เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 15936 วชิราวุธวิทยาลัย โรงเรียนที่พระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นแทนวัดประจำรัชกาลที่ ๖
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 30 มี.ค. 19, 07:57

ท่านที่สนใจอ่านเรื่องราวของวชิราวุธวิทยาลัยนี้ต้องแยกแยะนิดนึงนะครับ กันสับสน

เริ่มแรกทีเดียว คุณchoo ถามผมกับคุณตั้งว่าโรงเรียนนี้อบรมบ่มนิสัยนักเรียนอย่างไร ผมก็ว่าไปตามประสบการณ์ของผมเมื่อหกสิบปีก่อน เช่นเดียวกับคุณตั้งซึ่งเป็นรุ่นเดียวกัน
ต่อมามีคุณวรชาติหรืออาจารย์V_Mee เข้ามาช่วยแจม  คุณวรชาติหลังผมประมาณสิบปีมั๊ง  รายละเอียดบางประการก็เปลี่ยนไปบ้างแล้ว พอมาถึงคุณ azante ห่างผมกับคุณตั้งไปอีกประมาณ ๑๘ รุ่น  สิ่งที่คุณ azanteเขียน ผมก็อ่านตาค้างไปเหมือนกัน  ไม่น่าเชื่อว่าผู้ปกรองจะสามารถเข้ามาก้าวก่ายระเบียบปฏิบัติของโรงเรียนได้ขนาดนั้น

ทั้งหมดขึ้นอยู่กับผู้บังคับการ  สมัยของผมตอนที่เข้าไปท่านก็อายุเจ็ดสิบเศษ  เท่าๆกับผมตอนนี้  แต่ท่านยังแข็งแรงและบารมีเต็มเปี่ยม  พระยาภะรตราชาเป็นผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยทั้งหมด ๓๙ ปี  ท่านอายุยืนถึง ๘๙ ก่อนจะถึงอนิจกรรมในตำแหน่งเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๑๘ (ปีเดียวกับที่คุณazanteเข้าเรียนคณะเด็กเล็ก) ซึ่งสมัยหลังๆ นี้ท่านก็ไม่ค่อยจะไหวแล้ว อำนาจการบริหารกระทำโดยคนอื่นในนามของท่าน  ซึ่งไม่มีทางจะเหมือน 

หลังจากนั้น บุตรชายของท่าน คือ ศ. ดร. กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นผู้บังคับการแทน ตามมติที่กรรมการโรงเรียนเสนอขึ้นทูลเกล้าฯ  เวลานั้นท่านยังดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวังอยู่ด้วย  งานบริหารที่วชิราวุธจึงตกอยู่ในมือบุคคลอื่นเช่นเดียวกับในสมัยปลายของบิดาท่าน  เป็นเช่นนี้มาอีก ๒๐ ปี

ลูกชายผมเข้าวชิราวุธในช่วงนี้  ก็เห็นความแตกต่างกับสมัยผมเยอะ  ถึงจะหงุดหงิดอยู่บ้าง แต่ในภาพรวมของวิถีวชิราวุธก็ยังคงอยู่  ผมจึงให้ลูกเรียนที่นั่นตั้งแต่ประถม ๓ จนจบการศึกษา แล้วสอบเข้าจุฬาได้ในปีนั้น

ศ.ดร. ชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นนักเรียนเก่าวชิราวุธคนแรก ที่ได้เป็นผู้บังคับการคนต่อมา  ท่านผู้นี้ถือว่าร่วมยุคกับผม จุดอ่อนจุดแข็งของโรงเรียนเป็นอย่างไรท่านรู้หมด  เมื่อท่านเข้ามาแล้วโรงเรียนจึงมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ให้เจริญขึ้นในทุกวิถีทาง
 
ถ้านักเรียนเก่ายุคผู้บังคับการชัยอนันต์เข้ามาเขียน  ก็อาจจะกลายเป็นคนละเรื่องกับที่เล่าๆกันในกระทู้นี้ไปเลยก็ได้
บันทึกการเข้า
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 30 มี.ค. 19, 08:13

ถ้ามี นักเรียนรุ่น อ.ชัยอนันต์ เป็นผู้บังคับการ ตามที่คุณ NAVARAT.C พูดถึง มาร่วมให้ความรู้ด้วยคงจะได้เห็นวิวัฒนาการของโรงเรียน แบบก้าวกระโดดเลยครับ
ยิ่งถ้าตอนนี้กลับไปเยี่ยมโรงเรียน จะเห็นการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ทั้งฝั่งเด็กเล็ก เด็กโต

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 30 มี.ค. 19, 08:33

 ถ้าท่านใดเป็นศิษย์เก่ารุ่นดร.ชัยอนันต์เป็นผู้บังคับการ  แวะเข้ามาอ่านในเรือนไทย  ขอเชิญให้ความรู้ด้วยค่ะ 
บันทึกการเข้า
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 30 มี.ค. 19, 08:40

ของเถื่อนของเด็กโตในคณะเด็กเล็กที่ทุกคนรู้จักกันดีคือ ข้าวตัง   ข้าวที่ทานกันนั้นหุงด้วยกระทะใบบัว ก็เลยมีข้าวตังติดที่ก้นกระทะ เมื่อมีโอกาสก็จะแอบขอจากแม่ครัว เอามาแบ่งกันเป็นของกินเล่น  เรื่องนี้เป็นเรื่องของความสนุกของเด็กในการแสดงความสามารถในการแอบเอาของเถื่อนจากฝั่งคณะใน ข้ามถนนมาฝั่งคณะเด็กเล็ก มาแบ่งกันกินด้วยความนุกสนาน  ก็เป็นเรื่องที่ยังเอามาเล่ากันเมื่อยามแก่ แล้วก็หัวเราะกันท้องคัดท้องแข็ง

ข้าวตังสำหรับผมคิดว่าเป็นอาหารพิเศษที่ไม่เคยทานมาก่อนเลย โดยเฉพาะ ข้าวตังก้นกระทะจากข้าวผัดสีแดง ซึ่งผมชอบมาก จะเป็นสูตรเดียวกับข้าวผัดรถไฟ หรือเปล่าก็ไม่ทราบ
เพราะไม่เคยลองชิมข้าวผัดรถไฟ  

ข้าวผัดสีแดง ใส่หมู มีไข่ดาวขอบกรอบเกรียม คนละ 1 ใบ เป็นหนึ่งในรายการอาหารเช้า แม่ครัวใหญ่ที่ทำเป็นรุ่นน้องๆคุณยายเลย ผมเรียกป้าแผ้ว สามีท่าน เคยเป็นคนขับรถให้เจ้าคุณภะรตราชา ผมชอบไปตีสนิทคุยด้วยบ่อยๆ เลยได้ชิมข้าวตังอันหอมหวานอยู่บ่อยๆ มีครั้งนึงไปด้อมๆมองๆ ในครัว เจอของน่ารับประทานมากในกระทะ ป้าแผ้วบอก ว่าสตูลิ้นวัว ชิ้นใหญ่ น่าทานมาก สายตาผมจับจ้องอย่างไม่กะพริบตา ป้าบอกว่าจะเอาไปทำบุญ ด้วยความเอ็นดูของป้า  ท่านหยิบมาชิ้นนึง ปากก็พึมพำว่า บาปบุญคุณโทษรึเปล่าก็ไม่รู้ แล้วยื่นเอามาให้ผมลองชิม ด้วยความที่เป็นเด็ก ก็เลยดีใจ รับประทานหมดเลย ลิ้นวัวชิ้นใหญ่หนานุ่ม ชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำปรุงรสที่บอกได้เลยว่าสุดยอด มานึกได้ภายหลังก็รู้สึกผิดเหมือนกันครับที่ไปชิมของทำบุญก่อนพระ ป้าแผ้วใจดีจริงๆ

 แต่แล้วมาวันนึง ป้าแผ้วก็เสียชีวิตกระทันหัน ด้วยหัวใจล้มเหลว มือรองได้เป็นหัวหน้าแม่ครัวแทน ข้าวผัดตอนเช้าเปลี่ยนไปเป็นข้าวผัดซีอิ๊วดำ ไม่ใช่ข้าวผัดสีแดง ที่ผมชอบซะแล้ว

อยากจะได้สูตรข้าวผัดสีแดงจังเลยครับ




ผมทานฝีมือแม่ครัวท่านนี้ ได้ไม่กี่ปี
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 30 มี.ค. 19, 18:41

อย่างน้อยในขณะนี้มี OV อยู่สามรุ่นแต่ละรุ่นห่างกันประมาณ 10 ปี ที่จะเข้ามาเสวนาในกระทู้นี้ ก็น่าจะพอฉายภาพของพัฒนาการต่างๆได้พอควรในช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ.2498 ถึงช่วงทศวรรษของ พ.ศ.2520

จะเห็นว่าโครงของเรื่องทางด้านกิจกรรมยังคงไม่เปลี่ยนแปลง มีแต่เพียงในรายละเอียดลึกลงไปเท่านั้นที่แปรผันไปตามการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ทางเศรษกิจ และทางสังคมของประเทศ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 30 มี.ค. 19, 19:23

ในเรื่องของการสวดมนต์

เด็กนักเรียนทุกคนจะได้รับหนังสือสวดมนต์คนละเล่ม มีความหนาประมาณ 1 นิ้ว ภายในแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นเรื่องของบทสวดมนต์ต่างๆ เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น และบทสวดสรรเสริญทำนองต่างๆ (สรภัญญะ อินทรวิเขียร...)  ส่วนที่สองอยู่ด้านท้ายเล่ม จะเป็นบทเพลงต่างๆ เช่น จรรยานักกีฬา(เพลงเมื่อแมวหมาฯ) มหาวชิราวุธราชสดุดี(เพลงประจำโรงเรียน) ...

หน้ากระดาษของบทสวดมนต์จะแบ่งออกเป็นสองส่วน ครึ่งด้านซ้ายจะเป็นภาษาบาลี ครึ่งด้านขวาจะเป็นคำแปล   ด้วยการที่ต้องใช้หนังสือสวดมนต์ตลอดระยะเวลาที่เรียนอยู่ ก็จึงเชื่อว่าทุกคนจะอ่านออกเสียงภาษาบาลีได้ ส่วนคำแปลนั้นก็เชื่อว่าทุกคนคงได้อ่าน แต่คงจะไม่ทั้งหมดที่จะจำคำแปลของแต่ละคำบาลีได้     ส่วนตัวผมนั้นให้น่าสนใจ โดยเฉพาะที่เป็นคำแปลทั้งบทสวด เช่นของบทสวดพาหุงฯ (ซึ่งจะได้ยินกันในทุกๆงานบุญที่พระจะสวด)

ผมก็ยังเก็บหนังสือสวดมนต์นี้อยู่   
บันทึกการเข้า
choo
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 30 มี.ค. 19, 19:43

ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกต้องไหมว่าโรงเรียนนี้รับแต่เด็กที่นับถือศาสนาพุทธเท่านั้น
บันทึกการเข้า
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 30 มี.ค. 19, 21:47

ขอเรียนเชิญ รุ่นพี่ คุณ NAVARAT.C คุณ naitang และคุณ V_Mee  แบ่งปันความรู้ งานกรีฑา ในอดีตให้ฟังด้วยครับ
งานกรีฑา ถือได้ว่าเป็น ไฮไลท์ ในช่วงชีวิตหนึ่งของ นักเรียนวชิราวุธทีเดียว  มีการเปลี่ยนแปลง ตามกาลเวลา จนปัจจุบันนี้ แทบจะเป็นอดีตไปแล้ว
เรื่องราวน่าสนใจมากครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 30 มี.ค. 19, 21:50

เรื่องงานกรีฑารอคุณตั้งก็แล้วกัน ขานั้นเล่าได้ละเอียดลออดี

ผมขอตอบคุณchooเรื่องนักเรียนต่างศาสนา
ในใบสมัครเข้าโรงเรียนไม่ได้ระบุนะครับ รุ่นหลังผมสี่ปีมีเด็กอเมริกันผมทองเข้ามาเรียนจนจบการศึกษา แต่ก็เห็นทำตามกฏของโรงเรียนทุกประการไม่แตกต่างกับเพื่อนๆ จนบัดนี้ผมก็ไม่ทราบ ไม่เคยถามถึงศาสนาของเขา

ทะเบียนนักเรียนเก่าสมัยมหาดเล็กหลวงมีชื่อเจ้าหัวเมืองปักษ์ใต้แสดงว่าเป็นมุสลิมหลายคนทีเดียว แต่ก็คงจะกินอยู่เหมือนคนอื่นๆ
บันทึกการเข้า
choo
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 30 มี.ค. 19, 22:44

ขอบคุณครับ คุณ NAVARAT.C ที่ผมถามเพราะเห็นมีหนังสือสวดมนต์คนละเล่มสวดกันทุกเช้าซึ่งแปลกไปจากโรงเรียนอื่นๆทีเคยเรียนมีสวดมนต์บทเดียวคือ อรหังสัมมา..เช้าหนหนึ่งและก่อนกลับบ้านอีกครั้ง เด็กที่นับถือศาสนาอื่นก็สวดตามไม่มีอะไรขัดข้องรวมทั้งการเรียนวิชาศิลธรรมด้วยเขาบอกว่าเรียนไว้ตอบข้อสอบ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 31 มี.ค. 19, 07:56

เรื่องศาสนากับนักเรียนนั้น  สมัยผมก็มีเพื่อนที่นับถือทั้งศาสนาอิสลามและคริสต์รวมอยู่ด้วยเหมือนกัน  แต่ทุกคนก็ไหว้พระสวดมนต์ตามระเบียบของโรงเรียนเหมือนนีกเรียนอื่น  ไม่เห็นเขาปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาของเขาครับ  ส่วนนักเรียนมหาดเล็กหลวงและวชิราวุธที่เป็นเชื้อสายเจ้านายมลายูที่มาเรียนที่โรงเรียนนั้น  เคยได้ยินท่านนักเรียนเก่าอาวุโสที่เป็นเพื่อนท่านเหล่านั้นเล่าว่า ท่านก็รับประทานหมูกันเป็นปกติแต่ห้ามทักว่าเป็นหมูเท่านั้นครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 31 มี.ค. 19, 08:07

เปิดบทพาหุงฯที่คุณตั้งกล่าวถึงจากหนังสือสวดมนต์ของผมเองที่ยังเก็บไว้ ให้ดูเป็นตัวอย่าง
พระยาภะรตราชาท่านให้พนักงานคนหนึ่ง เราเรียกมหาอรุณ ตามชื่อและสมณศักดิ์เดิมของท่านก่อนสึกเป็นผู้แบ่งวรรคตามทำนองวสันตดิลก เพื่อให้นักเรียนสวดตามได้ง่ายๆ

บทสวดพาหุงฯนี้ บางท่านอาจจะทราบแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯทรงเลือกท่อนแรกมาเป็นบทสวดประจำกองทหารอาสาสมัครสยามไปราชการสงครามในทวีปยุโรป โดยทรงดัดแปลงท่อนลงท้ายจาก ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชยมังคลานิ เป็น ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะสิทธิ นิจจัง
แล้วพระองค์ทรงนำทหารทั้งปวงสวดคาถาพาหุงก่อนที่จะขึ้นเรือที่ท่าราชวรดิฐ  เพื่อชัยชนะของสยาม

นักเรียนวชิราวุธจะต้องสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยที่ห้องสวดมนต์ของคณะ ก่อนจบด้วยคาถาพระราชทานนี้ก่อนเข้านอน ซึ่งผมยังปฏิบัติอยู่ด้วยความเคยชิน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 31 มี.ค. 19, 10:15

รุ่นหลังผมสี่ปีมีเด็กอเมริกันผมทองเข้ามาเรียนจนจบการศึกษา แต่ก็เห็นทำตามกฏของโรงเรียนทุกประการไม่แตกต่างกับเพื่อนๆ จนบัดนี้ผมก็ไม่ทราบ ไม่เคยถามถึงศาสนาของเขา

เดวิท รัสเซลล์ อเมริกันหัวใจไทย ภาพในสมัยเป็นนักเรียน และภาพจาก FB ถ่ายเมื่อคืน นั่งอยู่กับผู้บังคับการคนปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 31 มี.ค. 19, 10:27

รู้จักแต่ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์ (ขวาสุด) ท่านผู้บังคับการคนก่อนค่ะ
 


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 31 มี.ค. 19, 10:37

รู้จักแต่ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์ (ขวาสุด) ท่านผู้บังคับการคนก่อนค่ะ
 

ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์ เป็นรุ่นน้องคณะดุสิต เช่นเดียวกับผมกับคุณตั้ง ห่างกัน ๒ ปีครับ เมื่อเข้าจุฬาก็เล่นรักบี้ให้มหาวิทยาลัยด้วยกัน โดยผมจะเลิกเล่นไปก่อน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง