เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7]
  พิมพ์  
อ่าน: 10664 คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 02 พ.ค. 19, 17:31

สุดท้าย ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาว่า ผู้ว่าฯกทพ. ในขณะนั้น มีพฤติการณ์รีบร้อนในการทำสัญญากับเอกชน โดยเอกชนคู่สัญญาเองก็รู้อยู่แล้วว่า กทพ. ไม่อาจส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างได้ นอกจากนี้ ยังมีการจัดสรรหุ้นของบริษัท ให้แก่ผู้ว่าฯกทพ. ด้วย ศาลฎีกาเห็นว่า การใช้อำนาจในฐานะผู้ว่าฯกทพ. ดังกล่าวในการลงนามในสัญญาจ้างเหมาทางด่วนฯ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย การทำสัญญาดังกล่าวของเอกชนคู่สัญญาใช้สิทธิโดยไม่สุจริต สัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนฯ เกิดจากการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลผูกพันผู้คัดค้าน (กทพ.) คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวที่ชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระเงินให้แก่ผู้ร้อง (เอกชน) หากศาลบังคับให้ตามคำชี้ขาดนั้นย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ชอบที่ศาลจะปฏิเสธไม่รับบังคับให้ตามมาตรา 44 แห่ง พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 พิพากษาให้ยกคำร้อง

สรุปง่ายๆ คือ กทพ. ชนะคดีค่าโง่ทางด่วน ไม่ต้องบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ชี้ขาดให้ กทพ. ชดใช้เงินแก่เอกชนถึง 6 พันล้านบาท

ต่อมา เอกชนยังสู้อีกยก โดยฟ้องเรียกเงินคืนในฐานะลาภมิควรได้

ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ กทพ. ใช้เงินแก่บริษัทเอกชน 5 พันล้านบาท

แต่ศาลฎีกาพิพากษา โดยชี้ข้อเท็จจริงที่ว่า ทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนนั้น ฝ่ายเอกชนคู่สัญญาได้ให้ผลประโยชน์แก่ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (ขณะเกิดเหตุ) ซึ่งเป็นผู้แทนมีอำนาจกระทำการแทนจำเลย และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อจูงใจให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการทำสัญญาจ้างเหมาดังกล่าวเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่โจทก์กับพวก และในขณะที่ทำสัญญาจ้างเหมานั้น ผู้ว่าฯ กทพ. และโจทก์กับพวกต่างก็ทราบก็ดีอยู่แล้วว่าจำเลยยังไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์กับพวกได้ พฤติการณ์ของโจทก์กับพวกถือได้ว่าโจทก์กับพวกทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนกับจำเลยโดยไม่สุจริตมาตั้งแต่ต้น จึงมีส่วนร่วมในการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นผลให้สัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนไม่ผูกพันจำเลย แม้โจทก์กับพวกจะทำงานตามสัญญาจ้างเหมาดังกล่าวแล้วเสร็จโดยส่งมอบโครงการทางด่วนให้จำเลยได้รับไปแล้วโดยมีราคาคงที่เพิ่มเติมในภายหลังก็ตาม ราคาคงที่เพิ่มเติมดังกล่าวก็ถือได้ว่าโจทก์กระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกราคาคงที่เพิ่มเติมและค่าดอกผลในค่าผ่านทางด่วนจากจำเลยฐานลาภมิควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายกฟ้อง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 02 พ.ค. 19, 17:32

ความข้างต้นนี้ เป็นใจความสำคัญตามคำพิพากษาศาลฎีกา (ที่มา เพจหลักกฎหมายสายย่อ)

3.2 ช่วงที่มีการบอกเลิกสัญญา และช่วงที่เรื่องเข้าสู่อนุญาโตตุลาการอีกหลายปี หลังแจ้งบอกเลิกสัญญา

ช่วงนั้น มีเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าจะระดับใด เข้าไปรับงานใคร? ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ เอื้อประโยชน์แก่เอกชน หรือไม่ อย่างไร?

ทั้งหมด หากใช้บทเรียนจากการแก้ไขค่าโง่กรณีคลองด่าน กับกรณีทางด่วนฯข้างต้น ก็จะต้องไล่ดูขยะที่ถูกซุกไว้ใต้พรม ว่ามีใครทำอะไรไว้ เพื่อจะใช้เหตุนั้น ยืนยันว่า ไม่สามารถจะบังคับตามสัญญาได้เพราะเข้าข่ายฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ต่อไป

 สารส้ม

https://www.naewna.com/politic/columnist/39905
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง