เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 10761 คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 25 เม.ย. 19, 19:22

https://www.youtube.com/watch?time_continue=7&v=wLFipu9gZ-0
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 25 เม.ย. 19, 19:40

ปรากฏว่าถึงปี 2541 Hopewell ซึ่งได้กลายเป็น Hopeless ไปแล้วเพราะงานมีความคืบหน้าเพียง 13.7% เท่านั้น รัฐบาลไทยจึงบอกเลิกสัญญาสัมปทานในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2541
โฮปเวลล์พยายามเจรจา แต่ไม่มีใครอยากคุยด้วย ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547จึงได้ยื่นฟ้องการรถไฟไทยคู่สัญญาต่อองค์คณะอนุญาโตตุลาการตามที่ตกลงในสัญญาว่าจะยุติข้อพิพาทด้วยวิธีการนี้
.
อนุญาโตตุลาการ เป็นขบวนการยุติธรรมที่ไม่ใช้ศาล กล่าวคือเมื่อคู่ความเกิดข้อพิพาทระหว่างกัน ทั้งสองฝ่ายจะเลือกบุคคลผู้มีคุณวุฒิ(ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงยุติธรรม)ฝ่ายละคนซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับ และทั้งสองจะเลือกบุคคลภายนอกจากรายชื่อในทะเบียนอีกหนึ่งให้ทำหน้าที่ประธานและชี้ขาด(สองในสาม) ส่วนการพิจารณาคดีก็ผลัดกันให้การและซักค้านเช่นเดียวกับที่กระทำในศาล แต่ใช้เวลาน้อยกว่า
,
คณะอนุญาโตตุลาการในคดีนี้ประกอบด้วย รองอัยการสูงสุด ในฐานะตัวแทนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย, รองศาสตราจารย์จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตัวแทนจากโฮปเวลล์ และ อดีตผู้พิพากษา เป็นประธานคณะอนุญาโตตุลาการ
ที่สำคัญที่สุดคือคู่สัญญาตกลงกันแล้วว่า เมื่อคณะอนุญาโตตุลาการตัดสินข้อพิพาทแล้ว จะยอมรับตามนั้น
.
วันที่ 30 กันยายน 2551 คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้การรถไฟชดใช้ค่าเสียหายให้โฮปเวลล์ เป็นเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยปีละ 7.5% จากการบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรม
แต่แทนที่จะยอมรับโดยดี รัฐบาลโดยการรถไฟกลับยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ให้ยกเลิกคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ โดยอ้างเหตุผลทางกฎหมาย ว่าโฮปเวลล์ยื่นฟ้องรัฐบาลต่อคณะอนุญาโตตุลาการ ช้ากว่า 5 ปีนับแต่รู้เหตุที่ควรฟ้องตามที่กฎหมายไทยว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองกำหนดไว้
.

ในย่อหน้าที่๓ ตอบคำถามในท้ายหน้าที่แล้วครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 26 เม.ย. 19, 08:22

ขอบคุณค่ะ  ถามเพื่อให้แน่ใจว่าไม่เกี่ยวอะไรกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 26 เม.ย. 19, 08:23

(มาต่อ ของคุณ NAVARAT.C)

ค่าโง่-เสียไปแล้วจะฉลาดขึ้นไหม
.
พ.ย. 2547 - โฮปเวลล์ ยื่นฟ้องเรียกค่าชดเชยความเสียหายจากกระทรวงคมนาคมและการรถไฟต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรมของประเทศไทย จากการยกเลิกสัญญาอย่างไม่เป็นธรรม เป็นเงิน 5.6 หมื่นล้านบาท ในขณะที่การรถไฟเองก็ฟ้องแย้งว่าความผิดของโฮปเวลล์เอง ที่เป็นเหตุแห่งการแจ้งยกเลิกสัญญา และเรียกค่าเสียหายและค่าเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์จากโครงการกลับ เป็นจำนวน 2 แสนล้านบาท
ตัวเลขก็เวอร์ด้วยกันทั้งคู่ ของไทยนั้นเวอร์ตัวพ่อ
.
พ.ย. 2551 – คณะอนุญาโตตุลาการใช้เวลาพิจารณาคดีที่มีตัวเลขเยอะแยะยุ่งยากนี้เพียง 4 ปี ก็มีคำวินิจฉัยชี้ขาด สั่งกระทรวงคมนาคมและการรถไฟ ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โฮปเวลล์ 11,880 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
.
เงินจำนวนนี้ ผมเชื่อว่าคณะอนุญาโตตุลาการคงคำนวณให้จากค่าก่อสร้างที่โฮปเวลล์ทำไปแล้วจริง รื้อถอนไปใช้ประโยชน์ต่อไม่ได้ ต้องตกเป็นสมบัติของฝ่ายไทย เงิน 1.1 จากที่เรียกมา 5.6 ล้านบาทก็คิดว่าน่าจะเหมาะสมอยู่
.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 26 เม.ย. 19, 08:24

แต่แทนที่รัฐบาลไทย(ผมขอเว้นที่จะระบุว่าเป็นสมัยของใครนะครับ เดี๋ยวจะมาด่ากันนอกประเด็น) จะยินยอมจบโดยดีกลับหัวหมอ จะเบี้ยวไม่จ่ายค่าเนื้องานให้เขาบ้างเลยหรือยังไง จึงได้นำความไปฟ้องศาลปกครองกลาง หาว่าโฮปเวลล์ฟ้องศาลอนุญาโตตุลาการหลังหมดอายุความแล้ว
.
มี.ค. 2557 - ศาลชั้นต้นใช้เวลา 6 ปี เห็นด้วยว่าโฮปเวลล์ยื่นเรื่องให้อนุญาโตตุลาการเกินกรอบเวลา 60 วัน ที่กำหนดในสัญญาสัมปทาน จึงพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
เม.ย. 2557 – มีเฮกันแป๊บเดียว โฮปเวลล์ ก็ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา
.
เม.ย. 2562 - ศาลปกครองสูงสุดใช้เวลา 5 ปี พิพากษากลับ ยกคำร้องสองหน่วยงานรัฐ ให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการโดยให้ผู้ร้องทั้งสองปฏิบัติตามคำชี้ขาดให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
ก็การรถไฟไปยอมรับที่จะสู้คดีในประเด็นค่าเสียหายตั้งแต่แรก แทนที่จะขอให้พิจาณาเรื่องอายุความตามกรอบเวลาก่อน ก็ถือว่าหลังเย็นไปแล้วน่ะสิครับ
.
คุณบรรยง พงษ์พานิช นายธนาคารใหญ่ (ผู้ปฏิเสธสุดฤทธิ์ว่าไม่ใช่ญาติโกโหติกาของนายมนตรี พงษ์พานิช) ได้เขียนไว้ใน FBของท่านว่า “คดีพิพาทตั้งแต่ 2541 ...11,880ล้านบาท พร้อมดอกเบี้น 7.5%ต่อปี อีก 18,711ล้านบาท รวม 30,591ล้านบาท รฟท.อ่วมหนักครับ ....ขาดทุนสะสมเดิม120,000ล้าน…..”
ที่งอกขึ้นมา 18711 ล้านบาทนี่แหละครับค่าโง่ตัวใหญ่ ที่เกิดจากความคิดฉ้อฉลที่รัฐพยายามเอาเปรียบนักลงทุน โดยคิดเอาเองว่าขบวนการยุติธรรมของไทยจะเข้าข้าง
.
มองในแง่ดีบ้าง ผลที่ออกมาคราวนี้เป็นผลเป็นบวกต่อทัศนคติของนักลงทุนนานาชาติที่ลงทุนในเมืองไทยไปแล้ว และที่กำลังเล็งๆอยู่ ว่าหากมีปัญหาทางด้านกฎหมายกับรัฐบาลไทย ภายใต้กฏหมายไทยที่เขียนด้วยภาษาไทยแล้ว จะได้รับความยุติธรรมตามมาตรฐานสากล
.
ผมเชื่อว่าถ้าเมืองไทยยังต้องพึ่งการลงทุนจากต่างชาติต่อไปก็อย่าไปคิดหาทางที่จะเบี้ยวอะไรเขาอีกเลยนะครับ จะเจรจาต่อรองขอจ่ายอย่างไรก็คุยกับเขาดีๆ ค่าโง่น่ะเสียไปแล้วก็ควรจะฉลาดขึ้นด้วย
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 26 เม.ย. 19, 09:34

ขออนุญาตร่วมแสดงความเห็นครับ

โดยปกติแล้ว มีทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐประการหนึ่งว่า รัฐมีหน้าที่จัดทำบริการสาธารณะ ครับ ดังนั้น การจัดทำบริการสาธารณะจึงถือเป็นการกระทำทางปกครองอย่างหนึ่ง และเมื่อเป็นการกระทำทางปกครองแล้ว รัฐย่อมอยู่ในฐานะที่มีอำนาจเหนือกว่าคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นเอกชนอยู่บางประการครับ เช่นการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือยกเลิกข้อสัญญาบางประการได้ ทั้งนี้ ก็เพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะ ซึ่งเป็นผลประโยชน์โดยส่วนรวมของรัฐและประชาชนภายในรัฐมิให้เสียหาย ซึ่งแน่นอนว่า อำนาจเช่นนี้ต้องถูกถ่วงดุลโดยหลักความชอบด้วยกฎหมาย และหลักความสมควรแก่เหตุ และหลักการตามกฎหมายปกครองอื่นๆ ซึ่งหากคู่กรณีฝ่ายที่เป็นเอกชนไม่พอใจ ก็สามารถยื่นเรื่องให้อำนาจตุลาการ ในที่นี้คือศาลปกครอง พิจารณาได้

หลักแนวคิดเรื่องที่ผมว่าข้างบนนี้ พึ่งมาเป็นที่รู้จักและแพร่หลายกันในราวปี 2540 พร้อมๆ กับแนวความคิดในการจัดตั้งศาลปกครองเท่านั้นเอง ช่วงนั้น มีกฎหมายปกครองออกมาหลายฉบับ ตั้งแต่พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ อะไรแนวๆนี้ออกมาเต็มไปหมด ข้าราชการไทยพึ่งจะได้รับทราบว่า ตนเป็น ซีวีล เซอเวนท์ (Civil Savent) มิได้เป็น Government Officer อีกต่อไป ก็ตอนนั้นเหละครับ

ก่อนหน้าที 2540 ประเทศไทยยังไม่มีแนวคิดกฎหมายเอกชน มหาชน อย่างทุกวันนี้ ตอนที่ผมเรียน อาจารย์ยังให้ท่องอยู่เลยว่า กฎหมายเอกชน คือกฎหมายแพ่ง กฎหมายมหาชน คือกฎหมายอาญา อยู่เลยครับ สรุปว่า ถ้าไม่ใช่คดีอาญานับว่าเป็นเรื่องเอกชนทุกเรื่องไป
 
พอคิดว่าเป็นเรื่องเอกชน กฎหมายเอกชนมีหลักการสำคัญว่า คู่กรณีทุกฝ่าย มีความเท่าเทียมกัน สามารถแสดงเจตนาเข้าผูกนิติสัมพันธ์กันอย่างไรก็ได้ ขอเพียงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เรียกว่า หลักเจตจำนงอันสุจริต และเมื่อได้แสดงเจตนาออกไปแล้ว ย่อมมีผลผูกพันคู่กรณีทุกฝ่ายไปจนกว่าจะสิ้นผล
 
อันนี้เป็นความมโนของผมเองว่า ปี 2533 รัฐบาลเข้าทำสัญญากับ บ.โฮปเวล อย่างเอกชนธรรมดา 2 คน จะพึงทำสัญญากัน ตามแนวคิดกฎหมายในสมัยนั้น เพราะงั้น รัฐบาลจึงไม่ได้สร้างเงื่อนไขการใช้อำนาจเหนือ เพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะ อย่างที่ควรจะมีในการทำสัญญาทางปกครองเอาไว้เลยครับ ตรงกันข้าม กลับยอมตนอยู่ภายใต้การตัดสินของเอกชนฝ่ายที่ 3 ที่เรียกว่า อนุญาโตตุลาการด้วยซ้ำ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดนะครับ เพราะแนวคิดในตอนนั้น มันเป็นอย่างนั้น แต่ครั้นพอมีการบอกเลิกสัญญาในปี 2541 นั่นคือหลังจากที่เกิดศาลปกครองแล้วครับ แนวคิดกฎหมายมหาชนเริ่มเบ่งบานแล้ว รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องในเวลานั้น เริ่มอย่างที่บางท่านคิดในเวลานี้แหละครับว่า จะให้เอกชน 2-3 คน มาชี้ขาดผลประโยชน์สาธารณะไม่ได้ จึงพยายามสู้อนุญาโตตุลาการ ซึ่งกำเนิดขึ้นจากหลักกฎหมายเอกชน ด้วยอำนาจศาลปกครอง ซึ่งวินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายมหาชน

ผลก็ออกมาอย่างที่เห็นนี้แหละครับ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 26 เม.ย. 19, 09:56

สำหรับประเด็นต่อมาที่ว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แล้ว ทำอย่างไรถึงจะไม่เกิดอีก

อันนี้เรียนว่า ภาครัฐต้องตระหนักถึงความเป็น รัฐ ให้มากขึ้น ต้องเข้าใจหลักการใช้อำนาจปกครองให้มากขึ้น และต้องมองประโยชน์สาธารณะให้มากขึ้น ทุกวันนี้แม้ว่าหลักกฎหมายมหาชนจะแพร่หลายมากกว่าแต่ก่อนแล้ว แต่ภาครัฐก็ยังสลัดแนวคิดว่าตนคือเอกชนคนหนึ่งในการทำสัญญาในเรื่องต่างๆ ไม่ค่อยจะได้

ผมไม่รู้ว่าอันนี้เป็นเรื่องในภาพรวมจริงๆ คือเป็นแนวคิดที่สืบทอดมาจากยุคกฎหมายเอกชนจริงๆ หรือเป็นเรื่องเชิงบุคคลก็ไม่ทราบ เพราะจากที่ผมเคยเห็น บางทีรัฐกลัวว่า เอกชนจะไม่ยอมทำสัญญาด้วย กลัวว่าสัญญาจะไม่ดึงดูดพอ ไม่หอมหวานพอ ก็ใส่สิทธิประโยชน์ให้ภาคเอกชนลงในสัญญามากๆ ใส่อำนาจรัฐไว้ให้น้อยๆ อะไรแบบนั้น เอกชนเห็นก็ชอบใจและยอมทำสัญญาด้วย หากฝ่ายกฎหมายร่างสัญญาแบบที่ให้รัฐมีอำนาจมากกว่ามาเสนอ ก็มักถูกต่อว่า ว่าทำให้รัฐเสียประโยชน์ เสียโอกาส ร่างมาแบบนี้ (หรือกำหนดมาอย่างนี้) ใครเขาจะมา เดี๋ยวเขาก็ไปที่ประเทศอื่นกันหมดหรอก ต้องให้เขาอีก เยอะๆ เยอะๆๆๆๆ สิ อะไรอย่างนี้เป็นต้น   

สัญญาแบบนั้น ถ้าไม่เกิดปัญหา ก็ดีไป แต่ครั้นพอเกิดปัญหา ภาครัฐทำอะไรภาคเอกชนไม่ได้เลย ต้องยอมตามที่ตนได้ทำสัญญาแบบนั้นเอาไว้ ลงท้ายด้วยการถูกหาว่า "โง่" 

ผมไม่เคยเห็นตัวสัญญานะครับ แต่เชื่อว่า มีลักษณะแบบนั้นอีกเยอะเลยครับ 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 26 เม.ย. 19, 10:30

ผมไม่ค่อยจะเห็นด้วยกับความเห็นของคุณนริศในบางประเด็นนะครับ แต่ไม่มีเวลาจะตอบในตอนนี้ ต้องขอแปะไว้ก่อน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 26 เม.ย. 19, 10:36

อ่านความเห็นของผู้ที่เข้ามาในเพจของผมส่วนหนึ่งไปพลางๆก่อนครับ

P -ขอเสริมอีกนิดว่า ในภูมิภาคของเรา สิงคโปร์เป็นประเทศที่ credit สูงสุด เพราะเขาสร้างระบบกฎหมายที่เชื่อถือ มั่นคงและคาดหมายได้ และเฟืองหนึ่งในนั้นที่สำคัญมากที่สุดในสายตาของต่างประเทศ คือ ระบบอนุญาโตตุลาการ (Singapore International Arbitration Center) ที่มั่นคงแน่นอน ซึ่งประเทศอื่นๆ ทำไม่ได้ครับ

R- ขออนุญาตนะคะ ช่วยขยายคำ "ประเทศอื่นๆ ทำไม่ได้ เพราะ?"

M.L. Chainimit Navarat คำตอบอยู่ในตัวแล้วครับ
ระบบอนุญาโตตุลาการของสิงคโปร์ที่ประเทศอื่นๆทำไม่ได้เหมือน ก็เพราะเขาเป็นประเทศที่ credit สูงสุดทางด้านระบบกฎหมายที่เชื่อถือ มั่นคงและคาดหมายได้ ส่วนของไทย แค่กฏหมายของเราที่พิมพ์เป็นภาษาไทยก็ลำบากแล้วครับ

P- ระบบอนุญาโตตุลาการในประเทศอื่น รวมถึงประเทศไทย ความไม่แน่นอนสูงครับ เพราะศาลมักจะให้เพิกถอนคำชี้ขาดบ่อย ซึ่งในประเทศที่ระบบมั่นคงแล้ว ศาลมักจะไม่เพิกถอนคำชี้ขาด ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นและวางใจในการลงทุนครับ
ส่วนปัญหาที่ว่ารัฐมักจะเสียค่าโง่นั้น ปัญหาส่วนใหญ่อยู่ที่รัฐครับ ว่าทำไมถึงทำสัญญาที่เสียเปรียบเอกชน ซึ่งไม่เกี่ยวกับระบบกฎหมายแต่ประการใด
การที่เรามองว่ารัฐมักจะแพ้เอกชน แต่เร่กลับมาโทษระบบกฎหมาย ทำให้ประเทศเสียโอกาสมหาศาล มันน่าเสียดายมากนะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 26 เม.ย. 19, 10:38

ระหว่างนี้ถ้าใครต้องการแสดงความคิดเห็นอะไรก็ขอเชิญก่อนได้เลยนะครับ ผมไม่ทราบจะกลับเข้ามาอีกเมื่อไหร่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 26 เม.ย. 19, 11:41

เรือนไทยมีคุณหมอเปิดเผยตัวหลายท่าน   ส่วนนักกฎหมาย ไม่ทราบว่าท่านใดเป็นกันบ้าง ยกเว้นคุณนริศซึ่งแง้มประตูบอกอาชีพมาแล้ว
ขอเชิญท่านอื่นๆออกความเห็นตามสะดวกนะคะ

ส่วนดิฉันเอง เมื่ออ่านค.ห.คุณนริศแล้ว เกิดความรู้สึก(ซึ่งอาจผิดได้) ว่า ในขณะเซ็นสัญญากับโฮปเวลล์  รัฐได้วางตัวเป็นคู่สัญญาที่ซื่อและมองอีกฝ่ายในแง่ดี  ไม่จุกจิกคิดมาก ไม่หาทางหนีทีไล่ว่าถ้ามันไม่เป็นไปตามที่ตกลงจะทำยังไง เอาเป็นว่าถ้าเกิดตกลงกันไม่ได้ ก็ชวนไปหาผู้ใหญ่ตัดสินเอาละกัน  ผู้ใหญ่ว่าไงก็ว่างั้น   
ในเมื่อตรงไปตรงมาขนาดนี้    พอเกิดปัญหาอุปสรรคขึ้นมาระหว่างทาง  อีกฝ่ายทำไม่ได้ตามพูด   รัฐก็บอกเลิกแบบง่ายๆ ไม่ได้คำนึงว่าเลิกได้ง่ายจริงหรือไม่  อีกฝ่ายเขาไม่ยอมง่ายด้วยจะทำยังไง
พอเขาไปฟ้องผู้ใหญ่ขึ้นมา    รัฐก็เลยแพ้  จบลงแบบเจ็บปวดกันทั่วหน้ายกเว้นผู้ชนะ 
เพราะเงินที่ต้องจ่ายไม่ใช่เงินในกระเป๋าของรัฐ   แต่เป็นเงินภาษีที่รัฐเก็บมาจากกระเป๋าประชาชน  รวมทั้งดิฉันด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 26 เม.ย. 19, 14:50

คำแก้ตัวข้างบนนี้มีลิขสิทธิ์นะครับ ระวังโดน
คุณประกอบไม่ต้องห่่วงนะคะ  ดิฉันไม่ทิ้งสมาชิกเรือนไทยอยู่แล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 26 เม.ย. 19, 15:10

พูดถึงบทบาทและอำนาจของอนุญาโตตุลาการ ขอนำข้อเขียนของคุณพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค  อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มาลงให้อ่านกันค่ะ
จากไทยโพสต์ออนไลน์
*********************

ค่าโง่อีกแล้ว...คราวนี้ไม่ใช่ค่าโง่ธรรมดา แต่เป็น “โคตรโง่” ครับ!!!

ไม่รู้กี่ครั้งแล้วที่เราต้องเสียค่าโง่ให้กับการทำสัญญา โง่ๆของผู้มีอำนาจในหน่วยงานภาครัฐ

ตอนต้นๆของรัฐบาลชุดปัจจุบันนี้ก็เกือบเสียค่าโง่ในกรณี “ค่าโง่คลองด่าน” แต่ก็มีความพยายามจากหลายๆฝ่ายรวม ทั้งผมด้วย ที่พยายามส่งความคิดเห็นไปถึงรัฐบาลและผู้เกี่ยว ข้อง สุดท้ายรัฐบาลยอมถอยทั้งๆที่มีมติ ครม. ไปแล้วว่าให้ชำระ

“ค่าโง่คลองด่าน” ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดเช่นกัน มาตอนนี้ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของรัฐบาลชุดปัจจุบันกลับจะต้องมาทิ้งท้ายด้วยการเสียค่า “โคตรโง่” ให้กับมหากาพย์โฮปเวลล์ เพราะเป็นเงินประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท แต่มีคนบอกผมว่าเมื่อ คำนวณดอกเบี้ยถึงปัจจุบันรวมเข้าด้วยแล้วจะเป็นจำนวนเงิน เกือบสามหมื่นล้านบาทเลยทีเดียว ลองคำนวณดูกันนะครับ

เราต้องเสียค่าโง่จากการทำสัญญาของหน่วยงานของ รัฐในชั้นอนุญาโตตุลาการมาแล้วนับร้อยๆคดีมั้งครับ แต่ไม่ ค่อยเป็นข่าว หากตรวจสอบดูน่าจะพบว่าเราเสียเงินแผ่นดินไป กับความ “โง่” หรือ “แกล้งโง่” ของบรรดาผู้มีอำนาจภาครัฐ ที่ทำสัญญาหรือ ลงนามในสัญญาต่างๆเป็นเงินนับหมื่นล้าน บาทแล้ว หากรวมค่า “โคตรโง่” ครั้งนี้ด้วยจะเป็นเงินอีกเท่าไร

คดีเริ่มต้นที่โด่งดังที่สุด คือ คดี “ค่าโง่ทางด่วน” ที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2544-2548 ในฐานะเป็นประธานคณะ กรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ของสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น ผมและคณะกรรมาธิการได้เข้า ไปตรวจสอบ พบว่าเป็นมหากาพย์โกงชาติฉบับแรกที่มีการวาง แผนอย่างแยบยล เปลี่ยน “เงินใต้โต๊ะ” มาเป็น “เงินบนโต๊ะ” โดยอาศัยเงื่อนไขของกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทาง ศาลเป็นเครื่องมือจากการ “ผิดสัญญา” ของภาครัฐ
ผมและคณะกรรมาธิการฯ ใช้เวลาตรวจสอบ สอบสวน และรวบรวมพยานหลักฐานคดี “ค่าโง่ทางด่วน” เป็นปีๆ ตรวจสอบเอกสารหลักฐานสูงท่วมหัวอย่างละเอียด โชคดีที่เรามีพนักงานอัยการเจ้าของสำนวนที่ทำงานเพื่อ ประโยชน์ของประเทศชาติอย่างสุดความสามารถ คือ ท่านอัยการอิสระ หลิมศิริวงษ์ ต้องขอชื่นชมท่านด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 26 เม.ย. 19, 15:11

ท่านได้ขอรายงานผลการสอบสวนของคณะกรรมาธิการฯ ไปเป็นพยาน หลักฐานเพื่อประกอบการต่อสู้คดีที่ชี้ให้เห็นว่า ที่มาของสัญญาและพฤติการณ์แห่งคดีส่อไปในทางทุจริต ซึ่งตามหลักกฎหมายแล้วเมื่อที่มาของสัญญาและประเด็นข้อ พิพาทเกิดจากการกระทำทุจริตจึงนับได้ว่าเป็นการกระทำอันขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจนสุดท้ายศาลฎีกามีคำ พิพากษาให้ภาครัฐชนะคดี แต่จะมีใครเกี่ยวข้องต้องรับผิดฐานทุจริตตามคำพิพากษาของ ศาลฎีกาบ้าง จะมีเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องหรือจะ มีบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องในภายหลังต้องรับผิดด้วยหรือไม่นั้น จนวันนี้ยังไม่มีคำตอบ

กรณี “ค่าโง่ทางด่วน” นี้ถือได้ว่าศาลฎีกาได้วางหลัก เกณฑ์สำคัญทางกฎหมายไว้ว่า การเรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐ ในกรณีเกี่ยวกับสัญญาหรือการทำทุจริตใดๆหากเป็นผลจาก การทุจริตแล้ว ไม่อาจมีผลบังคับหรือฟ้องร้องดำเนินคดีได้เพราะ

เป็นการขัดต่อความสงบ เรียบร้อยของประชาชน!!!
หลายคนสงสัยว่าเหตุใดเราจึงต้องเสียค่าโง่จากการทำสัญญา ของหน่วยงานของรัฐบ่อยๆ มีที่มาอย่างไร จะแก้ไขได้หรือไม่

ที่มาของปัญหา

ปัญหา “ค่าโง่” เริ่มจากการนำระบบอนุญาโตตุลาการ มาใช้กับสัญญาภาครัฐที่รัฐทำกับเอกชน ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545

แต่เดิมเวลามีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาก็จะต้อง นำคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรม ซึ่งภาคเอกชนมีความเห็นว่ากว่าจะหา ข้อยุติหรือมีคำพิพากษาได้ก็ใช้เวลามาก กระทรวงยุติธรรมใน อดีตจึงคิดนำระบบอนุญาโตตุลาการเข้ามาใช้แก้ไขปัญหาข้อ พิพาทเบื้องต้นในระหว่างเอกชนด้วยกัน นั่นคือการนำบุคคล ที่สามที่คู่กรณีหรือคู่พิพาทต่างเลือกให้มาทำหน้าที่เป็น อนุญาโตตุลาการฝ่ายละหนึ่งคน และมีอีกหนึ่งคนที่ตกลงร่วม กันเป็นคนกลาง รวมสามคนเป็นคณะอนุญาโตตุลาการ ทำหน้าที่ชี้ขาดว่าใครถูกใครผิด ซึ่งตามปกติต่างฝ่ายก็จะปกป้อง ผลประโยชน์ของฝ่ายตนอย่างเต็มที่ จึงไม่มีปัญหา “ค่าโง่” ในคดีพิพาทระหว่างเอกชนด้วยกันเอง

ต่อมามีความคิดที่จะออกกฎหมายรองรับระบบ อนุญาโตตุลาการ และมีความพยายามที่จะนำระบบอนุญาโต ตุลาการมาใช้กับสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชนด้วย อ้างว่าหากไม่ทำเช่นนี้แล้ว ต่อไปจะหาคนรับงานภาครัฐยากขึ้น เพราะหากมีข้อพิพาทต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมแล้วก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่คดีจะเสร็จ ซึ่งผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งและพยายามชี้ ให้เห็นถึงช่องโหว่ที่จะนำไปสู่การทุจริตที่ถูกกระบวนการตามกฎหมายจำนวนมหาศาล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 26 เม.ย. 19, 15:11

อย่างไรก็ตาม ห้ามไม่อยู่ ต้านไม่ไหว เมื่อกระทรวง ยุติธรรมในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2545 สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร สถานะปัจจุบันก็คือ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ครับ
ขณะนั้นมีความพยายามที่จะดำเนินการโดยเร่งรีบ ในชั้นกรรมาธิการวิสามัญที่พิจารณากฎหมายดังกล่าว ผมในฐานะกรรมาธิการฯ ได้เห็นความไม่ปกติหลายประการ เช่น จะให้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการผูกพันศาลเลย ผมกับกรรมาธิการอีกหลายท่านได้โต้แย้ง เพราะเป็นการล่วง ละเมิดอำนาจศาล ถ้าให้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ผูกพันศาลเลยเช่นนี้แล้ว จะต้องขึ้นศาลทำไมอีก สุดท้ายก็แก้ไขปรับลดระดับลงให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยเอง ได้ด้วย

แต่ประเด็นสำคัญคือการกำหนดให้สัญญาภาครัฐอยู่ ในระบบอนุญาโตตุลาการด้วย ประเด็นนี้ต้านไม่อยู่ครับ มีความดึงดันจะให้ผ่านให้ได้ เสียงข้างน้อยจึงต้องแพ้มติไป จึงเป็นที่มาของมาตรา 15 ของพ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ว่า

“มาตรา 15 ในสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนไม่ว่าเป็นสัญญาทาง ปกครองหรือไม่ก็ตาม คู่สัญญาอาจตกลงให้ใช้วิธีการ อนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทได้ และให้สัญญาอนุญาโตตุลาการดังกล่าวมีผลผูกพันคู่สัญญา”
มาตรา 15 นี้คือจุดเริ่มต้นของปัญหา “ค่าโง่” ในเมืองไทยเราทุกกรณี
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง