เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 22536 ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 12 ส.ค. 19, 18:50


เปรียบเทียบกำแพงเมืองอยุธยา  นครราชสีมา และ นครศรีธรรมราช


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 28 ส.ค. 19, 18:31


ประตูชัยเป็นประตูน้ำ ท่าประตูชัยอยู่ด้านในแนวกำแพงเมืองอยุธยาด้านใต้
ติดปลายถนนมหารัถยาที่พุ่งตรงไปยังพระบรมมหาราชวัง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 28 ส.ค. 19, 18:43

ลงตำแหน่งท่าประตูไชย ในแผนที่แกมป์เฟอร์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 28 ส.ค. 19, 18:44


แถมเรื่อง ปทาคูจาม ปละท่าคูจาม อยู่ที่ไหน
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 03 ก.ย. 19, 17:09


แผนที่จากข้อมูลของ de la Mare นายช่างฝรั่งเศส
คลองคูจาม เขียนว่า Petit Cocham
เปอตีคูจาม คือ ปทาคูจาม ?
ปทาคูจามจึงอยู่ฝั่งตรงข้ามประตูไชย หรือ บริเวณใกล้กับวัดพุทไธยสวรรค์

เมื่อมี Petit Cocham จึงต้องมี Grand Cocham
ซึ่งฝรั่งยกให้เป็นคลองลครไชยไป


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 03 ก.ย. 19, 19:24


ปทาคูจาม​ = พุทไธยสวรรย์​ = บันทายฉมาร์​ = ป้อมเล็ก​ = เวียงเหล็ก
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 05 ก.ย. 19, 12:06


   ๏ แถลงปางพลพ่าหไท้   เอารส ท่านนา
  นบนอบพระขอเชอญ   ช่วยป้อง
  แถลงปางท่านลาพรต   ครองราษฎร
  ทุกเทศทุกท้าวสร้อง   ส่วยถวาย ฯ
   ๏ ปางสร้างอาวาศแล้ว   ฤๅแสดง
  คือพุทไธสวรรยหมาย   ชื่อชี้
  ปางถกลกำแพงพระ   พิศณุโลกย แล้วแฮ
  อยู่ช่างพระเจ้าฟี้   เฟื่องบร ฯ

   ลิลิตยวนพ่าย


เรื่องชื่อปทาคูจามกับชื่อเขมรคงยังไม่จบง่าย ๆ ต้องเดากันต่อไปจนกว่าจะมีหลักฐานเพิ่ม

ปทา = บันทาย = พุทไธ = ป้อม = เวียง   ตรงนี้ไม่น่ามีปัญหาอะไร

ปทาคูจาม = ป้อมคูจาม                      ไม่มีปัญหา
พุทไธสวรรย์ = บันทายสร็วง  = ป้อมสูง   พอไปได้

บันทายฉมาร์ = ป้อมเล็ก                     แปลตรงตัว

ป้อมเล็ก = เวียงเล็ก = เวียงเหล็ก ?       ตรงนี้ต่างคนต่างสำนักท่านก็ว่ากันไป

บันทายฉมาร์ = ปทาคูจาม                  ตรงนี้เอาสีข้างเข้าถูอย่างเดียวไม่มีอะไรยืนยัน
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 11 ก.ย. 19, 09:33


วัดเจ้าพระยาพระคลัง อยู่ทีใด ?
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 11 ก.ย. 19, 15:56


แกมป์เฟอร์กล่าวถึงวัดพระคลัง เป็นสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจ อยู่ริมคลองนอกเกาะเมือง ทางทิศตะวันออก
ปัจจุบัน กรมศิลปากร กำหนดว่าวัดพระคลังคือ วัดสมณโกฏ คู่กับวัดกุฎีดาว
บางสำนักบอกว่าเป็นวัดประดู่คู่กับวัดโรงธรรม
เราลองพิจารณาดูว่าวัดพระยาพระคลังควรอยู่ที่ใด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 11 ก.ย. 19, 16:12


จากเอกสารและแผนที่ของแกมป์เฟอร์
1. วัดพระคลังอยู่ที่มุมบนขวาของสี่เหลี่ยม
    ที่ล้อมรอบด้วยแม่น้ำป่าสักด้านตะวันตก คลองข้าวเม่าด้านใต้ และคูเมืองอโยธยาเดิมด้านตะวันออก
2. ปากคลองด้านเหนือที่ผ่านวัด ไปออกแม่น้ำป่าสักเหนือแนวถนนน่าวังตรา
3. มีวัดสองแห่งริมคลองดังกล่าว มีแนวเจดีย์วางตัวในแนวเหนือ-ใต้
4. พระเพทราชา เสด็จไปร่วมพิธีศพของแม่ของพระคลัง (โกษาปาน) ที่วัดแห่งนี้

ตำแหน่งดังกล่าวควรจะเป็นวัดใดในปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 15 ก.ย. 19, 18:26


เมื่อเราพิจารณาข้อมูลอย่างละเอียดก็จะพบว่า
สิ่งก่อสร้างและโบราณวัตถุที่แกมป์เฟอร์กล่าวถึง
ยังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน​อย่างน่าสนใจยิ่ง
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 17 ก.ย. 19, 11:54


สิ่งก่อสร้างและโบราณวัตถุในวัดพระยาพระคลัง ยังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน
พระเจดีย์ พระปรางค์ และวิหาร
รวมทั้งรูปเคารพต่างๆ หลังจากเวลาผ่านไป 330 ปี
*เจอแล้ว*
 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 24 ต.ค. 19, 10:26


ตำแหน่งที่ตั้งของวัดพระคลัง  Temple of Barkalon

จากแผนที่ของแกมเฟอร์ ระบุชัดเจนว่า วัดพระคลังอยู่ที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่สี่เหลี่ยม
ด้านทิศตะวันออกของเกาะเมือง ที่ล้อมรอบด้วย คูคลองสี่ด้านคือ
1. คลองด้านเหนือ (ตรงนี้กำหนดว่าเป็นคลองวัดเดิมก่อน ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป)
2. คูขื่อหน้า/แม่น้ำป่าสัก ทางทิศตะวันตก
3. คลองข้าวเม่า หรือคลองบ้านบาตรด้านทิศใต้
4. คลองวัดกุฎีดาว ทางทิศตะวันออก

คู คลอง 2, 3 และ 4 ยังปรากฎให้เห็นในปัจจุบัน
เหลือแต่คลองหมายเลข 1 ที่ต้องระบุตำแหน่งต่อไป

เมื่อใช้เกณฑ์ตำแหน่งของวัดที่อยู่ติดกับคลอง หมายเลข 4 เพียงอย่างเดียว
จะมีตำแหน่งวัดพระคลังที่เป็นไปได้ คือตำแหน่งของวัดดังต่อไปนี้
ก. วัดดุสิดาราม  ข. วัดอโยธยา  ค. วัดโบสถ์ราชเดชะ ง. วัดจักรวรรดิ์
จ. วัดกุฎีดาว  ฉ. วัดสมณโกฏฐาราม

จากการเทียบภาพวาดของแกมป์เฟอร์ เราระบุได้ไม่ยากว่า "Another square"
วัดที่อยู่ติดกับวัดพระคลังคือ วัดเดิม หรือ วัดอโยธยา ในปัจจุบัน

ดังนั้น เราตัด ง. วัดจักรวรรดิ์ จ. วัดกุฎีดาว  ฉ. วัดสมณโกฏฐาราม ได้ว่าไม่ใช่ Temple of Barkalon
เหลือการวางตำแหน่งแนวคลองหมายเลข 1. ให้ถูกต้องก็จะสามารถระบุได้ว่า

วัดพระคลัง  Temple of Barkalon ในสมัยของแกมป์เฟอร์คือวัดดุสิดารามในปัจจุบัน



บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 25 ต.ค. 19, 10:46


วัดอโยธยา

ภาพพิมพ์จากหนังสือของแกมป์เฟอร์


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 28 ต.ค. 19, 16:02

เจดีย์ ปรางค์ วัดอโยธยา กับภาพวาดของแกมป์เฟอร์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 20 คำสั่ง