เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 6231 สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
Tivakara
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


 เมื่อ 28 ก.พ. 19, 02:03

สอบถามท่านผู้รู้ทุกท่านครับ
เกี่ยวกับการนั่งกระหย่ง(กระโหย่ง)เท้าที่เดิมเป็นท่านั่งแสดงความเคารพของพระภิกษุ ที่พม่า ลังกา ก็ยังนั่งและกราบด้วยวิธีนี้ ทราบว่าเป็นการนั่งไหว้ของไทยแต่โบราณ แต่ปัจจุบันไม่นิยมหรือเลิกไปแล้ว อยากเรียนถามท่านผู้รู้ว่าพอจะทราบสาเหตุไหมครับ เนื่องจาก เคยมีผู้บอกว่ารัชกาลที่4ทรงสั่งให้ยกเลิก เปลี่ยนมานั่งแบบคุกเข่าแทน อ้างว่ามีในพระราชหัตถเลขารัชกาลที่5อ้างถึง ผมลองค้นคร่าวๆไม่พบพระราชหัตถเลขาเรื่องดั่งกล่าว ไม่ทราบจริงเท็จอย่างไร จึงขอเรียนถามท่านผู้รู้ในเรือนไทยครับ
ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 28 ก.พ. 19, 10:47

ไม่เคยเห็นใครใช้ศัพท์นี้มานานมากแล้วค่ะ

ท่านรอยอินราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า

กระโหย่ง อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระโหย่ง กระหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.

ใครพอจะตอบได้บ้างคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 28 ก.พ. 19, 11:32

https://www.facebook.com/190364831088988/posts/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86-%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%81/522419744550160/
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 ก.พ. 19, 12:02

คำที่น่าจะสื่อความให้เข้าใจโดยทั่วกันเห็นจะเป็น "นั่งยอง ๆ"   ยิงฟันยิ้ม

วินิจฉัยเรื่องการนั่งกระโหย่ง (หรือกระหย่ง)


ในการทำสังฆกรรมและแสดงอาบัติเป็นต้นของภิกษุ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติให้ภิกษุผู้สวดต้องนั่งกระโหย่ง โดยคำนี้แปลจากคำบาฬีว่า อุกฺกุฏิกํ

แต่การนั่งกระโหย่งนี้ พระไทยกับพระพม่านั่งต่างกัน โดยพระไทยส่วนมากจะนั่งคุกเข่า ส่วนพระพม่านั่งยอง ๆ

แล้วตกลง การนั่งกระโหย่งในวินัยคือการนั่งอย่างไรกันแน่ ?

จริง ๆ คำว่า นั่งกระโหย่ง ในสำนวนแปลก็มีความหมายชัดอยู่แล้วว่าเป็นการนั่งยอง ๆ แต่มีบางท่านเข้าใจว่า การนั่งยอง ๆ ไม่ควร เพราะฉบับแปลบางฉบับแปลคำว่า อุกฺกุฏิกํ ในอุกกุฏิกสิกขาบท (ว่าด้วยการเดินเขย่งเท้าเข้าหมู่บ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ) ในเสขิยวัตรว่า เดินกระโหย่ง เลยพลอยไปเหมาเอาว่านั่งกระโหย่งไม่ควรไปด้วย ซึ่งถึงจะแปลแบบนั้น กระโหย่งเท้าในเสขิยวัตรก็หมายถึงเขย่งเท้าโดยเอาปลายเท้าลงหรือส้นเท้าลงอยู่ดี หาเหมือนกับการนั่งกระโหย่งไม่ จริง ๆ หากแปลว่า "เดินเขย่งเท้า" น่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า (ดูหลักฐานในอุกกุฏิกสิกขาบทอรรถกถา) (การเดินเขย่งเท้านี้เป็นกิริยาที่ไม่ควรทำหากเข้าไปในละแวกบ้าน ถ้าเดินเขย่งเท้าในวัดก็ไม่มีอาบัติ)

ส่วนเรื่อง "นั่งกระโหย่ง" ในการทำสังฆกรรมหรือแสดงอาบัติเป็นต้น หมายถึง นั่งยอง ๆ เห็นได้จากในอรรถกถาปฐมปวารณาสิกขาบท (เรื่องห้ามภัตแล้วเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถแล้วจะฉันไม่ได้อีก มิฉะนั้นจะต้องอาบัติปาจิตตีย์) มีกล่าวถึงภิกษุนั่งกระโหย่งฉันอยู่ แล้วมีคนเอาตั่งมาสอดไว้ข้างใต้ ท่านก็สามารถนั่งบนตั่งนั้นแล้วฉันต่อได้ (ดู วิ.อฏฺ.๒/๓๖๖) ก็ทำให้คิดได้ว่า ถ้านั่งกระโหย่งหมายถึงนั่งคุกเข่า แล้วตอนเขาเอาตั่งสอดเข้ามานี่จะทำได้อย่างไร

การนั่งยอง ๆ ขณะทำสังฆกรรมนี้ มิใช่เป็นประเพณีของพระพม่าแต่อย่างใด แต่เป็นวิธีการที่เป็นพุทธบัญญัติ จึงเป็นสิ่งพุทธบริษัทควรให้ความเคารพ ส่วนที่พระไทยจำนวนหนึ่งเปลี่ยนมานั่งแบบคุกเข่าแทน ไม่ทราบว่ามีขึ้นสมัยใด แต่คาดว่าน่าจะเป็นเพราะเห็นว่าการนั่งยองๆ ดูไม่ค่อยเรียบร้อยก็เป็นได้

**วินิจฉัยนี้เพียงแค่ชี้แจงตอบข้อสงสัยที่มีผู้ทักมาในเรื่องการนั่งกระโหย่งเพื่อให้ทราบถึงหลักฐานที่มาตามคัมภีร์เท่านั้น มิได้จะตำหนิการนั่งคุกเข่าของพระไทยส่วนมากแต่อย่างใด เพราะการนั่งแบบนั้นก็ดูเรียบร้อยดี ถึงจะไม่ใช่การนั่งกระโหย่งแบบในคัมภีร์ก็มิได้ทำให้สังฆกรรมเสียแต่อย่างใด เพราะมิได้จัดอยู่ในวิบัติของสังฆกรรมข้อใดข้อหนึ่ง

***การนั่งกระโหย่งนี้ ถึงจะวินิจฉัยว่าหมายถึงการนั่งยอง ๆ แต่ถ้าร่วมสังฆกรรมในบางวัดที่ท่านใช้วิธีนั่งคุกเข่าแทน หากเราไปนั่งยองๆ อยู่รูปเดียวก็จะทำให้ถูกเพ่งเล่งเอาได้ ฉะนั้น ก็ควรดูหมู่กลุ่มที่เราไปอยู่ด้วยว่าในที่นั้นเขามีธรรมเนียมแบบไหน เพราะถึงนั่งคุกเข่าก็มิได้ผิดอะไร

พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท

จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม
ขอพระสัทธรรมจงดำรงมั่นตลอดกาลนาน

จาก https://www.facebook.com/100008488951390/posts/1723620897930859?sfns=mo
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 ก.พ. 19, 12:44

นั่งกระโหย่ง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 28 ก.พ. 19, 12:55

.


บันทึกการเข้า
unicorn9u
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 28 ก.พ. 19, 13:07

คือการนั่งยองๆแบบเขย่งปลายเท้าครับ เข่าจะชี้ไปด้านหน้าเพื่อการทรงตัว ต่างจากที่หลวงพ่อคูณท่านนั่งนิดหน่อยที่เข่าชี้ขึ้นด้านบน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 28 ก.พ. 19, 13:34

สาวทางซ้ายมือ(คนที่ลูกศรชี้)  นั่งท่ากระโหย่งใช่ไหมคะ?

ท่านั่งยองๆ เป็าท่าที่เคยนั่งตอนเด็กๆ   จำได้ว่าถ้าอยากดูอะไรนานๆ แล้วไม่มีเก้าอี้นั่ง   และไม่อยากลงไปนั่งบนพื้นดิน  ก็ลงนั่งยองๆเพราะเมื่อยที่จะยืน   
แต่นั่งยองๆสักพักก็เมื่อยอีก    เป็นท่าที่ไม่เอื้อต่อการนั่งได้นานเลย
พบว่าคนรุ่นเก่านั่งยองๆได้นานมาก
นั่งยองๆไม่ได้เขย่งเท้า   ฝ่าเท้าวางแบนราบบนพื้น   กระโหย่งเห็นทีจะต่างกันตรงเขย่งปลายเท้าอย่างคุณยูนิคอร์นว่ามั้งคะ
เลยนำไปสู่คำถามกับตัวเองว่า  เขย่งปลายเท้า น้ำหนักทิ้งลงบนส่วนปลายเท้านิดเดียว   ขาก็พับงอ   ไม่เมื่อยแย่เลยหรือ


บันทึกการเข้า
unicorn9u
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 28 ก.พ. 19, 13:35

เท่าที่เคยได้ยินมาก็คล้ายๆท่าโยคะท่า toe balance ครับ

ตามรูปที่อาจารย์ลงมานั่นแหละครับ แต่มันมีวิธีแก้เมื่อย โดยสลับวางเท้าราบลงไป ชันเข่าข้างนึงขึ้นมา สลับกันไปทีละข้างครับ


บันทึกการเข้า
Tivakara
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 28 ก.พ. 19, 14:12

ขอบพระคุณทุกท่านครับ
ท่านั่งกระหย่งที่หมายถึงคือแบบเดียวกับท่านั่งยองๆนั่นหละครับ ถ้าเปรียบเทียบกันน่าจะนั่งสบายกว่าท่านั่งทับส้นที่เรียกว่าเทพบุตรมากครับ ผู้เคยบวชน่าจะทราบ ท่านั่งกระหย่งนี้ยังเห็นอยู่เวลาพระแสดงอาบัติกัน พระที่อายุพรรษามากๆ ก็จะนั่งกระหย่งหันหน้าเข้าหากันอยู่ แต่กรณีอื่นๆไม่ค่อยเห็นแล้ว น่าจะเพราะว่าอาจดูไม่เรียบร้อย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 28 ก.พ. 19, 14:19

ท่านั่งทับส้น  ท่านี้ใช่ไหมคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 28 ก.พ. 19, 14:22

หรือท่านั่งทับส้น คือท่านี้(ท่าเทพบุตร)


บันทึกการเข้า
Tivakara
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 28 ก.พ. 19, 14:57

หมายถึงท่าเทพบุตรที่ตามภาพล่างครับ ปัจจุบันพระสงฆ์ทำสังฆกรรมใดๆก็มักจะนั่งเป็นหลัก ยิ่งคนอ้วนน่าทรมานมากทีเดียา ท่าตามรูปบนที่เรียกกันว่าเทพธิดา แบบนั่งราบ ลางคนก็เรียกนั่งทับขา นั่งทับน่อง หรือนั่งแบบญี่ปุ่น ซึ่งสบายกว่ากัน เคยได้ยินว่าระยะยาวไม่ดีต่อขา ไม่ทราบจริงเท็จอย่างไรครับ
บันทึกการเข้า
unicorn9u
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 28 ก.พ. 19, 15:18

สงสัยอีกคำครับ เด็กๆเคยโดนดุว่า นั่งยงโย่ยงหยก เพราะ นังไม่เรียบร้อย แต่ปรกติ ถ้านั่งยองๆ ที่บ้านก็เรียกนั่งยองๆอยู่แล้ว แต่อาการยงโย่ยงหยกนี่แบบไหนกันแน่ครับ เพราะเคยทั้งนั่งยองบนปลายเท้า หรือนังขัดสมาธิแต่ชันเข่าก็โดนดุแบบเดียวกัน
บันทึกการเข้า
Tivakara
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 28 ก.พ. 19, 15:29

สันนิษฐาน(เดา) เข้าใจว่าที่เรียกว่านั่งหย่งอาจจะเพราะเมื่อกราบต้องมีการยกส้นเท้ายอบตัวไปข้างหน้า ว่ากริยา “หย่ง” คืออาการครึ่งนั่งครึ่งยืน ผู้ใหญ่ถึงดุกระมังครับ ด้วยครึ่งๆกลางๆจะนั่งก็ไม่นั่งจะยืนก็ไม่ยืน ดูไม่เหมาะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง