เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 22720 ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 10 มิ.ย. 19, 10:42

มีข้อสังเกตคือ มงกุฎสยาม (Tiara Siamensis) ที่แกมเฟอร์วาดไว้ เป็นมงกุฎแบบยุโรปซ้อนกันสามชั้น ลักษณะใกล้เคียงกับมงกุฎพระสันตปาปา (Papal tiara)






ซึ่งในบันทึกของชาวยุโรปร่วมสมัยก็บันทึกไว้ใกล้เคียงกัน เช่น บาทหลวงตาชารด์บันทึกว่า เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จออกรับราชทูตฝรั่งเศส ทรงศิราภรณ์ทรงสูงยอดแหลมลักษณะคล้ายลอมพอก ที่มีเกี้ยวซ้อนกันสามชั้น ซึ่งบังเอิญไปตรงกับ papal tiara นอกจากนี้ก็พบว่าภาพพิมพ์สมเด็จพระนารายณ์และโกษาปานที่ฝรั่งเศสเขียนขึ้น ก็สวมศิราภรณ์ในลักษณะเดียวกัน



ภาพโมเสกพระสันตปาปาเคลเมนต์ที่ 8 (Clement VIII)






ภาพพิมพ์โกษาปานใน ค.ศ. 1690 ที่ฝรั่งเศสระบุว่าเป็นพระเจ้ากรุงสยาม
https://www.facebook.com/WipakHistory/photos/a.1050804244983045/2212192758844182/?type=3






เกี้ยวที่ซ้อนกันสามชั้นที่กล่าวมา จริงๆ แล้วคงเป็นแบบที่พบในมงกุฎหรือชฎาของไทยมากกว่า แต่ในสายตาฝรั่งคงเห็นว่ารูปทรงเหมือน tiara ก็หรือมงกุฎแบบตะวันตกครับก็เลยวาดๆ ไปโดยอาจไม่ได้เหมือนจริงมากนัก ทั้งนี้ลอมพอกที่แกมเฟอร์วาดก็ไม่เหมือนของจริงเหมือนกัน  ลักษณะจริงๆ น่าจะใกล้เคียงกับมงกุฎไทยในจิตรกรรมสมัยอยุทธยาครับ


จิตรกรรมในสมุดภาพไตรภูมิกรุงศรีอยุธยา หมายเลข ๖ อายุราวรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง-สมเด็จพระนารายณ์





เทวดาวัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี





ทวารบาลวัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี





มงกุฎพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ วัดหน้าพระเมรุ

บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 10 มิ.ย. 19, 12:05


รูปมงกุฏของพระเพทราชาที่เกมเฟอร์วาดรูปทรงคล้ายเทริดจากสมัยอยุธยาตอนกลาง
ซึ่งอาจลอกแบบจากพระพุทธรูปทรงเครื่องที่เกมเฟอร์พบเห็นในระหว่างเที่ยวสำรวจเกาะอยุธยา

อย่างไรก็ตาม มงกุฏสามชั้นที่กล่าวถึงอาจเป็น พระชฎาขาวริมทอง ที่ใช้ในพิธีออกแขกเมือง


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 10 มิ.ย. 19, 12:13


ตาชาร์ดกล่าวถึงสมเด็จพระนารายณ์

"พระราชาทรงสวมศิราภรณ์อันแพรวพราวด้วยอัญมณี
เป็นหมวกทรงสูงยอดแหลมคล้ายปิระมิด
ล้อมรอบด้วยแหวนทองคำสามวง แยกจากกันเป็นระยะ"

ลองดูรูปจำลองที่ทำเปรียบเทียบครับ


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 10 มิ.ย. 19, 12:33


พระนารายณ์ทรงพระชฎาพอก ในพระราชพิธีฟันน้ำ ?

"พระราชาประทับบนบัลลังก์รูปทรงปิระมิดที่ประดับอย่างสวยงาม
ฉลองพระองค์ประดับทองและอัญมณีมีค่า ทรงสวมหมวกขาวปลายแหลม
ล้อมรอบด้วยแหวนทองประดับดอกไม้ไหวและอัญมณี"

ตาชาร์ด


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 11 มิ.ย. 19, 16:55


ลอมพอกและแหวนทองสามวงที่สมเด็จพระนารายณ์สวมออกรับแขกเมือง ในปี ค.ศ. 1686
ลักษณะคล้ายกับ ลอมพอกและแหวนทองสามวงที่สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงสวมในปี ค.ศ. 1628

สเคาเตน (Schouten) หัวหน้าพ่อค้าชาวดัชท์ บรรยายว่า

"...It looked like three thrones, the middle one was broadest,
highest and projecting somewhat in front of the side ones,
having below a broad foot, diminishing upwards in the form of a pyramid,
artfully inlaid with mother-of-pearl and gilded,
in some  places there was black lacquer, the whole making a splendid impression.
Halfway up on this throne, about twenty feet up, was a quadrangular high window frame
with three small  pillars, and in front of these the king showed himself from the waist up,
dressed in a white loose shirt embroidered with gold.
On his head, he wore a pyramidal white turban, almost an asta or cubit high,
around which there was a three-fold golden crown decorated with precious stones,
not unlike the pope’s crown.


บนพระเศียร พระองค์ทรงสวมผ้าโพกหัวสีขาวทรงปิระมิด สูงราวๆศอกหนึ่ง
ล้อมรอบด้วยมงกุฏทองคำสามชั้นที่ประดับด้วยอัญมณีมีค่า
คล้ายกันกับมงกุฏของพระสันตปาปา
  
Directly in front of the king stood an umbrella on a golden pole,
certainly 25-feet high, exquisitely embroidered in seven diminishing levels to a sharp end.
On each side of this umbrella stood a smaller, similar one, in five layers,
corresponding with the lower thrones on each side of the king’s seat."


 
Barend J. Terwiel, De Marees and Schouten Visit the Court of King Songtham, 1628 ,Journal of the Siam Society, Vol. 107, Pt. 1 (2019)
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 15 มิ.ย. 19, 18:23

ถ้าเป็นมงกุฎแบบที่แกมเฟอร์วาดสามชั้นนั้น ดูจากรูปแบบแล้วเห็นว่าเป็นมงกุฎจริง ไม่ใช่ชฎาขาว เห็นได้ชัดจากการมีกระบังด้านหลังเป็นรูปแบบเดียวกับมงกุฎทรงเทริด หากเป็นชฎาขาวจะไม่มีกระบังด้านหลังครับ





ส่วนพระชฎาขาวริมทองซึ่งตาชารด์บันทึกว่ามีวงแหวนสามชั้น เห็นจะเป็นแบบเดียวกับชฎาขาวของพระเวสสันดรในสมุดภาพไตรภูมิกรุงศรีอยุธยาหมายเลข ๖ คือมีวงแหวนสามชั้น ประดับด้วยอัญมณีสีต่างๆ ตรงกับที่สเคาเตนบรรยายไว้ครับ แต่ในสมัยหลังคงจะทำปลายยอดให้เรียวขึ้นเหมือนลอมพอกหรือพระชฎาเดินหน


บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 15 มิ.ย. 19, 18:27



จากข้อความที่ระบุว่า "a Ring of Gold" นี้เข้าใจว่าพระชฎาพอกของพระเจ้าแผ่นดินจะมีทั้งแบบที่มีแหวนวงเดียว และแหวนสามวง สำหรับทรงในโอกาสต่างๆ กันครับ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 15 มิ.ย. 19, 18:30

บางทีลักษณะอาจจะใกล้เคียงกับพระชฎาพอกที่ใช้ทรงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีก็เป็นได้ครับ บริเวณยอดดูเหมือนวงแหวนประดับด้วยอัญมณีตรงตามที่ฝรั่งบรรยายไว้ ต่างกันที่มีหลายชั้นกว่าครับ


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 18 มิ.ย. 19, 19:38



2. ว่าด้วยทรงผม

แกมเฟอร์บันทึกว่า

Raczuk’ ist eine halbe corona, so Siamer frauen tragen (vidi et viros) pflücken es à juventute aus.
หญิง(และชาย)จะระจุก (โกนจุก ?) เมื่อพ้นวัยเยาว์

Sie gehen nicht mehr mit langen haaren quia incidentes luctus super mortes
Regum ac consanguineorum  eos jubent præscindere, ita ut in consuetudinem transiverit capite hirsuto incedere.
พวกเขาจะโกนผมในช่วงไว้ทุกข์เมื่อพระราชวงศ์สิ้นพระชนม์

Die princess pflege doch, et aliæ modo etsi raro, mot lagen haaren zugehen.
เจ้าหญิงและพวกผู้หญิงไว้ผมยาว

Barma, Pegu, Laos, Cambodia tragen sie lang.
พวกพม่า พะโค ลาว กัมพูชาไว้ผมยาว

Männer tragen Sie finger lang, und ist la mode wie figura a. Die weiber vero, wie figura b.
ผู้ชายไว้เล็บยาว แลมีลักษณะดังรูป a. ภริยา ดังรูป b.  



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 24 มิ.ย. 19, 14:18


3. แผนที่เกาะเมืองอยุธยา

แกมเฟอร์ลงเรือสำรวจและทำแผนที่เกาะเมืองอยุธยาและร่างภาพไว้อย่างค่อนข้างละเอียด 
แสดงให้เห็นรายละเอียดของเกาะเมืองอยุธยาที่น่าสนใจ
เช่น ประตูเมือง ประตูน้ำ ตลาดน้ำ ย่านการค้า ที่จอดเรือสำเภา สะพาน มณฑปพระมงคลบพิตร ฯลฯ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 25 มิ.ย. 19, 14:35

จากบันทึกของหมอเกมเฟอร์ บางท่านเชื่อว่าเจดีย์ยุทธหัตถีองค์จริงก็คือเจดีย์ภูเขาทองที่อยู่ชานเมืองอยุธยานั่นเอง
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 25 มิ.ย. 19, 19:45


ภูมิแผนที่พระนครศรีอยุธยา, พระยาโบราณราชธานินทร์

"คลองในเมืองและมีคลองเล็กใหญ่ในพระนครก็หลายคลอง คลองใหญ่คือคลองท่ออยู่ท้ายวัง ไปออกทางแม่น้ำด้านใต้ตรงหน้าวัดพุทไธสวรรย์ ปากคลองทางโน้นเรียกว่าคลองฉะไกรใหญ่ คลองประตูข้าวเปลือกที่ตำบลท่าทรายตรงไปออกแม่น้ำด้านใต้ ปากคลองทางโน้นเรียกว่าคลองประตูจีน คลองนี้เมื่อปลายแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ในเวลาทรงพระประชวร พระบรมโกศกับเจ้าฟ้าอภัย เจ้าฟ้าบรเมศร์ทำศึกชิงราชสมบัติกัน พระบรมโกศตั้งค่ายรายริมคลองฟากตะวันออก เจ้าฟ้าอภัย เจ้าฟ้าบรเมศร์ตั้งค่ายรายริมคลองตะวันตก เอาคลองเป็นเขตกั้น คลองประตูหอรัตนชัยอยู่ใต้วังจันทร์เกษมด้านตะวันออกไปออกแม่น้ำริมป้อมเพ็ชร ปากคลองทางโน้นเรียกว่าคลองในไก่ และที่ใต้สะพานช้างมีคลองแยกจากคลองประตูข้าวเปลือกไปทะลุคลองหลังวังจันทร์ จะไปออกคลองหอรัตนชัยหรือคลองในไก่ก็ได้ ด้านใต้เหนือคลองในไก่ขึ้นไปถึงคลองประตูจีน พ้นคลองประตูจีนก็ถึงคลองประตูเทพหมี ตอนปากึคลองเลี้ยวหัวหน่อยหนึ่ง แล้วตรงไปในบึงชีขัน คลองประตูเทพหมีนี้ ว่าเรียกตามชื่อหลวงเทพอรชุณ(หมี)ผู้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในที่นั้น เหนือคลองประตูเทพหมีก็มีคลองฉะไกรน้อย ไปทางข้างวัดบรมพุทธารามถึงวัดป่าใน แล้วเลี้ยวผ่านคลองประตูเทพหมีคลองประตูจีนไปบรรจบคลองประตูในไก่ ทางด้านตะวันตกมีคลองประตูท่าพระตรงมาทางตะวันออก ผ่านคลองฉะไกรใหญ่มาบรรจบคลองฉะไกรน้อย และยังมีคลองซอยคลองแยก ตามระหว่างคลองใหญ่เป็นหลายสาย"


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 25 มิ.ย. 19, 19:53

ท่าเรือป้อมเพชร ตลาดบางกระจะ ย่านวัดพนัญเชิง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 25 มิ.ย. 19, 19:55

วัดพระรามวัด พระศรีสรรเพชญ มณฑปพระมงคลบพิตร


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 26 มิ.ย. 19, 14:36


คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม

มีแพลอยพวกลูกค้าไทยจีนแขกเทศแขกจาม นั่งร้านแพขายสรรพสิ่งของต่าง ๆ กันทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำ ตั้งแต่ท้ายปากคลองวัดสุวรรณดาราราม ตลอดลงมาจนน่าพระราชวังหลัง แถวนี้เปนฝั่งพระนคร แต่ฝั่งตรงพระนครนั้นแพจอดตั้งแต่ท้ายวัดเจ้าพระนางเชิง ตลอดมาจนท้ายวัดพุทไธยสวรรค์ แลเลยไปจอดเปนระยะจนน่าวัดไชยวัฒนารามแลแม่น้ำตรงตลอดมีแพลูกค้าพานิชจอดฝั่งตระวันตก ตั้งแต่ปากคลองตะเคียนเรี่ยรายขี้นมาถึงน่าวัดแขกตะเกียมีชุกชุมมากขึ้นมาจนถึงท้ายวัดกุฎบางกะจะ ตรงวัดเจ้าพระนางเชิงฝั่งตะวันออกตั้งแต่ท้ายเกาะเรียนมีแพจอด เรี่ยรายขึ้นมาจนถึงท่าเสือข้าม มีแพชุกชุมมากขึ้นมาจนถึงท้ายวัดเจ้าพระนางเชิง ประมาณแพแต่บริเวณกรุงศรีอยุทธยารอบพระนครนั้น ราวสักสองหมื่นเสศพันปลายเปนแน่ ทั้งแพอยู่แลแพค้าขายในแขวงจังหวัดรอบกรุง ไม่น้อยต่ำลงมาจากสองหมื่นเสศพันเลยเป็นแน่

 
ครั้นถึงระดูลมสำเภาพัดเข้ามาในกรุง เปนมรสุมเทศกาลพวกลูกค้าพานิชสำเภาจีนแลลูกค้าแขกสลุป ลูกค้าฝรั่งกำปั่น ลูกค้าแขกกุศราช และพวกลูกค้าแขกสุรัดแขกชวามาลายูแขกเทศฝรั่งเศส ฝรั่งโลสงโปรตุเกศวิลันดาอิศปันยอนอังกฤษ แลฝรั่งดำฝรั่งเมืองลังกุนีแขกเกาะ เปนพ่อค้าพานิช คุมสำเภาสลุปกำปั้นแล่นเข้ามาทอดสมออยู่ท้ายคู ขนสินค้าขึ้นมาไว้บนตึกห้างในกำแพงพระนครกรุงศรีอยุทธยา ตามที่ของตนซื้อแลเช่าต่าง ๆ กัน เปิดร้านห้างตึกขายของตามเพศตามภาษา ๑


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 20 คำสั่ง