เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 13335 หัวหินในอดีต (2)
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 15 ก.พ. 19, 19:32

ตั้งคำถามบ้างครับ สมัยนั้นตลาดหัวหินใหญ่โตแค่ไหน แล้วของกินของใช้อุดมสมบรูณ์หรือเปล่า เข้าใจว่าเสื้อผ้าของใช้ขนไปเองจากกรุงเทพ แต่ไปอยู่ที่โน่นเป็นอาทิตย์ๆ ต้องแวะตลาดซื้อของกินกันบ้าง รวมทั้งกุ้งหอยปูปลา โซดา กับแกล้ม อะไรพวกนี้ด้วย

แล้วพอจะมีสถานที่ให้หนุ่มๆ สาวๆ มานั่งคุยกันยามเย็นหรือหัวค่ำอะไรแบบนี้ไหมครับ (ไมน่ามีลอนเทนนิส หรือว่ามี?) อ่านกระทู้นี้แล้วจิตนการผมกำลังทำงานอย่างหนัก  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 15 ก.พ. 19, 19:53

ตลาดหัวหินสมัยนั้นก็คือบริเวณตลาดฉัตรไชยสมัยนี้  อยู่ริมถนนค่ะ   ร้านอาหารก็อยู่ริมถนนสายใหญ่เช่นกัน   
ส่วนที่ลึกเข้าไปข้างในด้านหลังถนนใหญ่ ตลอดจนซอกซอยเป็นบ้านที่อยู่อาศัยของชาวหัวหิน   ไม่มีบูติคโฮเต็ล  ไม่มีภัตตาคารใหญ่น้อย  ร้านบูติคสวยๆ ฯลฯ 
พื้นที่แหล่งย่านการค้าของหัวหินมีสัก 1 ใน 10 ของทุกวันนี้เห็นจะได้

ของสดที่หัวหินมีมากมายเหลือเฟือ คืออาหารทะเลสดๆ ส่งจากเรือประมงทุกวัน       ชาวกรุงที่ไปพักก็จะกินของทะเลสดๆกันเป็นหลัก   
ไหนๆก็เดินทางหลายชั่วโมงไปถึงหัวหินแล้ว จะไม่กินกุ้งหอยปูปลา  ขอเลือกกินแต่น้ำพริกกะปิ  หรือแกงจืดหมูบะช่อเหมือนอยู่บ้านก็กระไรอยู่     ยังไงก็ต้องกินอาหารทะเลกันให้คุ้ม
น้ำแข็งมีผลิตที่นั่น  ส่วนโซดา เบียร์ แม่โขง วิสกี้ ส่งไปจากกรุงเทพอยู่แล้ว   เครื่องดื่มเหล่านี้หาไม่ยากเลย 

หนุ่มสาวถ้าจีบกันก็ไปเดินเล่นกันตามชายหาด  นั่งชมคลื่นริมทะเลกัน ดูพระจันทร์ขึ้น  แค่นี้ก็โรแมนติคสุดๆแล้วค่ะ

50+ ปีก่อน  ไม่มีนะคะ สาวเดินทางไปคนเดียวแล้วเจอหนุ่มเดินทางไปคนเดียว  อ่อยกันวันเดียวแล้วจบกันบนเตียง   ถ้าหากว่ามีจริง สังคมไทยถือว่าเป็น "ผู้หญิงไม่ดี"  ผู้ชายก็ต้องแอบๆเปิดเผยให้ใครเห็นไม่ได้
สาวสมัยนั้นไปกับครอบครัวพ่อแม่พี่น้อง   หรืออย่างกล้าที่สุดก็คือไปกับเพื่อนสาวๆเป็นโขยง    ผู้ชายก็ไปเป็นกลุ่มเหมือนกัน   พบกันก็พบกันเป็นกลุ่ม จะชอบกันยังไงก็อยู่ในสายตาเพื่อนทั้งกลุ่มค่ะ     ถ้าไปกับพ่อแม่พี่น้อง หนุ่มมาจีบก็ต้องผ่านด่านพ่อแม่พี่น้องให้ได้
สมัยนั้นสถาบันครอบครัวยังหนักแน่นมั่นคงอยู่มาก   หนุ่มต้องใช้ความพยายามกว่ายุคนี้หลายเท่าตัว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 15 ก.พ. 19, 20:01

สมัยผมเด็กๆในรูป ไฟฟ้ายังไม่มี ต้องจุดตะเกียงเจ้าพายุตอนล้อมวงทานข้าวกลางคืน น้ำใช้เป็นน้ำจากถังคอนกรีตใหญ่ทีเก็บน้ำฝนผ่านหลังคาสังกะสีและรางน้ำ ต้องใช้ปั้มโยกด้วยแรงคนดึงน้ำขึ้นไปเติมโอ่งในห้องน้ำข้างบน รวมทั้งหม้อชักโครกแบบโบราณที่ทำด้วยเหล็ก แขวนบนผนังในระดับสูงกว่าศีรษะผู้ใหญ่

ตลาดฉัตรชัยอุดมไปด้วยอาการทะเลทุกชนิด ที่คนกรุงชอบก็คือปลาจาระเม็ด ปลากระพงแดง และไข่เต่าที่เรียกว่าไข่จาระเม็ด และทุกวันจะมีพ่อค้าแม่ขายของป่าเอาเนื้อเก้งมาขาย โดยแขวนไว้ทั้งขาให้เห็นกีบ ไม่งั้นคนกรุงไม่ซื้อเพราะกลัวจะเป็นหมา ใครจะซื้อเท่าไหร่ก็ค่อยเฉือนออกไปชั่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 15 ก.พ. 19, 20:04

ที่โรงแรมรถไฟ สนามเทนนิสไม่น่าจะมี     แต่คอร์ตแบดมินตันมีหรือเปล่าไม่แน่ใจค่ะ
จำได้แต่ว่า  คนไปตากอากาศเขามุ่งลงเล่นน้ำทะเลกันเป็นหลัก    ยิ่งเด็กๆด้วยแล้ว ข้าวเช้ายังไม่อยากจะกิน  ตอนเช้าตื่นขึ้นเห็นทะเลเรียบ  แดดยังไม่ร้อน  ฟ้าใส หาดทรายขาวไม่มีคนพลุกพล่าน    ใจมันวิ่งลงทะเลเสียก่อนจะอาบน้ำแปรงฟันด้วยซ้ำ

หาดทรายของหัวหินตรงโรงแรมรถไฟ โค้งมองเห็นภูเขาอยู่ไกลออกไปไม่มากนัก   แต่ก็ไกลเกินกว่าจะเดินไปเองถึง นอกจากพ่อแม่พาไป
ชื่อเขาตะเกียบกับเขาไกรลาศ
เขาทั้งสองมองจากชายหาดไกลๆ สวยมาก  น่าทึ่งน่าตื่นเต้นอยากไปปีนเขา      แต่พอได้ไปเข้าจริงก็ไม่มีอะไรมาก  มันก็ภูเขานั่นแหละ  บ้านคนดูเหมือนจะไม่มี หรือมีก็แค่เชิงเขา    จำได้แต่ว่ามีวัดอยู่บนเขาไกรลาศ   ซึ่งไม่ใช่ที่เที่ยวที่เด็กจะอยากไปเท่าไหร่
แต่แถวเชิงเขาตะเกียบ  เม็ดมะกล่ำตาหนูขึ้นเป็นดงทีเดียว น่าเก็บที่สุด

ระยะทางจากโรงแรมรถไฟไปเขาตะเกียบ ผ่านบ้านพักตากอากาศที่ปลูกกันมานานแล้ว  ถูกแดดลมทะเลจนไม้ออกสีซีดๆ    แต่ละบ้านมีบริเวณกว้างขวาง   ด้านที่หันสู่ชายหาดไม่มีกำแพงบ้าน  แม้แต่รั้วก็ไม่ค่อยมี  อย่างดีก็มีรั้วลวดหนามห่างๆ หรือรั้วต้นไม้ปลูกไว้พอเห็นว่าเป็นเขต     ต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นเต็มบริเวณ
ตัวบ้านเหล่านี้เป็นบ้านพักของเศรษฐีหรือผู้ดีมีสตางค์ในยุคก่อนสงคราม  ปลูกไว้มาพักผ่อนปีละ 2-3 เดือน  อีก 10 เดือนอยู่กรุงเทพ   จึงไม่ได้พิถีพิถันสร้างสนามหญ้า หรือตกแต่งบ้านให้สวยงามอย่างบ้านหลักในเมืองหลวง     ส่วนใหญ่ก็ปลูกบ้านแบบโปร่งๆ แข็งแรง  มีเครื่องเรือนเท่าที่จำเป็น  แล้วปิดเอาไว้เกือบตลอดปี    เดินผ่านไปก็คล้ายๆกันทุกบ้าน  เลยจำบ้านไหนไม่ได้เป็นพิเศษจนบัดนี้ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 15 ก.พ. 19, 20:16

   คุณ NAVARAT.C พูดถึงไฟฟ้า ทำให้นึกได้ว่าโรงแรถรถไฟมีไฟฟ้าแล้ว  แต่แสงไฟออกสีเหลืองๆ  ไม่ค่อยสว่างเท่าไหร่ค่ะ    ไม่รู้เขาปั่นไฟเองหรือเปล่า แต่จำได้ว่าเคยไฟดับ   พักใหญ่ๆเกือบชั่วโมงกว่าไฟจะมา
   จากโรงแรมรถไฟ  ถ้าไม่เดินไปทางเขาตะเกียบ ก็ไปทิศตรงข้ามคือไปทางวังไกลกังวล     เคยเดินไปกับเพื่อนๆจนถึงตอนนั้นไม่เห็นทหารยามหรือใคร  รู้แต่ว่าเป็นเขตที่เข้าไม่ได้  แต่ไปเล่นน้ำทะเลแถวนั้นได้ตามสบาย    ไม่มีใครมาว่า เพราะไม่มีใครอยู่แถวนั้น

   ย้อนกลับไปที่ตลาดฉัตรไชย   นอกจากไปกินอาหารแล้ว ก็ไม่มีอะไรให้เด็กๆดูมากนัก    ร้านรวงแถวนั้นเป็นห้องแถวไม้เล็กๆส่วนใหญ่ ขายของที่ใช้ในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน ซึ่งไม่เหมือนเมืองกรุงเอาเลย      จำได้ว่าเคยเดินผ่านร้านขายผ้านุ่ง  เป็นผ้าลายแบบที่ชาวบ้านยุคนั้นนุ่งกัน     ไม่เห็นร้านขายเสื้อเชิ้ต หรือกางเกง หรือชุดสำเร็จรูปของสตรี   ยิ่งเสื้อยืดพิมพ์ลายที่หน้าอกแล้วไม่ต้องพูด   ยังไม่ถือกำเนิดมาในไทย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 15 ก.พ. 19, 21:34

ปูลมชุบแป้งทอด


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 15 ก.พ. 19, 21:38

ตะเกียงเจ้าพายุเป็นแบบนี้ค่ะ
ดิฉันไม่รู้ว่ามันสว่างได้ยังไง จากน้ำมันหรืออะไร แต่แสงมันสว่างจ้าเหมือนหลอดนีออน
ตลาดเมื่อ 50+ ปีก่อน  มีรถเข็นหรือแผงขายสินค้าในตอนค่ำ ก็อาศัยตะเกียงเจ้าพายุนี่แหละค่ะเป็นหลัก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 15 ก.พ. 19, 21:45

ปลาจาระเม็ดเป็นปลาแพงมาก ในสมัย 50+ ปีก่อน     ไม่สามารถซื้อมากินได้บ่อยๆเหมือนปลาทู    โดยมากจะขึ้นเหลาหรือภัตตาคารค่ะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 16 ก.พ. 19, 07:24

ปลาจาระเม็ดที่หาซื้อได้ง่ายและราคาไม่แพงในตลาดหัวหินจะเป็นปลาจาระเม็ดดำ ถ้าจาระเม็ดขาวราคาจะต่างกันมาก ตัวใหญ่ๆจะต้องขึ้นเหลา แต่จาระเม็ดขาวในอ่าวไทยจะคนละพันธุ์กับจาระเม็ดขาวน้ำลึกทางฝั่งอันดามันที่คนจีนเรียกว่าเต๋ยเต้ยนะครับ อันนั้นตัวพ่อของสถาบันจาระเม็ด ราคาก็สุดยอดเช่นกัน ราคาในตลาดอตก.ก็เฉลี่ยตัวละพัน

ก่อนหน้าที่อวนลากจะเข้ามา ชาวประมงจะทำโป๊ะในทะเลตลอดแนวชายฝั่งของประเทศไทย ที่หัวหินก็ทำกันมาก ปลาที่เข้าโป๊ะส่วนใหญ่เป็นปลาทู คนไทยกินกันจนเป็นของธรรมดาเห็นแล้วไม่ตื่นเต้น


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 16 ก.พ. 19, 07:30

ระยะทางจากโรงแรมรถไฟไปเขาตะเกียบ ผ่านบ้านพักตากอากาศที่ปลูกกันมานานแล้ว  ถูกแดดลมทะเลจนไม้ออกสีซีดๆ    แต่ละบ้านมีบริเวณกว้างขวาง   ด้านที่หันสู่ชายหาดไม่มีกำแพงบ้าน  แม้แต่รั้วก็ไม่ค่อยมี  อย่างดีก็มีรั้วลวดหนามห่างๆ หรือรั้วต้นไม้ปลูกไว้พอเห็นว่าเป็นเขต     ต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นเต็มบริเวณ
ตัวบ้านเหล่านี้เป็นบ้านพักของเศรษฐีหรือผู้ดีมีสตางค์ในยุคก่อนสงคราม  ปลูกไว้มาพักผ่อนปีละ 2-3 เดือน  อีก 10 เดือนอยู่กรุงเทพ   จึงไม่ได้พิถีพิถันสร้างสนามหญ้า หรือตกแต่งบ้านให้สวยงามอย่างบ้านหลักในเมืองหลวง     ส่วนใหญ่ก็ปลูกบ้านแบบโปร่งๆ แข็งแรง  มีเครื่องเรือนเท่าที่จำเป็น  แล้วปิดเอาไว้เกือบตลอดปี    เดินผ่านไปก็คล้ายๆกันทุกบ้าน  เลยจำบ้านไหนไม่ได้เป็นพิเศษจนบัดนี้ค่ะ

แผนที่แสดงชื่อเจ้าของบ้านพักตากอากาศชายหาดหิน คัดจากแผนที่เดิมประกอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อการประปา ไฟฟ้า บำรุงการคมนาคมและวางแผนผังโครงการจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตก พ.ศ. ๒๔๗๓

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/A/353.PDF


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 16 ก.พ. 19, 08:19

ระยะทางจากโรงแรมรถไฟไปเขาตะเกียบ ผ่านบ้านพักตากอากาศที่ปลูกกันมานานแล้ว  ถูกแดดลมทะเลจนไม้ออกสีซีดๆ    แต่ละบ้านมีบริเวณกว้างขวาง   ด้านที่หันสู่ชายหาดไม่มีกำแพงบ้าน  แม้แต่รั้วก็ไม่ค่อยมี  อย่างดีก็มีรั้วลวดหนามห่างๆ หรือรั้วต้นไม้ปลูกไว้พอเห็นว่าเป็นเขต     ต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นเต็มบริเวณ
ตัวบ้านเหล่านี้เป็นบ้านพักของเศรษฐีหรือผู้ดีมีสตางค์ในยุคก่อนสงคราม  ปลูกไว้มาพักผ่อนปีละ 2-3 เดือน  อีก 10 เดือนอยู่กรุงเทพ   จึงไม่ได้พิถีพิถันสร้างสนามหญ้า หรือตกแต่งบ้านให้สวยงามอย่างบ้านหลักในเมืองหลวง     ส่วนใหญ่ก็ปลูกบ้านแบบโปร่งๆ แข็งแรง  มีเครื่องเรือนเท่าที่จำเป็น  แล้วปิดเอาไว้เกือบตลอดปี    เดินผ่านไปก็คล้ายๆกันทุกบ้าน  เลยจำบ้านไหนไม่ได้เป็นพิเศษจนบัดนี้ค่ะ

แผนที่แสดงชื่อเจ้าของบ้านพักตากอากาศชายหาดหิน คัดจากแผนที่เดิมประกอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อการประปา ไฟฟ้า บำรุงการคมนาคมและวางแผนผังโครงการจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตก พ.ศ. ๒๔๗๓

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/A/353.PDF

ความเห็นข้างต้นทำให้ผมหลับตาเห็นภาพ ครั้งที่เคยไปบวชเณรอยู่วัดเขาไกรลาศสักสิบขวบ บ้านที่ชาวบ้านหนองแกเรียกว่าวังนั้น หลังใหญ่กว่าเขาทั้งหมดแต่ถูกแดดลมทะเลจนไม้ออกสีดำๆซีดๆ ชำรุดทรุดโทรมชวนให้กลัวมากกว่าจะอยากเข้าไปพัก เพิ่งเห็นจากรายชื่อที่คุณหมอเพ็ญเอามาให้ดู เพิ่งจะรู้เนี่ย ว่าท่านเจ้าของคือกรมเทวะวงศ์

ถนนจากสถานีรถไฟหนองแกผ่านเข้าไปในหมู่บ้านแล้วยักนิดนึงตามที่เห็นในภาพ เข้าใจว่าบ้านดังกล่าวจะอยู่บริเวณที่มีต้นไม้ใหญ่ริมหาด ตรงที่หลังคายอดแหลมสีขาวชี้นั่นแหละครับ อาณาเขตที่ดินเดิมใหญ่มากจนมาจรดถนน ทายาทราชสกุลเทวกุลคงจะซอยแบ่งกัน แล้วคงขายเปลี่ยนมือไปบ้าง

สมัยโน้น ถัดจากวังไปแล้วมีบ้านเก่าๆหลังย่อมลงมาอยู่ห่างๆกัน จนไปสุดที่ราบแปลงหนึ่งเกือบถึงเขาตะเกียบ ตรงนั้นทราบกันดีว่าเป็นที่สาธารณะใช้ประโยชน์ร่วมกันของหมู่บ้าน เด็กหนองแกบอกผมว่าเขาเอาศพมาเผากันที่นี่ ผมก็มองตามลงไปจากกุฏิที่อยู่บนเขาไกรลาศอย่างหวาดๆ นี่มันไกลเกินที่ผีจะมาเยี่ยมหรือเปล่าหนอ

ครั้นจบเป็นสถาปนิกแล้ว มีนายธนาคารคนหนึ่งเอาโฉนดและแผนที่มาให้ดูแล้วปรึกษาว่าได้ซื้อที่ริมทะเลเขาตะเกียบแปลงงามมา จะทำอะไรดี ผมดูแล้วก็บอกว่าที่ตรงนั้นออกโฉนดได้ไง มันเคยเป็นป่าช้านะครับ แล้วเล่าเรื่องตะกี้ให้เขาฟัง เขาก็อึ้งไป เป้นอันว่าผมไม่ได้งาน

หลายปีต่อมาผมเข้าไปเห็นถนนสายนั้นมีสิ่งก่อสร้างเต็มไปหมด คอนโดใหญ่ที่สร้างขึ้นตรงนั้นหลังคาแดงๆ มีคนพักเต็ม แสดงว่าคนเราแน่กว่าผีแน่นอน ชัดเจน

(ในภาพ เขาตะเกียบอยู่ด้านซ้ายริมทะเล ด้านขวาคือวัดเขาไกรลาศ)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 16 ก.พ. 19, 08:49

วัดเขาไกรลาศมีทางขึ้นลงสู่หมู่บ้านเป็นเนินหินขนาดใหญ่ ท่านพระครูเจ้าอาวาสเคยนำเหล่าเณรเมืองกรุงลงมาบิณฑบาต สุดเนินถึงพื้นแล้วมีถนนเล็กๆที่เขาพูนดินขึ้นมาเป็นทางเดินผ่านบึงน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่มีน้ำขังตลอดเวลา นานๆชาวบ้านจะระบายออกทางคลองเล็กๆยามน้ำลงต่ำสุด และปล่อยให้น้ำใหม่เข้ามายามน้ำขึ้น พวกเขาใช้ประโยชน์ในการแช่ใบศรนารายน์ (ต้นเป็นพุ่ม ใบใหญ่แหลมแข็ง และมีหนามตรงปลาย) ซึ่งเป็นพืชประจำถิ่นของบริเวณนั้น เขาจะปล่อยให้ใบเน่าก่อนแล้วจึงเอามาล้างจนเหลือแต่ใย นำไปฟอกขาว เรียกว่าป่านศรนารายน์
ป่านศรนารายน์เป็นโอท็อปของหมู่บ้าน เอาไปย้อมสีสดๆแล้วทำเป็นแซ่ปัดยุง ส่งไปขายยังตัวเมือง ต่อมามีผู้เอาไปต่อยอด ทอเป็นผืนแล้วเอาไปทำกระเป๋าถือของสตรี

ข้อเสียก็คือ การแช่เอาปอเช่นนั้นทำให้น้ำในบึงเน่าเหม็น และเป็นแหล่งเพาะยุงน้ำเค็มที่กัดเจ็บชะมัด เณรไม่ชอบเลยทุกเช้าที่ต้องเดินลงมาบิณฑบาต รองเท้าก็ไม่ให้ใส่ บาตรก็หนัก ต้องอุ้มทั้งสองมือจะสละเอามาอุดจมูกเสียข้างหนึ่งก็ไม่ได้ อาหารที่ได้รับจากชาวบ้านก็อย่าให้เซด ดีนะที่โยมแม่ๆมาตั้งกองทำครัวเลี้ยงพระเณรทุกวัน ไม่งั้นร่างกายเข้าระดับบำเพ็ญทุกรกิริยาแน่นอน

เล่าซะนานเพื่อจะบอกว่าบึงสาธารณะนั้นได้กลายเป็นโฉนดไปสักครี่งหนึ่ง เหลือพื้นที่ๆเห็นเขียวๆ  ส่วนแหล่งผลิตป่านศรนารายน์ไม่มีให้เห็นที่หนองแกแล้ว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 16 ก.พ. 19, 09:03

ภาพเณรเมืองกรุงและหนองแกที่วัดเขาไกรลาศถ่ายกับพระอุปัชฌาย์(ท่านเจ้าคุณจินดาภรณ์มุนี วัดราชบพิธ สมณศัดิ์สุดท้ายคือสมเด็จพุทธปาพจนบดี) และอาจารย์ (พระครูพิสิษธิ์ศีลาจารย์ เจ้าอาวาส)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 16 ก.พ. 19, 09:56

แต่ด้วยเหตุบังเอิญที่ในฤดูร้อนปีหนึ่งครอบครัวเราไปเที่ยวหัวหินกัน ผมและพี่สองคนได้ขึ้นไปเที่ยวเขาไกรลาศโดยพ่อแม่ของเรามิได้ไปด้วย จึงได้พบท่านพระครูวิสิษฐ์ศีลาจารย์เจ้าอาวาส แล้วท่านให้ชวนพ่อแม่ของเราขึ้นไปเที่ยวบ้าง ครั้นไปแล้วจึงได้ทราบว่าวัดเขาไกรลาสนี้ เป็นสาขาของวัดราชบพิธ มีท่านเจ้าคุณจินดา รองเจ้าอาวาสเป็นผู้มาบุกเบิกก่อสร้าง

ท่านเจ้าคุณจินดากรมุนี (ทองเจือ) ท่านเป็นพระที่มีวาทศิลป์ยอดเยี่ยม เมื่อพ่อแม่พาเราไปกราบท่านที่วัดราชบพิธ ท่านชักชวนให้เราเด็ก ๆ ทั้งสามคนบวชเณรในช่วงปิดเทอมใหญ่ พ่อแม่ก็สนับสนุนให้เราบวช  ผมอายุสักสิบปีเท่านั้นเองเมื่อบวชครั้งแรก ที่ยอมก็เพราะวัดราชบพิธไม่มีงานเผาผี ถ้าวัดมกุฏขอบาย ครั้งนั้นท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (วาสน์) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านเจ้าคุณจินดากรมุนีเป็นพระกรรมวาจาจารย์ บวชแล้วท่านมอบหมายให้พระมหาอัมพรเป็นพระพี่เลี้ยง

อยู่วัดราชบพิธสักสัปดาห์เดียวก็ตามท่านเจ้าคุณจินดาไปวัดเขาไกรลาศเพื่ออยู่ต่อแล้วสึกที่นั่น ไม่กี่วันพวกเราก็มีเด็กหนองแกมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์  พาเณรเมืองกรุงเที่ยวผจญภัยไปทั่วย่าน วันหนึ่งไปไกลถึงหัวเขาตะเกียบด้านที่เป็นป่าสน แล้วลงเล่นน้ำทะเลที่นั่น สบงจีวรเปียกหมดทั้งตัว ขากลับนายพักตร์ลูกศิษย์หาไม้ไฝ่ให้คนละท่อน เอาจีวรผูกแล้วเดินชูตากแดดตากลม กะจะให้แห้งก่อนถึงวัด ถึงตีนเขาไกรลาศเดินขึ้นกระไดไปอีกร้อยกว่าขั้นเหนื่อยแทบแย่ เห็นท่านเจ้าคุณจินดาท่านยืนรออยู่แล้ว โดนหยิกที่ท้องแขนคนละทีทั้งเณรทั้งลูกศิษย์ก่อนนั่งฟังเทศนา ท่านบอกว่าไม่รักษาสมณสารูป ทำตัวเป็นลิงเป็นค่าง เอาจีวรมาทำธงเดินแห่กันมาเหมือนทหาร แลเห็นแต่ไกล


ก็ตามที่ท่านว่าแหละครับ ผมคิดอยู่ตลอดเวลาว่าบวชครั้งนั้นเป็นการไปตดรดผ้าเหลืองตามสำนวนโบราณแท้ ๆ  แต่แม่ผมก็เป็นปลื้มมากเพราะท่านจัดให้ลูก ๆ ผลัดวันกันขึ้นไปเทศน์โปรดโยม

เรื่องและรูปจาก https://www.facebook.com/1174884455908584/posts/1352204618176566?sfns=mo


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 16 ก.พ. 19, 10:22

ขอคั่นเรื่องราวด้วยภาพเก่าๆ น่าสนใจจาก ฟบ. ภาพเก่าเล่าเรื่องหัวหิน

สนามเทนนิสหัวหิน(ไม่ระบุพ.ศ.)


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 19 คำสั่ง