เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 15953 วชิราวุธวิทยาลัย โรงเรียนที่พระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นแทนวัดประจำรัชกาลที่ ๖
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 28 มี.ค. 19, 17:23

ขอประทานโทษครับเดี๋ยวนี้สายตาเริ่มเสื่อมไปตามวัยครับ
ข้าวต้มแผ่นครับ

ท่าน Navarat C. กรุณากล่าวว่า "แรกๆก็ถ้อยทีถ้อยแบ่งกันกับเพื่อนใกล้ตัว แต่เมื่อเวลาผ่านไปจนสนิทกันทั่วแล้ว เวลาแกะห่อก็ต้องคอยกันมือที่พุ่งเข้ามาจากสาระพัดทิศ
อย่างน้อยตัวเองต้องกัดให้ได้หนึ่งคำจึงจะสมศักดิ์ศรีเจ้าของ"
ชวนให้ระลึกถึงก๋วยเต๊่ยวราดหน้าเจ้าดังที่ราชวัตรที่เป็นอาหารโอชะในยามค่ำคืนของเด็กโตๆ  ทันทีที่แกะห่อก๋วยเตี๋ยวออก  มือเปล่านับสิบต่างก็พร้อมกันจ้วงลงไปคว้าก๋วยเตี๋ยวร้อนๆ
ในห่อใส่ปาก  เพียงชั่วพริบตาก๋วยเตี๋ยวห่อนั้นก็เหลือแต่ห่อเปล่าๆ ไม่เหลืออม้แต่น้ำก๋วยเตี๋ยว  บ้างก็มีหยดน้ำน้ำก๋วยเตี๋ยวบนศีรษะหรือเสื้อผ้าของเพื่อนๆ ที่ร่วมวงไพบูลย์ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 28 มี.ค. 19, 18:30

เรื่องอาหารนี้ มีเรื่องเล่ากันสนุกๆมากมาย   ก่อนนั้น อาหารของคณะเด็กเล็กจะส่งมาจากครัวของคณะผู้บังคับการ (คณะใน) ทำให้ผู้ที่เคยอยู่เด็กเล็กและที่เข้าคณะในไปอยู่คณะผู้บังคับการจะมีเรื่องเล่าคล้ายๆกัน เพียงแต่จะตั้งชื่อเรียกต่างกันไป เช่น ข้าวต้มแผ่น ข้ามต้มกลิ่น ข้าวต้มลูกชิ้นผ่าแปด เป็นต้น     

สำหรับอาหารของคณะในนั้นจะแยกครัวกันเป็นของแต่ละคณะ อาหารที่จัดว่าดีนั้นได้แก่คณะจิตรลดา รองลงมาก็คณะพญาไท ตามมาด้วยคณะดุสิต ปิดท้ายด้วยคณะผู้บังคับการ   ซึ่งตามสภาพแวดล้อมแล้วก็มีแนวโน้มที่น่าจะเป็นเช่นนั้น  ครัวของคณะ ผบก. (ผู้บังคับการ) ต้องทำครัวเลี้ยงเด็กประมาณ 300 คน  ของคณะดุสิตในสภาพที่เป็นเรือนไม้มุงหลังคาจาก เป็นต้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 28 มี.ค. 19, 18:48

คุณ V_Mee พูดถึงเรื่องก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ทำให้นึกถึงร้านอาหารเจ้าหนึ่ง อยู่อีกฝั่งถนนตรงข้ามกับคณะจิตรลดา เรียกกันว่า เจ็กโย่ง  ใช้วิธีตบมือที่ริมรั้วเรียกเพื่อสั่งอาหาร แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นที่รู้กันว่าอาหารที่จะสั่งคือ ข้าวหมูทอด  เป็นเรื่องของเด็กโตที่ใกล้จะเรียนจบ สั่งมากินแก้หิวในช่วงการดูหนังสือก่อนสอบปลายภาค

ด้วยความสงสัยว่าทำไมมันจึงอร่อยจัง เมื่อจบไปแล้วและมีโอกาสก็จึงตามไปนั่งกินเพื่อจะได้ดูว่าทำเช่นใด   ง่ายจัง หั่นหมูเป็นชิ้นเล็ก คลุกด้วยซีอิ๊วดำกับน้ำตาลทราย แล้วเอาลงทอดในน้ำมันร้อนๆเท่านั้นเอง   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 28 มี.ค. 19, 19:44

ข้าวต้มแผ่น  หน้าตาเป็นยังไงคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 28 มี.ค. 19, 19:49

อาหารแต่ละมื้อจะมีของหวานจานเล็กๆด้วย สำหรับมื้อเช้านั้น มักจะเป็นท็อปฟี่ 2 เม็ด เด็กหลายคนจะเก็บใส่กระเป๋ากางเกง หลังกินข้าวเสร็จก็จะตั้งแถวเดินข้ามถนนไปหอประชุมเพื่อสวดมนต์เช้าเป็นประจำทุกวัน  ในระหว่างทางจะเดินผ่านแถวต้นดอกบานไม่รู้โรยซึ่งมีคนสวนทำงานอยู่ ก็จะขอให้คนสวนผู้นั้นทำเสียงมดตด (เป่าปาก) แล้วก็ควักท็อปฟี่ที่พกมาให้แกไป วันๆหนึ่งแกคงได้อยู่ไม่น้อย เด็กจะเรียกแกว่า นายมดตด  ก็เป็นความสุขของกันและกันเล็กๆน้อยๆประจำแต่ละวัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 28 มี.ค. 19, 21:33

ยังไม่มีผู้เฉลยว่าข้าวต้มแผ่นคืออะไร

อันที่จริงคณะที่ผมเคยอยู่ไม่มีข้าวต้มแผ่น แต่เขาว่ามันคือข้าวต้มข้นๆแต่ทิ้งไว้จนเย็นนานไปหน่อย เพราะกว่าจะทำเสร็จจากโครงครัวแล้วใส่รถเข็นมาให้คณะเด็กเล็ก มันจึงจับตัวกัน เวลาตักเสริฟมันจึงเหมือนเป็นแผ่นๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 29 มี.ค. 19, 07:52

ขอบคุณสำหรับคำตอบเรื่องข้าวต้มแผ่นค่ะ
นึกภาพตามแล้วไม่น่ากินเลย    ข้าวต้มเย็นชืดเสียจนจับแข็ง  แต่วิธีที่คุณ V_Mee เล่าคือเหยาะซอส 2 ชนิดลงไปให้เต็มๆเผ็ดๆ  คนให้ข้าวต้มกระจาย   ก็เปลี่ยนรสชาติเป็นกลืนได้คล่องคอขึ้น

แต่ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าของเถื่อนที่ทำเป็นขบวนการลักลอบส่งในยามค่ำคืน  น่าจะอร่อยมาก   เพราะมีความตื่นเต้นบวกหิวเป็นรสชาติพิเศษ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 29 มี.ค. 19, 18:24

นานๆทีก็มีอาหารพิเศษ ปีหนึ่งจะมีจากครัวกลาง 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งเนื่องในวันคล้ายวันเกิดผู้บังคับการ กับอีกครั้งหนึ่งเนื่องในวันคล้ายวันกำเนิดโรงเรียน ซึ่งดูจะเป็นเมนูที่กำหนดไว้ คือ ก๋วยเกี๋ยวราดหน้า และ ไข่พะโล้ แต่จำไม่ได้แล้วว่าวันใหนได้กินอะไร 

ก็ยังมีวาระอาหารพิเศษอีก 3 ครั้งในรอบปีการศึกษา คือวันงานที่จะปิดภาคเรียนเทอมต้น เทอมกลาง และเทอมปลาย (แล้วค่อยขยายความต่อเมื่อเล่าเรื่องของคณะใน) อาหารพิเศษเหล่านี้คิดว่าได้มาจากผู้ปกครองของเด็ก ที่จำได้ก็มีกล้วยน้ำว้าและไอซ์ครีมเป็นของประจำ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 29 มี.ค. 19, 18:35

 นักเรียนเป็นเด็กชายที่กำลังเจริญเติบโต   เรียนแล้วเล่นกีฬาด้วย  พวกนี้จะหิวเก่ง กินก็จุกว่าเด็กหญิง
 อาหารมีให้เติมจานที่สองได้ไหมคะ  รับประทานอิ่มหรือเปล่า
 ตอนดึก ถ้าหิวแล้วหาก๋วยเตี๋ยวหรือของกินรองท้องไม่ได้   ก็ทนหิวจนหลับไปเองงั้นหรือคะ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 29 มี.ค. 19, 18:54

เรื่องอาหารนี้คงจะมีแว๊บเข้ามาเรื่อยๆ  จึงจะขอต่อไปในเรื่องการดำเนินชีวิตประจำวัน

คณะที่ผมอยู่ใช้เตียงนอนเป็นโครงเหล็ก ยกสูงประมาณ 40 ซม. มีเสาสำหรับกางมุ้ง แยกกันนอนคนละเตียง เตียงวางชิดกันเป็นคู่เว้นช่องให้เดิน เด็กไม่ต้องปูที่นอนเองและไม่ต้องกางมุ้งเอง แต่เมื่อตื่นแล้วจะต้องพับผ้าห่มวางไว้ปลายเตียงและตลบมุ้งขึ้น จะมีชุดแม่บ้านมาช่วยจัดการให้เรียบร้อยหลังจากเด็กไปเรียนหนังสือกันแล้ว

หกโมงเช้าก็จะถูกปลุกให้ตื่น ทุกคนก็จะต้องไปทำธุระส่วนตัวให้เสร็จพร้อมที่จะเดินไปยังตึกเรียน ตื่นมาก็ไปเอาขันของตนที่มีสบู่ แปรงสีฟันและยาสีฟันใสพร้อมอยู่แล้ว ลงไปในห้องอาบน้ำ รีบล้างหน้าแปรงฟันแล้วกลับขึ้นมาเปิดตู้เสื้อผ้า (กว้างประมาณ 40 ซม. ยาวประมาณ 1 เมตร สูงประมาณ 1 เมตร ภายในแบ่งออกเป็นสองชั้น) เปลี่ยนเครื่องแต่งตัว รีบลงไปในห้องเพร็บ เตรียมหนังสือและอุกรณ์การเรียนให้พร้อม แล้วรอพร้อมที่จะเดินไปตึกเรียน ให้ทันเข้าห้องเรียนก่อนที่ครูจะเริ่มสอนเวลา 7.00 น.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 29 มี.ค. 19, 19:06

ตื่นหกโมง  อาบน้ำแปรงฟัน แต่งตัว เตรียมหนังสือเรียนให้พร้อมเพื่อเข้าห้องเรียน 7 โมง
หมายถึงรับประทานอาหารให้เสร็จในระหว่างนี้ด้วยใช่ไหมคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 29 มี.ค. 19, 19:23

อาจารย์เป็นห่วงเรื่องกินไม่อิ่ม  ยิ้มกว้างๆ  

อิ่มครับ เติมข้าวได้แน่ๆ ที่จำกัดก็คือกับข้าว  กับข้าวหมดก็ยังมีพวกน้ำปลา น้ำพริกเผา พริกป่น ซอสที่จะคลุกข้าวได้อยู่    ก็อย่างที่ว่าไว้ว่ากับข้าวออกไปทางหนักผัก ผักเหล่านั้นก็จึงยังพอจะใช้เป็นผักแนม หรือไม่เราก็คลุกข้าวให้ออกรสไปกลบความไม่อร่อยของกับข้าวนั้นๆได้เช่นกัน   แต่ละคนก็มีวิธีการเอาตัวรอดของตน ผู้ปกครองและเด็กหลายคน(ส่วนน้อยมาก)บ้างก็จึงนึกถึงของเถื่อน   จะว่าไปมันก็เป็นเรื่องที่ยังผลให้เรามีการพัฒนาศิลปะและทักษะในการอยู่ให้รอด    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 29 มี.ค. 19, 20:14

ไม่ใช่ครับ ไปเรียนก่อนตอนท้องว่างๆนั่นแหละครับ เป็นชั่วโมงเรียนแรกของทุกวัน  ประมาณใกล้ 8 โมงเช้า (7.50 น. ?) หมดชั่วโมงเรียนจึงจะได้เดินกลับมากินอาหารเช้าที่คณะที่ตนสังกัดอยู่  เข้านั่งกินพร้อมกันแต่กินเสร็จแล้วลุกออกจากโต๊ะอาหารอาจจะไม่พร้อมกัน หลายคนไปห้องน้ำเพื่อทำธุระส่วนตัว แต่ทุกคนจะต้องกลับไปยังโต๊ะของตนในห้องเพร็บเพื่อไปเอาหนังสือสวดมนต์ พร้อมกับค้นหาเครื่องเรียนที่ตนลืมจัดสำหรับชั่วโมงเรียนต่อๆไป   เรื่องทั้งหมดตั้งแต่เลิกเรียนชั่วโมงแรกไปจนถึงเดินแถวไปถึงหอประชุมของโรงเรียนเพื่อสวดมนต์ทำวัตรเช้านั้น จะอยู่ภายในเวลาที่จำกัดมากๆ  การสวดมนต์จะเริ่มในเวลาประมาณ 8.30 น.
บันทึกการเข้า
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 29 มี.ค. 19, 21:55

โรงเรียนนี้ไม่เหมือนโรงเรียนอื่น คือ เรียนวันเสาร์ และเรียนแต่เช้า เจ็ดโมง เลิกเรียน บ่ายโมง แล้วมาทานอาหารกลางวัน
ครูบางท่าน ชอบตารางเรียนแบบนี้ ครูหญิงอาวุโสท่านหนึ่งเคยบอกกับนักเรียนว่า ตอนที่มาสมัครแรกๆครูชอบเพราะตอนบ่ายจะได้ไปดูหนัง

เครื่องแบบครูหญิง ทั้งครูที่อยู่ประจำคณะ และ ครูที่ไปกลับ เวลาสอนหนังสือ จันทร์ถึงเสาร์ คือ เสื้อขาว กระโปรงน้ำเงิน หรือ กรมท่า รูปแบบไม่จำกัด

แต่ถ้าเป็นวันอาทิตย์ ครูประจำคณะที่ดูแลนักเรียน จะแต่งสีมีลวดลายได้
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 30 มี.ค. 19, 07:34

วันจันทร์ - วันเสาร์ จัดชั่วโมงเรียนวันละ ๕ ชั่วโมง  ชั่วโมงเช้าเจ็ดโมงสมองยังว่าง  ทางโรงเรียนจัดให้เรียนวิชาจำพวกคณิตศาสต์และภาษาอังกฤษเป็นพื้น
ส่วนวิชาอื่นๆ ก็ไปเกลี่ยไปเรียนในชั่วโมงถัดๆ ไป  วิชาวาดเขียนมักจะไปอยู่ชั่วโมงท้ายๆ ของวันเพื่อให้นักเรียนได้ผ่อนคลาย  ส่วนวิชาดนตรีและศิลปะ
ไม่มีในชั่วโมงเรียน  เพราะแยกการเรียนดนตรีและวิชางานไม้ งานปั้นไปเรียนตอนช่วง ๑๔ - ๑๕ น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังรับประทานอาหารกลางวัน
จากนั้น ๑๕.๔๕ น. ตรวจนับแถวก่อนลงสนามเล่นกีฬา  ไปเลิกประมาณ ๑๘,๐๐ น.  จึงกลับคณะอาบน้ำและรับประทานอาหารเย็น  จากนั้นช่วง
๑๙ - ๒๐ น. เป็นเวลาทบทวนวิชาเรียนและทำการบ้านเรียกกันว่าเข้าเพรบ (preparation room)  สำหรับเด็กโตเข้าเพรบถึง ๒๐.๓๐ น.
เลิกเพรบแล้วแยกย้ายกันทำกิจธุระส่วนตัว  แล้วขึ้นชั้นบนประชุมสวดมนต์ที่ระเบียงหน้าห้องนอน เป็นอันจบภารกิจประจำวันแล้วแยกย้ายกันเข้านอน

หนึ่งในพระบรมราโชบายที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้สำหรับการอบรมนักเรียนในโรงเรียนนี้ คือ อบรมให้เป็นผู้มีศาสนา
ทรงพระราชดำริว่า ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ  ผู้ใดไม่มีศาสนาย่อมเป็นอันตราย  โรงเรียนจึงกำหนดให้นักเรียนสวดมนต์วันละ ๒ เวลา
คือ ๘.๓๐ น. ในวันจันทร์ - เสาร์  ส่วนวันอาทิตย์เป็นวันว่างการเรียนขึ้นหอประชุมสวดมนต์ทำวัตรเช้าเวลา ๙.๐๐ น.  ทำวัตรจบแล้ว
สดับพระธรรมเทศนากัณฑ์หนึ่งหรือฟังโอวาทของท่านผู้บังคับการหรือครูผู้ใหญ่  จบแล้วสวดธรรมคาถา ๑ บท  ส่วนกลางคืนเป็นการสวดมนต์
ตามแบบวิธีสวดมนต์ไหว้พระของเสือป่าและลูกเสือที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดไว้ 
แล้วสรรเสริญพระบารมี  สมัยผมเป็นนักเรียนคณะโตสวดมนต์เสร็จแล้วร้องเพลงเราเด็กในหลวง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
แล้วจึงสรรเสริญพระบารมีโรงเรียน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง