เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 15892 วชิราวุธวิทยาลัย โรงเรียนที่พระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นแทนวัดประจำรัชกาลที่ ๖
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 31 มี.ค. 19, 12:51

รุ่นผมก็มีอิสลาม หลานปู่พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ เจ้าเมืองสตูล ก็ไม่เห็นมีปัญหาอย่างไร

เวลาทานข้าว อยู่คนละโต๊ะ เลยไม่ทราบว่า แกตักหมูเข้าปากหรือเปล่า สมัยก่อนอาหารทำด้วยไก่น้อยมาก ส่วนมากเป็นหมูทั้งนั้น

แต่พอจบมาเจออิสลามภายนอก ถึงได้ทราบว่ากฎระเบียบเรื่องนี้เคร่งครัดมาก ขนาดน้ำเปล่าบรรจุขวดยังต้องเลือกดื่ม
ศูนย์อาหารก็ไม่เข้าเพราะว่าล้างจานชามร่วมกัน 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 31 มี.ค. 19, 19:05

การสวดมนต์ร่วมกันในเช้าวันอาทิตย์ที่หอประชุมนั้น ตามปกติก็จะเป็นมหาอรุณเป็นผู้นำสวด (?)  แต่ผู้บังคับการก็ได้จัดให้มีเวร ให้เด็กที่เป็นหัวหน้าคณะเด็กโตคณะต่างๆเป็นผู้นำเด็กทั้งโรงเรียน (ประมาณ 700 คน) ทำการสวดมนต์ทำวัตรเช้าเต็มบทสวดดังที่เราได้ยินในพิธีสวดมนต์ทำบุญต่างๆ จำได้ว่ารวมถึงบทสวดสรรเสริญ(คาถา)บางบทด้วย 

หัวหน้าก็เลยต้องสามารถอ่านและจำบทนำบทสวดสรรเสริญต่างๆได้ เช่น หันทะมะยังพุธาภิถุตึงกะโรมะเส   หันทะมะยังพุทธัสสะภะคะวะโตปุพพะภาคะนะมะการังกะโรมะเส.... เด็กก็รู้ว่าเมื่อนำเช่นนี้แล้วจะต้องตามด้วยบทสวดเช่นใด     สวดกันมานานหลายๆปีก็เลยพอจำได้ ผมเองก็ยังออกเสียงเบาๆสวดตามพระในบางช่วงของบทสวดทำวัตร

ในช่วงของเวลาสวดมนต์นั้นเด็กทั้งหลายก็ดูจะไม่แสดงอาการเบื่อหน่าย ดูตั้งใจสวดกันดีโดยแฉพาะในช่วงบททำวัตรเช้า เสียงแน่นเต็ม แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงของบทคาถา เสียงจะค่อนข้างกระท่อนกระแท่นไปบ้าง ซึ่งตามประสบการณ์ของผมนั้น เกิดจากการอ่านคำบาลีไม่ออกและอ่านไม่ทันของเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่เป็นพวกเด็กเล็กประมาณ 300 คน       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 31 มี.ค. 19, 19:51

ช่วงเวลาที่น่าเบื่อของเด็กบนหอประชุมในวันอาทิตย์ ก็คือในวันที่มีการเทศน์หลังการสวดมนต์  พระคุณเจ้าที่โรงเรียนได้นิมนต์มาเทศน์นั้น มิได้เทศน์อย่างฮา เป็นการเทศน์ในเรื่องที่เป็นสารัตถะที่ค่อนข้างจะต้องตั้งใจฟัง  พระที่ผมจำได้แม่นองค์หนึ่งก็คือ ท่านปัญญานันทภิกขุ
บันทึกการเข้า
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 31 มี.ค. 19, 21:04

สมัยผม วันอาทิตย์ จะสลับกัน ระหว่าง พระเทศน์ กับ ผู้บังคับการให้โอวาท
อาทิตย์ไหน ผู้บังคับการให้โอวาทจะชอบมากเพราะ ไม่นาน ได้ลงจากหอประชุมเร็ว

จำเสียงเจ้าคุณภะรตราชาไม่ได้ เพราะยังเล็ก แต่ชอบเสียง ดร.กัลย์ เสียงท่านนุ่มๆน่าฟัง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 01 เม.ย. 19, 07:43

ตัวอย่าง โอวาทของท่านผู้บังคับการ พระยาภะรตราชา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 01 เม.ย. 19, 07:44

.


บันทึกการเข้า
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 01 เม.ย. 19, 08:23

ดร.กัลย์ เป็นผู้บังคับการ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวัง ท่ายเลยจะมีเรื่องราวในวังมาเล่าสู่กันฟังบ้าง
ครั้งหนึ่งท่านเล่าว่าได้ทูลเกล้าฯถวายบันทึกของหมอฝรั่งเรื่อง การรักษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนสวรรคต
แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙  ซึ่งบันทึกการรักษาค่อนข้างละเอียด มีรูปวาดด้วยดินสอสี แสดงอวัยะวะภายในด้วย
ว่ามีลักษณะอาการ น่าวิตกอย่างไร
 
  คุ้นๆว่าบันทึกนี้เคยมีการพิมพ์ใน วชิราวุธานุสรณ์สาร ด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 01 เม.ย. 19, 08:59

บทความของนายแพทย์เมนเดลสันได้เขียนอาการพระประชวรของพระองค์จนเสด็จสวรรคตนั้น หาอ่านได้ไม่ยากในเน็ตนะครับ

ถ้าผมจะโยงเข้ามาก็เกรงว่าจะออกนอกเรื่องมากไป
บันทึกการเข้า
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 01 เม.ย. 19, 10:44

ถ้ากลับไปดูโรงเรียนตอนนี้ จะเห็น ความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย อาคารต่างๆ ใหญ่โตทันสมัย ผิดกับรุ่นผมอย่างเห็นได้ชัดทีเดียว
จะมีอาคารต่างๆ เพิ่มขึ้นตามผู้บังคับการในแต่ละยุคสมัย ยุคเจ้าคุณภะรตราชา มีการก่อสร้างต่างๆมากมาย  เท่าที่จำได้

๑.ตึกเพชรรัตน์ (อาคารเรียน)
๒.ตึกวิทยาศาสตร์ (อาคารเรียน)
๓.ห้องสมุด
๔.อินดอร์สเตเดียม
๕.ออฟฟิศครู อาจารย์
๖.สระว่ายน้ำ
๗.คอร์ตสควอช
๘.โรงยิม
๙.ศาลากลางน้ำ ไว้ซ้อมดนตรี

 มีหลายอาคารที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จเปิด ในวันงานกรีฑา


ยุค ดร.กัลย์

๑.ออฟฟิศครู ติดกำแพงริมถนนสุโขทัย
๒.สะพานลอยข้ามระหว่างเด็กเล็ก เด็กโต
๓.ปรับปรุงต่อเติม คณะดุสิต

ถึงแม้จะมีตึกเรียนน้อย ฝั่งเด็กเล็กมี 2  อาคาร  เด็กโตมี 3 อาคาร ตึกใหญ่คือตึกวชิรมงกุฎ  ตึกเพชรรัตน์
และ ตึกวิทยาศาสตร์  เนื่องจากนักเรียนมีไม่มากนัก จึงมีห้องเรียนประจำในแต่ละชั้น ประถม มีห้อง ก ข ค ไม่เกินนี้  ไม่ต้องย้ายห้องเรียน เหมือนในปัจจุบัน

เด็กโต ตอน ม.ปลาย มีสายวิทย์ ศิลป์คำนวณ ศิลป์ฝรั่งเศส  อย่างละ ห้อง  แต่รุ่นผมไม่มี ศิลป์ฝรั่งเศส ผมเรียนวิทยาศาสตร์  เลยมีโอกาส ได้เดินเรียนหลายตึก
ครบทั้ง 3 ตึกในหนึ่งสัปดาห์  ได้เปลี่ยนบรรยากาศดีเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 01 เม.ย. 19, 20:10

ในสมัยผมนั้น แต่ละชั้นเรียนแยกออกเป็น 2 ห้องเท่านั้น คือ ห้อง ก. และห้อง ข.  แล้วก็เป็นที่รู้กันว่าห้อง ก. จะเป็นพวกที่เรียนเก่งกว่าห้อง ข.  เด็กที่เรียนได้ในระดับกลางๆก็จะมีโอกาสได้เรียนทั้งในห้อง ก. และ ห้อง ข.   

การจัดแยกเด็กลงในแต่ละห้องนี้   ผมได้มาคิดย้อนดูในภายหลัง เห็นว่าเป็นการแบ่งบนพื้นฐานของความสามารถของเด็ก (ดูจากคะแนน)ในการเข้าถึงตรรกะหรือปรัชญาของวิชานั้นๆในระดับนั้นๆ เพื่อครูที่สอนในวิชานั้นๆ(ซึ่งเป็นครูคนเดียวกัน)จะได้ปรับการสอนที่เหมาะสมสำหรับเด็กอีกกลุ่มหนึ่งเพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจได้ทัดเทียมกัน  มิได้เป็นเพื่อการสอนในรูปของการลดองค์ความรู้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ (ให้เพียงแค่จำและไม่ไห้ความเข้าใจในสารัตถะต่างๆ)  คือไปในทาง assimilation มิใช่ไปในทาง discrimination     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 01 เม.ย. 19, 20:47

/\ 
/\
ด้วยปรัชญาของการสอนที่ผมเห็นว่าเป็นเช่นนั้น   ก็จึงเห็นว่าอาจจะเป็นเหตุหนึ่งที่เด็กทั้งหลายไม่เคยมีความรู้สึกในเชิงว่าเราด้อยกว่า  ต่างก็มักจะมองกันไปในทางว่าเขาขยันกว่า เขาจำแม่นกว่า    หลายคนนั้นเมื่อเกิดความรู้สึกว่าอยากจะถือใบคะแนนบ้าง ต่างก็ทำได้    รุ่นผมเป็นจำนวนมากที่สอบผ่านประโยคมัธยมปลายได้คะแนนในระดับปริ่มๆแบบเกือบจะสอบไม่ผ่าน  แต่ก็สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้กันทั้งหมด   
บันทึกการเข้า
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 01 เม.ย. 19, 21:32

การแบ่งห้อง ก ข ค สมัยผมแบ่งตามความเก่งของนักเรียนจริงๆ เด็กห้อง ค จะอ่อนที่สุด
การเรียนการสอน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ไม่ได้มีความเท่าเทียมกัน เด็กใหม่ที่เข้ามา แรกๆจะอยู่ห้อง ค
แต่ถ้าผลสอบเทอมต้นดีมาก อาจจะย้ายมาห้อง ก ข ก็ได้

 ผมเรียนห้อง ก ตลอดตอนประถม มัธยมก็เรียนห้อง /๑  ม.ปลายก็เรียนสายวิทยาศาสตร์ จะได้เจอแต่ครูเก่งๆ เฉพาะด้านทางนั้นเลย
คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ครูก็จบวิทยาศาสตร์จุฬาฯ เรียนภาษาอังกฤษ ครูก็จบอักษรศาสตร์จุฬาฯ
เรียนภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ครูก็จบอักษรศาสตร์จุฬาฯ เช่นกัน

 เพื่อนผมเรียนห้อง ค มีความน้อยเนื้อต่ำใจมาก เพราะครูอาวุโสที่เก่งๆ จะไปสอนห้อง ก ข ส่วนห้อง ค
จะเป็นครูท่านอื่น ก็คงต้องเป็นเช่นนั้น เพราะครูหนึ่งท่านไม่มีเวลาไปสอนทั้งสามห้องได้

จนเพื่อนจบ มาเป็นอาจารย์ เรียนจนเป็นด็อกเตอร์  บอกกับผมเลยว่า เขาชอบที่จะสอนห้องที่อ่อนที่สุด
เพราะเด็กเหล่านั้นควรจะได้รับสิ่งที่ดีดีบ้าง  ไม่ให้เหมือนกับที่เขาเคยเจอมาในอดีต
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 02 เม.ย. 19, 19:09

ขยายความเรื่องการส่งใบคะแนนที่ได้กล่าวถึงอีกเล็กน้อย

การส่งใบคะแนนเป็นกิจกรรมหนึ่งของโรงเรียนที่กระทำก่อนวันปิดภาคเรียนแต่ละภาค กระทำกันบนหอประชุมที่มีนักเรียนทั้งโรงเรียนนั่งอยู่รวมกัน   ก็คือ นักเรียนที่สอบได้คะแนนสูงสุดของแต่ละวิชาจะเป็นผู้นำกระดาษหางว่าวขนาดกว้างประมาณ 10 ซม.ยาวประมาณ 30 ซม. ที่พิมพ์รายชื่อนักเรียนของแต่ละชั้นนั้นๆเรียงลำดับคะแนนที่ได้จากมากไปหาน้อย ใบหนึ่งก็สำหรับวิชาหนึ่ง   ใบคะแนนนี้ ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดจะเป็นผู้ที่ลุกเดินจากที่นั่งนำใบคะแนนไปส่งให้กับผู้บังคับการ นักเรียนทั้งหลายก็จะปรบมือให้

โดยนัยแล้วผมเห็นว่าเป็นรูปของกิจกรรมที่สร้างสรรค์มาก  ผู้ที่ได้ที่ส่งใบคะแนนบ่อยๆในบางวิชาหรือทุกวิชาก็จะได้รับการนิยมว่าเป็นคนเรียนเก่งโดยรวมหรือเก่งในวิชาหนึ่งใด   ในขณะที่ก็ทำให้นักเรียนหลายคนในหลายระดับชั้นเรียนคิดที่จะต้องทำให้ได้บ้างสักครั้งหรือหลายๆครั้ง ซึ่งส่งผลที่ก่อให้เกิดความตั้งใจ ความมานะ และความขยันในการเรียนว่าเราจะต้องทำให้ได้สักครั้ง      ยังให้เกิดการปรับและการต่อสู้กับตนเองที่ส่งผลให้เกิดการรู้จักตัวตนของตนเองว่าเรามีความสามารถในเรื่องใดมากว่าเรื่องใด 

สำหรับตัวผมนั้น กำหนดตนเองไว้ว่าควรจะต้องอยู่เป็นหนึ่งในสิบในทุกวิชา  คิดอย่างนั้นก็ด้วยสาเหตุหนึ่งว่าเป็นเด็กมาจากต่างจังหวัด เทอมแรกปีแรกได้ที่ 31 ของนักเรียน 31 คน  พัฒนาตนเองไปได้จนถึงระดับเคยส่งใบคะแนน แล้วก็รู้ว่าเรียนให้อยู่ในระดับหนึ่งในสิบก็เพียงพอหมาะสมกับตนเองแล้ว     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 02 เม.ย. 19, 19:32

เอาละครับ    เรียน 7 โมงเช้า 1 ชม. แล้วจึงกินข้าว ต่อด้วยสวดมนต์เช้า แล้วก็เข้าห้องเรียนต่ออีก 2 ชั่วโมง (2 วิชา) พักทานอาหารว่าง แล้วเข้าเรียนต่ออีก 2 ชม. ไปเลิกเอาประมาณบ่ายโมง  กินข้าวแล้วก็ทำเรื่องส่วนตัวได้ตามสมควร  ถึงบ่าย 2 โมงก็เข้าไปนั่งในห้องเพรบจนถึงบ่าย 3 โมง ปล่อยว่างไปจนถึงบ่าย 4 โมงเย็นจึงจะมีกิจกรรมใหม่

ในช่วงเวลาตั้งแต่กินข้าวไปจนถึงบ่าย 4 โมงนี้เอง ผมเห็นว่าเป็นช่วงของการเรียนรู้ด้วยตนเองในเรื่องของการรู้จักตัวตนผู้อื่นและการอยู่ร่วมกันในสังคม (แต่ละสังคม)
บันทึกการเข้า
choo
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 02 เม.ย. 19, 20:59

การแบ่งห้อง ก ข ค สมัยผมแบ่งตามความเก่งของนักเรียนจริงๆ เด็กห้อง ค จะอ่อนที่สุด
การเรียนการสอน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ไม่ได้มีความเท่าเทียมกัน เด็กใหม่ที่เข้ามา แรกๆจะอยู่ห้อง ค
แต่ถ้าผลสอบเทอมต้นดีมาก อาจจะย้ายมาห้อง ก ข ก็ได้

 ผมเรียนห้อง ก ตลอดตอนประถม มัธยมก็เรียนห้อง /๑  ม.ปลายก็เรียนสายวิทยาศาสตร์ จะได้เจอแต่ครูเก่งๆ เฉพาะด้านทางนั้นเลย
คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ครูก็จบวิทยาศาสตร์จุฬาฯ เรียนภาษาอังกฤษ ครูก็จบอักษรศาสตร์จุฬาฯ
เรียนภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ครูก็จบอักษรศาสตร์จุฬาฯ เช่นกัน

 เพื่อนผมเรียนห้อง ค มีความน้อยเนื้อต่ำใจมาก เพราะครูอาวุโสที่เก่งๆ จะไปสอนห้อง ก ข ส่วนห้อง ค
จะเป็นครูท่านอื่น ก็คงต้องเป็นเช่นนั้น เพราะครูหนึ่งท่านไม่มีเวลาไปสอนทั้งสามห้องได้

จนเพื่อนจบ มาเป็นอาจารย์ เรียนจนเป็นด็อกเตอร์  บอกกับผมเลยว่า เขาชอบที่จะสอนห้องที่อ่อนที่สุด
เพราะเด็กเหล่านั้นควรจะได้รับสิ่งที่ดีดีบ้าง  ไม่ให้เหมือนกับที่เขาเคยเจอมาในอดีต
 

  
อยากจะแชร์ประสบการณ์เรื่องเด็กเก่งถูกจัดให้อยู่รวมกันในห้อง ก เด็กรองๆลงมาอยู่ห้อง ข และ ค โรงเรียนที่ผมเคยเรียนเป็นโรงเรียนเอกชนขนาดกลาง สอนตั้งแต่ชั้นเตรียมประถมถึงมัธยม 8 ครูอาจารย์มีวุฒิแค่ ปป.และ ปม.มีที่จบปริญญา วท.บ, อ.บ.และ ค.บ.อย่างละคน ก็จัดเด็กเก่งอยู่ห้อง ก รองๆลงมาอยู่ห้อง ข และ ค เหมือนกันแต่อาจารย์ใหญ่ที่นี่แปลกท่านให้อาจารย์ทีมีปริญญาสอนห้อง ข และ ค ส่วนห้อง ก ให้ครู อาจารย์ ปป. ปม.สอน ท่านบอกว่าต้องช่วยเด็กที่อ่อนให้ไปได้เด็กเก่งไม่ต้องเป็นห่วงเขาๆไปรอดแน่นอนเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง(ประโยคนี้ผมได้ยินมาเมื่อหกสิบกว่าปีมาแล้ว) เพื่อนผมคนหนึ่งอยู่ห้อง ก ด้วยกันเขาเรียนเก่งมากได้ pass ชั้นหลายครั้งเขาอยากมากๆที่จะไปเรียนกับอาจารย์ปริญญาไปขออาจารย์ใหญ่เรียนห้อง ค ท่านไม่ให้เขาจึงแกล้งสอบภาคปลายได้แค่ 55 % เพือชั้นต่อไปจะได้เรียนห้อง ค และก็ได้ไปสมใจผลการเรียนในปีต่อมาทุกภาคเขาได้ที่หนึ่งของห้อง ค แต่ % ที่ได้ก็ไม่ชนะเด็กห้อง ก ปีต่อมาเขากลับไปเรียนห้อง ก อีกและมาสอบเข้าเรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมได้พร้อมผมทั้งๆที่ตอนนั้นเขายังเป็นเด็กชาย จากที่ผมเรียนมาจนถึงมัธยม 6 (มศ3) เด็กห้อง ค ของโรงเรียนแห่งนี้สอบผ่านข้อสอบชั้นประโยคของกระทรวงศึกษาได้คะแนนดีพอควรมีน้อยมากที่ไปเรียนต่อชั้น ม 7-8 และเข้ามหาวิทยาลัย ส่วนมากไปเรียนต่ออาชีวะจบมามีงานการดีๆทำ  จากทีเคยประสบมานี้ผมไม่แน่ใจว่าพวกครูอาจารย์ทีมีปริญญาจะสอนและอบรมเด็กได้ดีกว่าครูอาชีพที่ไม่มีวุฒิแต่มีจิตวิญญาณความเป็นครูอย่างเต็มเปี่ยม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.114 วินาที กับ 20 คำสั่ง