เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 3965 แผนการเรียนระดับมัธยมปลายเริ่มแบ่งเป็นสายวิทย์ กับสายศิลป์ตั้งแต่เมื่อใด
jungo ka
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


 เมื่อ 10 มี.ค. 19, 02:32

ขออนุญาตรบกวนท่านคณาจารย์และผู้ทรงความรู้ทุกท่านนะคะ
 
อยากทราบที่มาของการแบ่งสายการเรียนระดับมัธยมปลายในประเทศไทยเป็นสายวิทย์ สายศิลป์ มีขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ใช้อะไรเป็นหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเด็กนักเรียน อีกอย่างเคยอ่านประวัติโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พบว่าในช่วงแรกๆ มีการแบ่งแผนการเรียนเป็นแผนกวิทยาศาสตร์ แผนกอักษรศาสตร์ และแผนกทั่วไปด้วยค่ะ พยายามหาข้อมูลของแผนกทั่วไปแต่ก็ยังไม่พบค่ะ เลยขอกราบรบกวนท่านอาจารย์และผู้รู้ทุกท่านช่วยแบ่งปันข้อมูลด้วยนะคะ

ขอแสดงความนับถือและขอบคุณมา ณ ที่นี้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 มี.ค. 19, 07:57

พระบรมราชโองการ ประกาศแผนการศึกษา ประกาศมา ณ วันที่ ๒๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕ (นับอย่างปัจจุบันคือ พ.ศ. ๒๔๗๖)

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/A/40.PDF



บันทึกการเข้า
jungo ka
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 มี.ค. 19, 19:22

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ งั้นเราพอจะเดาเอาได้มั้ยคะว่าแผนกทั่วไป คือที่มาของสายศิลป์คำนวณที่เรียนมีทั้งภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ เพื่อเตรียมสอบเข้าจุฬาฯ (ช่วงเวลานั้น) ในสาขาพาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รวมไปถึงรัฐศาสตร์และอักษรศาสตร์ เพราะเคยอ่านเจอในเว็บศิษย์เก่าคณะอักษรศาสตร์จ จุฬาฯ ว่ามีการสอบเข้าคณะอักษรฯ ด้วยวิชาคณิตศาสตร์ และเรียนเป็นวิชาเอก (คณิตศาสตร์) ได้ด้วย จนถึงปีพ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๐๘
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 มี.ค. 19, 19:46

  ดิฉันเป็นนักเรียนเก่าร.ร.เตรียมอุดมศึกษา    แปลกใจที่ไม่เคยได้ยินชื่อแผนกทั่วไปเลยค่ะ   ในประวัติบอกว่า
  "ในปี พ.ศ. 2503 มีการเปลี่ยนแปลงแผนการศึกษาแห่งชาติใหม่ เรียกชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 1 และปีที่ 2 เดิมว่า ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ แบ่งเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 (มศ.4 - มศ.5) แผนกศิลปะ แผนกวิทยาศาสตร์ และแผนกทั่วไป มีหลักสูตรสองปีเท่าเดิม"
  ตอนดิฉันเข้าเรียน มี 2 แผนกเท่านั้นคือวิทยาศาสตร์และศิลปะ    นักเรียนแผนกศิลปะต้องเรียนคำนวณ วิทยาศาสตร์ เรขาคณิต  พีชคณิต ตรีโกณมิติ ด้วย    สามารถสอบเข้าเรียนในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี  คณะรัฐศาสตร์ คณะโบราณคดี  ได้ นอกเหนือจากคณะอักษรศาสตร์
 
  คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกสอบภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน หรือคณิตศาสตร์ได้    อย่างหลังสุดรับนิสิตไม่มากนัก     สำหรับนักเรียนที่เรียนสายวิทยาศาสตร์ในชั้นมัธยมปลายที่เปลี่ยนเข็มอยากเข้าเรียนอักษรศาสตร์  พวกนี้ไม่ได้เรียนภาษาฝรั่งเศส หรือเยอรมัน ก็เลือกคณิตศาสตร์แทน     สอบติดแล้วก็เรียนคณิตศาสตร์ที่เปิดสอนในคณะได้       
  มีเพื่อนที่สอบติดคณะอักษรศาสตร์โดยเลือกสอบคณิตศาสตร์        แต่ต่อมา  คงมีคนเรียนกันน้อยมาก   คณะก็เลยปิดภาควิชาคณิตศาสตร์ไปตั้งแต่เมื่อไรก็ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ
บันทึกการเข้า
jungo ka
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 มี.ค. 19, 19:55

อ่านเจอจากตรงนี้เหมือนกันค่ะอาจารย์ ก็เลยสงสัยว่าคือแผนกอะไร พยายามหาข้อมูลแต่ไม่พบเลยค่ะ หรือว่ามีการลงข้อมูลผิดพลาด เพราะสมัยหนูเรียนเตรียมช่วงปี ๒๕๒๗-๒๕๒๙ ก็มีแบ่งเป็น ศิลป์ภาษา ศิลป์คำนวณ วิทย์คณิต วิทย์สถาปัตย์ และ วิทย์วิศวะ แล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 10 มี.ค. 19, 20:33

  ถ้ามีแผนกทั่วไปจริง  ร.ร.เตรียมอุดมก็คงเปิดแผนกนี้ได้แค่ 2 หรือ 3 ปีอย่างมาก  ค่ะ
 
บันทึกการเข้า
choo
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 10 มี.ค. 19, 20:47

ผมเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจบเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 2 ปี 2503 (สมัยนั้นโรงเรียนอื่นๆเรียกว่ามัธยม 8)มีแค่แผนกวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์เท่านั้นครับแต่เคยได้ยินว่ามีแผนกทั่วไปที่โรงเรียนอื่นๆบางแห่ง คงต้องรอให้ท่านอาจารย์หรือผู้อาวุโสท่านอื่นมาตอบครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 10 มี.ค. 19, 20:55

คุณ Choo จบต.อ. ปี 2503   ไม่มีแผนกทั่วไป  แสดงว่าตอนคุณชูเข้าเรียน  ก็ไม่มีแผนกทั่วไปเช่นกัน   
คุณชูเป็นรุ่นที่เรียนม. 7 และม. 8  ส่วนดิฉันเป็นรุ่นเรียกมศ. 4 และ 5  เข้าเรียนทีหลังคุณชู ก็ไม่มีแผนกทั่วไป  มีแต่แผนกวิทยาศาสตร์กับแผนกศิลปะ
งั้นแผนกทั่วไปมาจากไหน  ฮืม ฮืม ฮืม

บันทึกการเข้า
choo
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 10 มี.ค. 19, 22:38

คุณ Choo จบต.อ. ปี 2503   ไม่มีแผนกทั่วไป  แสดงว่าตอนคุณชูเข้าเรียน  ก็ไม่มีแผนกทั่วไปเช่นกัน  
คุณชูเป็นรุ่นที่เรียนม. 7 และม. 8  ส่วนดิฉันเป็นรุ่นเรียกมศ. 4 และ 5  เข้าเรียนทีหลังคุณชู ก็ไม่มีแผนกทั่วไป  มีแต่แผนกวิทยาศาสตร์กับแผนกศิลปะ
งั้นแผนกทั่วไปมาจากไหน  ฮืม ฮืม ฮืม


 

นั่นสิครับแผนกทั่วไปมาจากไหน(เคยได้ยินแน่ๆว่ามีที่โรงเรียนอื่น)ที่โรงเรียนเตรียมฯรุ่นผมเป็น ม. 8 รุ่นสุดท้ายในช่วงนั้นไม่มีแน่ จึงต้องขอความกรุณาท่านอาจารย์อาวุโสหรือผู้อาวุุโสท่านอื่นที่ผ่านเข้ามาใน "เรือนไทย"ช่วยตอบด้วยครับ
       ถ้าจะตอบให้ตรงคำถามคุณ Jungo ka การแบ่ง สายวิทย์ สายศิลป์มีเมื่อใด ตอบว่าเริ่มในปี 2504 ตามแผนการศึกษาของชาติปี 2503 ก่อนหน้านั้นตามแผนการศึกษาของชาติปี 2489 ถึง 2503 เรียกการศึกษาในระดับชั้นนี้ว่า เตรียมอุดมศึกษาปีที่ 1 และ 2 แบ่งเป็นสายวิทย์ฯและสายอักษรฯ เอาเท่านี้ก่อนนะครับเดี๋ยวจะงง ส่วนแผนการศึกษาของชาติปี 2521 และต่อๆไปท่านคงค้นหาเองได้นะครับ
บันทึกการเข้า
jungo ka
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 11 มี.ค. 19, 01:27

ขอบคุณค่ะอาจารย์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 มี.ค. 19, 15:04

หนูจุงโกะคะ
ไปถามเพื่อนที่เป็นศิษย์เก่าเตรียมอุดมให้แล้วนะคะ    เธอบอกว่าไม่เคยได้ยินว่าร.ร.มีแผนกทั่วไปค่ะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 มี.ค. 19, 17:33

เท่าที่เคยเห็นในเอกสารเก่า  ชั้นมัธยมตอนปลายแผนกกลางเคยมีในหลักสูตรยุคก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ไม่ทราบว่า แผนกกลางนี้จะเป็นแผนกทั่วไปหรือไม่

ต่อมาในแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๗๘ มีการยุบชั้นมัธยมปลาย  และเป็นเป็นชั้นเตรียมอุดมในสถาบันการศึกษาชั้นอุดมศึกษา
โดยให้นักเรียนที่จบชั้นมัธยม ๖ ที่ประสงค์จะเรียนต่อในชั้นอุดมศึกษาไปสมัครเข้าเรียนในชั้นเตรียมอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ รัฐบาลมีคำสั่งปิดสถาบันการศึกษาทุกระดับชั้น  แต่มีคำสั่งลับให้ ม.ล.ปิ่น  มาลากุล ผู้อำนวยการโรงเรียน
เตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปเปิดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคพายัพที่จังหวัดเชียงใหม่  ม.ล.ปิ่น  มาลากุล จึงไปเปิด
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคพายัพที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย  เพื่อรักษาทรัพย์สินของสหรัฐอเมริกาจากกองทัพญี่ปุ่น  ม.ล.ปิ่น  มาลากุล
ได้จัดให้นักเรียนชายที่ติดตามไปจากกรุงเทพฯ เข้าพักที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย  ส่วนนักเรียนหญิงจัดให้พักที่โรงเรียนดาราวิทยาลัย
เข้าขึ้นให้นักเรียนหญิงเดินจากโรงเรียนดาราวิทยาลัยมาเรียนที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย  เลิกเรียนแล้วจึงเดินกลับไปพักที่โรงเรียนดาราวิทยาลัย

สงครามโลกครั้งที่สองสงบลง  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคพายัพถูกยุบเลิก  เพื่อส่งมอบสถานที่คืนให้ฝ่ายสหรัฐอเมริกา  ม.ล.ปิ่น  มาลากุล
จึงอพยพนักเรียนทั้งหมดกลับมาเปิดสอนที่โรงเรียนอุดมศึกษาพญาไทตามเดิม  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจึงเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมในสถาบันอุดมศึกษา
เพียงแห่งเดียวที่คงเปิดสอนต่อมาจนถึงปัจจุบัน  ส่วนโรงเรียนเตรียมอุดมในสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ถูกปิดไปในระหว่างสงครามนั้น  เนื่องจากมีการปรับหลักสูตร
ชั้นเตรียมอุดมให้กลับมาเปิดในโรงเรียนสามัญ  ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง  จึงมีการเปิดสอนชั้นมัธยมปลายในโรงเรียนสามัญ  แต่เรียกว่าชั้นเตรียมอุดมศึกษา
โดยโรงเรียนชายได้รับอนุญาตให้เปิดแผนกวิทยาศาสตร์  โรงเรียนสตรีเปิดสอนแผนกอักษรศาสตร์  นักเรียนชายที่จะเรียนแผนกอักษรศาสตร์จึงต้องไปฝากเรียน
ที่โรงเรียนสตรี  ส่วนนักเรียนสตรีที่ประสงค์จะเรียนในสายวิทยาศาสตร์ก็ต้องมาฝากเรียนที่โรงเรียนชาย

จนประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๕๐๓  จึงเปลี่ยนชื่อชั้นเตรียมอุดมศึกษามาเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ และ ๕  และแบ่งเป็นแผนกวิทย์และแผนกศิลป์
โดยให้โรงเรียนที่เปิดสอนชั้นมัธยมปลายเปิดสอนได้ทั้งสองแผนกในโรงเรียนเดียวกัน
บันทึกการเข้า
jungo ka
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 21 มี.ค. 19, 23:58

ขอบคุณอาจารย์ทั้งสองท่านมากค่ะ

นี่อาจจะเป็นส่วนนึงด้วยใช่มั้ยคะ ที่ทำให้สายศิลป์มีนักเรียนหญิงมากกว่านักเรียนชาย รวมทั้งที่คณะอักษรฯ ด้วย ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 22 มี.ค. 19, 08:49

 ถ้าเป็นโรงเรียนก็อาจจะใช่ค่ะ     แต่ในคณะอักษรศาสตร์ สมัยเปิดระดับปริญญาใหม่ๆพ.ศ. 2475  มีนิสิตหญิง 12 คน นิสิตชาย 24 คน ค่ะ
  จากนั้นนิสิตหญิงก็ทวีจำนวนขึ้นเรื่อยๆ  นิสิตชายมีจำนวนน้อยลง   ทุกวันนี้ก็ยังเป็นอยู่เช่นนั้น
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 22 มี.ค. 19, 10:07

สมัยก่อนมีแผนกวิทย์, ศิลป์ และ ทั่วไป ที่ปรากฏให้เห็นเป็นข้อมูลจากเน็ทคือ
หน้าเว็บของร.ร.สาธิตม.เชียงใหม่ กล่าวถึงในประวัติร.ร. ปีพ.ศ. ๒๕๑๔ -

http://www.satitcmu.ac.th/?option=mod_content&action=view&cid=712

และ คลับคล้ายคลับคลาว่า โรงเรียนวัดบพิตรพิมุขในอดีตก็เรียกวิชาที่สอนว่าเป็นสายทั่วไป


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 20 คำสั่ง