เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 10737 คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 10:16

บทสรุปจากคำพิพากษาครับ

(1) ประเด็นรับมอบพื้นที่และบ่ายเบี่ยงการรับมอบพื้นที่ ของโฮปเวลล์ นั้น ตามสัญญากำหนดให้กระทรวงฯและการรถไฟเป็นผู้ขับไล่ผู้บุกรุก หากผู้บุกรุกออกไปไม่หมด โฮปเวลล์จะดำเนินการเอง นอกจากนั้นตามสัญญา กระทรวงฯและการรถไฟตกลงจะให้การสนับสนุนที่จำเป็นแก่โฮปเวลล์ ดังนั้นกระทรวงฯและการรถไฟจึงมีหน้าที่กำจัดอุปสรรคใดๆ ในพื้นที่สัมปทาน ซึ่งรวมถึงการขับไล่ผู้บุกรุกซึ่งกระทรวงฯและการรถไฟมีสิทธิตามกฎหมายและมีอำนาจดำเนินการ ดังนั้น การที่โฮปเวลล์ไม่ยอมรับมอบพื้นที่จึงไม่ใช่ความผิดหรือความไม่พร้อมของโฮปเวลล์

ตรงนี้พิมพ์ผิดหรือเปล่าคะ
เมื่ออ่าน ได้ความว่าถ้ากระทรวงและรถไฟไล่ผู้บุกรุกออกไปได้ไม่หมด   โฮปเวลล์จะไล่ที่เหลือออกไปเอง
ถ้างั้นโฮปเวลล์ก็ไม่มีสิทธิ์บ่ายเบี่ยงไม่รับมอบพื้นที่
เพราะแปลได้ว่ารัฐไม่ต้องไล่ผู้บุกรุกออกไปให้หมดเสียหมด   ทำตามกำลัง ไล่ได้เท่าไหร่เท่านั้น ที่เหลือโฮปเวลล์ไล่เอง ไม่สามารถอ้างว่าไล่ยังไม่หมดเลยเข้าไปดำเนินการไม่ได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 10:25

ผมลอกมาโดยไม่ได้ปรุงแต่งอะไร

แต่คำว่า หากผู้บุกรุกออกไปไม่หมด โฮปเวลล์จะดำเนินการเอง นั้น ต้องการการมอบอำนาจให้ดำเนินการในนามของเจ้าของพื้นที่ด้วย ซึ่งการรถไฟอาจจะปฏิบัติจริงตรงนี้ไม่ได้ เพราะต้องรับผิดแทนโฮปเวลล์หากอีกฝ่ายชนะคดี

ถ้าเป็นอย่างที่ผมสันนิษฐานนี้ ก็เป็นความผิดทางเทคนิกของผู้ร่างสัญญาฝ่ายไทย แต่จะเป็นความบกพร่องโดยสุจริตหรือไม่ ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 10:38

ได้คำตอบว่าคุณ NAVARAT.C ลอกข้อความต้นทางมาถูกต้องแล้ว   งั้นไม่เข้าใจแล้วละค่ะ
ในเมื่อสัญญาบอกว่าการไล่ที่ ทำได้ทั้งรัฐและโฮปเวลล์   แล้วโฮปเวลล์มาบอกทีหลังว่ารัฐเคลียร์พื้นที่ไม่หมด เลยเข้าไปดำเนินการไม่ได้
เผื่อว่าผู้บุกรุกชนะคดีฟ้องขับไล่ จะทำยังไง  ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง  
แต่ก็ไม่น่าเป็นข้ออ้างให้โฮปเวลล์ลอยตัวไปได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 10:39

ได้คำตอบว่าคุณ NAVARAT.C ลอกข้อความต้นทางมาถูกต้องแล้ว   งั้นไม่เข้าใจแล้วละค่ะ
ในเมื่อสัญญาบอกว่าการไล่ที่ ทำได้ทั้งรัฐและโฮปเวลล์   แล้วโฮปเวลล์มาบอกทีหลังว่ารัฐเคลียร์พื้นที่ไม่หมด เลยเข้าไปดำเนินการไม่ได้
เผื่อว่าผู้บุกรุกชนะคดีฟ้องขับไล่ จะทำยังไง  ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง  
แต่ก็ไม่น่าเป็นข้ออ้างให้โฮปเวลล์ลอยตัวไปได้
ขอประทานโทษ อ่านความเห็นของผมข้างบนหรือยังครับ

คืออยู่ๆใครจะไปฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกบนพื้นที่ที่ไม่ใช่ของตนไม่ได้ จนกว่าจะมีใบมอบอำนาจจากเจ้าของที่แท้จริง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 10:53

อ่านแล้วค่ะ
ในกรณีนี้เจ้าของพื้นที่ที่แท้จริง คือการรถไฟ(ส่วนหนึ่งของรัฐ)ไม่ใช่หรือ
แล้วทำใบมอบอำนาจให้โฮปเวลล์ไม่ได้หรือคะ   
มันน่าจะเป็นว่า เรื่องนี้ตกลงทำกันเป็นขั้นตอนต่อไป     กรณีรัฐไล่ได้ไม่หมด  ก็ต้องมอบอำนาจให้โฮปเวลล์ไล่ต่อไปตามที่ตกลงกันในสัญญา
ส่วนกรณีผู้บุกรุกเกิดฟ้องขึ้นมา แล้วผู้ไล่เคราะห์ร้ายแพ้คดี   ผู้มอบอำนาจก็น่าจะเป็นคนจ่ายแทนผู้รับมอบอำนาจอยู่แล้ว
ถ้าโฮปเวลล์ไม่ยอมไล่ซะเอง   เกี่ยงให้รัฐไล่จนครบ 100%    โฮปเวลล์จะเอาข้อนี้มาอ้างในการไม่ดำเนินงานไม่ได้ 

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 11:16

ปกติ คดีความของรัฐจะต้องมอบให้เจ้าพนักงานอัยการเป็นผู้ดำเนินการในศาลแทนเท่านั้นครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 11:47

ก็หมายความว่า ข้อตกลงในข้อที่ 1 ระหว่างรัฐกับโฮปเวลล์ เอาเข้าจริงแล้วปฏิบัติไม่ได้  ติดระเบียบกฏเกณฑ์ทางราชการทุกขั้นตอน อย่างที่คุณ NAVARAT.C อธิบายมา
โดยในการร่างสัญญานั้น ไม่มีใครมองเห็นข้อเหล่านี้เลย
ผลก็คือเมื่อรัฐปฏิบัติไม่ได้  โฮปเวลล์ก็เลยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลง    โดยไม่ผิด
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 12:08

ผมเชื่อว่าคนร่างสัญญาคงไม่ใช่อัยการแน่  แต่เป็นใครไม่ทราบ คนทำสัญญาแบบนี้ท่านอาจารย์ว่าเขาโง่หรือโกงครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 12:17

เป็นไปได้ 2  ทางคือ น่าจะเป็นคนที่ไม่รู้กฎหมายพอที่จะร่างสัญญาเป็น ว่าต้องร่างกันยังไงแบบไหน    หรือไม่ก็เป็นคนที่เชี่ยวชาญเรื่องกฎหมายมากพอจะรู้ว่าร่างยังไงถึงไม่ต้องปฏิบัติตามนั้นได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 27 เม.ย. 19, 12:28

แล้วคิดว่าจะเอาผิดคนเหล่านี้ได้ไหมครับ ด้วยข้อกล่าวหาอะไร เจตนาทุจริต หรือบกพร่องในหน้าที
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 28 เม.ย. 19, 12:46

ปัจจุบันที่บ่งบอกอดีต และบ่งชี้อนาคต


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 28 เม.ย. 19, 12:47

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) จ่ายค่าเสียหายจากการบอกเลิกสัญญาโครงการโฮปเวลล์ หรือโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร วงเงิน 11,888 ล้านบาท ตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2551 พร้อมดอกเบี้ย 7.5 ต่อปี โดยต้องจ่ายภายใน 180 วัน

ในวันเดียวกันทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้มีการประชุมด่วนเพื่อหารือในเรื่องดังกล่าว จากนั้นได้มีการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2562 เพื่อพิจารณา กรณีศาลปกครองสูงสุด พิพากษาให้ ร.ฟ.ท.จ่ายเงินชดเชยแก่บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด วงเงินเบื้องต้น 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยอีก 7.5% ต่อปี

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. กล่าวว่า หลังจากคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. ชุดนี้ เข้ามาบริหารงานที่ ร.ฟ.ท.เป็นเวลากว่า 1 ปี ปรากฏไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของร.ฟ.ท.คนใด มารายงานเกี่ยวกับคดีโฮปเวลล์ให้รับทราบ เมื่อมีการสอบถามนายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับคำตอบว่าไม่เคยได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายเช่นกัน ทั้งคณะกรรมการและรักษาการผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. จึงคิดว่าคดีนี้มันจบไปแล้ว

“บอร์ด ร.ฟ.ท.ได้สอบถามฝ่ายกฎหมายว่าได้ส่งเจ้าหน้าที่ฟังศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษาหรือไม่ เจ้าหน้าที่ไม่ตอบ เข้าใจว่าไม่ได้ส่งใครไปฟัง และหลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดได้อ่านคำพิพากษาแล้ว จนถึงบัดนี้เจ้าหน้าที่ของร.ฟ.ท. ยังไม่ได้หารือกับอัยการเลย ซึ่งทราบจากอัยการภายหลังว่าเจ้าหน้าที่ ร.ฟ.ท. นำเอกสารและพยานหลักฐานไปทิ้งให้อัยการ จากนั้นก็ไม่ได้ไปติดตามความคืบหน้าของคดีเลย วันที่ศาลฯนัดฟังคำพิพากษา ก็ไม่ไปฟัง ซึ่งเรื่องนี้อาจจะต้องตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดด้วย” แหล่งข่าวกล่าว

สำหรับค่าเสียหายที่ ร.ฟ.ท. ต้องจ่ายให้บริษัท โฮปเวลล์ ตามคำพิพากษาศาลปกครอง ยังสรุปไม่ได้ เพราะยังไม่มีคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดฉบับเต็ม ที่ประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท. จึงสั่งให้ฝ่ายบริหารไปคัดสำเนาจากศาลฯ เพื่อนำมาพิจารณากันอย่างละเอียด ตัวเลขที่มีผู้บริหารของ ร.ฟ.ท. ให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ว่า ร.ฟ.ท.จะต้องจ่ายชดเชยให้คู่กรณีประมาณ 25,000 ล้านบาทนั้น อาจจะไม่ใช่ตัวเลขนี้ เพราะยังไม่ได้นำคำพิพากษาฉบับเต็มมาศึกษาในรายละเอียด และจะต้องพิจารณาด้วยว่ามีการดำเนินงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 29 เม.ย. 19, 09:30



แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. กล่าวว่า หลังจากคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. ชุดนี้ เข้ามาบริหารงานที่ ร.ฟ.ท.เป็นเวลากว่า 1 ปี ปรากฏไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของร.ฟ.ท.คนใด มารายงานเกี่ยวกับคดีโฮปเวลล์ให้รับทราบ เมื่อมีการสอบถามนายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับคำตอบว่าไม่เคยได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายเช่นกัน ทั้งคณะกรรมการและรักษาการผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. จึงคิดว่าคดีนี้มันจบไปแล้ว


ตรงนี้น่าจะเป็นคำตอบ ว่าฝ่ายกฎหมายของรถไฟเชื่อว่าคดีนี้จบแล้ว เมื่อศาลปกครองชั้นต้นตัดสินว่าคดีมันหมดอายุไปแล้ว    ปัญหาโฮปเวลล์ก็เลยถูกมองว่าจบสิ้นไปแล้ว ไม่ต้องทำอะไรอีก
ไม่ต้องไปรายงานผู้บริหารให้เสียเวลา 
ใครจะไปนึกว่าศาลปกครองสูงสุดพลิกกลับคำพิพากษาเป็นตรงข้าม    กลายเป็นเรื่องใหญ่โตสั่นสะเทือนกันไปทั้งประเทศ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 29 เม.ย. 19, 10:11

เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งอุทธรณ์ ศาลจะต้องนำหมายแจ้งคู่กรณีย์อีกฝ่ายให้ส่งคำแก้ต่างครับ จะมาแก้ตัวว่าไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้ ยิ่งเป็นข้าราชการแล้ว ความผิดถึงคุกทีเดียว

ศาลจะไม่ทำอะไรลับๆล่อๆ การนัดให้การ และการนัดอ่านคำพิพากษา มีหลักมีเกณฑ์หมด ฝ่ายกฏหมายของการรถไฟนั่นแหละต้องรู้ดี ไม่ใช่เด็กๆกันแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 29 เม.ย. 19, 10:41

แล้วคิดว่าจะเอาผิดคนเหล่านี้ได้ไหมครับ ด้วยข้อกล่าวหาอะไร เจตนาทุจริต หรือบกพร่องในหน้าที
ข้อบกพร่องในหน้าที่ โผล่ออกมาชัดเจนแล้วในข่าวข้างบนนี้ 
ส่วนเจตนาทุจริตคงต้องสอบสวนย้อนหลังกันไปหลายสิบปี     บรรดาผู้เกี่ยวข้องแต่เริ่มแรก ถ้าไม่ตายไปตามอายุขัยก็คงเกษียณกันไปยาวนานสองสามทศวรรษแล้ว   จึงไม่แน่ใจว่าจะเอาผิดได้หรือเปล่าค่ะ   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง