เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4248 ขออนุญาตสอบถามเรื่องการใช้คำว่า “ประ” ในภาษาไทยค่ะ
warisa
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


 เมื่อ 18 มิ.ย. 19, 20:17

...ขอกราบเรียนถามท่านอาจารย์ภาษาไทยทุกท่านที่อยู่ห้องนี้ค่ะ...

...เพื่อนฝากถามมา..ดิฉันก็ไม่รู้แต่เห็นว่าเป็นคำถามที่น่าสนใจ...

....ขออนุญาตยกข้อความของเพื่อน มา ณ ที่นี้นะคะ...


“พี่ทราบมั้ยว่าคำว่า “ประ” ที่ขึ้นต้นคำต่าง ๆ เช่น ประมาณ ประสงค์ ประเทศ ฯลฯ อีกมาก
มาย มีความหมายว่าอะไรคะ?

พยายามค้นในเน็ต แต่ไม่มีคำอธิบายเลย เจอแต่คำอธิบายว่าใช้นำหน้ากริยา เพื่อแสดงความหนักแน่น เช่น ประชิด ประท้วง แล้วก็เป็นคำที่แผลงมาจาก ผ, บรร แค่นั้นเอง แต่ไม่ได้บอกว่า “ประ” หมาย
ความว่าอะไรน่ะค่ะ ทำไมมีใช้อยู่หน้าคำต่างๆ มากมายขนาดนี้“

กราบขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านค่ะ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 มิ.ย. 19, 20:50


ประ​ ในภาษาสันสกฤต​เป็นคำอุปสรรค
เปลี่ยนความหมายของคำที่ตามมา
อาจหมายถึง​ ไปข้างหน้า​ ใหญ่ขึ้น​ มาก่อน​ เป็นต้น

(ไม่ใช่ความเห็นของครูภาษาไทยครับ)​
บันทึกการเข้า
warisa
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 มิ.ย. 19, 21:16


ประ​ ในภาษาสันสกฤต​เป็นคำอุปสรรค
เปลี่ยนความหมายของคำที่ตามมา
อาจหมายถึง​ ไปข้างหน้า​ ใหญ่ขึ้น​ มาก่อน​ เป็นต้น

(ไม่ใช่ความเห็นของครูภาษาไทยครับ)​


ขอขอบพระคุณมากค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 19 มิ.ย. 19, 06:48

ท่านรอยอินวิสัชนาคำว่า ประ- ไว้ ๒ สถาน คือ

(๑) [ปฺระ-] ใช้เติมหน้าคำอื่นเพื่อให้คำหนักแน่นขึ้น เช่น ชิด เป็น ประชิด, ท้วง เป็น ประท้วง

(๒) คำที่แผลงมาจาก ผ เช่น ผทม เป็น ประทม แล้วแผลง ประ เป็น บรร เช่น ประทม เป็น บรรทม

.“พี่ทราบมั้ยว่าคำว่า “ประ” ที่ขึ้นต้นคำต่าง ๆ เช่น ประมาณ ประสงค์ ประเทศ ฯลฯ อีกมากมาย มีความหมายว่าอะไรคะ?

คำที่คุณวริศายกมา คือ ประมาณ, ประสงค์, ประเทศ มาจากภาษาสันสกฤต ประ มาจากคำว่า ปฺร (प्र) เป็นคำอุปสรรค (prefix) อาจารย์ทองย้อย แสงสินชัยให้ความหมายว่า ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก

http://dhamma.serichon.us/ประทาน-ประธาน-เหมือนและ/
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 19 มิ.ย. 19, 07:58

สรุปคำว่า "ประ" ที่ถาม  มีหลายความหมาย หลายที่มา   ไม่ใช่คำเดียวกัน ค่ะ

ประทม มาจากภาษาเขมร ว่า ผทม   ไทยแผลงศัพท์เป็น  บรรทม
ประเทศ  มาจากภาษาสันสกฤต อย่างที่คุณเพ็ญชมพูอธิบายข้างบนนี้
บันทึกการเข้า
warisa
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 19 มิ.ย. 19, 11:43

ท่านรอยอินวิสัชนาคำว่า ประ- ไว้ ๒ สถาน คือ

(๑) [ปฺระ-] ใช้เติมหน้าคำอื่นเพื่อให้คำหนักแน่นขึ้น เช่น ชิด เป็น ประชิด, ท้วง เป็น ประท้วง

(๒) คำที่แผลงมาจาก ผ เช่น ผทม เป็น ประทม แล้วแผลง ประ เป็น บรร เช่น ประทม เป็น บรรทม

.“พี่ทราบมั้ยว่าคำว่า “ประ” ที่ขึ้นต้นคำต่าง ๆ เช่น ประมาณ ประสงค์ ประเทศ ฯลฯ อีกมากมาย มีความหมายว่าอะไรคะ?

คำที่คุณวริศายกมา คือ ประมาณ, ประสงค์, ประเทศ มาจากภาษาสันสกฤต ประ มาจากคำว่า ปฺร (प्र) เป็นคำอุปสรรค (prefix) อาจารย์ทองย้อย แสงสินชัยให้ความหมายว่า ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก

http://dhamma.serichon.us/ประทาน-ประธาน-เหมือนและ/

ขอขอบพระคุณอาจารย์เพ็ญชมพูมากค่ะ
บันทึกการเข้า
warisa
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 19 มิ.ย. 19, 11:44

สรุปคำว่า "ประ" ที่ถาม  มีหลายความหมาย หลายที่มา   ไม่ใช่คำเดียวกัน ค่ะ

ประทม มาจากภาษาเขมร ว่า ผทม   ไทยแผลงศัพท์เป็น  บรรทม
ประเทศ  มาจากภาษาสันสกฤต อย่างที่คุณเพ็ญชมพูอธิบายข้างบนนี้


ขอขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูมากค่ะ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 มิ.ย. 19, 14:08


คำหนึ่งที่น่าสนใจคือ  ประตู 

"ตู" เป็นคำไทยแท้
แต่ "ประตู" มายังไง  มีหลายทฤษฎี บ้างก็ว่ามาจาก "ปากตู" บ้างก็ว่ามาจาก "pintu"
และเป็นคำยกเว้นที่ท่าน royin ไม่ได้กล่าวไว้
บันทึกการเข้า
warisa
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 มิ.ย. 19, 17:03


คำหนึ่งที่น่าสนใจคือ  ประตู 

"ตู" เป็นคำไทยแท้
แต่ "ประตู" มายังไง  มีหลายทฤษฎี บ้างก็ว่ามาจาก "ปากตู" บ้างก็ว่ามาจาก "pintu"
และเป็นคำยกเว้นที่ท่าน royin ไม่ได้กล่าวไว้


..ขอบคุณอาจารย์ Koratian มากค่ะ..ดิฉันสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ..มักจะเจอคำถามแปลก ๆที่คนไทยไม่ถามเพราะคนไทยเราใช้ด้วยความเคยชิน..

...เช่น..คำว่า “ศาสนาพุทธ” กับ “พุทธศาสนา” มีหลักเกณฑ์การใช้อย่างไร...อาจารย์พอจะอธิบายได้ไหมคะ ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 มิ.ย. 19, 18:09

ศาสนาพุทธ หรือพุทธศาสนา มีความหมายเหมือนกัน   เพียงแต่เรียงคำคนละอย่างค่ะ
คำว่า ศาสนาพุทธ เป็นวิธีการเรียกแบบไทย    เหมือนเราเรียกศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม   ศาสนาฮินดู  คำหลักคือศาสนา  และต่อด้วยคำขยายว่าคือศาสนาอะไร

ส่วนพุทธศาสนา เป็นคำสมาส  (คือการสร้างคำใหม่ขึ้นมาจากคำบาลีสันสกฤตตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป มารวมเป็นคำเดียวกัน มีความหมายเกี่ยวเนื่องกัน)  คือเอาคำ พุทธ+ศาสนา > พุทธศาสนา
คำหลักคือคำหลัง  คำแรกเป็นคำประกอบคำหลังให้เข้าใจความหมาย ก็เลยกลายเป็นพุทธศาสนา

อธิบายยาวจะงง   คุณบอกลูกศิษย์ว่าคำแรกเป็นการเรียกแบบไทย คำหลังเป็นคำเรียกแบบแขก (บาลีสันสกฤต) ที่เป็นรากฐานของคำไทยจำนวนมาก    เขาคงเข้าใจค่ะ
บันทึกการเข้า
warisa
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 มิ.ย. 19, 21:15

ศาสนาพุทธ หรือพุทธศาสนา มีความหมายเหมือนกัน   เพียงแต่เรียงคำคนละอย่างค่ะ
คำว่า ศาสนาพุทธ เป็นวิธีการเรียกแบบไทย    เหมือนเราเรียกศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม   ศาสนาฮินดู  คำหลักคือศาสนา  และต่อด้วยคำขยายว่าคือศาสนาอะไร

ส่วนพุทธศาสนา เป็นคำสมาส  (คือการสร้างคำใหม่ขึ้นมาจากคำบาลีสันสกฤตตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป มารวมเป็นคำเดียวกัน มีความหมายเกี่ยวเนื่องกัน)  คือเอาคำ พุทธ+ศาสนา > พุทธศาสนา
คำหลักคือคำหลัง  คำแรกเป็นคำประกอบคำหลังให้เข้าใจความหมาย ก็เลยกลายเป็นพุทธศาสนา

อธิบายยาวจะงง   คุณบอกลูกศิษย์ว่าคำแรกเป็นการเรียกแบบไทย คำหลังเป็นคำเรียกแบบแขก (บาลีสันสกฤต) ที่เป็นรากฐานของคำไทยจำนวนมาก    เขาคงเข้าใจค่ะ

..ขอขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูมากค่ะ...อาจารย์อธิบายได้ชัดเจนและเข้าใจง่าย...ดิฉันจะเอาไปอธิบายให้ลูกศิษย์เข้าใจได้อย่างถูกต้อง...ขอบพระคุณมากค่ะ..
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง