันแบบเดิม

แม่ของคุณตา หรือคุณยายทวดของคุณ เกิดปีพ.ศ.2457 ในรัชกาลที่ 6  ช่วงนั้นการแต่งกายยังไม่ต่างจากสมัยปลายรัชกาลที่ 5   พอคุณยายทวดโกนจุก ก็ปล่อยผมเป็นทรงสั้นเรียกว่าทรงดอกกระทุ่ม ตามความนิยมซึ่งไม่ต่างจากสมัยแม่ของท่าน  นุ่งโจงกระเบนซึ่งก็แต่งกันมาตั้งแต่สมัยแม่ของท่านอีกเหมือนกัน

คุณทวดอีกท่านหนึ่งนุ่งซิ่น เพราะชินตามวัฒนธรรมลาวโซ่งที่นุ่งซิ่นกันมาแต่เดิม    เดี๋ยวนี้ในหมู่บ้าน เวลามีงานประเพณีต่างๆผู้หญิงก็ยังนุ่งซิ่นแบบดั้งเดิมมาร่วมงานอยู่

การนุ่งผ้าแบบผ้าซิ่น มีมาตั้งแต่อยุธยา  นุ่งเหมือนนางละครคือนุ่งจีบมีชายพกอยู่ข้างหน้า   แต่พอกรุงแตก ผู้หญิงตัดผมที่ยาวประบ่าให้สั้นเหมือนผู้ชาย   เปลี่ยนมานุ่งโจงกระเบนเพื่อความรัดกุม   แล้วก็นุ่งมาจากรัชกาลที่ 6  จนถึงตอนปลายจึงเปลี่ยนเป็นซิ่นตามพระราชนิยม  
ส่วนลาวส่วนใหญ่นุ่งแบบป้าย  เหน็บเอวไว้ ไม่มีชายพก  ค่ะ
บันทึกการเข้า
Kiangsak loekaudom
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 16 ก.ค. 19, 11:23

ขอบคุณมากๆครับ อย่างงี้คนที่เป็นชาวไทยอิสาน เหนือ หรือเชื้อสายลาว ในสมัยก่อนก็จะนุ่งซิ่นไมานุ่งโจงกระเบนมาแต่เดิมอยู่แล้วใช่ไหมครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 16 ก.ค. 19, 14:16

เขามีเครื่องแต่งกายท้องถิ่นของเขาอยู่แล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
Kiangsak loekaudom
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 16 ก.ค. 19, 21:47

แล้วมีหรือเปล่าครับ คนในชนบทแต่งตัวสวยงามเหมือนคนในเมืองอ่ะครับ แล้วชึดที่คนในชนบทใส่จะเป็นลักษณะอย่างไงครับ เช่นมีเสื้อลูกไม้ใส่หรือไม่ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 17 ก.ค. 19, 09:23

คำถามของคุณเกรียงศักดิ์ เหมือนเข้าใจว่าทุกจังหวัดทั้งเหนือใต้ออกตก ใหญ่และเล็ก ใกล้และไกล เหมือนกันหมด
ความจริงแล้วไม่ใช่   
 ถ้าจะแยกแยะออกไปก็จะต้องถามว่า แล้วแต่จังหวัดนั้นใกล้หรือไกลเมืองหลวง เป็นจังหวัดใหญ่ที่เจริญมาก หรือจังหวัดเล็กที่เจริญน้อย

สามัญชนในชนบทรุ่นทวดของคุณ อยู่ในยุคที่พึ่งพาแรงงานในท้องถิ่นมากกว่าจะรับแบบแผนชีวิตจากเมืองหลวง    เสื้อผ้าสวยๆอย่างผ้าลูกไม้ที่ชาววังและเศรษฐีนีเมืองหลวงสวมกัน  เอามาใช้สวมทำนาทำสวนไม่ได้   ก็ไม่มีกัน    อีกอย่างในยุคนั้นชาวบ้านมักจะทอผ้ากันเอง  เสื้อผ้ามีเท่าที่จำเป็น แค่ตัวสองตัว  ไม่มีเป็นตู้ๆอย่างสมัยนี้
แต่ถ้าเป็นระดับขุนนางที่ถูกส่งไปปกครองเมือง  คุณนายอาจมีเสื้อผ้าสวยอย่างชาวกรุงไว้สวมไปวัดหรืองานออกหน้าออกตาต่างๆก็เป็นได้

ถ้าเป็นเมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่  ที่มีวัฒนธรรมของตนเองมายาวนาน   เจ้านายสตรีของเชียงใหม่มาอยู่ในวังหลวงกันหลายท่าน   เสื้อผ้าของท่านและลูกหลานของท่านย่อมสวยงามหรูหราไม่น้อยไปกว่าเจ้านายและชาววังในกรุงเทพค่ะ


บันทึกการเข้า
Kiangsak loekaudom
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 17 ก.ค. 19, 16:04

อ่อครับ ถ้ายังงี้คนในชนบทต่อให้มีตังค์แค่ไหน ก็จะไม่ทีเสื้อผ้าสวยๆใส่หรือครับ แล้วอย่างคนในตัวเมืองจัวหวัดนั้นๆล่ะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 17 ก.ค. 19, 16:38

เศรษฐีแถวหน้าของจังหวัดน่าจะหาซื้อผ้าผ่อนแพรพรรณจากกรุงเทพได้ค่ะ   แต่ไม่ได้มีมาก   มีเท่าที่จำเป็น  คนสมัยต้นรัชกาลที่ ๖ ไม่ได้ฟุ่มเฟือยเหมือนสมัยนี้
แต่ถ้าเป็นคนอยู่นอกตัวจังหวัด  ก็ไม่มี
คำว่า "เครื่องนุ่งห่ม" หมายความว่าเสื้อผ้า   บอกให้รู้ถึงการแต่งกายคนสมัยก่อน คือ "ห่ม" ท่อนบน  และ "นุ่ง"ท่อนล่าง  ง่ายๆแค่นั้น   
บันทึกการเข้า
Kiangsak loekaudom
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 17 ก.ค. 19, 17:01

ตอนนี้ผมเจอรูปตาทวดกับยายทวดครับ แต่ว่าไม่รู้ว่าจะแทรกภาพยังไงอ่ะครับ มีคนบอกผมว่าเป็นยุคจอมพล ป.พิบูลสงครามอ่ะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 17 ก.ค. 19, 17:09

คลิกที่ "ตัวเลือกเพิ่มเติม"
คลิกที่ choose file  เพื่อใส่ภาพจากเครื่องเข้าไปค่ะ
ดูด้วยว่าขนาดไม่เกิน 250 kb  และตระกูลไฟล์ตามที่ระบบบอกไว้เท่านั้นค่ะ
บันทึกการเข้า
Kiangsak loekaudom
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 ก.ค. 19, 17:23

ภาพนี้เป็นภาพของพ่อแม่ของตาผมครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ก.ค. 19, 15:08 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 ก.ค. 19, 18:41

คุณยายทวดเกิดพ.ศ. 2457  ภาพนี้ท่านยังสาวอยู่ เช่นเดียวกับคุณตาทวดก็ยังหนุ่มมาก   กะว่าอายุประมาณ 20 กว่าๆ  ถ้าใช่ก็ตกราวๆพ.ศ. 2480 กว่าๆ  ตรงกับยุคของจอมพลป. พิบูลสงคราม   
เจาะจงลงไปก็คือยุค "วัธนธัม" รัฐบาลกำหนดให้คนไทยแต่งกายแบบตะวันตก  เพื่อนำประเทศไปสู่ความเจริญแบบเมืองฝรั่ง
คุณตาทวดสวมเสื้อนอกสีขาวทับเสื้อเชิ้ตและผูกเนคไท   ส่วนคุณยายทวดสวมเสื้อแขนสั้นคอปก  เป็นแฟชั่นแบบฝรั่งด้วยกันทั้งคู่    คุณยายยังตัดผมทรงสั้นแบบโบราณยุคคุณแม่ของท่าน  แต่ในรูปนี้ดูลักษณะริมฝีปาก  แสดงว่าไม่ได้กินหมาก หรือเคยกินแต่เลิกแล้ว    ปากจึงไม่หนาเพราะคราบหมากอย่างผู้หญิงที่กินหมากเป็นประจำ 
ก็ตรงกับยุคจอมพลป. ที่ห้ามคนไทยกินหมาก

เสื้อผ้าของคุณตาทวดคงไม่ใช่ชุดที่ท่านสวมไปไหนมาไหนทุกวัน  แม้แต่เป็นข้าราชการสำคัญก็ไม่สวมชุดสากลสีขาวเป็นชุดประจำวัน จะสวมก็ในวาระออกงานสำคัญๆเท่านั้น  ถ้าคุณตาทวดเป็นข้าราชการ ชุดนี้ก็เป็นชุดใหญ่สำหรับออกงานของท่าน
แต่ถ้าคุณตาทวดเป็นสามัญชนธรรมดา ไม่ได้มีตำแหน่งอะไร  เป็นได้ว่าชุดนี้ทางร้านจัดไว้ให้ลูกค้าสวม เวลามาถ่ายรูป   เหมือนอย่างปัจจุบันนี้ร้านถ่ายรูปก็ทำกัน 

ดิฉันเดาว่าภาพนี้ถ่ายเป็นที่ระลึกหลังท่านทั้งสองวิวาห์กันใหม่ๆ    เพราะในยุคนั้นการถ่ายรูปเป็นเรื่องใหญ่  จะถ่ายกันทีก็ต้องโอกาสพิเศษ  เก็บกันเอาไว้ให้ดูชั่วลูกชั่วหลาน

บันทึกการเข้า
Kiangsak loekaudom
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 17 ก.ค. 19, 20:25

ขอบคุณมากๆครับ การแต่งกายของยายทวดถือว่าทันสมัยแบบสาวชนบทหรือเปล่า ผมลองสังเกตดูที่คอยายทวดมีสร้อยเส้นเล็กๆด้วยครับไม่ว่าเป็นสร้อยอะไรครับ ภาพต่อไปเป็นภาพของลูกพี่ลูกน้องกับแม่ของตาผมและก็เป็นป้าแท้ๆของแม่ของยายผมครับ ท่านเกิดปีพ.ศ.2437 ครับ เสื้อของท่าเป็นแฟชั่นตะวันตกหรือเปล่าครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Kiangsak loekaudom
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 17 ก.ค. 19, 20:26

แล้วแบบนี้ล่ะครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 18 ก.ค. 19, 06:56

ขอบคุณมากๆครับ การแต่งกายของยายทวดถือว่าทันสมัยแบบสาวชนบทหรือเปล่า ผมลองสังเกตดูที่คอยายทวดมีสร้อยเส้นเล็กๆด้วยครับไม่ว่าเป็นสร้อยอะไรครับ ภาพต่อไปเป็นภาพของลูกพี่ลูกน้องกับแม่ของตาผมและก็เป็นป้าแท้ๆของแม่ของยายผมครับ ท่านเกิดปีพ.ศ.2437 ครับ เสื้อของท่าเป็นแฟชั่นตะวันตกหรือเปล่าครับ

ในเมื่อการถ่ายรูปเป็นเรื่องใหญ่ ถือเป็นโอกาสพิเศษ   ก็ต้องแต่งตัวกันให้สวยงาม    ผู้หญิงมักจะแต่งเครื่องประดับด้วย  คุณยายทวดสวมสร้อยคอก็คงเป็นสร้อยเส้นเก่งของท่าน ห้อยจี้หรือไม่ก็ห้อยพระเครื่อง

ส่วนลูกพี่ลูกน้องคุณยายทวด  ถ่ายในวัยชรา  น่าจะอายุ 60 +  หรือ 70 แล้ว    เท่ากับประมาณพ.ศ. 2500 เศษๆ
เสื้อมีแขนแบบนี้รับอิทธิพลตะวันตกมาตั้งแต่ทศวรรษ 2490 แล้วค่ะ 
ดูตัวอย่างภาพข้างล่าง เป็นแฟชั่นยุค 1940s ค่ะ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 20 คำสั่ง