เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 10748 คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 26 เม.ย. 19, 15:13

หากเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนด้วยกันแล้ว คู่สัญญา ทั้งสองฝ่ายต่างก็จะปกป้อง ผลประโยชน์ของตนเต็มกำลัง ความสามารถ ไม่ยอมแพ้กันง่ายๆ แต่ในกรณีสัญญาภาครัฐ ไม่มีใครเป็นเจ้าของผลประโยชน์ภาครัฐที่แท้จริง ในขณะที่ผลประโยชน์ได้เสียมีมูลค่านับร้อยนับนับหมื่นล้าน บาท จะมีเจ้าหน้าที่รัฐกี่คนที่ทุ่มใจกับประโยชน์ของรัฐ ไม่ไป “ฮั้ว”เพื่อประเคนเงินให้เอกชนอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้

อย่างไรก็ตามแม้จะไม่สามารถระงับการนำ กรณีพิพาทระหว่าง รัฐกับเอกชนเข้าสู่ระบบอนุญาโตตุลาการได้ แต่คณะกรรมาธิการก็ยังสามารถที่จะวางกรอบการทำหน้าที่เพื่อป้องกัน การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของคณะอนุญาโตตุลาการ ที่มีอำนาจชี้ขาดผลประโยชน์มหาศาลได้เหมือนศาลว่าหากใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สุจริต ให้มีความรับผิดทั้งแพ่ง และทางอาญาด้วยเช่นกัน โดยกำหนดไว้ในมาตรา 23 ดังนี้

“มาตรา 23 อนุญาโตตุลาการไม่ต้องรับผิดทางแพ่งในการกระทำตามหน้าที่ในฐานะ อนุญาโตตุลาการ เว้นแต่จะกระทำการโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้คู่พิพาท ฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งเสียหาย”

อนุญาโตตุลาการผู้ใด เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์ สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบเพื่อ กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในหน้าที่ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน สิบปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้ง ปรับ

ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ อื่นใดแก่อนุญาโตตุลาการเพื่อจูงใจ ให้กระทำการ ไม่กระทำ การหรือประวิงการกระทำการใดอันมิชอบด้วยหน้าที่ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ”

เพราะฉะนั้น พวกอนุญาโตตุลาการที่ไม่สุจริตจะต้องมี ความผิดต่อไปด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 26 เม.ย. 19, 15:14

เราจะทำอย่างไรดีกับค่า “โคตรโง่โฮปเวลล์”

เท่าที่ทราบเกี่ยวกับคดี “โคตรโง่โฮปเวลล์” ในขณะนี้ มีเพียงว่าศาลปกครองสูงสุดมี คำพิพากษาให้ภาครัฐ ชดใช้เงินให้กับโฮปเวลล์เป็นเงินประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท บวกดอกเบี้ยอีกจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยกลับคำพิพากษาของ ศาลปกครองกลางที่วินิจฉัย ยกฟ้องเพราะโฮปเวลล์ยื่นฟ้องขาด อายุความ แต่ผมยังไม่สามารถตรวจสอบรายละเอียดของ เหตุผลและข้อวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดได้ในขณะนี้ว่าเหตุใดจึงเห็นต่างจากศาลปกครองกลาง จึงยังไม่อาจแสดงความ เห็นได้มากนัก อย่างไรก็ตาม ผมมีข้อสังเกตุและข้อเสนอ ดังนี้ครับ

ข้อสังเกตุ

1) ไม่เคยปรากฎสัญญาระหว่างภาครัฐกับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่เป็นต้นเรื่องของปัญหา ให้สาธารณะรับทราบหรือตรวจสอบได้ว่ามีเนื้อหาข้อตกลงใน สัญญาอย่างไร มีการเอื้อประโยชน์ให้เอกชน หรือเอื้อต่อการผิด สัญญาของภาครัฐ หรือส่อไปในทางทุจริตหรือไม่ เหตุใดการบอกเลิกสัญญาของภาครัฐจึงกลายเป็นการบอกเลิกสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ทั้งๆที่ตามที่ปรากฎเป็นข่าวและตาม ข้อเท็จจริงนั้นโฮปเวลล์เป็นฝ่ายผิดสัญญาทำงานล่าช้าและไม่ เสร็จตามกำหนดและควรจะต้องเป็นฝ่ายเสียค่าปรับให้รัฐ

2) เรื่อง “โคตรโง่โฮปเวลล์” นี้มีการดำเนินการมาอย่าง เงียบมากทั้งในชั้นอนุญาโตตุลาการและในชั้นศาลปกครอง ผิดจากกรณีอื่นๆที่จะมีการรายงานความคืบหน้าเป็นระยะๆบ้าง ไม่มีใครทราบแน่ชัดในรายละเอียดในขณะนี้ว่าอนุญาโต ตุลาการในกรณี “โคตรโง่โฮปเวลล์” นี้ มีคำชี้ขาดว่าภาครัฐ บอกเลิกสัญญากับโฮปเวลล์โดยไม่ชอบธรรมอย่างไร และโฮปเวลล์ มีความเสียหายรวมทั้งสิ้นถึงประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท จริงหรือไม่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 26 เม.ย. 19, 15:15

3) ไม่เคยมีการตรวจสอบเลยว่ามีพฤติการณ์ใดแห่ง คดีที่มีลักษณะเป็นการกระทำทุจริตหรือเข้าข่ายที่ภาครัฐจะต่อสู้ทางกฎหมายอื่นต่อไปอีกได้หรือไม่ โดยเฉพาะประเด็นที่มาของสัญญา การร่างสัญญา ข้อตกลงและเงื่อนไขของสัญญา

ข้อเสนอ

1) ให้เปิดเผยสัญญาระหว่างภาครัฐกับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัดต่อสาธารณะโดยด่วน และต้องรีบตรวจ สอบสัญญาดังกล่าวว่ามีลักษณะที่เอื้อประโยชน์หรือส่อไปใน ทางทุจริต รวมทั้งพฤติการณ์ต่างๆของผู้เกี่ยวข้องที่นำไป สู่การผิดสัญญา และในการต่อสู้คดี ว่ามีลักษณะที่ไม่สุจริตหรือ ไม่ เพื่อหาแนวทางที่จะนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาคดีของศาล ยุติธรรม อีกครั้ง เช่นเดียวกันกับกรณี “ค่าโง่ทางด่วน” และ “ค่าโง่คลองด่าน”

2) แก้ไขมาตรา 15 ของ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ที่ไม่มีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทได้จริง และเป็นการเอื้อต่อการทุจริตคอร์รัปชั่น ทำให้รัฐเสียหายอย่าง มหาศาลในช่วงเวลาที่ผ่านมา เป็นว่า
“มาตรา 15 ห้ามมิให้นำวิธีการอนุญาโตตุลาการมาใช้ ในการระงับข้อพิพาทในสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนไม่ว่าเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ก็ตาม”

3) เร่งออกกฎหมาย “ความรับผิดในการทำสัญญา ของหน่วยงานของรัฐ” มีหลักการให้ผู้ยกร่างและผู้ตรวจสอบ ร่างสัญญาของรัฐ รวมทั้งผู้ลงนามในสัญญา ต้องรับผิดต่อความ เสียหายของรัฐที่เกิดจากข้อสัญญาที่เสียเปรียบหากพบว่ามีการทุจริต หรือจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนเกิด ความเสียหายแก่รัฐ
เร่งมือเถอะครับ ก่อนความเสียหายจะบานปลายไปมากกว่านี้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 26 เม.ย. 19, 17:11

ความเห็นของนักการเมืองนี่อ่านแล้วเหนื่อย

๑ โครงการใหญ่ขนาดนั้น ผ่านการพิจารณาของกระทรวงคมนาคมเร็วมากจากการผลักดันของรัฐมนตรี  และนำเสนอต่อค.ร.ม. ด้วยกระดาษ ๘ แผ่น(ตามข่าว) ค.ร.ม.ก็ผ่านให้โดยไม่คำนึงถึง ความเป็นไปได้ในภาคปฏิบัติว่ารัฐจะสนองต่อคู่สัญญาได้ไหมในเรื่องของการส่งมอบพื้นที่  ซึ่งคนระดับนั้นแล้วต้องรู้ว่าที่ดินของการรถไฟที่นำไปผูกในสัญญามีปัญหาผู้บุกรุกเข้ามาปักหลักอาศัยอยู่  และต้องรู้ด้วยว่า การใข้อำนาจศาลขับไล่ผู้บุกรุกนั้นต้องใช้เวลาหลายปีไม่สามารถกำหนดได้  ในขณะที่ในสัญญาระบุว่า โครงการที่ ๑ คือเส้นทางจากยมราชถึงดอนเมืองจะต้องเสร็จภายใน ๔ ปี  มันจะเป็นไปได้อย่างไร แต่ ค.ร.ม.ก็หลับหูหลับตาผ่านให้เพราะจะไม่ยุ่งกับเค๊กที่แบ่งกันระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลไปแล้ว

๒ ประเด็นที่เหมาให้โฮปเวลล์ออกแบบและก่อสร้างเองโดยที่ต้องประสานกับหน่วยงานอื่น เช่นการทางพิเศษเป็นต้น  ข่าวว่านายกอร์ดอน วูหงุดหงิดมาก เพราะส่งแบบทีไรก็ไม่ผ่าน และคู่สัญญาก็ไม่เดือดร้อนแทน

๓ หลังการลงนามในสัญญาไม่นาน นายมนตรีก็ย้ายไปเป็นรัฐมนตรีเกษตร  รัฐมนตรีที่มาใหม่ก็ไม่ค่อยจะผลักดันข้าราชการให้ช่วยแก้ปัญหาติดขัดดังกล่าว งานก็เดินไปอย่างเชื่องช้า  ในขณะที่รายจ่ายที่ไม่สร้างผลผลิตก็เพิ่มขึ้นมหาศาล

๔ พอข่าวว่าโครงการเดินหน้าไม่ได้หนาหู ธนาคารที่ให้กู้เงินก็ระงับที่จะให้บริษัทสร้างหนี้ต่อ  งานที่ช้าอยู่แล้วก็ยิ่งช้าไปอีก  ทางการรถไฟกล่าวหาว่าบริษัทถ่วงเวลา เพราะพื้นที่ๆส่งมอบไปแล้วก็สามารถทำงานไปเรื่อยๆได้ ในขณะที่กอร์ดอน วูบอกว่าถ้าการรถไฟส่งพื้นที่ไม่ครบ เขาก็จะไม่เร่งรีบทำงานต่อเหมือนกัน  ข้อเท็จจริงคือเขาไม่ได้เงินจากธนาคารมาต่อสายป่านให้จนกว่าจะได้รับมอบพื้นที่ทำงานตามเงื่อนไข

๕ พอโครงการไปไม่รอดแน่  ถ้าทั้งสองจะเลิกสัญญากันโดยดี  ควรจะตกลงกันอย่างไร ?

ส่วนตัวผมเห็นว่า ถ้ารัฐชดเชยเขาไปเท่ากับทุนที่เขาลง  บวกค่าเหนื่อยให้พอสมควรแล้ว  และรับมอบงานมาทำต่อเมื่อเคลียร์ที่ทางแล้วเสร็จ ก็น่าจะยุติธรรมที่สุด
แต่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันไม่ได้ ต้องไปศาล บังเอิญว่าเป็นศาลอนุญาโตตุลาการ  ซึ่งตัดสินให้โฮปเวลล์ได้รับชดเชย ๑.๑ ล้านบาท จากที่เรียกมา ๕.๖ ล้านบาท  อันนี้ยังไปตั้งข้อสงสัยอีกว่าอนุญาโตตุลาการไม่ยุติธรรม ไม่น่าไว้ใจว่าจะเข้าข้างเอกชนกับข้าราชการขี้ฉ้อเพื่อจะโกงรัฐอีกหรือครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 06:36

^


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 06:36

ความคิดเห็นเช่นนี้ก็เท่ากับเชิญให้คนเข้าไปด่ากราด อ่านแล้วยากที่จะพบความเห็นใดที่สร้างสรร

ผมคิดว่า เราน่าจะหาว่าข้อเท็จจริงในเรื่องของสัญญาว่ามีข่องโหว่อย่างไร ที่คนเลวมันใช้เอามาโกงแผ่นดิน ไม่ใช่ไปโจมตีในหลักการว่ากระบวนการอนุญาโตตุลาการไม่ดี สู้ศาลไม่ได้ เพราะถ้าคนมันจะโกงมันก็โกงเหมือนกัน 
วิธีป้องกันคนโกงคือ หาจับคดีใดได้ก็ขอให้กฏหมายศักดิ์สิทธิ์ ตัดสินให้มันติดคุกเร็วๆ และให้ถือเป็นคดีร้ายแรงเหมือนโทษคดียาเสพย์ติด ไม่มีการลดโทษให้เช่นคดีทั่วไปที่ติดคุกจริงๆแค่ไม่กี่ปีก็ออกมาใช้เงินที่โกงมาได้แล้ว
 
เอาเป็นตัวอย่างจริงๆจังๆให้เกิดความหลาบกลัว จึงจะต่อต้านการโกงได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 06:55

สำหรับคุณนริศ ที่เขียนว่า โดยปกติแล้ว มีทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐประการหนึ่งว่า รัฐมีหน้าที่จัดทำบริการสาธารณะ ครับ ดังนั้น การจัดทำบริการสาธารณะจึงถือเป็นการกระทำทางปกครองอย่างหนึ่ง และเมื่อเป็นการกระทำทางปกครองแล้ว รัฐย่อมอยู่ในฐานะที่มีอำนาจเหนือกว่าคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นเอกชนอยู่บางประการครับ เช่นการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือยกเลิกข้อสัญญาบางประการได้ 
นี่แหละที่ผมอ่านแล้วรู้สึกหม่างๆที่สุด คล้ายกับว่าเวลาเราอ่านสัญญามัดมือชกของธนาคาร หรือบริษัทประกัน ที่มักจะซ่อนข้อความด้วยตัวหนังสือเล็กๆว่า  บริษัทสงวนสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงเงื่นไขตามสัญญานี้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าให้ทราบ
นี่เป็นการเอาเปรียบลูกค้าชัดๆ แต่เขาไม่สนใจ ยูก็ just take it or leave it.

ในสัญญาธุรกิจระหว่างรัฐกับเอกชนใดก็ตาม  ไม่ควรจะมีข้อความที่มัดมือชก  แต่ต้องชัดเจนว่า  รัฐมีสิทธิ์ที่จะสั่งให้หยุดดำเนินการได้หากพบว่า สิ่งที่บริษัทกำลังกระทำลงไปไม่ชอบด้วยกฏหมายอันเกี่ยวกับสวัสดิภาพและสุขอนามัย หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน

การเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือยกเลิกข้อสัญญาบางประการนั้นจะกระทำได้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งละเมิดกฏหมายเท่านั้น
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 07:03

ภาครัฐต้องตระหนักถึงความเป็น รัฐ ให้มากขึ้น ต้องเข้าใจหลักการใช้อำนาจปกครองให้มากขึ้น และต้องมองประโยชน์สาธารณะให้มากขึ้น ทุกวันนี้แม้ว่าหลักกฎหมายมหาชนจะแพร่หลายมากกว่าแต่ก่อนแล้ว แต่ภาครัฐก็ยังสลัดแนวคิดว่าตนคือเอกชนคนหนึ่งในการทำสัญญาในเรื่องต่างๆ ไม่ค่อยจะได้

ตรงนี้ผมมีความเห็นตรงข้ามเลย

ในการทำสัญญาของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายนั้น ต้องการการเอาใจเขาใส่ใจเรา  เช่น เรียกร้องอย่างนี้เขาจะทำได้ไหม เอาเปรียบเขาเกินไปหรือเปล่า คู่สัญญาที่ฝรั่งใช้คำว่า too smart นั้นมักจะไปไม่รอดครับ  คนเราก็กินข้าวเหมือนๆกันทั้งข้าราชการและเอกชน พวกกินแกลบไม่ได้ขึ้นมานั่งโต๊ะเจรจาหรอก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 07:14

ผมไม่รู้ว่าอันนี้เป็นเรื่องในภาพรวมจริงๆ คือเป็นแนวคิดที่สืบทอดมาจากยุคกฎหมายเอกชนจริงๆ หรือเป็นเรื่องเชิงบุคคลก็ไม่ทราบ เพราะจากที่ผมเคยเห็น บางทีรัฐกลัวว่า เอกชนจะไม่ยอมทำสัญญาด้วย กลัวว่าสัญญาจะไม่ดึงดูดพอ ไม่หอมหวานพอ ก็ใส่สิทธิประโยชน์ให้ภาคเอกชนลงในสัญญามากๆ ใส่อำนาจรัฐไว้ให้น้อยๆ อะไรแบบนั้น เอกชนเห็นก็ชอบใจและยอมทำสัญญาด้วย หากฝ่ายกฎหมายร่างสัญญาแบบที่ให้รัฐมีอำนาจมากกว่ามาเสนอ ก็มักถูกต่อว่า ว่าทำให้รัฐเสียประโยชน์ เสียโอกาส ร่างมาแบบนี้ (หรือกำหนดมาอย่างนี้) ใครเขาจะมา เดี๋ยวเขาก็ไปที่ประเทศอื่นกันหมดหรอก ต้องให้เขาอีก เยอะๆ เยอะๆๆๆๆ สิ อะไรอย่างนี้เป็นต้น
   
ทั้งหมดนี้ผมคิดว่าไม่จริงนะครับ  สิ่งที่ดึงดูดเอกชนให้เข้ามาร่วมงานกับรัฐ  ไม่ใช่เพราะต้องการให้รัฐลดอำนาจให้ตนมีสิทธิ์ละเมิดกฏหมาย แต่เขาต้องการสิทธิประโยชน์ในด้านภาษีอากรบางประการ  อย่างเช่นที่ B.O.I. เสนอให้อยู่แล้ว แต่เขาอาจจะเจรจาขอมากกว่าตัวเลขมาตรฐานที่ใช้กับทุกบริษัท เป็นกรณีย์พิเศษ

การตัดสินใจลงทุนใด ประเทศไหน ก็ขึ้นอยู่กับการศึกษาโครงการว่าจะให้ผลตอบแทนเท่าไหร่  บรรทัดสุดท้ายในงบกำไรขาดทุนนั้นจึงสำคัญที่สุด  ไม่ใช่อำนาจในการละเมิดกฏหมายซึ่งจะก่อปัญหาสังคมจนกิจการไปไม่รอด
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 07:45

สัญญาแบบนั้น ถ้าไม่เกิดปัญหา ก็ดีไป แต่ครั้นพอเกิดปัญหา ภาครัฐทำอะไรภาคเอกชนไม่ได้เลย ต้องยอมตามที่ตนได้ทำสัญญาแบบนั้นเอาไว้ ลงท้ายด้วยการถูกหาว่า "โง่" 
ผมไม่เคยเห็นตัวสัญญานะครับ แต่เชื่อว่า มีลักษณะแบบนั้นอีกเยอะเลยครับ


ผมเชื่อว่าการทำสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชนในกรณีย์ที่เป็นโครงการระดับชาติ  จะมีระเบียบแบบแผนอยู่แล้วทั้งการกำหนดบุคคลากรผู้ร่างสัญญา ซึ่งมาจากกรมอัยการหนือสนง.กฤษฎีกา โดยอาจจะจ้างที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมาด้วย  รูปแบบของสัญญาประเภทนี้อาจจะปึกใหญ่ก็จริง แต่ข้อความเกือบทั้งหมดก็จะไม่ต่างกัน ยกเว้นในส่วนของ Terms and Conditions ซึ่งจะถูกกำหนดโดยผู้มีอำนาจในกระทรวง  หากจะพบความไม่ชอบมาพากลก็จะพบในส่วนนี้
ทว่าก่อนเข้าค.ร.ม.เพื่อให้ความเห็นชอบ  ข้อเสนอจะต้องถูกส่งไปกลั่นกรองที่สภาพัฒน์  ซึ่งส่วนหนึ่งจะถูกตีกลับให้ไปแก้ไข แต่ก็นั่นแหละ ถ้าบุคคลระดับนายกหรือรองนายกที่กำกับดูแลสั่งมาว่า เอาอย่างนี้แหละ มันก็ผ่าน 

ผมขี้เกียจยกตัวอย่างกรณีย์จริง

ที่ประเทศชาติเสียหาย จึงไม่ใช่ว่าเพราะไปยอมรับกระบวนการอนุญาโตตุลาการ  แต่เพราะคนมันโกง 

ทำไมเมืองไทยคนโกงมันแยะ ก็เพราะขบวนการเอาโทษทางกฏหมายมันอ่อนแอ ผมว่ากฏหมายเรามีเพียงพอแล้วแต่ขาดการบังคับใช้  ประเทศที่ Laws and Enforcement ไม่แข็งแรง  ข้าราชการก็โกงกันยับ ลองคิดดูครับ ปีๆหนึ่งมีคดีคอร์รัปชั่นกี่คดี อยู่ในขั้นตำรวจและอัยการกี่ปี อยู่ในศาลกว่าจะจบถึงฎีกากี่ปี  บางทีจำเลยแก่ตายไปก่อนแล้ว พอเข้าคุกก็ติดไม่เท่าไหร่ ทุกปีได้ลดโทษ ๑ ใน ๓ ประมาณ ๔ ปีก็ออกจากคุกแล้ว เงินที่โกงมาอาจจะถูกยึดทรัพย์ไปบ้าง แต่ที่เม้มไว้ก็ยังสบายถึงลูกหลาน อย่างนี้คนโกงมันบอกว่าคุ้มกับการเสี่ยงครับ

จะยกตัวอย่างจีนที่ประหารชีวิตข้าราชการที่คอร์รัปชั่นก็เดี๋ยวจะมาหาว่าผมโหด  เอาสิงคโปรนี่แหละ ใครโดนคดีนี้ก็ติดคุกหัวโตและถูกประจานในสื่อไม่ให้ทุกคนเอาเยี่ยงอย่าง

เราควรจะช่วยกันคิดว่าว่าทำอย่างไรจึงจะปราบคนโกงได้  ไม่ใช่มาหาทางแก้ไขไม่ให้คดีของรัฐต้องขึ้นศาลอนุญาโตตุลาการ มันเกาไม่ถูกที่คันจริงๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 07:55

    ตามอ่านมาเรื่อยๆ    สะดุดตรงที่ในกรณีนี้ มีผู้ออกมามอบก้อนอิฐให้อนุญาโตตุลาการกันหลายก้อน    บางท่านก็ด่าเละเทะ ด้วยข้อหาฉกาจฉกรรจ์   เปรียบเทียบเป็นสิทธิสภาพนอกอาณาเขตราวกับเราอยู่ในรัชกาลที่ 4 มั่งอะไรมั่ง
    ที่จริง  อนุญาโตตุลาการก็คนไทยเราด้วยกันนี่เอง  ไม่ใช่ฝรั่งมังค่าต่างชาติ  จะเอาไปเปรียบได้ยังไง
    อ่านเพิ่มเติมจากความเห็นอื่นๆ  ก็สงสัยว่า  ไม่แฟร์รึเปล่า  ข้อเท็จจริงเรื่องบทบาทของอนุญาโตตุลาการ มันไม่ใช่อย่างที่กล่าวหา   พวกเขาเป็นแพะรับบาปไปรึเปล่า  
    จริงๆแล้วตามกระบวนการขั้นตอนมันไม่ใช่นี่นา
    1  ใช่ข้อเท็จจริง ที่ว่าอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดให้รัฐไทยเสียค่าปรับให้โฮปเวลล์
    2  ไม่ใช่ข้อเท็จจริง   ที่ว่าอนุญาโตตุลาการเป็นผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาดในเรื่องตัดสิน    เพราะรัฐไม่ยอมรับคำชี้ขาดนี้ได้    สามารถนำเรื่องไปฟ้องศาลปกครองได้
    3   ศาลปกครองชั้นต้น ตัดสินคนละอย่างกับอนุญาโตตุลาการ  ว่าคดีหมดอายุความ   รัฐไม่ต้องใช้ค่าปรับให้โฮปเวลล์
    4  ถ้าคำตัดสินยุติลงแค่นี้     โฮปเวลล์ไม่อุทธรณ์    เราก็จะเห็นว่าบทบาทของอนุญาโตตุลาการเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการเท่านั้นเอง   จบขั้นตอนนี้ก็จบไป  ไม่มีใครเอาใจใส่อีก     ทุกคนจะยินดีปรีดากับคำตัดสินของศาลปกครองชั้นต้น
    5   เรื่องมันกลับตาลปัตร ไม่ลงเอยเหมือนข้อ 4   เพราะไทยมีศาลปกครองสูงสุดรับพิจารณาคดีอุทธรณ์จากศาลปกครองชั้นต้นอีกที     ถ้าศาลปกครองสูงสุดตัดสินตามศาลปกครองชั้นต้น  คือคดีนี้หมดอายุความ ไม่ต้องจ่ายค่าปรับ   ทุกอย่างก็จบแบบข้อ 4
    กลายเป็นว่าในคดีนี้ ศาลปกครองสูงสุดตัดสินตรงกันข้ามกับศาลชั้นต้น  คือยืนตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ   ไม่ยืนตามคำตัดสินของศาลชั้นต้น   ผลก็เลยออกมาแบบรัฐโดนสื่อพาดหัวข่าวเละเทะ
    อนุญาโตตุลาการโดนประณามปานประหนึ่งเป็นตัวการ  
    ไม่ยักมีใครหยิบยกประเด็นคำตัดสินของศาลที่แตกต่างกันมาวิเคราะห์  อาจจะกลัวว่าจะเป็นการละเมิดอำนาจศาลก็เป็นได้     และที่ควรทำมากกว่านั้นคือย้อนกลับไปพิจารณาสัญญาว่าทำกันมายังไง มันถึงออกมาในรูปนี้  อย่างที่คุณ NAVARAT.C กำลังทำอยู่ในกระทู้นี้
    
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 07:56

ความเห็นจากผู้ติดตาม FB คนหนึ่งของผมครับ
(คำว่า you เธอไม่ได้หมายถึงผมนะครับ แต่หมายถึงทุกคนที่อ่านสิ่งที่เธอเขียน)

If you want to improve Thailand’s image, it is time Thailand gets informed and stops using the word “ค่าโง่“ or “stupidity fee” when it comes to arbitration awards against the State. Let’s get educated and find out why a State entity has lost a case instead of “blaming” arbitration as the devil.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 09:01

Some people need a scapegoat, that's why: especially the one who cannot fight back.
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 09:28

บทสรุปจากคำพิพากษาครับ

(1) ประเด็นรับมอบพื้นที่และบ่ายเบี่ยงการรับมอบพื้นที่ ของโฮปเวลล์ นั้น ตามสัญญากำหนดให้กระทรวงฯและการรถไฟเป็นผู้ขับไล่ผู้บุกรุก หากผู้บุกรุกออกไปไม่หมด โฮปเวลล์จะดำเนินการเอง นอกจากนั้นตามสัญญา กระทรวงฯและการรถไฟตกลงจะให้การสนับสนุนที่จำเป็นแก่โฮปเวลล์ ดังนั้นกระทรวงฯและการรถไฟจึงมีหน้าที่กำจัดอุปสรรคใดๆ ในพื้นที่สัมปทาน ซึ่งรวมถึงการขับไล่ผู้บุกรุกซึ่งกระทรวงฯและการรถไฟมีสิทธิตามกฎหมายและมีอำนาจดำเนินการ ดังนั้น การที่โฮปเวลล์ไม่ยอมรับมอบพื้นที่จึงไม่ใช่ความผิดหรือความไม่พร้อมของโฮปเวลล์

(2) ประเด็นแบบในการก่อสร้าง โฮปเวลล์อ้างว่าได้ออกแบบและส่งมอบแบบให้กระทรวงฯและการรถไฟพิจารณาตามสัญญาแล้ว แต่กระทรวงฯละการรถไฟ เห็นว่า แบบไม่มีรายละเอียดไม่สามารถดำเนินการได้และบางส่วนไม่สอดคล้องกับ Concept Design กระทรวงฯและการรถไฟจึงไม่ให้ความเห็นชอบแบบ คณะอนุญาโตตุลาการพิจารณาตามสัญญาแล้วการส่งมอบแบบบางส่วนสามารถทำได้ เมื่อพิเคราะห์จากหลักฐานแล้วเห็นว่า โฮปเวลล์ได้ส่งมอบแบบให้แก่กระทรวงฯและการรถไฟ ถูกต้องตามสัญญาแล้ว จึงไม่ใช่กรณีที่โฮปเวลล์ไม่พร้อมที่ปฏิบัติตามสัญญาเพราะโครงการไม่มีแบบก่อสร้างก่อน

(3) ประเด็นการออกแบบรางรถไฟ กระทรวงฯและการรถไฟ อ้างว่าโฮปเวลล์ออกแบบรางรถไฟไม่ครบ 3 ราง คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่า ตามเอกสารแนบท้ายสัญญาไม่ได้มีรายละเอียดระบุให้มีราง 3 ราง และเห็นว่า โฮปเวลล์ได้ออกแบบก่อสร้างเส้นทางสัมปทานถูกต้องตามสัญญาและหลักวิศวกรรมแล้ว

(4) ประเด็นการออกแบบชานชาลาไม่พอ คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่า ตามสัญญากำหนดให้โฮปเวลล์ทำการก่อสร้างชานชาลาจำนวน 1 ชานชาลาหรือมากว่า เพื่อรองรับระบรถไฟตามสถานี ซึ่งโฮปเวลล์ได้ออกแบบให้มีชานชาลาถึงจำนวน 20 ชานชาลาต่อสถานี โดยใช้หลักเกณฑ์การออกแบบให้ชานชาลา 1 ชานชาลาต่อรางรถไฟ 1 ราง ดังนั้นการออกแบบชานชาลาและสถานีรถไฟของโฮปเวลล์จึงเพียพอและถูกต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาแล้ว

(5) ประเด็นการออกแบบชานชาลาไม่ครบจำนวน 3 ชานชาลาตามที่กำหนดในสัญญา คณะอนุญาโตตุลากาชี้ขาดว่า ตามสัญญาโฮปเวลล์ต้องก่อสร้างชานชาลา 1 ชานชาลา หรือมากกว่า เพื่อรองรับระบบรถไฟ ซึ่งระบบรถไฟในเส้นสายเหนือจะมีจำนวน 3 ราง รางซ้ายรางขวาสำหรับรางโดยสาร และรางกลางสำหรับรถไฟบรรทุกสินค้าซึ่งไม่จำเป็นต้องมีทุกสถานี คงมีเฉพาะสถานีที่มีการรับ-ส่งสินค้า และเมื่อบริเวณสถานนีดังกล่าวไม่มีความจำเป็นต้องรับ-ส่งสินค้าและมีพื้นที่ก่อสร้างจำกัด โฮปเวลล์จึงไม่สามารถออกแบบและก่อสร้างชานชาลาให้ครบ 3 ชานชาลาได้ จึงไม่ปฏิบัติผิดสัญญา

(6) ประเด็นกำหนดขนาดและความกว้างของไหล่ทาง กระทรวงฯและการรถไฟอ้างว่าโฮปเวลล์ไม่ออกแบบตามมาตรฐาน AASHTO คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่า ตามสัญญากำหนดมาตรฐานการออกแบบท้ายนี้เพื่อปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ก่อสร้างของ กทม. โดยมิได้กำหนดให้ใช้มาตรฐานใดโดยเฉพาะและมาตรฐาน AASHTO ตามสัญญาก็เป็นเพียงหนึ่งในมาตรฐานหลายมาตรฐานที่ถูกกำหนดไว้อย่างกว่างๆสำหรับผู้ใช้เส้นทางจราจรเท่านั้น โฮปเวลล์จึงไม่ผิดสัญญา

(7) ประเด็นการออกแบบเส้นทางบริเวณ NASA Night Club กระทรวงฯและการรถไฟ อ้างว่า โฮปเวลล์ออกแบบไม่ตรงตามแนวเส้นทางตามแบบที่ต้องเป็นเส้นโค้ง คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่า เหตุที่ไม่สามารถออกแบบได้เนื่องจากกระทรวงฯและการรถไฟได้ให้ผู้อื่นเข้าใช้ประโยชน์โฮปเวลล์ไม่สามารถทำตามแบบได้ จึงไม่ใช่ความผิดของโฮปเวลล์

(8)ประเด็นการยกเลิกสถานีเดิมและย้ายไปก่อสร้างที่อื่น คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่า การย้ายสถานีเป็นความประสงค์ของกระทรวงฯและการรถไฟเพื่อให้การก่อสร้างตามสัญญาสัมปทานสมบูรณ์และใช้ประโยชน์ได้จริง จึงไม่ใช่ความผิดของโฮปเวลล์

(9) ประเด็นกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานก่อสร้างตามสัญญา โฮปเวลล์อ้างว่า ระยะเวลาก่อสร้างต้องขยายออกไปเท่ากับระยะเวลาล่าช้าที่เกิดเหตุต่างๆ กระทรวงฯและการรถไฟเห็นว่า ความล่าช้าเกิดจากโฮปเวลล์เอง คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่า การที่กระทรวงฯและการรถไฟ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาให้ถูกต้องในเรื่องต่างๆ ทำให้โฮปเวลล์ไม่สามารถดำเนินการออกแบบและก่อสร้างได้ตามแผนเป็นความผิดของกระทรวง ฯ และการรถไฟ รวมทั้งเกิดจากโฮปเวลล์ไม่สามารถเข้าครอบครองพื้นที่ได้ ระยะเวลาจึงควรขยายออกไปเท่ากับความล่าช้าที่เกิดขึ้น โฮปเวลล์ไม่ได้ผิดสัญญา

เมื่อศาลปกครองสูงสุดพิจารณาเหตุเพื่อขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้วเห็นได้ว่า ล้วนแต่เป็นการโต้แย้งดุลพินิจการพิจารณาข้อเท็จจริงและการปรับใช้กฎหมายและข้อสัญญาของอนุญาโตตุลาการ โดยคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการประเด็นดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยว่า คู่สัญญาฝ่ายใดปฏิบัติตามสัญญาถูกต้องแล้วหรือไม่ อย่างไรและคู่สัญญาแต่ละฝ่ายมีความรับผิดต่อกันหรือไม่ อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น ไม่ได้มีลักษณะเป็นเรื่องที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ปรากฎเหตุที่กฎหมายให้อำนาจศาลในการเพิกถอนคำชี้ขาดได้

ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เป็นให้ยกคำร้องของกระทรวงฯและการรถไฟ และให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 10:01

นี่คือความหมายว่า อนุญาโตตุลาการจะให้น้ำหนักในข้อเท็จจริงมากกว่าข้อกฏหมาย(ซึ่งเขียนด้วยภาษาที่ไม่ใช่อังกฤษ และอาจจะผูกพันหลายฉบับ หยุมหยิมยากแก่การทำความเข้าใจของชาวต่างประเทศ)

อันนี้ลองคิดถึงนักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนในประเทศบ้าง ยกตัวอย่างโมแซมบิก ถ้าทางโน้นไม่ยอมให้ใช้ศาลอนุญาโตตุลาการ ก็เห็นจะยากที่ใครจะกล้าเสี่ยง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.089 วินาที กับ 20 คำสั่ง