เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 10207 สวางควัฒน อ่านว่าอย่างไรครับ
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


 เมื่อ 07 พ.ค. 19, 14:24

สะ-วาง-คะ-วัด

ใช่หรือไม่ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 07 พ.ค. 19, 15:19

คุณ azante คงหมายถึงคำว่า สวางควัฒน ใน พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนา สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี



สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

คำอ่าน สม-เด็ด-พระ-เจ้า-น้อง-นาง-เทอ เจ้า-ฟ้า-จุ-ลา-พอน-วะ-ไล-ลัก อัก-คระ-ราด-ชะ-กุ-มา-รี กรม-มะ-พระ-สี-สะ-หวาง-คะ-วัด วอ-ระ-ขัด-ติ-ยะ-ราด-ชะ-นา-รี
บันทึกการเข้า
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 07 พ.ค. 19, 15:48

ขอบคุณครับ

ที่ถามเพราะ มีบางท่านบอกว่า สวาง ถ้าอ่าน สะ-หวาง จะมีความหมายอีกอย่างนึง

เปิดใน พจนานุกรม ก็อ่านว่า  สะ-หวาง  แปลไปอีกเรื่องเลย

แต่ถ้าตามอาลักษณ์ อ่าน ก็คงเป็นเช่นที่ คุณเพ็ญชมพูยกมาครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 07 พ.ค. 19, 19:56

มีบางท่านบอกว่า สวาง ถ้าอ่าน สะ-หวาง จะมีความหมายอีกอย่างนึง

เปิดใน พจนานุกรม ก็อ่านว่า  สะ-หวาง  แปลไปอีกเรื่องเลย

คำว่า สวาง ที่คุณ azante กล่าวถึง อาจจะแผลงมาจากคำว่า สาง แปลว่า ผี

ส่วน สวางควัฒน เป็นคำสมาสระหว่าง สวางค + วัฒน คำว่า สวางค รากศัพท์มาจากคำว่า สุ  + องฺค (องค์) แปลว่า ร่างกายที่ดี

แปลไปคนละเรื่องอย่างที่คุณ azante ว่า
  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 08 พ.ค. 19, 08:23

ขอบพระคุณมากครับ ในคำอธิบาย

สังเกตได้ว่า พระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย  พระนาม  ที่สถาปนาใหม่ สร้อยจะไม่มีตัวการันต์  เลยนะครับ

เช่น พีรยพัฒน สวางควัฒน  ต่างจากพระนามเดิม ซึ่ง มีตัวการันต์   

มีความหมายเช่นไรครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 08 พ.ค. 19, 19:09

พระนามเดิมของทั้ง ๒ พระองค์ ยังคงปรากฏในพระนามาภิไธย/พระนามซึ่งได้รับการเฉลิม/สถาปนา คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา/เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ซึ่งไม่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตในคำว่า เทพรัตน/จุฬาภรณ แต่อ่านเสมือนมีเครื่องหมายทัณฑฆาต ไม่อ่านแบบคำสมาส

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา อ่านว่า  สม-เด็ด-พระ-เทบ-พะ-รัด-ราด-ชะ-สุ-ดา
เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อ่านว่า  เจ้า-ฟ้า-จุ-ลา-พอน-วะ-ลัย-ลัก

เช่นเดียวกับ พีรยพัฒน/สวางควัฒน (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระนามาภิไธย/พระนามใหม่) อ่านว่า พี-ระ-ยะ-พัด/สะ-หวาง-คะ-วัด

การละเว้นเครื่องหมายทัณฑฆาตในพระนามาภิไธย/พระนาม น่าจะเป็นไปตามพระราชนิยม

จาก พระบรมราชโองการ ประกาศเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี และ พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนา สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 09 พ.ค. 19, 09:09

การละเว้นเครื่องหมายทัณฑฆาตในพระนามาภิไธย/พระนาม น่าจะเป็นไปตามพระราชนิยม

เป็นความนิยมในการเขียนหนังสือมาแต่โบราณ  ยิงฟันยิ้ม

จริง ๆ แล้ว โบราณไม่นิยมใช้ไม้ทัณฑฆาตบนตัวการันต์ (อักษรที่ไม่ออกเสียง) เช่น อาทิตย, พระสงฆ, พระยามนตรีสุริยวงษ, หลวงชาติสุรินทร, หลวงนิพัทธกุลพงษ, พระโทรเลขธุรานุรักษ ในตัวอย่างข้างล่าง

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2427/011/92.PDF



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 09 พ.ค. 19, 10:30

อีกตัวอย่างหนึ่ง นามสกุลพระราชทาน "นวรัตน"

ยามเด็กเคยสงสัย ถามผู้ใหญ่ว่านามสกุลเราไม่ได้ออกเสียง นะ-วะ-รัต-ตะ-นะ หรือ ท่านยืนยันว่าไม่ใช่ อ่านว่า นะ-วะ-รัต



http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/2739.PDF




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 10 พ.ค. 19, 16:49

ไปเจอที่อาจารย์ น.อ.ทองย้อย แสงสินชัย ราชบัณฑิต เคยอธิบายถึงคำว่า สวางคนิวาส ไว้
เลยขอลอกบางส่วนที่เกี่ยวกับคำว่า สวางค มาให้อ่านกันค่ะ
สวางคนิวาส

อ่านว่า สะ-วาง-คะ-นิ-วาด

แยกศัพท์เป็น สวางค + นิวาส

(๑) “สวางค”

บาลีเขียน “สฺวางค” (มีจุดใต้ ส อ่านว่า สฺ-วาง-คะ ออกเสียง สฺ- สั้น-เบา คล้ายคำว่า ซวง-) รูปคำเดิมมาจาก สุ (คำอุปสรรค = ดี, งาม, ง่าย) + องฺค

(ก) “องฺค” (อัง-คะ) รากศัพท์มาจาก องฺคฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป; รู้) + อ ปัจจัย

: องฺคฺ + อ = องค แปลตามศัพท์ว่า (1) “ร่างที่เดินได้” (2) “เหตุเป็นเครื่องรู้ที่เกิด” คือทำให้รู้ต้นกำเนิด (3) “ส่วนอันเขารู้ว่าเป็นอวัยวะ”

“องฺค” ในบาลีหมายถึง ส่วนของร่างกาย, แขนขา, ชิ้นส่วน, ส่วนประกอบ, เหตุ, เครื่องหมาย (part of the body, a limb, part, member, cause, reason, status symbol); ส่วนประกอบของทั้งหมด หรือของระบบ หรือขององค์ (a constituent part of a whole or system or collection)

องฺค ใช้ในภาษาไทยว่า “องค์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ดังนี้ –

(1) ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, (ราชาศัพท์) ตัว (ใช้แก่หม่อมเจ้า) เช่น รู้สึกองค์ แต่งองค์.

(2) ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘.

(3) ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะ สิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระสุพรรณภาชน์ ๑ องค์ พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์.

(4) ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ภาษาปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร เช่น ภิกษุ ๑ องค์.

(ข) สุ + องฺค แผลง อุ ที่ สุ เป็น โอ แล้วแปลง โอ เป็น อว (อะ-วะ) (สุ > โส > สฺว), “ทีฆะสระหลัง” คือ อะ ที่ อ-(งฺค) เป็น อา (องฺค > อางฺค)

: สุ > โส > สฺว + องฺคฺ = สฺวงฺค > สฺวางฺคฺ เขียนแบบไทยเป็น “สวางค” แปลว่า ร่างกายที่ดี, ร่างกายที่ได้รับการบำรุงเป็นอย่างดี, ร่างกายที่สมส่วนสวยงาม

อ่านทั้งหมดได้ที่นี่ค่ะ

http://dhamma.serichon.us/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AA-%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%AA%E0%B8%B0-%E0%B8%A7%E0%B8%B2/
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 10 พ.ค. 19, 17:52

ถ้าอ่านโดยอิงสำเนียงเดิมในภาษาบาลี ก็คงเป็นอย่างที่อาจารย์ทองย้อยว่า แต่เมื่อรับเข้ามาเป็นในภาษาไทยแล้ว ก็ต้องออกเสียงตามกฎเกณฑ์เรื่องอักษรนำของภาษาไทย

จาก อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒๒ (แก้ไขเพิ่มเติม) หน้า ๕๑


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 10 พ.ค. 19, 19:49

น่าจะพิมพ์ผิด
ควรจะมีใครส่งข้อความไปบอกแอดมินด้วยค่ะ

4 .จารึกพระนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

“สม-เด็ด-พระ-เจ้า-น้อง-นาง-เทอ-เจ้า-ฟ้า-จุ-ลา-พอน-วะ-ลัย-ลัก-อัค-คระ-ราด-ชะ-กุ-มา-รี-กรม-พระ-สี-สะ-หว่าง-คะ-วัด-วอ-ระ-ขัด-ติ-ยะ-ราด-ชะ-นา-รี”

https://news.mthai.com/phralan/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 10 พ.ค. 19, 19:51

นี่ก็เหมือนกัน

4 .จารึกพระนามพระบรมวงศ์ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
การอ่านออกเสียง
“สม-เด็ด-พระ-เจ้า-น้อง-นาง-เทอ-เจ้า-ฟ้า-จุ-ลา-พอน-วะ-ลัย-ลัก-อัค-คระ-ราด-ชะ-กุ-มา-รี-กรม-พระ-สี-สะ-หว่าง-คะ-วัด-วอ-ระ-ขัด-ติ-ยะ-ราด-ชะ-นา-รี”

https://teen.mthai.com/variety/169667.html
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 11 พ.ค. 19, 07:10

คำอ่านพระนามจากประกาศฯในราชกิจจานุเบกษา

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/117/T_0001.PDF


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 11 พ.ค. 19, 07:15

คำอ่านข้างบนมีคำหนึ่งไม่ตรงกับคำอ่านของท่านรอยอิน คือ กรมพระ ท่านรอยอินให้อ่านว่า กรม-มะ-พระ ไม่ใช่ กรม-พระ

คำว่า กรมหมื่น, กรมหลวง และกรมขุน ท่านก็ให้อ่านทำนองเดียวกัน




บันทึกการเข้า
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 11 พ.ค. 19, 23:20

หรือ คนออกราชกิจจา ลืมปรึกษา รอยอิน ครับ

เพราะได้ยินมา กรม-มะ-พระ ตลอดยกเว้น กรมพระยา ที่อ่าน กรม-พระ- ยา

เนื่องจากนิยม ให้อ่าน  ๓ พยางค์
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 20 คำสั่ง