เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 15899 วชิราวุธวิทยาลัย โรงเรียนที่พระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นแทนวัดประจำรัชกาลที่ ๖
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 06 มี.ค. 19, 17:23

กิจวัตรประจำวันของนักเรียนวชิราวุธสมัยผม

๖.๐๐ น. ระฆังปลุกสำหรับพวกที่ยังไม่ตื่นนอน ล้างหน้าแปรงฟัน แต่งตัวชุดนักเรียน
๗.๐๐ น. เรียนชั่วโมงแรก
๘.๐๐ น. พัก  กลับคณะเพื่อทานอาหารเช้า
๘.๓๐ น. ทุกคนขึ้นหอประชุม เพื่อสวดมนต์ประจำวัน
๙.๐๐ น. ไปตึกเรียน เริ่มเรียนชั่วโมง ๒ และ ๓
๑๐.๕๐ น. พัก ทานอาหารว่าง
๑๑.๑๕ น. เริ่มเรียนชั่วโมง ๔ และ ๕
๑๓.๐๐ น. เลิกเรียน กลับคณะเพื่ออาหารกลางวัน

๑๔.๐๐ น. ทุกคนเรียนดนตรี หรือ ศิลปกรรม
๑๕.๐๐ น. พัก เล่นผ่อนตามสบาย
๑๕.๔๕ น. ระฆังโรงเรียนเรียกแถวทุกคณะ ก่อนทุกคนแยกย้ายไปเล่นกิฬาตามถนัด  เด็กเล็กเป็นชั่วโมงพลศึกษา หัดเดินแถวสวนสยาม
๑๗.๐๐ น. เลิกกิฬา อาบน้ำ เปลี่ยนเป็นชุดนอน ยกเว้นทีมโรงเรียนที่เตรียมตัวแข่งขัน

๑๘.๓๐ น. ระฆังคณะ เข้าแถวแล้วทานข้าวเย็น
๑๙.๐๐ น. เข้าเพรบ (Prep ศัพท์ของพับบริกสกูล ย่อมาจาก Preparation) คือเข้าห้องคล้ายห้องเรียนในคณะเพื่อทำการบ้าน
๒๐.๓๐ น. เลิกเพรบ
๒๐.๔๕ น. เข้าห้องสวดมนต์ในคณะ เพื่อสวดมนต์ก่อนนอน
๒๑.๐๐ น. เข้าห้องนอน ดับไฟ  นักเรียนชั้นสูงสามารถอยู่ต่อในห้องเพรบเพื่อทำงานหรือดูหนังสือได้ตามควร



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 06 มี.ค. 19, 17:58

ชั่วโมงเรียนวิชาทั่วไปที่ดูเหมือนน้อยเพียง ๕ ชั่วโมงนั้น ความจริงก็ไม่น้อยเพราะเราเรียนวันเสาร์ด้วย

ส่วนวันอาทิตย์ที่เป็นวันหยุดจริงๆนั้น  เริ่มจากคืนวันเสาร์แล้ว สมัยก่อนพวกพี่ๆในสมาคมบันเทิงจะไปเลือกเช่าหนังมาฉายให้นักเรียนทั้งโรงเรียนชมบนหอประชุม หลังจากทานอาหารเย็นเสร็จแล้ว
เช้าวันอาทิตย์ ทุกคนจะได้ตื่นสายนิดนึง คือจะตีระฆังเรียกแถวทานข้าวเช้าตอน ๘.๐๐ น. เลย หลังจากนั้น ๙.๐๐ น. ทุกคนขึ้นหอประชุม เพื่อสวดมนต์บทยาว ทำวัตรเช้า แล้วฟังโอวาทที่ท่านผู้บังคับการ หรือผู้กำกับคณะจะขึ้นมากล่าวให้พวกเราฟังประมาณครึ่งชั่วโมง  หลังจากนี้แล้วก็ไม่มีอะไรอีกนอกจากเข้าเพรบตอนบ่ายโมง  และเป็นเวลาที่ผู้ปกครองพวกเด็กๆจะมาเยี่ยม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 06 มี.ค. 19, 19:24

คุณ NAVARAT.C ว่าไปในเรื่องหลักๆทางโครงสร้างก่อน(Institutional framework) แล้วค่อยมาขยายความในเชิงของกระบวนกิจกรรมที่จะไปช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้แต่ละบุคคลให้มี competency ในองค์รวม (Capacity building)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 07 มี.ค. 19, 09:57

ผมตั้งใจจะเล่าเน้นในสมัยของผม ตามคำถามว่าถูกอบรมกันมาอย่างไร  ขอบอกความจริงว่าแนวทางของวชิราวุธวิทยาลัยโดยหลักการแล้วไม่เคยเปลี่ยน แต่รายละเอียดได้เปลี่ยนไปตามยุคสมัยของผู้บังคับการแต่ละท่าน  ซึ่งมีวิสัยทัศน์ต่างกัน ดังนั้นสิ่งที่ผมเล่า อาจจะไม่ใช่แล้วในยุคนี้

ชีวิตของเด็กวชิราวุธจะเข้มข้นแท้จริงเมื่อเข้าคณะเด็กโต ที่เรียกว่าคณะในแล้ว ในยุคผมมีคณะใน ๔ คณะ มีชื่อตามพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ คือ ดุสิต จิตรลดา พญาไท อีกคณะหนึ่งเรียกคณะผู้บังคับการเพราะตัวผู้บังคับการเองเป็นผู้กำกับคณะด้วย (อังกฤษเรียก School House) แต่ละคณะมีเด็กประมาณ ๘๐ คน ใช้หลักการให้เด็กโตปกครองเด็กเล็ก โดยมีหัวหน้าคณะ(Prefect) ๔-๖ คนแล้วแต่ เป็นผู้รับผิดชอบดูแล โดยผู้กำกับคณะจะสังเกตุการณ์อยู่ห่างๆ

หัวหน้ามีหน้าที่กวดขันวินัยของเด็กๆในคณะให้ปฎิบัติตามกิจวัตรประจำวันตามตารางที่ผมนำมาให้ดูแล้วโดยเคร่งครัด  ใครฝ่าฝืนก็มีอำนาจทำโทษได้  ตามมาตรฐานขณะโน้นคือการเฆี่ยนด้วยกิ่งพู่ระหงที่ขึ้นเป็นรั้วของสนามเทนนิส ให้เด็กที่จะโดนทำโทษไปตัดมา จนกว่าจะได้ขนาดที่พอใจ คือประมาณนิ้วก้อย แน่นอน เด็กๆจึงไม่กล้าเบี้ยว ตื่นสาย ไม่เข้าเรียน หรือแอบสูบบุหรี่ ปีนรั้วหนีเที่ยว อย่างนี้เป็นต้น

ปัจจุบัน โรงเรียนให้เปลี่ยนการลงโทษโดยห้ามแตะต้องตัวเด็ก  แต่ผลคือ วินัยของเด็กจะหย่อนยานลงโดยธรรมชาติ

ในภาพคือพิธีแต่งตั้งหัวหน้าคณะบนหอประชุมอันศักดิ์สิทธิ์ หลังพิธีไหว้ครูประจำปี  รูปแบบของพิธีกรรมสมัยนี้กับสมัยผมต่างกันไปบ้าง ที่เหมือนเดิมคือ หัวหน้าทุกคนจะต้องกล่าวคำปฏิญาณตนต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ในเรื่องของปฏิบัติหน้าที่


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 07 มี.ค. 19, 10:00

ส่วนพวกโตๆแม้จะไม่ใช่หัวหน้า ก็สามารถใช้เด็กให้ทำโน่นทำนี่ หรือซักชุดกีฬาได้  เสื้อกีฬาสีคณะนี้โรงเรียนจ่ายให้ปีละตัวเดียว นอกจากจะขาด หลังเล่นเกมแล้วต้องนำมาซักทั้งชุด รวมกางเกงและถุงเท้าด้วย และตากไว้ให้มันแห้งก่อนถึงเวลาเล่นกีฬาในวันรุ่งขึ้น  วันไหนฝนตกสนามเป็นโคลน เด็กๆจะมีงานหนักเป็นพิเศษในการซักชุดรักบี้  ซักแล้วเจ้าของจะเรียกเอาไปดม ถ้ายังมีกลิ่นโคลนก็ต้องซักใหม่ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าจะหมดกลิ่น
อ้อ สมัยโน้นยังไม่มีผงซักฟอกนะครับ  สบู่ก็ไว้ฟอกตัว  ก็ต้องใช้น้ำก๊อกนี่แหละ ซักไปขยี้ไปจนกว่าจะสะอาด หรือจมูกเขาชินกลิ่นไปเอง

สองสามปีแรกในคณะในจึงเป็นช่วงแห่งความลำเค็ญ  หลังจากนั้นแล้วค่อยสบายหน่อย

ทราบว่าสมัยนี้ก็ยังมีการใช้กันได้อยู่ แต่รุ่นพี่จะเอาใจน้องๆมากขึ้นด้วยการเลี้ยงขนมหรือมีของฝากจากทางบ้าน รุ่นพี่รุ่นน้องส่วนใหญ่จะผูกพันรักใคร่กันก็เพราะสัมพันธภาพเช่นนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 07 มี.ค. 19, 10:05

เด็กทุกคนจึงต้องพยายามเอาตัวให้รอดจากการถูกใช้  การเล่นกิฬาให้ติดทีมรุ่นเล็กของคณะก็เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้พวกรุ่นเกรงใจ  หรือไม่ก็ต้องเด่นในทางอื่น เช่นดนตรี ศิลปกรรม(วาดเขียน) หรือเรียนระดับส่งใบกับเขาบ้าง (ส่งใบคือใบคะแนนที่สอบประจำเดือนหรือประจำภาคของทุกห้อง แยกเป็นหมวด ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คำนวณ และคะแนนรวม คนได้ที่ ๑ ในแต่ละหมวดแต่ละห้อง จะได้ถือใบคะแนน ขึ้นไปเข้าแถวเรียงลำดับเพื่อมอบให้ท่านผู้บังคับการบนหอประชุมต่อหน้าเด็กทั้งโรงเรียน  ในทุกวันเสาร์สุดท้ายของเดือน ก่อนกลับบ้าน)

ภาพวันส่งใบในสมัยนี้ก็เหมือนสมัยผม ใครที่ได้ส่งใบจะหน้าอกพองโตเวลาที่เพื่อนทั้งโรงเรียนปรบมือให้กึกก้อง  ชื่อของคนที่ส่งใบบ่อยๆจะถูกรุ่นพี่รุ่นน้องจำได้แม่น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 07 มี.ค. 19, 13:18

แต่หน้าที่ของหัวหน้าคณะมิได้มีแค่คอยไล่จับผิดเด็ก  แต่ต้องรับผิดชอบในกิจกรรมของโรงเรียนและของคณะทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันสุดท้ายของการปิดภาคเรียนแต่ละภาค 

ในภาคแรกนั้น โรงเรียนจะให้คณะต่างๆจัดการแสดงบนเวทีให้ดูกันทั้งโรงเรียน ซึ่งหัวหน้าคณะจะต้องปรึกษาทีมงานว่าจะเอาอย่างไร  แล้วตระเตรียมผู้แสดงและเครื่องแต่งกาย ดนตรี จิปาถะ ไม่ให้ด้อยกว่าคณะอื่นๆ   
ในภาคสอง เป็นงานคณะที่เด็กทุกคนมีส่วนร่วม ในการจัดเลี้ยง ตั้งแต่สถานที่และเวทีกลางแจ้ง เป็นงานใหญ่ที่เปิดโอกาสให้เรียนรู้การเป็นผู้นำที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่จะให้ทุกคนร่วมมือร่วมใจเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว
ภาคสามอันเป็นภาคสุดท้ายของปี จะต้องร่วมมือกับโรงเรียนจัดงานรับเสด็จพระราชดำเนินมาทรงแจกประกาศนียบัตรผู้สำเร็จการศึกษาในปีที่แล้ว และเสด็จทอดพระเนตรผลงานต่างๆของนักเรียน และการแสดงกลางแจ้งหน้าพระที่นั่ง จบลงด้วยการแข่งขันกรีฑารอบชิงชนะเลิศ  และรับพระราชทานรางวัล ซึ่งงานนี้ถือเป็น High Light ของปี

บรรดาฉากและสิ่งประกอบทั้งหลายที่เห็นในภาพ  โรงเรียนไม่เคยจ้างผู้รับเหมา แต่จะให้ครูศิลปะเป็นผู้ออกแบบและจัดสร้างโดยมีคนงานของโรงเรียนไม่กี่คน และนักเรียนอาสาสมัครนับร้อยมาช่วยในช่วงหลังเพรบตอนกลางคืนร่วมเดือน  จนแล้วเสร็จทันงาน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 07 มี.ค. 19, 13:19

เชิญคุณตั้งเข้ามาต่อได้แล้วครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 08 มี.ค. 19, 06:46

แต่การจะเป้นนักเรียนวชิราวุธให้ได้ตลอดรอดฝั่งนั้นไม่ใช่ของง่าย  ในปีแรกที่เข้าคณะเด็กเล็กก็หายไปหลายคนแล้ว  ส่วนหนึ่งก็ทนได้ไม่ถึงเดือนด้วยซ้ำ  ครั้นเข้าคณะในก็เช่นกัน เด็กหลายคนที่ทนไม่ได้ก็ร่ำร้องขอให้พ่อแม่มาลาออกไปอยู่โรงเรียนอื่นก็เยอะ พวกที่ทนได้ หรือเห็นว่าสนุกก็มิใช่จะทางโล่ง  บางคนถูกโรงเรียนตามผู้ปกครองมาลาออกกลางคันเพราะพฤติกรรมที่ไม่ดี  เช่นถูกเพื่อนจับได้ว่ามีนิสัยขี้โขมยบ้าง  ครูรายงานว่าเกียจคร้านบ้าง  ชอบรังแกเด็กอย่างรุนแรงบ้าง รายการหลังนี่ส่วนใหญ่เกิดจากเด็กที่เล็กกว่าทนไม่ได้จนหนีกลับบ้าน ผู้ปกครองนำเรื่องมาฟ้องโรงเรียน  หากสอบสวนแล้วเป็นจริงแม้จะบางคนจะเป็นหัวหน้า ผู้บังคับการก็ไม่ละเว้น

ไม้ตายท่านี้เป็นที่รู้กันทุกคน ดังนั้นการใช้เด็กจึงต้องมีศิลป์ด้วยไม่งั้นเด็กไม่ยอมทำ จะไปลงมือลงเท้าก็เป็นได้ซาโยนาระทุกราย

นอกจากนั้นก็เป็นเรื่องผลการเรียนที่ทำให้เพื่อนหลายคนต้องจากกันไปเมื่อสิ้นปีการศึกษา  วชิราวุธเล่นมากก็จริงแต่ก็ต้องเรียนให้สอบผ่านเกณฑ์ของโรงเรียนด้วย  แล้วใครจะถือเอาคะแนนของวชิราวุธเป็นบรรทัดฐานนักก็ไม่ได้ ผมขอยกตัวอย่าง ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ท่านเขียนเล่าในประวัติของท่านว่า ท่านสอบผ่านมัธยม ๘ ด้วยคะแนนรวม ๕๒% แต่ท่านสอบเข้าคณะรัฐศาสตร์จุฬาได้ในอันดับต้นๆ  และสอบชิงทุนโคลัมโบไปศึกษาต่อที่นิวซีแลนด์ได้ในปีนั้น

จักรพันธุ์ โปษยกฤต  ใช้เวลาดนตรีและกีฬานั่งเขียนรูปตั้งแต่เด็กจนโต  พระยาภะรตก็ไม่ว่าอะไร แถมยังหาครูดีๆมาแนะนำเทคนิกให้อีก  ถึงปีสอบไม่ผ่าน แต่ได้ขึ้นชั้นโดยมีวงเล็บว่า “ทดลองเรียน” จนจบ ม. ๘ แล้ว พี่ท่านสอบเข้าคณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรผ่านฉลุย  หลังจากนั้นชีวิตก็เดินทางไปสู่จุดสุดยอดในฐานะศิลปินแห่งชาติที่มีผลงานมากมายสุดจะบรรยาย

จักร จักษุรักษ์ อดีตนักรักบี้ทีมชาติตั้งแต่อยู่โรงเรียน และเป็นนักกิฬาระดับตำนานของวชิราวุธหลายประเภท  สอบไล่ตกซ้ำชั้นบ้าง ทดลองเรียนบ้างจนจบ ม. ๘  ปีแรกสอบเข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจไม่ได้  ก็สมัครเข้ารับราชการเป็นพลตำรวจ มีหน้าที่เล่นรักบี้ให้ทีมตำรวจและทีมชาติ  ปีต่อมาสอบได้และเรียนจนจบเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร  รับราชการตามสถานีตำรวจนครบาลหลายแห่งจนเป็นผู้กำกับ  เมื่อเล่นรักบี้ไม่ไหวแล้วก็เปลี่ยนไปเป็นโค้ชจนแก่ ในชีวิตมีส่วนทำให้ชาติไทยได้เหรียญรางวัลกีฬาประเภทนี้ทั้งในซีเกมส์และเอเชียนเกมส์มากมาย ท่านผู้นี้เกษียณที่ยศพลตำรวจตรี  เพิ่งจะได้รับการคัดเลือกให้เป็นยอดนักกิฬาเอก ได้รับรางวัล Hall Of Fame สยามกีฬาอวอร์ดส์ประจำปีนี้

เมื่อมองย้อนหลังแล้ว ผมก็ได้แต่สรรเสริญพระยาภะรตราชา ตอนนั้นคิดว่าท่านลำเอียง ใครเลยจะนึกว่าการศึกษาของโลกในยุคใหม่  โรงเรียนจะต้องพยายามเฟ้นหาเด็กอัจฉริยะในวิถีใดวิถีหนึ่ง แล้วหาทางช่วยส่งเสริมให้ผ่านกรอบอันคับแคบของระบบการศึกษาไปให้ได้ เพื่อจะไปแสดงศักยภาพอย่างเต็มพิกัดในอนาคต   เรื่องนี้จึงนับว่าท่านผู้บังคับการวชิราวุธมีวิสัยทัศน์ล้ำหน้า โดยทำเช่นนี้มาแล้วหลายสิบปี  โดยอาศัยว่ากระทรวงศึกษาฯไม่กล้ามายุ่งนักกับโรงเรียนนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 08 มี.ค. 19, 07:53

ผมไม่ใช่เด็กที่มีพรสวรรค์อะไรขนาดนั้น  ชีวิตนักเรียนวชิราวุธก็เป็นไปตามมาตรฐาน  ตอนเป็นเด็กใหม่ก็แทบจะทนไม่ได้ ต้องนอนร้องไห้ทุกคืน พอแม่มาเยี่ยมก็คร่ำครวญขอให้แม่ลาออก  แต่แม่ผมใจแข็งมาก  ผิดกับภรรยาผมซึ่งร้องไห้ขี้มูกโป่งแข่งกับลูกอยู่เป็นปี

พอใกล้จะหมดเทอมแรก มีงานปิดภาค ครูที่คณะก็เลือกผมให้แสดงระบำแขกบนหอประชุม  โดยกล่าวว่าชุดไหนแสดงดีโรงเรียนจะคัดให้ไปแสดงในวังในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินีนาถ  เด็กเล็กแต่ละคณะก็มีการแสดงชุดต่างๆดังภาพตัวอย่างที่นำมาให้ดู  เปิดเทอมมาแล้วผมจึงได้ทราบว่าทุกคณะได้รับการคัดเลือกหมด  ในเดือนสิงหาคมเด็กๆจะได้เข้าวังเป็นครั้งแรก

ปีนั้นตรงกับพ.ศ. ๒๕๐๐ ตรงกับวันอะไรจำไม่ได้ แต่คงไม่ใช่วันที่ ๑๒  ในวังจัดงานเลี้ยงข้าราชบริพารในพระองค์สักสองร้อยคนที่ห้องโถงเอนกประสงค์ของโรงเรียนจิตรลดา  นักเรียนคณะเด็กเล็กที่ไปแสดงบนเวทีก็ร่วมร้อยเข้าไปแล้ว จึงได้รับพระราชทานอาหารแต่เนิ่นๆแยกออกไป ยังจำได้ว่าเป็นผัดมักโรนีที่อร่อยที่สุดในโลกของผมตอนนั้น  เมื่อถึงเวลา ก็ขึ้นไปแสดงตามคิว มองลงมาเห็นทั้งสองพระองค์  และสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์เล็กๆ ประทับนั่งเด่นอยู่หน้าเวที  ผมก็กระโดดย๊อกๆแย๊กๆไปตามที่ซ้อมมาจนหมดเพลง ก่อนปิดฉากเห็นสมเด็จพระราชินีทรงปรบพระหัตถ์ให้ ดูเด่นกว่าใครๆ

สุดยอดของวันนั้นคือเมื่อพวกเราขึ้นไปนั่งเรียงกันหลังม่านเมื่อการแสดงของนักเรียนทุกชุดจบลง  พอม่านเปิด ทั้งสองพระองค์ก็จูงสมเด็จเจ้าฟ้าตรงมาที่เวทีเพื่อทรงขอบใจเด็กๆ  ต่อมาเมื่อผมอ่านพบบทกวีของสุนทรภู่ในท่อนที่ว่า “เคยเข้าเฝ้าได้กลิ่นสุคนธ์ตลบ” อารมณ์ของผมจะพาย้อนกลับไปที่โมเม้นต์นี้  สมเด็จพระราชชินีนาถทรงหยุดพระดำเนินตรงหน้าผมพอดี  กลิ่นน้ำอบฝรั่งเศสหอมตลบอบอวลแสนจะชื่นใจ ทรงแย้มพระสรวลให้เด็กๆ แล้วถามเพื่อนที่นั่งข้างๆผมว่าชื่ออะไรจ๊ะ อยู่ชั้นไหนจ๊ะ ทุกคนแสดงกันได้ดีนะ ขอบใจมากนะจ๊ะ อะไรประมาณนี้

คืนนั้น พอจิตหายฟุ้งซ่านแล้ว  ผมพบกับจิตดวงใหม่ที่เลิกคิดจะออกจากโรงเรียนนี้แล้ว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 08 มี.ค. 19, 08:13

การเขียนเรื่องโรงเรียนเก่านี้ ยอมรับว่าผมลำบากใจมาก เขียนตำหนิมากก็ไม่ดี เขียนชมก็อาจโดนเขม่น โชคดีที่ในเฟซบุคโผล่ตัวช่วยให้ลอกมาแปะ  เป็นความเห็นของภรรยาที่พูดถึงสามี สะท้อนอะไรหลายๆอย่างที่ผมเขียนไปแล้ว  ผมจะไม่บอกละว่าคุณสามีเป็นใคร แค่ว่าเป็นรุ่นน้องร่วมสมัย ผู้บังคับการท่านเดียวกัน  เห็นรูปท่านแล้วบางคนจะรู้จักด้วยซ้ำ เพราะโดยหน้าที่ท่านต้องออกสื่อบ่อยครั้งอยู่

ข้อดีของผู้ชายที่เรียนจบโรงเรียนประจำ

มัดซีเขียนจากประสบการณ์ของตัวเอง ห้ามเชื่อตามโดยไม่พิจารณาให้ดีเสียก่อนนะคะ
เขียนเพื่อความบันเทิงและชวนให้คิด
จากคนที่มีสามีเรียนจบวชิราวุธวิทยาลัยค่ะ

๑ มีความเป็นผู้ดีในการดำเนินชีวิต เป็นสุภาพบุรุษ ให้เกียรติผู้หญิง(อย่างน้อยยามอยู่ต่อหน้า)

๒ สวดมนต์เก่ง เข้าใจศาสนาพุทธดี

๓ แต่งตัวดี เด็กโอวีเวลาไปงานศพงานแต่งงานจะดูออกทันทีว่าเป็นโอวี ด้วยวิธีแต่งกายที่สุภาพ เป็นระเบียบอย่างไม่รู้ตัว

๔ เล่นกีฬาเก่ง ชอบกีฬา มีน้ำใจนักกีฬา

๕ เล่นดนตรีได้ ทำงานศิลปะดี

๖ มีความอดทนสูง สามารถทนทุกข์ทรมานได้นานกว่าผู้ชายที่ไม่เคยเรียนโรงเรียนประจำ

๗ รับประทานอาหารง่ายไม่เรื่องมาก รับประทานเร็วไม่โอ้เอ้ ทำอะไรให้ทานก็ทาน

๘ มีความเกรงใจภรรยาในระดับสูงกว่ามาตรฐาน ถึงจะนินทาภรรยาลับหลังบ้างก็เป็นการพูดถึงด้วยความรักและเคารพ

๙ เรียนจบไปนานเท่าไร ยังรักเพื่อนฝูงเหมือนเดิม เวลาอยู่ด้วยกันจะกลับเป็นเด็กอีกครั้ง

๑๐ ความทรงจำในวัยเด็กที่ลำบากมากๆ มาด้วยกันคือโซ่คล้องใจให้เพื่อนๆ รักกันตลอดไป

๑๑ เป็นคนมีเกียรติ ซื่อสัตย์ ทำตัวเป็นมหาดเล็กหลวงแม้จะไม่มีตำแหน่งหรือหน้าที่นี้แล้วในปัจจุบัน

๑๒ เป็นคนมีใจมุ่งมั่น ใจเด็ด มีความเป็นลูกผู้ชายสูง เพราะถูกหล่อหลอมมาจากความดุร้ายเข้มงวดของรุ่นพี่ ใครอ่อนแอจะอยู่ไม่ได้

๑๓ มีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้รู้ชนะ อดทนในการต่อสู้แข่งขัน

๑๔ รู้จักเข้าคิว ไม่ตัดหน้าคนอื่น เสียสละได้เสมอ ยอมเสียเปรียบ

๑๕ รักชาติศาสน์กษัตริย์มาก

๑๖ มีอารมณ์ขันขั้นรุนแรง

๑๗ พูดจาสุภาพมาก มีสัมมาคารวะ

๑๘ ทำงานมีระบบ ทำงานเข้ากับผู้ใหญ่และผู้ที่อาวุโสกว่าได้ดี

๑๙ บางคนอาจมีนิสัยแตกต่างไปจากนี้บ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นแบบนี้จริงๆ ค่ะ

มัดซีเชื่อว่าความลำบากในโรงเรียนประจำคือความร้อนที่หลอมเหล็กกล้าให้แกร่งค่ะ
สำหรับมัดซี ผู้ชายที่อ่อนแอ เอาแต่ใจตัวเอง กินยากอยู่ยาก ไม่อดทน ชอบแซงคิว ไม่รู้แพ้รู้ชนะ เล่นกีฬาไม่เป็น ไม่รู้จักศิลปะและดนตรี เป็นผู้ชายที่ไม่มีเสน่ห์
ผู้ชายที่ไม่มีเสน่ห์คือผู้ชายที่ถูกเลี้ยงดูมาอย่างตามใจมากไปหน่อย ใครแต่งงานด้วยต้องอดทนนะคะ ค่อยๆ ฝึกกันไป เพราะปัญหานี้คนที่สร้างขึ้นคือบุพการีที่รักลูกผิดวิธี ตัวผู้ชายเองไม่รู้ตัว


บันทึกการเข้า
choo
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 08 มี.ค. 19, 15:39

แต่การจะเป้นนักเรียนวชิราวุธให้ได้ตลอดรอดฝั่งนั้นไม่ใช่ของง่าย  ในปีแรกที่เข้าคณะเด็กเล็กก็หายไปหลายคนแล้ว  ส่วนหนึ่งก็ทนได้ไม่ถึงเดือนด้วยซ้ำ  ครั้นเข้าคณะในก็เช่นกัน เด็กหลายคนที่ทนไม่ได้ก็ร่ำร้องขอให้พ่อแม่มาลาออกไปอยู่โรงเรียนอื่นก็เยอะ พวกที่ทนได้ หรือเห็นว่าสนุกก็มิใช่จะทางโล่ง  บางคนถูกโรงเรียนตามผู้ปกครองมาลาออกกลางคันเพราะพฤติกรรมที่ไม่ดี  เช่นถูกเพื่อนจับได้ว่ามีนิสัยขี้โขมยบ้าง  ครูรายงานว่าเกียจคร้านบ้าง  ชอบรังแกเด็กอย่างรุนแรงบ้าง รายการหลังนี่ส่วนใหญ่เกิดจากเด็กที่เล็กกว่าทนไม่ได้จนหนีกลับบ้าน ผู้ปกครองนำเรื่องมาฟ้องโรงเรียน  หากสอบสวนแล้วเป็นจริงแม้จะบางคนจะเป็นหัวหน้า ผู้บังคับการก็ไม่ละเว้น

ไม้ตายท่านี้เป็นที่รู้กันทุกคน ดังนั้นการใช้เด็กจึงต้องมีศิลป์ด้วยไม่งั้นเด็กไม่ยอมทำ จะไปลงมือลงเท้าก็เป็นได้ซาโยนาระทุกราย

นอกจากนั้นก็เป็นเรื่องผลการเรียนที่ทำให้เพื่อนหลายคนต้องจากกันไปเมื่อสิ้นปีการศึกษา  วชิราวุธเล่นมากก็จริงแต่ก็ต้องเรียนให้สอบผ่านเกณฑ์ของโรงเรียนด้วย  แล้วใครจะถือเอาคะแนนของวชิราวุธเป็นบรรทัดฐานนักก็ไม่ได้ ผมขอยกตัวอย่าง ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ท่านเขียนเล่าในประวัติของท่านว่า ท่านสอบผ่านมัธยม ๘ ด้วยคะแนนรวม ๕๒% แต่ท่านสอบเข้าคณะรัฐศาสตร์จุฬาได้ในอันดับต้นๆ  และสอบชิงทุนโคลัมโบไปศึกษาต่อที่นิวซีแลนด์ได้ในปีนั้น

จักรพันธุ์ โปษยกฤต  ใช้เวลาดนตรีและกีฬานั่งเขียนรูปตั้งแต่เด็กจนโต  พระยาภะรตก็ไม่ว่าอะไร แถมยังหาครูดีๆมาแนะนำเทคนิกให้อีก  ถึงปีสอบไม่ผ่าน แต่ได้ขึ้นชั้นโดยมีวงเล็บว่า “ทดลองเรียน” จนจบ ม. ๘ แล้ว พี่ท่านสอบเข้าคณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรผ่านฉลุย  หลังจากนั้นชีวิตก็เดินทางไปสู่จุดสุดยอดในฐานะศิลปินแห่งชาติที่มีผลงานมากมายสุดจะบรรยาย

จักร จักษุรักษ์ อดีตนักรักบี้ทีมชาติตั้งแต่อยู่โรงเรียน และเป็นนักกิฬาระดับตำนานของวชิราวุธหลายประเภท  สอบไล่ตกซ้ำชั้นบ้าง ทดลองเรียนบ้างจนจบ ม. ๘  ปีแรกสอบเข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจไม่ได้  ก็สมัครเข้ารับราชการเป็นพลตำรวจ มีหน้าที่เล่นรักบี้ให้ทีมตำรวจและทีมชาติ  ปีต่อมาสอบได้และเรียนจนจบเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร  รับราชการตามสถานีตำรวจนครบาลหลายแห่งจนเป็นผู้กำกับ  เมื่อเล่นรักบี้ไม่ไหวแล้วก็เปลี่ยนไปเป็นโค้ชจนแก่ ในชีวิตมีส่วนทำให้ชาติไทยได้เหรียญรางวัลกีฬาประเภทนี้ทั้งในซีเกมส์และเอเชียนเกมส์มากมาย ท่านผู้นี้เกษียณที่ยศพลตำรวจตรี  เพิ่งจะได้รับการคัดเลือกให้เป็นยอดนักกิฬาเอก ได้รับรางวัล Hall Of Fame สยามกีฬาอวอร์ดส์ประจำปีนี้

เมื่อมองย้อนหลังแล้ว ผมก็ได้แต่สรรเสริญพระยาภะรตราชา ตอนนั้นคิดว่าท่านลำเอียง ใครเลยจะนึกว่าการศึกษาของโลกในยุคใหม่  โรงเรียนจะต้องพยายามเฟ้นหาเด็กอัจฉริยะในวิถีใดวิถีหนึ่ง แล้วหาทางช่วยส่งเสริมให้ผ่านกรอบอันคับแคบของระบบการศึกษาไปให้ได้ เพื่อจะไปแสดงศักยภาพอย่างเต็มพิกัดในอนาคต   เรื่องนี้จึงนับว่าท่านผู้บังคับการวชิราวุธมีวิสัยทัศน์ล้ำหน้า โดยทำเช่นนี้มาแล้วหลายสิบปี  โดยอาศัยว่ากระทรวงศึกษาฯไม่กล้ามายุ่งนักกับโรงเรียนนี้

   

เห็นรูป "ท่านยักษ์จักร" สมัยเป็นนักเรียนแล้วท่านหล่อจริงๆ
ความคิดของเจ้าคุณภะรตที่พยายามเฟ้นหาและส่งเสริมความสามารถด้านอื่นๆของเด็กนอกเหนือจากการเรียนเป็นเรื่องทันสมัยมากถึงปัจจุบันเป็นการทำให้เด็กพวกนี้มีที่ยืนไม่ต้องหลบซ่อนหรือเปลี่ยนพฤติกรรมไปเอาเด่นทางเป็นเด็กเกเร น่าเสียดายที่ความคิดนี้ถูกนำมาใช้ในระบบการศึกษาของเราน้อยมาก
บันทึกการเข้า
choo
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 08 มี.ค. 19, 15:42

ขออภัยโพสซ้ำกรุณาตัดความเห็นที่ 26 ออกด้วยครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 08 มี.ค. 19, 16:51

อ้างถึง
๑๒ เป็นคนมีใจมุ่งมั่น ใจเด็ด มีความเป็นลูกผู้ชายสูง เพราะถูกหล่อหลอมมาจากความดุร้ายเข้มงวดของรุ่นพี่ ใครอ่อนแอจะอยู่ไม่ได้

เม้นต์ของคุณศรีภรรยาข้อนี้ สำหรับสมัยท่านสามีคงจะเป็นความจริงอยู่บ้าง แต่ปัจจุบันคงเปลี่ยนไปแล้วตามกาลสมัย จะเห็นได้จากพิธีกรรมเล็กๆในวันพระราชทานประกาศนียบัตร อันเป็นวันสุดท้ายที่นักเรียนชั้นสูงสุดจบการศึกษาและต้องพ้นไปจากโรงเรียน เด็กในคณะจะมายืนเข้าแถวรอส่งพี่ๆ เป็นการร้ำลาซึ่งกันและกัน บรรยากาศจะเป็นอย่างที่เห็น


บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 08 มี.ค. 19, 17:15

อาจจะอ่อนไหวแต่ไม่อ่อนแอครับอาจารย์ใหญ่  ยิ้ม

ผมชอบข้อ 16 มีอารมณ์ขันรุนแรงมาก เพราะเดี๋ยวนี้ออกแนวดราม่ากันหมดแล้ว เพื่อนๆ ผมพร้อมรบทุกคนเมื่อมีเรื่องเฉี่ยวๆ การเมือง ไอ้กระผมก็วิ่งหนีอย่างเดียวเท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 20 คำสั่ง