เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5177 โทรเลขในสมัย ร.๕
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


 เมื่อ 18 มิ.ย. 19, 18:39

อยากจะรู้เรื่องโทรเลขในสมัยร.๕ ครับ เช่นใครเป็นเจ้ากรมโทรเลขครับ
ถ้ามีรูปด้วยก็ดีครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 มิ.ย. 19, 18:57

อ่านได้ที่ประวัติกรมไปรษณีย์โทรเลขค่ะ

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 19 มิ.ย. 19, 20:52

วันศุกร์ เดือน ๔ ขึ้น ๖ ค่ำ พุทธศักราช ๒๔๑๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ติดตั้งเตเลกราฟเครื่องเล็ก ที่โปรดให้สั่งมาใหม่ วางสายตั้งแต่พระที่นั่งสมมติเทวราชอุบัติ (ต่อมารื้อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท) ไปยังหอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นครั้งแรกในสยาม ต่อมาได้เปิดให้บริการโทรเลขสำหรับสาธารณะจากพระราชอุทยานสราญรมย์ ไปยังปากน้ำ สมุทรปราการในปีเดียวกัน รวมระยะทาง ๔๕ กิโลเมตร และเดินสายต่อไปยังประภาคารด้วยวิธีเดินสายเคเบิลใต้น้ำ และได้วางโครงข่ายอีกหลาย ๆ สายในกาลต่อมา โดยมีหน่วยงานสื่อสารแรกของสยามชื่อว่า “กรมสายตลิคราฟ” อยู่ในสังกัดกรมพระกระลาโหม มีหลวงอาวุธอัคนีเป็น พระโทระเลขธุรานุรักษ เจ้ากรมสายตลิคราฟ คนแรก

ภาพจากหนังสือการแต่งตั้งขุนนางไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕

https://www.gotoknow.org/posts/631055


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 19 มิ.ย. 19, 21:49

พุทธศักราช ๒๔๒๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริที่จะให้มีกิจการไปรษณีย์ในสยาม และเห็นว่า สมเด็จฯ เจ้าฟ้าภาณุรังษีฯ มีความสนใจตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ จึงทรงมอบหมายให้ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าภาณุรังษีฯ และเจ้าหมื่นเสมอใจ ลองจัดทำบัญชีตำบล ทะเบียนราษฎร์ บ้านเลขที่ และทรงมีพระราชดำริว่า กิจการโทรเลข นั้นควรอยู่คู่กับกิจการไปรษณีย์ เนื่องด้วยโทรเลขนั้น เมื่อส่งมายังสถานี ก็จะต้องถอดความแล้วต้องส่งสาส์นไปให้ถึงผู้รับปลายทาง ซึ่งนั่นก็คือกิจการส่งจดหมายหรือกิจการไปรษณีย์นั่นเอง และไม่ควรแยกกันทำงานเพราะจะทำให้เกิดการลงทุนซ้ำซ้อน ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับบัญชากรมโทรเลข เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๔

http://telemuseum.nbtc.go.th/new/history_details.php?subid=4
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 20 มิ.ย. 19, 07:28

ตำแหน่งในกรมโทรเลข พ.ศ. ๒๔๒๖

เจ้าพนักงานโทรเลข

เจ้ากรม พระโทรเลขธุรการี (พุ่ม) 
ปลัดกรม หลวงชะวะกิจบัญชา (ว่าง) มิศเตอร์ไอกอฟ ว่าการแทน
สมุห์บาญชี ขุนวาทีเลขา (ว่าง) มิศเตอร์ ฮันเตอร์ว่าการแทน
สารวัด ขุนนิกรประกาศ (ว่าง) มิศเตอร์ เบอร์ไคล์ วิลลิก ว่าการแทน
นายช่างกลใหญ่ ขุนวิจิตรกลการ (ว่าง) มิศเตอร์ ฟริศจี ว่าการแทน
นายช่างสร้างสายใหญ่ ขุนชำนาญชะวะสูตร (เลี้ยง)
ผู้ช่วยเจ้ากรม นายเนียมมหาดเล็ก
อาจารย์นักเรียน มองซิเออ ยุรดอง ตำแหน่งนี้ผมเดาว่าเป็นครู (Trainer) ซึ่งสอนวิชาเกี่ยวกับการโทรคมนาคมให้เจ้าหน้าที่ในกรมไปรสนีย์ฯ ดูจากชื่อแล้วเป็นชาวฝรั่งเศสแน่นอน
ผู้ช่วยนายช่างกลใหญ่ นายทองดี
รองนายช่างสร้างสาย นายบุญ นายขำ นายเชิด จีนบุญ นายอู่ นายโท้
ผู้ใช้เครื่องใหญ่ ออฟฟิศที่ ๑ นายรอง
ผู้ใช้เครื่องใหญ่ ออฟฟิศที่ ๒ มิศเตอร์ ไอกอฟ

เครื่องใหญ่นั้น ผมเดาว่าต้องเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมากๆ โดยเฉพาะผู้ใช้เครื่องใหญ่ ออฟฟิศแห่งที่ ๒ นั้น ฟังชื่อแล้วเดาว่าเป็นชาวเยอรมันแน่นอน มาถึงตรงนี้เราก็ได้ยินชื่อข้าราชการกรมไปรสนีย์แลโทรเลขที่มีทั้งชาว อังกฤษ ชาวฝรั่งเศส และชาวเยอรมัน
 
นายโรงโทรเลข ประจำใช้เครื่องหัวเมือง (เป็นผู้ใช้เครื่องโทรเลขในแต่ละหัวเมืองเป็นแน่แท้)
นายโรงโทรเลข ประจำใช้เครื่องหัวเมือง นครเชียงใหม่ นายเกต
นายโรงโทรเลข ประจำใช้เครื่องหัวเมือง ตากบูรี จีนฮุดเบ๋ง
นายโรงโทรเลข ประจำใช้เครื่องหัวเมือง นครสวรรค์ มิศเตอร์ ปิกินแปก
นายโรงโทรเลข ประจำใช้เครื่องหัวเมือง ลพบูรี จีนกิมหงวน
นายโรงโทรเลข ประจำใช้เครื่องหัวเมือง กรุงเก่า นายแซม (กรุงเก่านี่ผมไม่ทราบว่าใช่อยุธยาหรือไม่)
นายโรงโทรเลข ประจำใช้เครื่องหัวเมือง พระตบอง มิศเตอร์ วอกเกอร์
นายโรงโทรเลข ประจำใช้เครื่องหัวเมือง ศรีโสภณ จีนบุญไซร
นายโรงโทรเลข ประจำใช้เครื่องหัวเมือง กระบินทรบูรี นายจัน
นายโรงโทรเลข ประจำใช้เครื่องหัวเมือง สมุทปราการ มิศเตอร์แฟรงฟอต
นายโรงโทรเลข ประจำใช้เครื่องที่เรือน ตะเกียงปากน้ำ มิศเตอร์เบราน์
นายโรงโทรเลข ประจำใช้เครื่องหัวเมือง ฉเชิงเทรา นายคล้าย
นายโรงโทรเลข ประจำใช้เครื่องที่พระปฐมเจดีย์ นายแช่ม
นายโรงโทรเลข ประจำใช้เครื่องหัวเมือง กาญจนบูรี จีนกิมเฮง
นายโรงโทรเลข ประจำใช้เครื่องหัวเมือง ราชบูรี นายชวด
นายโรงโทรเลข ประจำใช้เครื่องหัวเมือง กำเนิดนพคุณ มิศเตอร์แซกสตอฟ
นายโรงโทรเลข ประจำใช้เครื่องหัวเมือง (ว่าง)
นายโรงโทรเลข ประจำใช้เครื่องหัวเมือง ประจำเมือง จันทรบูรี นายชม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 20 มิ.ย. 19, 08:30

โต๊ะโทรเลขระหว่างประเทศ

ภาพจาก https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2466153406769025&set=a.1496050030446039&type=3&sfns=mo


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 มิ.ย. 19, 09:26

ตำแหน่ง พระโทระเลขฯ ฟังดูแปลกดีครับ
บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 22 มิ.ย. 19, 15:35

ขอบคุณมากครับ เป็นประโยชน์มากๆเลยขอรับ
บันทึกการเข้า
stunning88
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 พ.ย. 19, 16:00

เยี่ยมเลยค่ะ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 11 พ.ย. 19, 20:40

กระทู้ของท่าน cinephile ในเรื่องนี้   ได้จุดประกายความอยากรู้คงค้างของผมอยู่เรื่องหนึ่ง(ที่จริงคือหลายเรื่อง) คือ เรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการสื่อสารเพื่อการรับทราบข้อมูลและการสั่งการทางการบริหารในเหตุการณ์สำคัญต่างๆในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5      ก็แน่นอนว่าจะต้องเป็นเรื่องของกิจการโทรเลข ซึ่งเป็นการสื่อสารทางสายที่จะต้องมีการวางสายไปยังสถานที่ปลายทางเหล่านั้น หมายถึงว่าก็จะต้องเป็นการดำเนินการที่มีพื้นฐานเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงทั้งภายในและภายนอก

ขอความกรุณาท่านสมาชิกที่มีความรอบรู้ในเรื่องทางประวัติศาสตร์ได้กรุณาช่วยไขข้อมูล ให้ความเห็น และข้อพิจารณาต่างๆที่น่ารู้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการต่อยอดค้นคว้าในเรื่องใดๆต่อไป     
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 15 พ.ย. 19, 20:51


สนับสนุนข้อมูล ที่อาจเป็นประโยชน์ครับ

แผนที่ปี ค.ศ. 1888 อังกฤษ ยุโรปมีเครือข่าย โทรเลขข้ามทวีป และเคเบิลไต้น้ำ
จากอินเดีย ไปสิงคโปร์ ผ่านชวาไป ควีนส์แลนด์ อีกสาย ไปไซ่ง่อนและจีน

ในเวลาใกล้เคียงกันสยามและญี่ปุ่นแสดงความจำนงที่จะเชื่อมต่อเครือข่ายดังกล่าว


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 15 พ.ย. 19, 21:00


เครือข่ายโทรเลข ปี 1901


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง