เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 22540 ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 28 ต.ค. 19, 16:05


ต่อไปเราจะดูว่า วัดพระคลัง หรือ วัดดุสิดารามในปัจจุบัน มีร่องรอยอะไรเหลืออยู่บ้าง
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 18 พ.ย. 19, 15:50


ภาพวาดต้นฉบับ วัดพระคลัง โดยแกมป์เฟอร์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 18 พ.ย. 19, 15:51


ตำแหน่งวัดพระคลัง ตรงกับวัดดุสิดาราม ปัจจุบันมีเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยม ยกฐานสูง รูปทรงคล้ายกับเจดีย์วัดใหญ่ไชยมงคล ปรากฏอยู่

แกมป์เฟอร์ระบุว่ามี Bacuss's idol และรอยเท้าศิลา ซึ่งปัจจุบันยังมีปรากฏให้เห็นได้
น่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง

ต่อไปจะไปดูว่า บางขดาน อยู่ที่ใดตามที่แกมป์เฟอร์ระบุในแผนที่

บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 16 ม.ค. 20, 11:09


ตำแหน่งของบางขดาน

     ๏ ชลธีปละปลั่งค้าง   ทางสินธุ์
     นาเวศนาวาวาง       วาดน้ำ
     ตกบางขดานดิน       สดือแม่
     ดลฤดูสั่งล้ำ             ไล่ชล

     ๏ ไล่ชลนาเวศแล้ว    เมือโรง
     อ่อนระทวยนวยกล    กึ่งก้ม
     เรียมพายระโงงโหง    หกอยู่
     เพราะเพื่อพลพายห้ม ห่มแรง

บางขดานเป็นสถานที่สำหรับพระราชพิธีฟันน้ำ ไล่ชล สมัยอยุธยา

มีตำแหน่งของสถานที่น่าสนใจที่แกมป์เฟอร์บันทึกไว้
  1. วัดภูเขาทอง (Phahkton temple)
  2. วัดพระคลัง (Berklam temple) + วัดเดิม
  3. วัดเจ้าพญาไทย (Tiampiatai)
  4. บ้านฮอลันดา (Holl.)
ุ  5. ขนอนภาษี (Canon custom house)
ุ  6. บางขดาน (Ban Kedan)
  7. บางปะอิน (Ban Tten ?)
  8. วัดสำหรับพระราชพิธีประจำปี (Templum annui sacrifiey)

คำถามคือตำแหน่งวัดหมายเลข 8 คือวัดอะไรและพระราชพิธีใด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
นโม ตสฺส
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 21 พ.ค. 20, 11:21

มีการสันนิษฐานว่าวัดพระยาพระคลังคือวัดประดู่และวัดโรงทาน (วัดโรงธรรม) โดยมีคลองวัดประดู่คั่นครับ

https://www.blockdit.com/articles/5ebe15cf70eebe0811c5f0ea?fbclid=IwAR2x_aeeYDtVl3QWb6HDABeR96jt_LJqLYDtJ1Z3W8G-51CzzyeLF8O49Z8
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 21 พ.ค. 20, 13:32


จากแผนที่แนวคลองวัดเดิมก็ชัดเจนครับ

วัดพระคลังคือวัดดุสิดาราม คู่กับ วัดเดิมหรือวัดอโยธยา
จะเป็นอย่างอื่นยาก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 21 พ.ค. 20, 19:54


ในแผนที่แกมป์เฟอร์​ คลองทรายไหลลงคลองวัดเดิม​ ในคำให้การชาวกรุงเก่าก็ระบุตำแหน่งปากคลองวัดเดิม​ ไว้สอดคล้องกับแผนที่ฮอลันดา

ตัดเรื่องวัดประดู่ไปได้เลยครับ​ ไม่ใช่แน่นอน​ อีกอย่าง​ สิ่งก่อสร้างและโบราณวัตถุที่ระบุในหนังสือ
สามร้อยปีที่แล้วก็ยังหลงเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
ท่านใดสนใจก็ไปดูได้ที่วัดอโยธยาและวัดดุสิดารามได้เลย​ ตรงนี้กรมศิลป์ท่านก็ยังว่าเป็นวัดสมณโกศอยู่ของท่านเหมือนเดิม
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 09 มิ.ย. 20, 15:27


คลองวัดเดิมในแผนที่ต่าง ๆ

A. de la Loubere 1688
B. Kaempfer  1690
C. de la Mare 1687
D. พระยาโบราณราชธานินทร์



บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 09 มิ.ย. 20, 16:34


1.  ประตูน้ำคลองหอรัตนชัย
2.  ปากคลองวัดเดิม
3.  คลองทราย
4.  คลองวัดเดิม
5.  ทำนบรอ
6.  แม่น้ำลพบุรีสายเก่า


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 09 มิ.ย. 20, 16:46


  "รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร  ถึง ณ เดือน ๗ ขึ้น ๖ ค่ำ (จ.ศ. ๑๑๒๐ พ.ศ. ๒๓๐๑ )
จึงตั้งการพระราชพิธีปราบดาภิเษก ณ พระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาท
กรมขุนอนุรักษ์มนตรีเสด็จไปอยู่ณพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
ครั้น แรม เดือน ๗ เสด็จพระราชดำเนินไปถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเชษฐาธิราชแล้ว
ถึงเดือน ๘ ข้างขึ้น ก็ เสด็จทรงเรือพระที่นั่งกิ่งเป็นกระบวนพยุหยาตรา ออกไปพระผนวชวัดเดิม แล้วเสด็จไปอยู่ ณ วัดประดู่"
 

พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม )





บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 09 มิ.ย. 20, 17:37


นอกจากเจดีย์ประธานที่เห็นเด่นชัด  และวิหารอันสวยงาม (ปัจจุบันเหลือแต่ฐานราก)
แกมป์เฟอร์บอกว่า วัดพระคลังมี Bacuss's idol และรอยเท้าศิลา

Bacuss's idol คือ พระสังกัจจายน์
รอยเท้าศิลา คือ รอยพระพุทธบาท

ท่านผู้สนใจลองไปสำรวจดูนะครับ ที่วัดดุสิดาราม อยู่ในศาลาเจ้าแม่ดุสิต ด้านหลังวัด
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 09 มิ.ย. 20, 19:04


วัดพระคลัง หมายถึงพระคลังท่านใด

เนื่องจากโกษาปาน เพิ่งขึ้นเป็นออกญาพระคลัง ได้ไม่นานดังนั้นจึงมิใช่ผู้ปฏิสังขรณ์วัดนี้
นิโกลาส แชร์แวส์ เล่าว่า พระคลังคนเดิม (โกษาเหล็ก) เป็นผู้ปฏิสังขรณ์วัดแห่งหนึ่งที่ใหญ่โตและสวยงาม เมื่อเจ็ดแปดปีก่อน



บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 10 มิ.ย. 20, 11:25


รูปจากบทความของ Prof. Terwiel
พระสังกัจจายน์และรอยพระพุทธบาทยังมีให้เห็นที่วัดดุสิดาราม 


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 14 ก.ค. 20, 16:03


อายุของเจ้าฝ่ายหน้า หลวงสรศักดิ์ พระเจ้าเสือ

ในหนังสือฉบับพิมพ์ ภาษาอังกฤษ ระบุว่า
".. .at present, in 1690, it is inhabited by the Prince Royal, who is twenty years of age."
"... ปัจจุบันในปี 1690 เป็นที่อาศัยของเจ้าอุปราช ผู้มีอายุยี่สิบปี"


เมื่อตรวจสอบกับต้นฉบับแล้วไม่พบว่า แกมป์เฟอร์ได้บันทึกอายุของพระอุปราชไว้
ดังนั้น ข้อมูลที่ว่าเจ้าอุปราชมีอายุยี่สิบปี อาจเป็นการแต่งเติมเพิ่มเข้ามาโดยการตีความของ J.G. Scheuchzer ผู้แปลภาษาอังกฤษเอง

ข้อมูลดังกล่าวนับว่าเป็นปัญหา และขัดกับหลักฐานร่วมสมัยอื่นๆ
ปัจจุบันนักประวัติศาสตร์นับว่าปีประสูตรของพระเจ้าเสือคือ พ.ศ. ๒๒๐๔ หรือ ค.ศ. 1661
ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของ นิโกลาส์ แชร์แวส์ ที่บ่งชี้ว่าหลวงสรศักดิ์น่าจะมีอายุประมาณ สามสิบปีในเวลาดังกล่าว



บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 18 ส.ค. 20, 11:31


ในปี 1688 ลาลูแบร์ เขียนว่า

ในขณะที่เดินทางมาถึงนั้น พระสงฆ์ถูกจับสึกไปเยอะหลายพันรูปเพราะ สอบบาลีไม่ผ่าน
โดยออกหลวงสรศักดิ์ ชายหนุ่มผู้มีอายุยี่สิบแปดถึงสามสิบปี
บุตรชายของพระเพทราชา เจ้ากรมคชบาล
เป็นแม่กองสอบบาลี พระสงฆ์ฝ่ายคามวาสี

ดังนั้น ในปี 1690 เมือแกมป์เฟอร์เข้ามา พระอุปราชควรอายุประมาณสามสิบปี


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.097 วินาที กับ 20 คำสั่ง