เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 44769 บ้านเมืองเมื่อ 50+ ปีก่อน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 06 ก.พ. 19, 16:38

ภาพนี้อยู่แถวไหนคะ คุณหนุ่มสยาม
สังเกตดูว่าเป็นบ้านเดี่ยว แบบโอ่โถงมั่นคง  แสดงถึงเจ้าของว่ามีฐานะดี
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 06 ก.พ. 19, 18:05

ในยุคนั้นมีการนำที่ดินด้านฝั่งตะวันออกของคลองประปามาจัดสรร ที่จัดทำเป็นรูปของหมู่บ้านก็คือหมู่บ้านพิบูลวัฒนา ใช้ถนนเลียบคลองประปา(ถนนพระราม 6)เป็นถนนหลักสำหรับการสัญจรเข้าออกพื้นที่กลางเมือง สำหรับพื้นที่ชายเขตหมู่บ้านก็จะเป็นที่ดินจัดสรร ซึ่งคิดว่าแปลงละประมาณ 100 ตารางวา ไม่แน่ใจว่ากินพื้นที่ถึงหลังโรงพยาบาลพระมงกุฎหรือไม่ แต่ในพื้นที่รอบๆสี่แยกประดิพัทธ์นั้นใช่แน่ๆ    

บ้านในโครงการพิบูลวัฒนา พ.ศ. ๒๔๙๙ บนถนนพระราม ๖ สามเสน เป็นบ้านไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนโล่ง ที่ดินเฉลี่ยหลังละ ๑๓๐ ตารางวา บ้านในโครงการมีทั้งหมด ๒๘๘ หลัง บนเนื้อที่ ๒๕ ไร่ เป็นหมู่บ้านจัดสรรโครงการที่ ๒ โดยภาครัฐของประเทศไทย (โครงการแรกคือ โครงการพิบูลเวศม์ พ.ศ. ๒๔๙๘ ที่พระโขนง คลองตัน โครงการที่ ๓ คือ โครงการทุ่งมหาเมฆ พ.ศ. ๒๕๐๑)

เห็นภาพแล้วก็อดสงสัยตัวเองไม่ได้ว่าตาฝาดไปได้มากขนาดนั้นเชียวหรือ นึกไม่ออกเลยว่าได้เคยเห็นบ้านใต้ถุนสูงในระดับนั้น รวมทั้งแบบรั้วของบ้าน และถนนก็ว่าเป็นถนนลาดยางแล้ว   

ผมเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯเมื่อ 2498 แต่ก็ไปๆมาๆบ้านลุงก่อนนั้นอยู่บ้าง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 06 ก.พ. 19, 18:42

บนถนนเลียบคลองประปานี้ ห่างจากการประปาสามเสน (โรงกรองน้ำสามเสน) ไปไม่ไกลก็ไม่ค่อยจะมีรถวิ่งกันแล้ว กระนั้นก็ยังมีช่วงถนนที่พังเป็นช่วงๆสั้นๆ   

คิดว่าจนกระทั่งประมาณ 2501 จึงเห็นมีรถสามล้อเครื่องวิ่งกันขวักไขว่  ต่อมาก็เห็นรถแทกซี่ ซึ่งดูจะมีอยู่สองยี่ห้อที่ใช้กันอยู่ คือ รถดัทสันบลูเบิร์ดแข่งกันกับยื่ห้อเรโนลต์ (ซึ่งใช้เครื่องท้ายคล้ายรถโฟล์เต่า มีสี่ประตู ประตูหลังเปิดอ้าไปทางด้านหน้ารถ)     
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 06 ก.พ. 19, 21:36

ผมคุ้นๆ มาตลอดว่าหมู่บ้านมิตรภาพ อ่อนนุช เป็นหมู่บ้านจัดสรรแรกๆ ของกรุงเทพ ค้นไปค้นมาปรากฏว่าเจอประมาณนี้ครับ

https://web.facebook.com/pg/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E-1425517597706130/photos/?tab=album&album_id=1428359490755274

'ตามเอกสารโครงการONNUJ PROJECTของ USAID ในหมวด ARTICLE3 ได้ระบุถึงกองทุนในการบริหารจัดการสาธารณูปโภคสำหรับโครงการบ้านอ่อนนุช ซอยอ่อนนุช ๑ ( ในสมัยนั้น ) การเป็นหมู่บ้านจัดสรรในยุคแรกก่อนการมี พรบ จัดสรร มีปัญหาในการบริหารสาธารณูปโภคหลังการขาย ทำให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการนี้ แต่เงินกองทุนคือเงินของผู้ซื้อ มิใช่เงินของผู้ขาย และระหว่างปี ๒๕๑๒_๒๕๓๕ ชาวหมู่บ้านมิตรภาพต้องตั้งองค์กรขึ้นมาเรียกว่า บริษัท บ้านอ่อนนุช จำกัด โดยผู้ซื้อบ้านนหมู่บ้านมิตรภาพเป็นผู้ถือหุ้น เมื่อได้มีการผ่อนชำระบ้านจนครบถ้วนแล้ว บริษัท กรุงเทพธนาธร จำกัด ได้มอบเงินที่หักไว้จากผู้ซื้อเป็นจำนวนเงิน๒๓ ล้านเศษให้แก่สมาคมชาวหมู่บ้านมิตรภาพ โยมีคุณชาติชาย มหธร นายกสมาคม และผู้จัดการธนาคารที่รับมอบเงินไปเปิดบัญชีในนามสมาคมชาวหมู่บ้านมิตรภาพ การดำเนินการทั้งกระบวนการมีกรรมการจำนวนมากร่วมเป็นสักขีพยาน'

และในลิงค์ของคุณ เพ็ญชมพู มีข้อมูลเชียนถึงไว้ว่า

http://site001.ap.tu.ac.th/VMthaiResident_site/VM_3.html

พ.ศ. 2504 - 2511
ยุคที่ 3 ยุคเอกชนตอกหมุดหมายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

'เมื่อภาครัฐได้นำร่องและปูแนวทางเรื่องโครงการที่พักอาศัยขนาดใหญ่ในชุมชนอย่างประสบความสำเร็จ ภาคเอกชนก็เริ่มเล็งเห็นช่องทางและขยับเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยกันมากขึ้น โดยเริ่มลงทุนในธุรกิจหมู่บ้านจัดสรรเต็มรูปแบบแห่งแรกในประเทศไทยคือ โครงการหมู่บ้านมิตรภาพ ในปี พ.ศ. 2509 เป็นบ้านเดี่ยวประมาณ 800 หลัง โดยบริษัท เซาท์อีสท์เอเชียก่อสร้าง จำกัด (Southeast Asia Construction Co., Ltd.) และได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา สำหรับประชาชนที่มีรายได้น้อยให้มีบ้านเป็นของตนเอง สามารถยื่นขอกู้เพื่อนำไปเช่าซื้อบ้านในโครงการนี้ ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ มีระยะเวลาผ่อนชาระคืน 20 ปี ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก ธุรกิจการสร้างหมู่บ้านจัดสรรผ่อนส่งระยะยาวของเอกชนนั้นเริ่มมีหนทางที่สดใส จากนั้นเอกชนอีกหลายรายก็เริ่มหันมาจับธุรกิจสร้างบ้านจัดสรรกันมากขึ้น และเริ่มเกิดรูปแบบที่อยู่อาศัยใหม่ๆ เช่น ทาวน์เฮ้าส์ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองขีดความสามารถในการถือครองบ้านพักของผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ในสังคมกรุงเทพมหานครช่วงนั้นเป็นอย่างมาก'



หมู่บ้านมิตรภาพ (พ.ศ. 2509)



รวมทั้งเอกสารฉบับนี้ได้กล่าวถึงว่า

https://cuir.car.chula.ac.th/dspace/bitstream/123456789/37132/5/Chomkwan_ch_ch3.pdf





ฉะนั้นจึงพอจะพูดได้ว่า...หมู่บ้านมิตรภาพ (ของผมหรือของใครก็ตาม) เป็นหนึ่งในรุ่นบุกเบิกของหมู่บ้านจัดสรรของเอกชน แต่มาทีหลังของส่วนราชการอยู่หลายปี ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 07 ก.พ. 19, 13:08

หมู่บ้านเอกชนที่ดิฉันจำได้คือหมู่บ้านเศรษฐกิจ  ที่บางแค    แต่ก็ดูเหมือนจะไม่ประสบความสำเร็จ  จากนั้นก็มีหมู่บ้านเกิดขึ้นในชานเมืองกรุงเทพหลายแห่งด้วยกัน
ในยุค 50+ ปีก่อน  ลาดพร้าวเป็นชานเมืองอยู่ไกลแสนไกล   ขนาดสะพานควายยังเรียกว่าสุดขอบกรุงเทพ   ลึกจากริมถนนลาดพร้าวเข้าไปเป็นทุ่งนาแดดเปรี้ยง มีถนนลูกรังตัดเข้าไปจากปากทาง  จากนั้นบ้านก็ค่อยๆทยอยกันเข้ามากลางทุ่งนา   เป็นบ้านเดี่ยวปลูกห่างๆกัน   บ้านจัดสรรค่อยตามมาอีกที   ที่ดินแต่ละแปลงก็ประมาณ 100 ตารางวา   บ้านเป็นครึ่งตึกครึ่งไม้ คือชั้นล่างก่ออิฐฉาบปูน ข้างบนเป็นไม้   
บ้านก่ออิฐฉาบปูน ค่อยๆมีให้เห็นกันมากขึ้น แทนบ้านไม้อย่างเมื่อก่อน

รูปข้างล่างคือบ้านยุคใหม่ในสมัยนั้นค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 11 ก.พ. 19, 19:21

ทำให้นึกถึงชื่อ ปากคลองสาน มหาชัย ท่าฉลอม บ้านแหลม แม่กลอง  เป็นชื่อของสถานีและชุมชนตามเส้นทางรถไฟสายแม่กลอง  ผมรู้จักเส้นทางรถไฟสายนี้เพราะคุณลุงและคุณแม่พาไปเยี่ยมคุณยายที่แม่กลองหลายครั้งตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก ตั้งแต่เมื่อครั้งรถไฟยังใช้หัวจักรไอน้ำ เก้าอี้นั่งของโบกี้รถนั่งยังใช้ไม้สัก ที่นั่งมีเว้าโค้งตามสรีระพอสมควร

ต้นทางเริ่มที่สถานีปากคลองสาน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทางตะวันออกของวงเวียนเล็ก นั่งดมกลิ่นควันจากปล่องควันรถไฟไปเรื่อยๆ แวะตามสถานีต่างๆจนถึงสถานีมหาชัย(ท่าฉลอม) แล้วขนสัมภาระลงจากรถไฟ รีบเดินไปยังท่าเรือเพื่อขึ้นเรือข้ามฟากแม่น้ำท่าจีนไปยังฝั่งบ้านแหลมเพื่อต่อรถไฟที่จอดรออยู่ที่นั่น   ที่ต้องรีบกันลงเรือ รีบขึ้นรถไฟ ก็มิได้มีอะไรมากไปกว่าการจองที่นั่งบนรถไฟ   จากนั้นก็นั่งดมกลิ่นควันของรถไฟต่อไป ซึ่งบางทีก็ได้พวกเถ้าไฟเป็นของแถม ช่วยเจาะรูเล็กๆบนเสื้อผ้า

ไปแต่เช้า ไปถึงแม่กลองเอาก่อนเที่ยง(ประมาณ 10+น. กระมัง)  จำได้แต่ว่า ขากลับใช้รถไฟเที่ยวที่ออกจากแม่กลองเวลาประมาณ 14.00 น.  รถไฟสายแม่กลองนี้ ในแต่ละวันมีอยู่หลายเที่ยว     
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 11 ก.พ. 19, 19:51

สมัยเมื่อยังเยาว์ไม่เคยมีประสบการณ์ขึ้นรถไฟอย่างคุณตั้ง เคยแต่ขึ้นรถรางไปโรงเรียน  ยิงฟันยิ้ม

ดิฉันเคยทันขึ้นรถราง  จำได้ว่าแม่พาไปขึ้น บอกว่า "นั่งซะ อีกไม่นานเขาก็จะเลิกแล้ว"    
รถรางไม่ค่อยมีคนขึ้นแล้วค่ะตอนนั้น  นั่งสบายไม่แออัดยัดเยียด   มีเบาะปูบนที่นั่งด้วย   นั่งชมถนนไปเรื่อยๆ ไม่ร้อน  คงเป็นเพราะลมโกรกเข้าได้ทั้งสองทาง

เคยขึ้นรถรางไปโรงเรียน ประสบการณ์คนละอย่างกับคุณเทาชมพู นั่งไม่ใคร่สบาย ลุกขึ้นมาที ต้นขาต้องบวมแดงไม่หมดด้วยฤทธิ์ของตัวเรือดใต้ที่นั่ง

รถรางวันสุดท้ายในกรุงเทพมหานคร วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๑๑ ผลงานของคุณแท้ ประกาศวุฒิสาร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้สร้างภาพยนตร์) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๒

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 11 ก.พ. 19, 19:53

คุณยายของผมเป็นแพทย์แผนโบราณ มีร้านขายยาอยู่ฝั่งตรงข้ามวัดบ้านแหลม  ผมก็เลยพอจะมีความคุ้นเคยกับตัวยาและสรรพคุณของสมุนไพรทางยาบ้างเล็กน้อย  ซึ่งก็เป็นอะไรที่ยังฝังอยู่ในตัวผมจนในปัจจุบัน อาทิ ชอบอ่านหรือศึกษาสรรพคุณของพืชทางยาชนิดต่างๆและส่วนผสมที่นำมาประกอบกันทำเป็นยา เก็บตำรายาสมุนไพรเก่าที่เป็นของสถาบันทางราชการ .... เป็นต้น  แต่ผมกลับไม่นิยมใช้ยาแผนโบราณ หรือกินเพื่อเป็นอาหารเสริม ยกเว้นเฉพาะพวกยาบรรเทาอาการเฉียบพลันชั่วคราวเท่านั้น เช่น ครีมไพลแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ยาจิบแก้ไอมะขามป้อม เม็ดอมมะแว้ง ก้านชะเอม น้ำตรีผลาเพื่อปนับสมดุลย์(บางครั้ง) เสลดพังพอนแก้ยุงกัด น้ำขิงเพื่อไล่ลม เหล่านี้เป็นต้น      
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 16 ก.พ. 19, 19:31

เมื่อรถรางเลือนหายไป

ภาพจาก http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6905.0


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 16 ก.พ. 19, 20:50

  รถโดยสารที่คุ้นตามากที่สุดในกรุงเทพ คือรถเมล์ขาว ของบริษัทนายเลิด  (พระยาภักดีนรเศรษฐ์)  เป็นรถเมล์สภาพดี  ไม่คร่ำคร่าผุพัง แล่นชิดซ้ายเสมอ  ไม่วิ่งปาดซ้ายป่ายขวา       ทั้งๆถนนในกรุงเทพรถไม่ติด 
  วันธรรมดาพอสายเข้า ถนนก็โล้ง เพราะคนเข้าทำงานกัน   ก็ไม่เคยเห็นรถเมล์ขาวซิ่ง


บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 17 ก.พ. 19, 02:51

หนึ่งในหลายๆเส้นทางของรถเมล์ขาวบริษัทนายเลิดนั้น มีสายหนึ่งวิ่งไปถึงลาดพร้าว ซึ่งจัดว่าเป็นชนบทตอนเหนือของกรุงเทพ หมดระยะที่สถานีดับเพลิงลาดพร้าว  หมายเลขประจำสาย คือ สาย 8 ลาดพร้าว - สะพานพุทธ ต้นทางอยู่ที่ใต้สะพานพุทธยอดฟ้า ฝั่งพระนคร นับว่าเป็นรถเมล์สายยาวสายหนึ่ง ปัจจุบันรถเมล์สาย 8 เป็นรถร่วมชื่อเสียงกระฉ่อนกรุง วิ่งเส้นทางเดิม แต่ยืดปลายทางถึงแฮปปี้แลนด์ บางกะปิ. ส่วนเส้นทางด้านใต้ ของรถเมล์ขาว คือ สาย 2 บางนา - ปากคลองตลาด ยังไม่ได้ข้ามเขตไปสำโรง ต้นทางอยู่ที่สามแยกบางนา (ถนนบางนา - ตราด ยังไม่ได้ตัด) มีเมล์ขาวสายสั้นๆรับช่วงต่อเข้าไปตามถนนสรรพาวุธ จนถึงท่าน้ำสรรพาวุธ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 2 กม.ค่าโดยสารไม่เกิน 1 สลึง นัยว่าให้บริการแก่ทหารเรือที่มี่ที่ตั้งหน่วยที่นั่น นอกเหนือจากบริการของรถรางสายปากนำ้ ที่หยุดบริการเมื่อต้นปี 2503
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 17 ก.พ. 19, 07:15

พ.ศ. ๒๔๕๓ รถบรรทุกยี่ห้อฟอร์ดจากต่างประเทศ คือ ตัวเลือกที่นายเลิศตัดสินใจนำเครื่องยนต์และโครงรถ เข้ามาต่อตัวถังเป็นรถเมล์ในเมืองไทยที่ทำด้วยไม้ทั้งคัน ซึ่งนายเลิศออกแบบเอง



รถเมล์ขาวนายเลิศรุ่นแรก  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 17 ก.พ. 19, 08:26

     วิกิ บอกว่า
    กิจการรถเมล์นายเลิศ ดำเนินการมานานถึง 70 ปี ได้รับสัมปทานเดินรถประจำทางในกรุงเทพฯ ถึง 36 สาย มีรถประมาณ 700 คัน มีพนักงาน 3,500 คน นับเป็นบริษัทรถเมล์ที่ใหญ่ที่สุด แต่ได้เลิกกิจการลงในปี พ.ศ. 2520 เมื่อรัฐบาลมีนโยบายรวมกิจการรถเมล์ทุกสายในกรุงเทพมหานครมาอยู่ในความดูแลของ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ

     สวัสดีค่ะคุณ Jalito    สงสัยว่าหายไปไหน  เพิ่งได้ฤกษ์เข้ามาร่วมวงหรือคะ   
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 17 ก.พ. 19, 08:54

สวัสดีครับ อาจารย์เทาชมพู เข้ามาติดตามอ่านทุกวันครับ
เพียงแต่ไม่ได้แสดงตัว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 17 ก.พ. 19, 08:57

  ขอเล่าถึงถนนเพลินจิตและราชประสงค์ เมื่อ 50+ ปีก่อน  เพลินจิตเป็นถนนที่คุ้นเคยที่สุดเพราะบ้านและร.ร.อยู่ที่ถนนสายนี้
  ถนนเพลินจิตเริ่มจากสี่แยกราชประสงค์ ไปสิ้นสุดที่ทางรถไฟช่องนนทรี   ข้ามไปก็เป็นถนนสุขุมวิท ซึ่งเขตถนนสุขุมวิทเมื่อ 50+ ปีก่อนเรียกว่าบางกะปิ   พระโขนงหมายถึงปลายๆสุขุมวิทตรงต่อกับสะพานพระโขนง
  สี่แยกราชประสงค์ในสมัยนั้นเป็นสี่แยกไม่ค่อยมีอะไรมาก   เช่นเดียวกับสี่แยกปทุมวัน    ที่ว่าไม่ค่อยมีอะไรมากคือไม่มีตึกรามบ้านช่องคับคั่งอย่างเดี๋ยวนี้   ส่วนที่เป็นเซนทรัลเวิร์ลด์มีร้านอาหารแบบบ้านทุ่งมาตั้งอยู่พักหนึ่งแล้วเลิกกิจการไป    ด้านตรงข้าม ริมถนนราชดำริ เป็นตึกแถวสองชั้นเก่าๆ เรียงรายไปจนจดสะพานเฉลิมโลก  ถนนค่อนข้างว่าง มีรถผ่านไปมาไม่มากนัก  
  ตึกแถวริมถนนราชดำริเหล่านี้เปิดเป็นร้านค้าเล็กๆ  หนึ่งในนั้นเป็นร้านทำผมที่แม่เคยมาทำผม แล้วจูงลูกไปกินอาหารที่ร้านใกล้ๆ  เป็นร้านขายอาหารตามสั่ง และมีอาหารใส่ถาดวางไว้ในตู้กระจก    หน้าตาร้านเรียบๆไม่ตกแต่งประดับประดาอะไร แต่ดูสะอาด มีโต๊ะเก้าอี้ตั้งอยู่สัก 5-6 ชุด    เจ้าของร้านเป็นสตรีวัยกลางคน  พูดจากิริยาเรียบร้อย ราวกับออกมาจากวังไหนสักวังหนึ่ง   เห็นเธออยู่คนเดียวในร้าน
  แม่ถามว่าขายที่นี่เป็นอย่างไรบ้าง  เธอก็ตอบว่า พอไปได้ค่ะ  
  หลังจากนั้นอีกหลายปี   ไปแถวนั้นพบว่าห้องแถวเปลี่ยนไปหมดแล้ว   ร้านอาหารนั้นก็เลิกไป   ราชดำริฝั่งนี้กลายเป็นร้านรวงทันสมัยขึ้นมาอย่างรวดเร็วเมื่อห้างไดมารูห้างแรกเข้ามาตั้งที่ฟากตรงข้าม  ตรงเซนทรัลเวิร์ลด์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 20 คำสั่ง