เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 45132 บ้านเมืองเมื่อ 50+ ปีก่อน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 22 ก.พ. 19, 13:07

   เมื่อ 50+ ปีก่อน    ยังไม่มีใครรู้เรื่องโรคไขมันในเส้นเลือด  ไม่มีใครเคยได้ยินคำว่า CHOLESTEROL หรือ TRIGLYCERIDE    มีแต่คำว่า "กินไข่วันละฟอง ไม่ต้องหาหมอ"  ก็เลยกินไข่กันเป็นอาหารประจำวัน
   เช้าขึ้นมาพ่อบ้านกินไข่ลวกดิบๆสุกๆ  เด็กๆกินไข่ตุ๋น  แม่กินไข่เจียว  ใครชอบแบบฝรั่งก็กินไข่ดาวหมูแฮม  และไส้กรอก   กลางวันยังมีไข่พะโล้   ไข่ยัดไส้  ผัดไทยใส่ไข่   เย็นแม่ครัวทำแกงเผ็ด ทอดปลาเค็มชุบไข่เป็นของเคียง  ผัดบวบใส่ไข่ด้วย
   ในนวนิยายรุ่น 2500 อย่างเรื่อง "ตำรับรัก"ของคุณชูวงศ์ ฉายะจินดา   นางเอกตื่นมาลวกไข่  ทำอาหารเช้าให้พระเอกกิน  แสดงว่าไข่ลวกเป็นหนึ่งในอาหารเช้ายอดนิยมสมัยนั้น
   แต่พอคำว่าคลอเรสเตอรอลเข้ามาในวงการแพทย์ไทย  เกิดการตื่นตระหนกกันว่าไข่แดงเป็นตัวการเสริมไขมันในเส้นเลือด    ไข่ก็เลยถดถอยลงไปจากเมนูอาหารประจำวัน   ไข่ลวกพลอยหายไปจากอาหารมื้อเช้า  รวมทั้งไข่ดาวหมูแฮมด้วย 
   ตอนนี้ มีการพิสูจน์กันใหม่ว่าไข่ไม่ได้เป็นตัวการให้เกิดคลอเรสเตอรอล แต่ถ้ามีอยู่่แล้วในเส้นเลือดก็ไม่ควรกินไข่แดง จะเป็นตัวเร่งเช่นเดียวกับไส้กรอกและเบคอน 
   อาหารเช้าที่ถือกันว่าโก้ของชาวกรุง เมื่อ 50+ ปีก่อน คือไข่ลวก ขนมปังปิ้งทาเนย และกาแฟ  ก็เลยทำท่าเหมือนจะไม่หวนกลับมาอีกค่ะ 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 22 ก.พ. 19, 13:15

ทุกวันนี้ ใครกินอาหารเช้าแบบนี้เป็นประจำบ้างคะ


บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 22 ก.พ. 19, 14:39

สำหรับผม คงทานนานๆครั้ง ได้ประมาณในกระทะนี้เท่านั้นครับ ท่านอาจารย์


บันทึกการเข้า
choo
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 23 ก.พ. 19, 07:09

ผมกินไข่วันละฟองเป็นอาหารเช้ามาตั้งแต่เด็กจนบัดนี้เจ็ดสิบกลางๆแล้วไม่มีปัญหาเรื่องไขมันตัวเลวในเลือดทั้งๆที่ใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้ออกกำลังเป็นพิเศษอะไร สำคัญคือต้องเลือกหาซื้อไข่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติไม่ใช้อาหารและยาสำเร็จรูปแบบในฟาร์มซึ่งค่อนข้างหาซื้อยากหน่อยส่วนแฮม เบคอน และใส้กรอกเลิกกินนานแล้วเพราะเนื้อสัตว์แปรรูปพวกนี้มากไปด้วยโซเดียมและสารปรุงแต่งอื่นๆ ขนมปังและเนยแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์พร้อมสลัดผักก็ยังทานประจำ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 23 ก.พ. 19, 08:09

อาหารไทยเมื่อ ๕๐+ ปีก่อน

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 23 ก.พ. 19, 15:33

   เมื่อ 50+ ปีก่อน อาหารเช้าเป็นมื้อเบา   มื้อกลางวันเป็นขนาดกลางๆ   ส่วนมื้อเย็นเป็นมื้อหนักที่สุด  จัดมาเต็มเพียบที่สุด เพราะเป็นมื้อที่สมาชิกทุกคนในบ้านมานั่งพร้อมหน้ากัน   
    อาหารเช้าแบบไทยๆคือข้าวต้มเป็นหลัก  ถ้าเป็นข้าวต้มเครื่องก็คือข้าวต้มหมูหรือข้าวต้มปลา    ถ้าเป็นแบบฝรั่งก็อย่างที่บอกคือไข่ลวก ขนมปัง กาแฟ    มื้อกลางวันมักนิยมอาหารจานเดียว เช่นข้าวคลุกกะปิ   ข้าวผัด  ขนมจีนน้ำยา ขนมจีนน้ำพริก ขนมจีนแกงเผ็ด   
   แกงเผ็ดที่อร่อยที่สุดคือแกงเนื้อ     ส่วนแกงเขียวหวานนั้นได้รับความนิยมรองลงไป ผิดกับยุคนี้ที่แกงเขียวหวานนำหน้า มีอยู่ในเมนูร้านอาหารไทยทุกร้าน   แกงเผ็ดกลับมีน้อยลงไปโดยเฉพาะแกงเผ็ดเนื้อ คงเป็นเพราะคนไทยจำนวนมากไม่กินเนื้อวัวกันอีกแล้ว   
   มื้อเย็นเป็นมื้อที่เสิฟกันเพียบ  กินกันอิ่มก่อนพักผ่อนเข้านอน  ทำให้คนไทยสมัยก่อนมีรูปร่างอ้วนกว่าคนไทยยุคนี้  ผู้หญิงอายุ 30 ขึ้นไปก็เริ่มน้ำหนักเกิน 55 กก.แล้ว     เช่นเดียวกับผู้ชายที่พอถึงวัยกลางคน คนไหนกินดีอยู่ดี ก็จะเริ่มลงพุง แล้วอ้วนเรื่อยไปจนวัยชรา   หรือบางคนก็ผอมแห้งไปเลย    ไม่เคยเห็นหนุ่มใหญ่หุ่นดีจนอายุ 60 +  อย่างคุณนิรุตติ์  ศิริจรรยา 
   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 23 ก.พ. 19, 16:22

   นอกจากอาหารมื้อเช้า กลางวัน เย็น แล้ว บางวัน คนเมื่อ 50+ ปีก่อนอาจกินมากกว่า 3 มื้อ   
  มื่อที่ 4 คืออาหารว่างตอนบ่าย     ปัจจุบันมาในรูปของขนมกินกับน้ำชาหรือกาแฟตอนมีประชุมรอบบ่าย    แต่เมื่อกว่าครึ่งศตวรรษก่อน   มื้อบ่ายมีของว่างสารพัด เช่นขนมจีบ   ข้าวเกรียบปากหม้อ   สาคูไส้หมู   ฯลฯ 
  กินเมื่อกลับจากงานมาถึงบ้านราวๆสี่หรือห้าโมงเย็น     รองท้องก่อนถึงมื้อเย็นซึ่งจัดกันทุ่มหนึ่งถึงสองทุ่ม
 
  อาหารมื้อเย็นเป็นมื้อหนักสุด อาจถือว่าหลังจากทำงานมาเหนื่อยทั้งวัน ก็ต้องกินให้อิ่มๆ     กับข้าวไทยสมัยนั้นมีอย่างน้อย 4 อย่างคือแกงน้ำข้นอย่างแกงเผ็ด    แกงน้ำใสอย่างแกงจืด   น้ำพริกผักจิ้ม     ผัดหรือยำอีกอย่างหนึ่ง มีมากกว่านี้ก็ไม่เป็นไร   เพราะครอบครัวสมัยนั้นอยู่กันเป็นครอบครัวขยาย  มีพ่อ แม่ ลูกๆ ปู่ย่า ตายาย และพ่วงด้วยญาติฝ่ายพ่อแม่     อาหารจึงวงใหญ่มากๆ
   เมื่อจบอาหารคาวแล้ว ก็ต้องตามด้วยของหวาน เรียกว่า "เอาไว้ล้างปาก"

   ส่วนมื้อที่ 5 คืออาหารมื้อดึก   เป็นมื้อไม่เคร่งครัดนัก    วันไหนอยู่กันดึก จะเป็นเพราะมีกิจกรรมต้องทำหรือไปเที่ยวกลับมา  ยังไม่เข้านอน ก็จะมีของว่างกินอีกมื้อหนึ่ง
   ส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ปรุงง่ายๆ ไม่ซับซ้อนและไม่เสียเวลามาก   เช่นข้าวต้มหมูหรือข้าวต้มปลา     ถ้าไปงานศพ  เจ้าภาพก็มักจะเลี้ยงข้าวต้มเครื่องแบบนี้ค่ะ   
 


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 23 ก.พ. 19, 18:45

อาหารของคนในเมืองก็คงเป็นดั่งที่ อ.เทาชมพู บรรยายไว้  สำหรับคนนอกเมืองจะออกไปทางกลับกัน

อาหารเช้าของชาวบ้านที่ทำอาชีพด้านเกษตรกรรมและในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนมากจะเป็นมื้อสาย (8-9 น.) หรือมื้อควบเช้ากับเที่ยง (10+น.) มื้อนี้เป็นมื้อที่นั่งกินแบบตั้งเป็นสำรับชุดเล็ก 

สำหรับอาหารเที่ยงจะกินในเวลาคล้อยไปทางประมาณบ่ายโมงกว่าๆ เป็นอาหารในลักษณะที่กินเพื่อเสริมพลังงานหรือแก้หิว คือเป็นอาหารที่พกพาติดตัวไปทำงาน เป็นในลักษณะอาหารจานเดียว และนิยมที่จะเป็นข้าวกินกับของแห้งที่ออกรสเค็ม ซึ่งก็มีความถูกต้องอยู่ เพราะได้เกลือ Electrolyte เข้าไปช่วยส่วนที่สูญเสียไป มื้อนี้เป็นมื้อนั่งพัก ก็เลยจะมีผลไม้ที่ออกรสเปรี้ยวมาเป็นของขบเคี้ยวร่วมด้วย โดยเฉพาะพวกที่มีวิตามินซีสูงๆ เช่น มะขาม มะขามป้อม มะกอก มะม่วง มะคอแลน ฯลฯ

อาหารเย็น จะเป็นการกินแบบตั้งสำรับ เป็นมื้อที่คล้ายกับอาหารเช้าแต่มีอาหารจานที่แปลกออกไปเป็นพิเศษ เช่น แกงกบ แกงปลาไหล ผัดนกสับ .... รวมทั้งมีผักจิ้มน้ำพริกที่ต่างออกไป เช่น ผักกูด ยอดหวายเผา ต้นบุกคางคกเผา ยอดเถากะทกรกไทยนึ่ง ....  ชาวบ้านมักจะทานอาหารเย็นในช่วงเวลาก่อนฟ้าจะมืด ช่วงเวลาก็จึงแปรผันไปกับฤดูกาล หน้าหนาวก็กินเร็วหน่อย (ประมาณ 5 โมงเย็น)  หน้าร้อนก็ช้าหน่อย (ประมาณ 6 โมงเย็น)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 23 ก.พ. 19, 18:56

ผมมีข้อสังเกตอยู่เรื่องหนึ่งว่า ข้าวต้มในสมัยก่อนนั้น จะต้องมีการเหยาะหน้าด้วยกระเทียมเจียว ผักที่โรยหน้าก็จะเป็นต้นคื่นช่ายและต้นหอมสดซอย มีผีกชีรวมอยู่ด้วยเล็กน้อย  ในปัจจุบันนี้ดูจะเน้นเป็นผักชีเพียงอย่างเดียว (ฤๅ ต้องการจะให้สอดคล้องกับคำว่า ผักชีโรยหน้า)   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 25 ก.พ. 19, 20:36

ใช่ค่ะ เมื่อก่อนข้าวต้มมีอะไรโรยหน้าอยู่หลายอย่าง  ตอนเด็กๆ ไม่ชอบผัก ก็ค่อยๆเขี่ยออกไป    สงสัยคนคงเขี่ยกันเยอะ  ของโรยหน้าเลยค่อยๆหายไปหมด

เอารูปแกงน้ำข้นที่นิยมกันในสมัย 50+ ปี มาเตือนความหลัง    ไม่ได้กินแกงเผ็ดตามร้านมานานมากแล้ว  อยากกินต้องทำเองที่บ้าน   แกงคั่วยังพอหาได้ในเมนูร้านอาหารไทยในต่างจังหวัด    แกงมัสมั่นกับแกงกะหรี่นั้นตอนเล็กๆจำไม่ค่อยถูกว่าอย่างไหนมัสมั่นอย่างไหนกะหรี่   เพราะรสชาติมันคล้ายๆกันคือฉุนด้วยเครื่องเทศ
เดี๋ยวนี้ทั้งสองอย่างก็หาตามร้านอาหารไทยไม่ค่อยได้เหมือนกัน   คงเป็นเพราะกะทิเป็นของต้องห้ามต่อสุขภาพละมัง?


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 26 ก.พ. 19, 09:48

    กรุงเทพเมื่อ 50+ ปีก่อน  บรรยากาศเหมือนต่างจังหวัดขนาดใหญ่สักแห่ง    บ้านเรือนทำด้วยไม้มีให้เห็นทั่วไป  อาคารตึกสูงไม่เกินสามชั้นอยู่ริมถนนสายใหญ่ๆ     ตามถนนรถราวิ่งกันสะดวก   สี่แยกมีตำรวจจราจรยืนอยู่บนแท่นที่มีสัญญาณป้ายหมุนหันให้ไปหรือให้หยุด  ตอนกลางคืนตำรวจจราจรไม่อยู่   รถก็วิ่งผ่านสี่แยกกันไปแบบจัดคิวกันเอง
    คนกรุงเทพกลับถึงบ้านกันก่อนค่ำ  โดยเฉพาะเด็กนักเรียน เลิกเรียนก็กลับบ้านซึ่งอยู่ในละแวกใกล้ๆ  ใช้เวลาอย่างช้าที่สุดไม่เกินห้าโมงเย็นก็ถึงบ้าน   
   เมื่อพลบค่ำ  ผู้คนเริ่มน้อยลงมาก ผู้คนรีบเร่งกันกลับบ้าน  ตามถนนหนทางไม่เห็นเด็กนักเรียนเดินอยู่เลย   การเรียนพิเศษ หรือสถาบันกวดวิชาเป็นอะไรไม่มีใครรู้จัก    แสงไฟตามบ้านเริ่มสว่างขึ้นเพราะสมาชิกในบ้านกลับถึงบ้านกันหมดแล้ว   จากหกโมงเย็น  สังคมคนเมืองหลวงก็เริ่มขึ้นที่บ้าน เพราะเป็นเวลาที่สมาชิกกลับมาถึงพร้อมหน้าพร้อมตากัน   
    วัยรุ่นและวัยเด็กไม่มีที่เที่ยวหลังหกโมงเย็น แม้ว่ามีหนังรอบค่ำ ก็ไม่ค่อยได้ไป เพราะผู้ใหญ่ไม่อนุญาต
   ช่วงกลางคืนเป็นเวลาของพวกผู้ใหญ่     กรุงเทพมีสถานบันเทิงอยู่บ้าง ที่จำได้คือถนนราชดำเนิน มีไนท์คลับอยู่หลายแห่ง  เท่าที่จำชื่อได้คือ Moulin Rouge, Lolita   และมีไนท์คลับของคุณสุวัฒน์ วรดิลก หรือ "รพีพร" ชื่อ "ศกุนตลา"  เป็นที่ของพวกผู้ใหญ่เขาไปกินเหล้าฟังเพลงและเต้นรำกัน    เพลงในสมัยนั้นเป็นเพลงลาตินและบอลรูม  จึงมีผู้หญิงทำงานรับจ้างเป็นคู่เต้นรำและชงเหล้า เรียกอาชีพนี้ว่า "พาร์ตเนอร์"   ผู้หญิงคนไหนเป็นพาร์ตเนอร์ก็ถูกมองในแง่ไม่ดี
    ศัพท์นี้น่าจะสูญไปจากความเข้าใจของหนุ่มสาวปัจจุบันแล้ว    กลายเป็นความหมายว่า "หุ้นส่วนธุรกิจ"
 
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 27 ก.พ. 19, 14:09

   พอดีผมอ่านหนังสือชื่อ 'วิญญาณแห่งสายลมพัดพาฉันมา' ซึ่งเป็นชีวิตในวัยเด็กของคุณ 'วิมล ไทรนิ่มนวล' มีอยู่ตอนหนึ่งอธิบายถึงห้วยขวางในปี 2510 ไว้ดังนี้ ขออนุญาติคุณวิมลด้วยนะครับ

   พ่อกับแม่อพยพเข้ามาอยู่ในตำบลห้วยขวาง ซึ่งตอนนี้เป็น 'เขต' ไปแล้ว ตอนนั้นห้วยขวางยังเป็นชานเมือง มีถนลาดยางสายเล็กๆ จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิผ่านเข้ามาทางดินแดง และเข้ามาสิ้นสุดที่ห้วยขวาง ถนนอีกสายหนึ่งมาจากสะพานควาย ผ่านสุทธิสารเข้ามาสิ้นสุดห้วยขวางเช่นกัน ตอนนั้นถนนซูเปอร์ไฮเวย์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นถนนวิภาวดีรังสิต)ยังไม่ได้ตัด ยังเป็นทุ่งนาให้ฉันกับเพื่อนไถลไปช้อนปลากัดเล่นอยู่ ต่อจากห้วยขวางไปทางทิศตะวันออกก็มีเพียงถนลูกรังเส้นเล็กทอดผ่านทุ่งนาไปยังโรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญสายหนึ่ง กับอีกสายหนึ่งทอดไปยังโรงเรียนประชารัฐอุปถัมภ์ซึ่งตอนนั้นก็ยังไม่มีถนนรัชดาภิเษก และเมื่อฉันไปโรงเรียนก็จะเดินตัดทุ่งนาไป ดังนั้นห้วยขวางจึงเป็นศูนย์รวมอู่รถเมล์ต้นสายสายต่างๆ เช่น 'เมล์เหลือง' ตัวรถมีสีเหลือง 'เมล์เขียว' ตัวรถมีสีเขียว 'เมล์แดง' ตัวรถมีสีแดง

   สมัยก่อนผมอยู่ลาดพร้าวมาทำงานที่ซอยอารีย์ ขับรถเส้นทางสุทธิสาร-สะพานควายแทบทุกวัน แต่นึกภาพห้วยขวางในปี 2510 ไม่ออกจริงๆ พอจะคุ้นๆ กันบ้างไหมครับ




       ในภาพบอกว่า ถนนประติพัทธ์ สะพานควายเมื่อปี 2511 (ซึ่งต้องมาสิ้นสุดที่ห้วยขวางตามที่คุณวิมลว่าไว้) ตึกขวามืออยู่แถวๆหน้าโรงแรม Liberty เลยไปทางซ้ายมือตอนนั้นมีไนท์คลับดัง ชื่อ เฮนเนสสี ไนท์คลับ ขวามือตกขอบมุมขวาคือโรงหนัง ถนนใหญ่พอสมควรเลยนะครับ รถหกล้อหัวยาวหลังคาผ้าใบของทหารไหมเอ่ย  ยิ้มกว้างๆ

https://board.postjung.com/919692

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 27 ก.พ. 19, 17:34

    แถวห้วยขวางไม่ใช่ถิ่นดิฉัน ก็เลยจำไม่ค่อยได้ นอกจากความรู้สึกเลือนๆว่า สะพานควายอยู่ไกลมาก เป็นชายเขตสุดท้ายของเมืองหลวงทางด้านเหนือ  จากนั้นไปก็คือนอกเมืองแล้ว  ลาดพร้าวลึกเข้าไปจากปากซอยมีแต่ทุ่งนาแดดเปรี้ยง 
    ดินแดงเป็นอีกแห่งที่อยู่ห่างไกลมากเช่นกัน     เป็นแหล่งทิ้งขยะ ที่ขนมาจากในเมือง   มีแต่กองขยะสูงเป็นภูเขา  รอบๆมีกระต๊อบปุปะสำหรับคนที่เก็บขยะไปกินและไปขาย    ปลูกอยู่กันตามมีตามเกิด    กลายเป็นปัญหาระดับชาติว่าจะแก้ไขกันอย่างไร     


บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 27 ก.พ. 19, 18:13

    สี่แยกมีตำรวจจราจรยืนอยู่บนแท่นที่มีสัญญาณป้ายหมุนหันให้ไปหรือให้หยุด  ตอนกลางคืนตำรวจจราจรไม่อยู่   รถก็วิ่งผ่านสี่แยกกันไปแบบจัดคิวกันเอง

สมัยนั้นจะมีภาพน่ารักของตำรวจจราจร  โดยเฉพาะตำรวจจราจรที่อำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภับให้เด็กๆ หน้าโรงเรียน  คือช่วงปีใหม่จะได้รับของขวัญกองพะเนินเทินทึกอยู่แถวจุดที่ยืนค่ะ  รถผู้ปกครองผ่านก็จะยื่นของขวัญออกมาให้  เด็กๆ ก็นำของขวัญมาสวัสดีปีใหม่คุณตำรวจ  ดูว่าใครป๊อบปูล่าร์ก็ตรงขนาดกองของขวัญค่ะ  สมัยนั้นสัมพันธภาพชาวบ้านกับตำรวจยังใกล้ชิดกลมเกลียวอยู่  เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเห็นของขวัญกองใหญ่ๆ นี้เท่าไร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 27 ก.พ. 19, 18:28

  นึกภาพออกเช่นกันค่ะ
  ตำรวจจราจรหน้าโรงเรียน ได้ของขวัญกองอยู่รอบตัวตอนใกล้ปีใหม่   ลูกสาวได้เข้าเรียนในร.ร.ด้วยค่ะ   รายที่ฮิทมากจนสื่อนำไปลงในนสพ. คือตำรวจจราจรที่เชิงสะพานพุทธ    ได้ของขวัญกองเบ้อเริ่มรอบตัว     ข่าวลงว่า เจ้าของรถบางรายส่งแบ๊งค์ร้อยให้เลย 
  เงินเดือนบัณฑิตปริญญาตรีในยุคนั้น ไม่ถึงหนึ่งพันบาท   ประมาณ 880 บาท   100 บาทพอจะเทียบกับเท่าไหร่ในพ.ศ.นี้ก็ลองคิดดู
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 20 คำสั่ง