เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 22542 ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


 เมื่อ 24 พ.ค. 19, 13:44

ผมมีโอกาสได้อ่านหนังสือสรุปความจากต้นฉบับลายมือของหมอเกมเฟอร์

KAEMPFER WERKE 4 "Engelbert Kaempfer in Siam" สำนักพิมพ์ iudicium เยอรมัน (2003)
บรรณาธิการ  Prof.Barend Jan Terweil


เป็นเรื่องเกี่ยวกับรายละเอียดจากต้นฉบับลายมือของหมอเกมเฟอร์ ที่บางส่วนไม่ได้ปรากฏในฉบับพิมพ์
และบางส่วนก็แตกต่างไปจากฉบับพิมพ์
เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าอาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจทั่วไป จึงขอนำข้อมูลที่น่าสนใจบางส่วนมากล่าวถึงในที่นี้ครับ


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 พ.ค. 19, 16:44

1. ว่าด้วย พระมงกุฏ พระมาลา หมวกขุนนาง

เกมเฟอร์เขียนว่า

Königlich Mütze ist von solcher Gestalt, als versa pagina anzeiger, triplici diademate ac procul dubio vom besten Metall und gestein Vide supra -//
ราชมาลาเป็นมงกุฏสามชั้น และไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำจากโลหะและอัญมณีที่ดีเยี่ยม

Tiara Siamensis a    เครื่องประดับศรีษะชาวสยาม a
Principes, filii scilicet Regis, Pileus b.   เจ้าชายพระราชบุตร สวมหมวกปีกกว้าง  b

Mit welchem Er sic unlangst sehen lieƁe mit laubwerk von gold und gesteinten belegt, und einer guldenen ketten umb den kin. Ist ein Europischer zuckerhuht, mit bemahlten Ornamenten auffgeprunkt. In audientia hat Er ihn nicht auff.
ทรงปรากฏพระองค์เมื่อไม่นานนี้ ทรงพระมาลาประดับลวดลายทองคำและอัญมณี มีสายสร้อยทองรัดคาง ลักษณะเหมือนหมวกทรงสูงของชาวยุโรป แต้มด้วยลายเขียนสี เมื่อเข้าเฝ้าจะถอดพระมาลาออก

Mutzen der mandaryns c. หมวกของพวกขุนนาง c.

sind papier mit feinem betilies bezogen warden auch nicht auffgesetzt dan in koniglicher procession vel stats aus reitung, non in concessu Regio. Die klein Crohne de quo meminit Tachard, ist nicht drümb, ohne aliquando ein guldener besticker, gemmisque distinctum cingulum. 
พันด้วยผ้ามัสลินบางๆ และเช่นเดียวกัน จะไม่สวมเมื่ออยู่ต่อหน้าพระที่นั่ง ห่วงครอบเล็กที่ ตาชาร์ดกล่าวถึงเป็นทองประดับด้วยอัญมณี

ลองเปรียบเทียบกับ พระมหามงกุฏ พระมาลาเส้าสูง และ ลอมพอก ดูครับ
อาจได้พิจารณาที่มาของเครื่องประดับศรีษะเหล่านี้ต่อไปว่าเป็นอย่างไร


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 พ.ค. 19, 17:07

ถือโอกาสแนะนำหมอเกมเฟอร์ สำหรับสมาชิกที่ยังไม่รู้จักค่ะ

เอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ (เยอรมัน: Engelbert Kaempfer; 16 กันยายน ค.ศ. 1651 – 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1716) หรือ "หมอแกมป์เฟอร์" เป็นนักธรรมชาติวิทยา แพทย์ นักเขียนและนักสำรวจชาวเยอรมัน ที่ออกเดินทางมายังรัสเซีย เปอร์เซีย อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และญี่ปุ่น ระหว่างปี ค.ศ. 1683–1693 เขาประพันธ์หนังสือ 2 เล่ม สำหรับการเดินทางครั้งนี้คือ Amoenitatum Exoticarum ตีพิมพ์ ค.ศ. 1712 เป็นหนังสือการสังเกตทางการแพทย์ที่สำคัญและพูดถึงพืชพรรณญี่ปุ่น อีกเล่มหนึ่งคือ The History of Japan ตีพิมพ์หลังเขาเสียชีวิตแล้ว ในปี ค.ศ. 1727 เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญให้แก่ชาวตะวันตก เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19

เค็มพ์เฟอร์เดินทางมายังประเทศไทย ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชาเพิ่งผลัดแผ่นดินใหม่ได้ 2 ปี แต่เข้าใจผิดว่าเป็นปีเดียว ในระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน ถึง 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2233 รวม 23 วัน เพื่อถวายพระราชสาส์นของราชทูตแก่กรุงศรีอยุธยา เขาได้เล่าเหตุการณ์การผลัดแผ่นดินใหม่ ซึ่งผิดกับที่ปรากฎในพงศาวดารฉบับต่าง ๆ เป็นประเด็นอันน่าวิเคราะห์วิจารณ์เป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงลำดับยศขุนนาง การปกครองคณะสงฆ์ วัด ปราสาทราชมนเทียร การศึกษา การคมนาคม วันนักขัตฤกษ์และพิธี ตลอดจนกล่าวถึงเงินไทยและการนับปีเดือนวัน ซึ่งบางอย่างก็ถูกต้อง และบางอย่างก็ผิดอย่างน่าขั
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 มิ.ย. 19, 15:09

น่าสนใจมากครับ พอจะมีหนังสือฉบับเต็ม ให้ศึกษามั้ยครับ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 04 มิ.ย. 19, 22:45

น่าสนใจมากครับ พอจะมีหนังสือฉบับเต็ม ให้ศึกษามั้ยครับ

คุณศรีฯ ลองดูที่ link Prof.Terweil ก่อนนะครับ

https://uni-hamburg.academia.edu/BarendTerwiel

ผมมีแต่หนังสือที่สรุปความแกะลายมือมาแล้วข้างต้น
ตัวต้นฉบับจริงอยู่ที่ Collection ของ British Library หาฉบับ digital ยังไม่ได้
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 04 มิ.ย. 19, 22:54

เรื่องรอยเท้าแมวบนต้นฉบับของแกมป์เฟอร์

https://blogs.bl.uk/asian-and-african/2016/02/kaempfers-cat.html


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 05 มิ.ย. 19, 11:00

เจ้าชายพระราชบุตร สวมหมวกปีกกว้าง  ทรงปรากฏพระองค์เมื่อไม่นานนี้ ทรงพระมาลาประดับลวดลายทองคำและอัญมณี มีสายสร้อยทองรัดคาง ลักษณะเหมือนหมวกทรงสูงของชาวยุโรป แต้มด้วยลายเขียนสี เมื่อเข้าเฝ้าจะถอดพระมาลาออก

ช่างละม้ายคล้ายคลึงกับหมวกขุนนางในละครประวัติศาสตร์ของเกาหลียิ่งนัก  ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 05 มิ.ย. 19, 12:01

หรือแบบนี้?


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 05 มิ.ย. 19, 12:47

Sugarhat


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 05 มิ.ย. 19, 13:08

ช่างละม้ายคล้ายคลึงกับหมวกขุนนางในละครประวัติศาสตร์ของเกาหลียิ่งนัก

ว่าด้วยเรื่องหมวก

สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงมีลายพระหัตถ์ไปยังพระยาอนุมานราชธน ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๔๗๙ มีพระอธิบายเรื่องหมวกไว้ว่า หมวกต่าง ๆ ที่ไทยมีน่าจะมาจากต่างประเทศ ชาวเราแต่เดิมน่าจะใช้ผ้าโพกมาก่อนดูอย่างพม่าและญวนเป็นต้น ที่ว่ามาจากต่างประเทศนั้น ทรงตั้งข้อสังเกตดังนี้

๑. หมวกกลีบลำดวน เห็นรูปพลธนูของฝรั่งใส่หมวกทรงเดียวกัน เว้นแต่ทำด้วยเหล็กและไม่มีกลีบ
๒. หมวกหนัง เห็นรูปทหารฝรั่งโบราณใส่ แต่ทำด้วยเหล็ก ที่ทำด้วยเหล็กนั้นต้องการกันอาวุธ เราทำด้วยหนังก็เพื่อกันอาวุธเช่นกัน
๓. หมวกทรงประพาส เห็นรูปอินเดียมี ทั้งฝรั่งก็ดูเหมือนมีด้วยเหมือนกัน แต่ปกคอปกหูเขาทำลูกโซ่เกี่ยวกันเป็นแผ่นดุจผ้าเพื่อกันอาวุธ ของเราทำด้วยผ้า คิดว่าแต่ก่อนคงเอาแผ่นเหล็กหรือหนังสอดไว้ข้างใน เพื่อกันอาวุธเหมือนกัน
๔. พระมาลาเส้าสูง เคยเห็นรูปชาวเมืองเกาหลีใส่กันเป็นพื้นเมือง ถ้าเราจะได้มาแต่เมืองเกาหลีก็ไม่ประหลาด เพราะธงที่เราใช้ในการแห่ก็มีธงเสือปีก ซึ่งเป็นธงประจำประเทศเกาหลี ย่อมจะได้มาด้วยกัน ส่วนพระมาลาคือพระมาลัยทองรัดรอบหมวกนั้นเราประดับเติมเข้า ขนนกนั้นเราจำอย่างมาจากแขกยังเรียกอยู่ว่า พระยี่ก่า ซึ่งตรงกับคำแขก เห็นจะเป็นภาษาเปอร์เซียร์เรียกอย่างเดียวกัน
๕. พระมาลาเส้าสะเทิ้น เขาว่ามาแต่ฝรั่ง เป็นหมวกครั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งเมืองฝรั่งเศส
๖. พระมาลาเบี่ยง เห็นเหมือนกับเครื่องเกราะญี่ปุ่น

สำหรับลำดับศักดิ์ของหมวก ทรงอธิบายไว้ดังนี้

สำหรับพล
- หมวกกลีบลำดวน เป็นหมวกสำหรับพลเช่นพวกกลองชนะใส่
- หมวกหนัง รูปเหมือนฟักตัดมีกระบังรอบ เคลือบสีแดง

สำหรับนาย
- หมวกทรงประพาส

สำหรับเจ้าพระยา
- มาลาเส้าสูงไม่มีขนนก

สำหรับเจ้านายและพระเจ้าแผ่นดิน
- พระมาลาเส้าสูงปักขนนกตั้ง และพระมาลาเส้าสะเทิ้นปักขนนกนอน  (คำบรรยายในภาพที่นำมาลงนี้สลับกัน)
- พระมาลาเบี่ยง เป็นหมวกหนังสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน

ที่มาภาพและข้อมูล: บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๑

จาก https://www.facebook.com/100001769293827/posts/2146189178783371?s=100006582436536&sfns=mo


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 05 มิ.ย. 19, 13:16

เขาว่า ?


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 05 มิ.ย. 19, 15:17

จาก ตำราเครื่องต้นเครื่องทรงแต่โบราณ ประกอบด้วยพระอธิบายของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และคำวินิจฉัยของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  หน้า ๗๐-๗๑

https://wisdom.sc.mahidol.ac.th/archives/files/PDF/Royal/Coronation_part_2.pdf




บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 08 มิ.ย. 19, 22:42

มาลาเส้าสูง ที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงมีพระวินิจฉัยว่ามาจากหมวกเกาหลีนั้น  ในภาษาเกาหลีเรียกว่า คัต (갓) เป็นหมวกผู้ชายในสมัยโชซอน

ทำจากโครงไม้ไผ่สานด้วยขนม้า มีหลายขนาดเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยครับ



บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 08 มิ.ย. 19, 22:44

แต่ผมมีความคิดเห็นต่างจากพระวินิจฉัย โดยเห็นว่ามาลาเส้าสูงน่าจะได้อิทธิพลมาจากหมวกของชาวดัตช์ในช่วงคริสต์ศตวรรษ์ที่ 17 มากกว่าครับ


ในสมัยนั้นชาวดัตช์นิยมสวมหมวกสีดำปีกกว้างทรงสูง ซึ่งเป็นที่นิยมของชาวยุโรปหลายชาติ เช่น พวกพิวริตันในอังกฤษ สอดคล้องตามที่เกมเฟอร์ระบุลักษณะมาลาเส้าสูงว่า "ลักษณะเหมือนหมวกทรงสูงของชาวยุโรป" และพระมาลาเส้าสูงในปัจจุบันทำด้วยสักหลาด ปีกขยับได้ ใกล้เคียงกับหมวกยุโรปที่ทำจากผ้าหรือขนสัตว์เช่นขนบีเวอร์  ไม่เหมือนหมวกเกาหลีที่ทำจากโครงไม้ไผ่ครับ


มาลาเส้าสูงที่แกมเฟอร์วาด มีความสูงของหมวกใกล้เคียงกับหมวกดัตช์ในยุคนั้นมาก แต่มาลาเส้าสูงในปัจจุบันเหมือนจะเตี้ยกว่าเล็กน้อย ทั้งหมวกฝรั่งในยุคนั้นก็มีความสูงหลายระดับ อาจจะมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย


ดัตช์เป็นชาติยุโรปที่เข้ามามีอิทธิพลในสยามมากตั้งแต่ช่วงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมถึงต้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จนถึงสมัยพระเพทราชาก็เข้ามามีบทบาทในราชสำนักอีก การที่สยามจะได้รับอิทธิพลด้านเครื่องแต่งกายมาจึงไม่แปลกประหลาด ดูมีความเป็นไปได้สูงกว่าเกาหลีที่ไม่ค่อยมีบทบาทและความสัมพันธ์ทางการค้ากับสยามเท่าไหร่ครับ


ภาพวาดชาวดัตช์ สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17







ภาพวาด Sir Richard Saltonstall ชาวอังกฤษ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 08 มิ.ย. 19, 23:29

ส่วนพระมาลาเส้นสะเทิน แทบไม่มีความแตกต่างจากพระมาลาเส้าสูงนอกจากเตี้ยกว่า เชื่อว่าได้อิทธิพลมาจากยุโรปเหมือนกันครับ

พระมาลาเส้นสะเทินน่าจะได้อิทธิพลมาจากหมวกที่เรียกว่า Cavalier hat ซึ่งเป็นหมวกปีกกว้างที่นิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ส่วนใหญ่ทำจากสักหลาด มีขอบโค้งงอ หรือพับปีกขึ้นข้างหนึ่ง (เรียกว่า slouch hat) และประดับด้วยขนนก ใกล้เคียงกับพระมาลาของไทยที่พับปีกประดับพระยี่ก่าปีกขนนกการเวกครับ  มีความสูงหลายระดับ แต่จากภาพเขียนส่วนใหญ่ดูไม่สูงมากนัก ออกไปทางกลางหรือเตี้ย

บางทีพระมาลาเส้าสูงแบบปัจจุบันที่ไม่ได้สูงเท่าภาพของแกมเฟอร์ ก็อาจจะได้รับอิทธิพลมาจาก Cavalier hat เหมือนกัน เพียงแต่เรียกแยกตามความสูงเท่านั้นครับ


หมวกชนิดนี้เริ่มมาจากอังกฤษในสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 โดยกลุ่มแควาเลียร์ (Cavalier) ที่นิยมระบอบกษัตริย์  และกลายเป็นที่นิยมไปทั่วยุโรป














ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ยุโรปเริ่มนิยมหมวกทรง tricorn พับปีกขึ้นสามด้าน ทำให้หมวกเป็นรูปร่างสามเหลี่ยม แต่ของไทยพับแค่ด้านเดียวครับ



บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 20 คำสั่ง