เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 6839 เมื่อนางนพมาศ เกิดในสมัยอยุธยา
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 12 ก.ค. 19, 17:14

 ยิ้ม

Note​ :  พ.ศ.​ 2192   ตรงกับ​ จ.ศ.​ 1010  ครับ
เชิงอรรถคลาดเคลื่อนเล็กน้อย​ กรมศิลป์ผิดพลาดได้ครับ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 12 ก.ค. 19, 17:53


ศักราช ๙๙๘ ปีชวด  ในตารางเทียบวันเถลิงศกในปีใกล้เคียงกันนั้นสลับไปมาระหว่าง 30-31 March
ตามปีปฏิทินจูเลียน เลือกวันต่างกันทำให้วันเลื่อนได้ 1 วัน อีกอย่างคือการวางอธิกมารทำให้วันเลื่อนได้อีก 1 วัน
ทุกปีโหรท่านต้องปรับปฏิทินให้ตรงกัน

ท่านว่าให้คำนวณวันทางจันทรคติก่อนแล้วเทียบกับวันสุริยคติ และดูตำแหน่งดาวตามจริงแล้วปรับให้ตรงกัน

ถ้าเปิดปฏิทินสำเร็จรูป ได้ ศักราช ๙๙๘ ปีชวด วันขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนสามเป็นวันอาทิตย์
ผมคำนวณ (นับวัน) ว่า ศักราช ๙๙๘ ปีชวด วันขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนสามเป็นวันจันทร์ ต่างกัน 1 วัน
Monday 30 January 1637 (Julian calendar) เป็นวันพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นวันที่ถูกควรเป็นวันจันทร์ไม่ใช่วันอาทิตย์ครับ  
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 12 ก.ค. 19, 18:23


โจทย์เลขเป็นอย่างนี้ครับ
1. วันเกิดนางนพมาศ เป็นวันจันทร์ ขึ้นสิบห้าค่ำเดือนสาม ปีชวด และพระจันทร์เต็มดวง
2. พระราชา ขึ้นครองราชย์โดยปราบดาภิเษก เป็นผู้ลบศักราช และ ป่วยในปีที่สิบแปดนับจากปีตัดศักราช
3. นางนพมาศเกิดก่อนการลบศักราช
4. นางนพมาศเข้าวัง หลังลบศักราช ปีมะโรง วันศุกร์ ขึ้นสิบค่ำ เดือนสิบสอง มีอายุนับปีได้สิบเจ็ดปี

สัปตศกกับฉอศก อาจละไว้ก่อนเพราะจะมีผลจากการลบศักราช ตัดปี หรือเลิกใช้ศักราช

ข้อ 1. และ 4. บอกว่าปีชวดและปีมะโรง ต้องนับต่อกัน หนึ่งรอบกับห้าปี จึงจะได้สิบเจ็ดปี
ข้อ 2-3. พระราชาต้องครองราชย์ติดต่อกันมากกว่าสิบแปดปี
ข้อ 1. กำหนดว่าต้องมีปีชวด ก่อนปีขึ้นครองราชย์

ข้อกำหนด 1.-4. ทำให้เหลือพระราชาไม่กี่องค์ในสมัยสุโขทัยและอยุธยาที่จะต้องพิจารณา

พ่อขุนรามคำแหง มิได้ขึ้นครองราชย์โดยปราบดาภิเศก แต่อาจทรงตัดศักราช ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจ
พระยาลิไทย ทรงปราบดาภิเศก ครองราชย์ตามเกณฑ์  และอาจทรงตัดหรือลบศักราช
พระราเมศวร ไม่ได้ตัดศักราช
พระไชยราชา พระเจ้าทรงธรรม ไม่ตามเกณฑ์
พระเจ้าปราสาททอง เป็นไปตามเกณฑ์
พระนารายณ์ ไม่ได้ตัดศักราช
พระเพทราชา พระเจ้าเสือ ไม่ตามเกณฑ์
พระเจ้าบรมโกศ ไม่ได้ตัดศักราช

ไปๆมาๆ เหลือพิจารณาอยู่สองแผ่นดิน พระยาลิไทย และพระเจ้าปราสาททอง
ยังไม่นับว่าภูมิสถานเมืองพระมหานครที่บรรยายในตำนานตรงกับกรุงศรีอยุธยา มากกว่ากรุงสุโขทัย

ถ้าผู้แต่งเติม คัดลอกตำราใหม่เชื่อว่าเป็นพระยาลิไทย
ท่านก็เติม "สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน" เป็น "สมเด็จพระร่วงเจ้า"
เติม "กรุงพระมหานครราชธานี" เป็น "กรุงพระมหานครศุโขทัยราชธานี" ได้อย่างสะดวกใจครับ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 12 ก.ค. 19, 18:41


ที่มา https://vajirayana.org/

     เตภูมิกถา รตนตยปณามคาถา

     ชิโนรุณา วิภาเวนฺโต       เหมปาสาทปญญวา
     สทฺธาจลผลา พุทฺธํ        พาหุสจฺจธนาลโย
     กูปภูปนฺธยนฺโต โย        ราชา สุนุรนฺธชโก
     สุโขเทยฺยนรินฺทสฺส        ลิเทยฺโย นาม อตฺรโช
     อภิราโม มหาปญโญ       ธิติมา จ วิสารโท
     ทานสิลคุณุเปโต          มาตาปิตุภโรปิ จ
     ธมฺมธโร สกุสโล           สพฺพสตฺเถ จ สุปากโฏ
     อยํ ภูมิกถา นาม           รญญา เภเทน จ
     สชนาลยฺยธรมฺหิ           ถปิตา ทยภาสฺโต
     พุชฺฌิตุสาสนญเจว        สกฺกจฺจํ สพฺพโส สทา ๚๛

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 13 ก.ค. 19, 06:52

คาถานมัสการพระรัตนตรัย

พระราชาทรงพระนามว่า “พญาลิไทย” เป็นพระราชากล้าหาญ มีพระปรีชาแตกฉาน เป็นพระโอรสพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย (พญาเลอไทย) มีปัญญาผ่องใสไม่ติดขัด มีเรือนทรัพย์คือพาหุสัจจะ (ความเป็นพหูสูต) ทรงประกาศพระพุทธศาสนาด้วยศรัทธาไม่หวั่นไหว อันปราศจากความมืดมน เป็นพระราชาผู้เป็นนักปราชญ์ มีความรื่นรมย์ มีพระสติปัญญามั่นคง และองอาจยิ่ง เป็นพระราชาผู้ทรงธรรม (ทศพิธราชธรรม) บำเพ็ญทานและศีลเป็นคุณูปการ อุปถัมภ์เลี้ยงดูบุพการีคือมารดาและบิดา มีพระปรีชาสามารถปรากฏในสรรพศาสตร์ทั้งปวง พระองค์ผู้ทรงแตกฉาน มีพระประสงค์จะยกย่องเชิดชู พระ (พุทธ) ศาสนา ด้วยความเคารพตลอดกาลทุกเมื่อ จึงทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ (ไตร) ภูมิกถานี้ขึ้นไว้เป็นภาษาไทย ณ เมืองศรีสัชนาลัย

นายบุญเลิศ เลนานนท์ นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้แปล

https://vajirayana.org/ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ/คำแปล
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 14 ก.ค. 19, 20:02


     อญ ศฺรีศรฺูยฺยพงฺศรามมหาธรฺมฺมราชาธิราช กฺสมาทาน ศีล
     ชา ตาบสเพส ไอเพฺนก พฺระสพรุณปรตฺิมา ดิปรดฺิสฺถา เล
     ราชมนฺทิร นา สฺดจ นมสฺการ บชาู สบ ไถฺง เลฺหย เทบ อญฺเชญ
     มหาสามิสงฺฆราชเถรานเถรุ  ภิกฺษุสงฺฆ โผง เถฺลง
     เล เหมปราสาทราชมน ฺทิร เทบ บฺวส ชา สามเนร ๐
     กาลนา นุบฺวส สฺวํศิล โนะ พฺระบาทกมฺรเดงอญ
     ศฺรีศรฺูยฺยพงฺศรามมหาธรฺมฺมราชาธิราช
สฺดจ ฌร เถฺลง
     เลก อญฺชลุ ีนมสฺการ พฺระสพรุ ฺณปรตฺ ิมา นุพฺระปิฏกตฺรย
     ดิปรดบ ฺ ทกุ เล พฺระราชมนฺทิรนุมากสามิสิงฺฆราช
     อธิสฺถาน โระห เนะ นุผลบนุ ฺย ดิอญ บฺวส ด สาสน
     พฺระพทุ ฺธ กมฺรเดงอญ รุว เนะอญ พฺวํตฺฤษฺณาจกฺรพรฺตฺติสํบตฺติ
     อินฺทรสํบตฺติพฺรหฺมสํบตฺติอญ ตฺฤษฺณา สฺวํเลงอญ อํบาน ชา
     พฺระพทุ ฺธ บินํา สตฺว โผง โฉฺลง ไตฺรภพ เนะคะุ อธิษฺถาน
     โระโนะ เลฺหย เทบ โยก ไตฺรสรณาคม ๐ กฺสณ โนะ ไผฺท
     กโรม เนะ กเกฺรก สบ ทิษ อธิษฺถาน บฺวส เลฺหย เทบ
     ทฺรง พฺระจรด จะุ อํวิ สุพร ฺณปราสาท ฺ บาทจาร เทา ลฺวะ ด
     พฺระไพฺรสฺวาย นา เสฺดจ ปรดฺิษฺถา พฺระบาท จะุ ด ธรณิดล
     ปรฺถวิเนะ ปรกม ฺ ฺบิต วงั สบ ทิส โสด ด รฺณฺเณาจโนะ

จารึกวัดป่ามะม่วง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 14 ก.ค. 19, 21:17

คำแปล

(พระบาทกัมรเดง)อัญ ศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราชก็สมาทานศีลเป็นดาบสเพศ เฉพาะพระเนตรพระพุทธรูปทอง ที่ประดิษฐานอยู่บนพระราชมนเทียร และเสด็จไปนมัสการบูชาทุกวัน แล้วจึงอาราธนาพระมหาสามีสังฆราช พระเถรานุเถรภิกษุสงฆ์ทั้งหลายขึ้นบนปราสาทราชมณเทียรทอง จึงบวชเป็นสามเณร เมื่อเวลาจะออกบวชขอศีลนั้น พระบาทกัมรเดงอัญ ศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราชเสด็จยืนขึ้นยกอัญชลีนมัสการพระพุทธรูปทองและพระไตรปิฏกที่เก็บไว้บนพระราชมณเทียรกับพระมหาสามีสังฆราชทรงอธิษฐานอย่างนี้ว่า ผลบุญที่อาตมาบวชในศาสนาของพระพุทธ พระผู้เป็นเจ้าครั้งนี้ อาตมาไม่อยากได้จักรพรรดิสมบัติ อินทรสมบัติ พรหมสมบัติ อาตมาอยากขอมอบ อาตมาปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อนำสัตว์ทั้งปวงข้ามไตรภพนี้ ครั้นอธิษฐานอย่างนี้แล้ว จึงรับเอาไตรสรณาคมน์ขณะนั้น พื้นดินตอนล่างนี้ ก็หวั่นไหวทุกทิศ อธิษฐานบวชแล้ว จึงทรงเสด็จลงจากปราสาททอง บทจรไปถึงป่ามะม่วง เวลาที่เสด็จวางพระบาทลงบนพื้นธรณีแผ่นดินนี้ ก็หวั่นไหวไปทุกทิศ ส่วนในห้วงน้ำนั้น....

https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/sth3-wat-pa-mamuang-khmer-b-tr.pdf
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 14 ก.ค. 19, 22:50

 ยิงฟันยิ้ม เรื่องนี้น่าสนใจดีครับ


https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/130

ศิลาจารึกหลักนี้ มีขนาดและลักษณะคล้ายคลึงกันกับศิลาที่จารึกด้วยอักษรเขมร แต่สั้นกว่า สูง ๑ เมตร ๑๕ ซม. กว้าง ๒๘ ซม. หนา ๒๙ ซม. ส่วนอักษรที่จารึกตัวอักษรไทยโบราณ ซึ่งใช้เมื่อครั้งเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี และความที่จารึกเป็นภาษาไทย เป็นเรื่องเดียวกันกับที่จารึกเป็นภาษาเขมร เชื่อได้ว่าหลักภาษาไทยนี้ จารึกพร้อมกับหลักศิลาที่จารึกเป็นภาษาเขมร หลักศิลานี้พระยาโบราณธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ได้ไปพบอยู่ที่วัดใหม่ (ปราสาททอง) อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สืบถามว่าใครได้มา แต่เมื่อใด ก็ไม่ได้ความ พระยาโบราณฯ จึงให้ย้ายมารักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานอยุธยา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จขึ้นไปทอดพระเนตร ทรงพยายามอ่านหนังสือซึ่งยังหลงเหลืออยู่ ได้ความว่าเป็นศิลาจารึกของพระธรรมราชฦาไทย คู่กับหลักภาษาเขมร ซึ่งอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม คือ จารึกความอย่างเดียวกัน เป็นภาษาเขมรหลัก ๑ เป็นภาษาไทยหลัก ๑ เดิมคงตั้งไว้เป็นคู่กัน จึงตรัสสั่งให้ส่งศิลาจารึกนั้นลงมาไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ด้วยกันกับหลักภาษาเขมร ซึ่งพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้มาจากเมืองสุโขทัย ศิลาจารึกหลักนี้อยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามจนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ จึงย้ายมาไว้ที่หอพระสมุดฯ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 14 ก.ค. 19, 23:56


ธรรมิกราช​    ปราสาททอง
มหาธรรมราชา​  ศรีธรรมาธิราช
ศรีสุริยพงษ์ราม​  ศรีสุริยวงศ์
ราชวงศ์สุโขทัย
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 18 ก.ค. 19, 11:48


"พระจันทร์ก็ทรงกลดแสงประภัศร รัศมีขาวเจือสีเหลืองอ่อน (4) เสวยฤกษบุษยะ (2) วันเพ็ญเดือนสาม (3) ปีชวด (5) สัปตศก (1) จันทะวาระดฤถี ซึ่งมีในกำหนดศักราชไว้ในที่นี้ ด้วยปีนั้นยังใช้โบราณศักราช"

หลักฐานยืนยันว่า (1) จันทะวาระดฤถี (2)  วันเพ็ญเดือนสาม (3) ปีชวด (4) เสวยฤกษบุษยะ
คือ
Monday 30 January 1637 (Julian) หรือ Monday 9 February 1637 (Gregorian)

เหลือปัญหา
ก.  สัปตศก ตามโบราณศักราช คืออะไร ยังไม่แน่ชัด
     ปีดังกล่าวเป็นปีที่ 7 ของรัชกาล และเข้าสู่ ค.ศ. 1637
     จะเป็นศักราชจุฬามณีก็เหลื่อมไป 1 ปี

ข.   เมื่อนางนพมาศอายุน้อยกว่าพระนารายณ์ 4-5 ปี
      อาจมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นบุคคลเดียวกันกับท้าวศรีจุฬาลักษณ์น้องสาวของพระเพทราชา  
      หรือสนับสนุนว่าพระเพทราชาเกิดอยู่ในตระกูลพราหมณ์

สองเรื่องนี้ฝากให้ท่านพิจารณากันต่อไปครับ




ว่าด้วยโบราณศักราช

ตามตำนานสิงหวนวัติ เจ้าชายแห่งแคว้นมคธ กำเนิดเมื่อ อัญชนะศักราช ๑ เกิดก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ๑๔๘ ปี
เรียก "อัญชนะศักราช" ว่า "โบราณศักราช"

ถ้าให้นางนพมาศเกิด พ.ศ. ๒๑๘๐ คิดเป็น อัญชนะศักราช ๒๓๒ หรือเป็น สัปตศก ตามโบราณศักราช 

ตามตำนานนางนพมาศ พระราชา ตัดศักราช ยกเลิกโบราณศักราช
ตรงกับพระเจ้าปราสาททองใช้ พ.ศ. ในจารึกแผ่นทองแดง

ดังนั้น วันนางนพมาศเข้าวัง ปีมะโรง ฉอศก ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๙
สอดคล้องกับตำนาน ธรรมิกราช ที่ยกเลิกจุลศักราช หันมาใช้พุทธศักราช
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 18 ก.ค. 19, 13:15


โจทย์เลขเป็นอย่างนี้ครับ
1. วันเกิดนางนพมาศ เป็นวันจันทร์ ขึ้นสิบห้าค่ำเดือนสาม ปีชวด และพระจันทร์เต็มดวง
2. พระราชา ขึ้นครองราชย์โดยปราบดาภิเษก เป็นผู้ลบศักราช และ ป่วยในปีที่สิบแปดนับจากปีตัดศักราช
3. นางนพมาศเกิดก่อนการลบศักราช
4. นางนพมาศเข้าวัง หลังลบศักราช ปีมะโรง วันศุกร์ ขึ้นสิบค่ำ เดือนสิบสอง มีอายุนับปีได้สิบเจ็ดปี

สัปตศกกับฉอศก อาจละไว้ก่อนเพราะจะมีผลจากการลบศักราช ตัดปี หรือเลิกใช้ศักราช

ข้อ 1. และ 4. บอกว่าปีชวดและปีมะโรง ต้องนับต่อกัน หนึ่งรอบกับห้าปี จึงจะได้สิบเจ็ดปี
ข้อ 2-3. พระราชาต้องครองราชย์ติดต่อกันมากกว่าสิบแปดปี
ข้อ 1. กำหนดว่าต้องมีปีชวด ก่อนปีขึ้นครองราชย์

ข้อกำหนด 1.-4. ทำให้เหลือพระราชาไม่กี่องค์ในสมัยสุโขทัยและอยุธยาที่จะต้องพิจารณา



แก้ไขครับ พิมพ์อธิบายโจทย์ไม่ถูกต้อง

โจทย์เลขเป็นอย่างนี้ครับ
1. วันเกิดนางนพมาศ เป็นวันจันทร์ ขึ้นสิบห้าค่ำเดือนสาม ปีชวด และพระจันทร์เต็มดวง
2. พระราชา ขึ้นครองราชย์โดยปราบดาภิเษก เป็นผู้ลบศักราช และ ป่วยในปีที่สิบแปดนับจากปีตัดศักราช
3. นางนพมาศเกิดก่อนการลบศักราช
4. นางนพมาศเข้าวัง หลังลบศักราช ปีมะโรง วันศุกร์ ขึ้นสิบค่ำ เดือนสิบสอง มีอายุนับปีได้สิบเจ็ดปี

ข้อ 1. และ 4. บอกว่าปีชวดและปีมะโรง ต้องนับต่อกัน หนึ่งรอบกับห้าปี จึงจะได้สิบเจ็ดปี
ข้อ 2-3. พระราชาต้องครองราชย์ติดต่อกันมากกว่าสิบแปดปี
ข้อ 1. กำหนดว่าต้องมีปีชวด หลังปีขึ้นครองราชย์ ก่อนปีตัดศักราช
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 25 ก.ค. 19, 11:38


นางนพมาศไม่เคยอ้างตัวว่าเป็นผู้ประดิษฐ์กระทงเป็นคนแรกในพิธีลอยกระทง

ตามที่บันทึกไว้ในตำนานนางนพมาศ
พระราชพิธีจองเปรียง วันเพ็ญเดือนสิบสอง ลอยกระทงมีมาก่อนแล้ว
นางนพมาศเป็นผู้ประดิษฐ์กระทงรูปดอกบัวที่ตกแต่งอย่างสวยงามและได้รับความนิยมต่อมา ไม่ใช่ผู้ประดิษฐ์กระทงเป็นคนแรก


"อยู่ได้ห้าวัน ภอถึงการพระราชพิธีจองเปรียงในวันเพ็ญเดือนสิบสอง เปนนักขัตฤกษ์ชักโคมลอยโคม บรรดาชนประชาชายหญิงต่างตกแต่งโคมชักโคมแขวนโคมลอยทุกตระกูลทั่วทั้งพระนคร แล้วก็ชวนกันเล่นมโหระสพสิ้นสามราตรีเปนเยี่ยงอย่าง แต่บรรดาข้าเฝ้าฝ่ายราชบุรุษนั้นต่างทำโคมประเทียบบริวารวิจิตรด้วยลวดลายวาดเขียนเปนรูปแลสันถานต่าง ๆ ประกวดกัน มาชักมาแขวนเปนระเบียบเรียบรายตามแนวโคมไชยเสา​ระหงตรงหน้าพระที่นั่งชลพิมาน ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงพระราชอุทิศสักการบูชาพระมหาเกษธาตุจุฬามณีในชั้นดาวดึงษ์ ฝ่ายพระสนมกำนัลก็ทำโคมลอยร้อยด้วยบุบผาชาติเปนรูปต่าง ๆ ประกวดกัน ถวายให้ทรงอุทิศบูชาพระบวรพุทธบาทซึ่งประดิษฐานยังนัมมทานที แลข้าน้อยก็กระทำโคมลอยคิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมพระสนมกำนัลทั้งปวง จึงเลือกผะกาเกสรศรีต่าง ๆ ประดับเปนรูปดอกกระมุทบานกลีบรับแสงพระจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนศรีสลับให้เปนลวดลาย แล้วก็เอาผลพฤกษาลดาชาติมาแกะจำหลักเปนรูปมยุระคะณานกวิหคหงษ์ ให้จับจิกเกสรบุบผชาติอยู่ตามกลีบดอกกระมุทเปนระเบียบเรียบเรียง วิจิตรไปด้วยศรีย้อมสดส่างควรจะทอดทัศนายิ่งนัก ทั้งเสียบแซมเทียนธูปแลประทีปนำมั้นเปรียงเจือด้วยไขข้อพระโค ครั้นเพลาพลบค่ำสมเด็จพระร่วงเจ้าเสด็จลงพระที่นั่งชลพิมาน พร้อมด้วยพระอัคชายา พระบรมวงษาแลพระสนมกำนัลนางท้าวชาวชะแม่ทั้งปวง พราหมณ์ก็ถวายเสียงสังข์อันเปนมงคล ชาวพนักงานก็ชักสายโคมไชยโคมประเทียบบริวารขึ้นพร้อมกัน เพื่อจะให้ทรงพระราชอุทิศสักการบูชาพระจุฬามณี ฝ่ายนางท้าวชาวชะแม่ก็ลอยโคมพระราชเทพีพระวงษานุวงษ์ โคมพระสนมกำนัลเปนลำดับกันลงมา ถวายให้ทอดพระเนตรแลทรงพระราชอุทิศ ครั้นถึงโคมรูปดอกกระมุทของข้าน้อย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตรพลาง​ทางตรัสชมว่าโคมลอยอย่างนี้งามประหลาดยังหาเคยมีไม่ เปนโคมของผู้ใดคิดกระทำ ท้าวศรีราชศักดิโสภาก็กราบบังคมทูลว่าโคมของนพมาศธิดาพระศรีมโหสถ ครั้นได้ทรงทราบก็ดำรัสถามข้าน้อยว่าทำโคมลอยให้แปลกประหลาดจากเยี่ยงอย่างด้วยเห็นเหตุเปนดังฤๅ ข้าน้อยก็บังคมทูลว่าข้าพระองค์สำคัญใจคิดเห็นว่าเปนนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือนสิบสองพระจันทร์แจ่มแสงปราศจากเมฆมลทิน อันว่าดวงดอกชาติโกสุมภ์ประทุมมาลย์มีแต่จะแบ่งบานกลีบรับแสงพระอาทิตย์ ถ้าชาติอุบลเหล่าใดบานผกาเกสรรับแสงพระจันทร์แล้ว ก็ได้ชื่อว่าดอกกระมุท ข้าพระองค์จึ่งทำโคมลอยเปนรูปดอกกระมุท ซึ่งบังเกิดมีอยู่ยังนัมมะทานที อันเปนที่พระบวรพุทธบาทประดิษฐาน กับแกะรูปมยุราคณานกวิหคหงษ์ประดับ แลมีประทีปเปรียงเจือด้วยไขข้อพระโค ถวายในการทรงพระราชอุทิศครั้งนี้ ด้วยจะให้ถูกต้องสมกับนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือนสิบสอง พระราชพิธีจองเปรียง โดยพุทธสาสน์ไสยสาตร ครั้นสมเด็จพระร่วงเจ้าได้ทรงสดับ ก็ดำรัสว่าข้าน้อยนี้มีปัญญาฉลาดสมที่เกิดในตระกูลนักปราชญ์ กระทำถูกต้องควรจะถือเอาเปนเยี่ยงอย่างได้ จึ่งมีพระราชบริหารบำหญัดสาปสันว่า แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับกษัตรในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือนสิบสอง พระราชพิธีจองเปรียงแล้ว ก็ให้กระทำโคมลอยเปนรูปดอกกระมุท อุทิศสักการะบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที กราบเท่ากลปาวสาน อันว่าโคมลอยรูปดอกกระมุทก็ปรากฎมาจนเท่าทุกวันนี้ ​แต่คำโลกย์สมมุติเปลี่ยนชื่อเรียกว่าลอยกระทงทรงประทีป เหตุดังนี้ข้าน้อยผู้ชื่อว่านพมาศก็ถึงซึ่งมีชื่อเสียงปรากฎอยู่ในแผ่นดินได้อย่างหนึ่ง อันราชประเพณีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยทรงประพฤติมาแต่ก่อน ถ้าทอดพระเนตรชักโคมลอยโคมแล้ว ก็เสด็จทรงเรือพระที่นั่งไปถวายดอกไม้เพลิง บูชาพระรัตนไตรยทุกพระอารามหลวง บรรดาที่อยู่ริมฝั่งนทีจนรอบกรุง ทั้งทรงทอดบังสุกุลจีวร ทรงพระราชอุทิศถวายพระภิกษุสงฆ์อันพึงปราถนานั้นด้วย แล้วก็ทรงทอดพระเนตรทรงฟังประชาชนชายหญิงร้องรำเล่นนักขัตฤกษ์เปนการมโหรสพต่าง ๆ สำราญราชหฤไทยทั้งสามราตรี"
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 25 ก.ค. 19, 11:50


ท้องฟ้าคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง
ที่นางนพมาศทำกระทงเข้าประกวด



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 25 ก.ค. 19, 13:14

ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง  ยิงฟันยิ้ม

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5461
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 05 ก.ย. 19, 12:58

เรื่องชื่อเมืองกรุงพระมหานครศุโขไทยราชธานีบูรีรมย์สถาน

นักวิชาการไม่เคยตั้งข้อสงสัยว่า ชื่อเมืองสุโขทัยในตำนานเมืองนพมาศ
ที่เรียกว่า "กรุงพระมหานครศุโขไทยราชธานีบูรีรมย์สถาน"
ไม่เคยปรากฎมาก่อนในเอกสารใดๆ ทั้งๆที่ควรตั้งเป็นข้อสงสัยว่าชื่อดังกล่าวถูกเติมเข้ามาภายหลัง
หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเมืองของนางนพมาศไม่ใช่เมืองสุโขทัย
และ "กรุงพระมหานคร...ราชธานีบูรีรมย์สถาน" สอดคล้องกับชื่อของอยุธยา ตามเอกสารประวัติศาสตร์

จารึกชื่อเมืองชื่อเจ้าเมือง
หลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหง
พ.ศ. ๑๘๓๕
เมืองษุกโขไท
เมืองสุกโขไท
เมืองสุโขไท
เมืองศรีสชชนาไลสุโขไท
เมืองษรีสชชนาไลสุโขไท
เมืองไท
สรีนทราทีตย
บานเมือง
ขุนสามชน
พระรามคำแหง
พ่ขุนรามคำแหง
พ่ขุนพระรามคำแหง
ลูกพ่ขุนษีรีนทราทีตย
หลักที่ ๒ จารึกวัดศรีชุม
พ.ศ. ๑๘๘๔-๑๙๑๐
นครสุกโขไท นครสรีเสชนาไล
สรีเสชนาไลสุกโขไท
เมืองสุโขไท
พระญาสรีนาวนำถุม
พขุนนำถุม
พรญาผาเมือง
พขุนผาเมือง
พขุนบางกลางหาว
ขอมสบาดโขลญลำพง   
สรีอีนทรบดีนทราทิตย
พขุนสรีอีนทรบดีนทราทิตย
กมรแดงอัญผาเมือง
ผีฟาเจาเมืองสรโสธรปุร
พขุนรามราชปราญรูธรรม
ธรรมราชา
ขุนจงง
พรญาคำแหงพระราม
สำเดจธรรมราชา
ท้าวอีจาน
หลักที่ ๓ จารึกนครชุม
พ.ศ. ๑๙๐๐
เมืองศรีสชชนาไลยสุโขไทยพรญาฤาไทยราช
ลูกพรญาเลือไทย
หลานพรญารามราช
ศรีสูรยพงศมหาธมมราชาธิราช
พรญาธรมมิกราช
หลักที่ ๕ จารึกวัดป่ามะม่วง
พ.ศ. ๑๙๐๔
เมืองศรีสัชนาไลยสุโขไทย
เมืองศรีสชชนาไลยศุโขไทย
เมืองศุโขไทย
พรญารามราช
พรญาฤาไทย
ศรีสูรยพงศรามมหาธรมมราชาธิราช
พรญาศรีสูรยพงศรามมหาธรรมราชาธิราช
พรญาศรีสูรยพงศรามมหาธรมมราชาธิราช
พรญาศรีสูรพงศรามมหาธรมมราชาธิราช
หลักที่ ๗๖ จารึกวัดเชียงมั่น
พ.ศ. ๒๑๒๔
เมืองชยงไหม่พรญามังราย
พรญางำเมือง
พรญาร่วง
พรติลกราชเจ้า
สมเดจพรมหาธมมิกราชเจ้า
พรมหาธมมิกราชาธิราชเจ้า
พรญาแสนหลวง
พรวรโอรสาธิราชเจ้า
หลักที่ ๒๘๕ จารึกพ่อขุนรามพล
พ.ศ. ๑๘๙๐-๑๙๐๐
เมืองศรีสชชนาไลย
เมืองศรีสชชนาไลยสุโขไทย
พขุนรามพล
พขุนสรี
ขุนสรีมาริ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง