เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 44777 บ้านเมืองเมื่อ 50+ ปีก่อน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 14 มี.ค. 19, 15:18

   พวกที่สอบเทียบ 4 3 6 8  ถูกกำหนดข้อสอบเฉพาะบางวิชา ไม่ได้สอบทุกวิชาเหมือนเรียนตามหลักสูตรปกติ เพราะฉะนั้นพวกที่หัวดีท่องจำเก่ง ก็เลือกท่องเฉพาะวิชาที่สอบ    สอบได้ก็ลอยลำไปเรื่อยๆจนเข้ามหาวิทยาลัยได้ด้วยอายุที่น้อยกว่าพวกเรียนไปทีละชั้น    มีถึงขั้นตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัยยังเป็นเด็กชายอยู่ก็มี 
   สอบเทียบแบบนี้ถูกยกเลิกไปยาวนาน จนมาถึงยุคเปิดเรียนกศน. เพื่อแก้ปัญหาการไม่รู้หนังสือของเด็กหนุ่มสาวในชนบท     ผลคือเด็กในเมืองหลวงมาสมัครเรียนเพื่อสมัครสอบข้ามชั้นเรียนไปเข้ามหาวิทยาลัย  บางคนเรียนอยู่ ม. 4 มาสมัครสอบ ม. 6   สอบได้ก็สอบเข้าปี 1 ไปเลย     แต่ส่วนใหญ่เรียนอยู่ม. 5  แล้วสมัครสอบม. 6 ได้ก็สอบเข้าคณะต่างๆไป  ทำให้บางร.ร.มีเด็กเรียนม. 6 กันโหรงเหรงแทบว่าจะต้องปิดห้องเรียน
   ขอเล่าถึงการเรียนในคณะอักษรศาสตร์เมื่อ 50+ ปีค่ะ  แต่ละคณะมีวิธีวัดคะแนนไม่เหมือนกัน     แต่เหมือนกันอยู่อย่างคือใช้ระบบ %  ไม่มีตัดเกรด A B C D F
   คณอักษรศาสตร์แบ่งวิชาเป็นกลุ่มๆ   เช่นวิชาภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส   ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ฯลฯ   แต่ละกลุ่มประกอบด้วยหลายวิชา เช่นวิชาภาษาไทยก็มีภาษา เช่นการเขียน   วรรณคดี แบ่งเป็นยุคต่างๆ รวมแล้วกลุ่มหนึ่งก็ 5-6 วิชา    ภาษาอังกฤษก็เช่นกัน
   นิสิตจะเรียนแต่ละวิชาได้คะแนนเท่าใดก็ตาม แต่ถ้านำวิชามารวมกันในแต่ละกลุ่มแล้ว  ต้องเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 60% ถึงจะผ่าน    ไม่งั้นก็ซ้ำชั้นไป ก้มหน้าก้มตาเรียนทุกวิชาไปอีก 1 ปี     
   ความโหดอยู่ที่ว่า บางวิชานิสิตทำคะแนนได้ดีถึง 80%  แต่ถ้าอีกวิชาคะแนนต่ำมาก ได้สัก 30%   มันก็จะฉุดวิชาที่ได้คะแนนดี หล่นกราวรูดลงมากันหมด    เคราะห์ร้ายกว่านี้  พอหารเฉลี่ยกันแล้ว เกิดได้ 59%   คณะไม่มีนโยบายปัดเศษ    59  ก็ 59  คือตก
   ตก 1 กลุ่มวิชา ให้รีเอ๊กแซม สอบแก้ตัวเฉพาะวิชาที่ไม่ถึง 60% แต่ไม่เกิน 2 วิชา   แต่ถ้าตกเกิน 1 กลุ่มเป็น 2 กลุ่ม ก็รีพีท หรือตกซ้ำชั้นไปเลย   ไม่มีอุทธรณ์ฎีกาใดๆ
   ถ้าซ้ำชั้นเป็นครั้งที่สอง ก็คือตกให้ออก  หรือรีไทร์
   มีรุ่นพี่คนหนึ่งเรียนอยู่ในคณะถึง 8 ปี   คือชั้นละ 2 ปี จนถึงปี 4 ที่เรียนมาเป็นครั้งที่สองแล้ว เกิดไม่ผ่าน 60% ก็ต้องรีไทร์ออกไป โดยไม่ได้อะไรติดมือไปเลย เพราะคณะไม่มีอนุปริญญา
   
บันทึกการเข้า
choo
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 14 มี.ค. 19, 15:56

ในสมัยก่อนไม่มีระบบสอบเทียบ คนที่เรียนแล้วได้ pass ชั้นบ่อยๆบางคนโดยเฉพาะเด็กชายเมื่อจบมัธยมบริบูรณ์เพิ่งจะเป็น"นาย"ได้ไม่กี่เดือนเอง ผมก็เคยเรียนมาด้วยระบบ % เช่นกันคือต่ำกว่า 60 %เป็น F, 85% ขึ้นไปเป็น A อะไรทำนองนี้ มีระยะหนึ่งรุ่นลูกๆเรียนเขาว่าวัดผลเป็นแบบอิงกลุ่มถามแล้วไม่ได้ความชัดว่าอย่างไรเอาคนที่ได้คะแนนวิชานั้นสูงสุด= 100% ใครได้รองๆลงมาก็เอาไปคิดเป็น % ถ้าเป็นแบบนี้จริงคนที่ได้คะแนนสูงสุด100%เมื่อวัดผลแบบเดิมมีความรู้ไม่ถึง 60% แล้วคนที่ได้  % รองๆลงมาจนถึง 50% พวกเขาจะมีความรู้อะไร ผมอาจไม่เข้าใจคำอธิบายและไม่เคยคิดเข้าไปค้นหาว่าจริงๆเป็นอย่างไรเพราะไม่เปิดใจรับกับการวัดผลแบบนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 14 มี.ค. 19, 21:59

  อ่านที่คุณชูพูดถึงการวัดผลแบบอิงกลุ่ม  น่าจะหมายถึงการตัด curve  เป็นวิธีประเมินผลการสอบอีกแบบหนึ่งเพื่อตัดเกรด A B C D
  แบบเดิม    ครูจะกำหนดระดับว่า เปอร์เซ็นต์เท่าไหร่ถึงจะจัดอยู่ในเกรดอะไร  
  เช่น   80-100  = A
          79-70   = B
          69-60   = C

  แต่การตัด curve นั้นดูว่าผลจากการสอน  ว่าเด็กทำข้อสอบได้มากน้อยแค่ไหน     เอาความสามารถของเด็กเป็นตัววัด  ไม่ใช่เอาความรู้ที่ครูถ่ายทอดให้เป็นตัววัด  
  ถ้าวัดแบบเดิม   ไม่มีเด็กคนไหนได้ถึง 80   ก็หมายความว่าวิชานั้นไม่มีเด็กได้ A  มีแต่ได้ B อย่างมากสุด
  แต่ถ้าวัดแบบอิงกลุ่ม     เอาเด็กที่ได้คะแนนสูงสุดในชั้นไว้ปลายข้างหนึ่ง   เด็กที่ได้ต่ำสุดไว้ปลายอีกข้างหนึ่ง   เด็กที่ได้คะแนนกลางๆไว้ตรงกลาง  ซึ่งส่วนใหญ่คะแนนจะเทไปอยู่ตรงกลุ่มตรงกลาง    มันจะออกมาเป็นรูปเส้นโค้ง
หรือ curve
  ตรงกลางนี้คือคะแนนระดับกลาง เช่น B หรือ C    ส่วนปลายข้างหนึ่งเป็น A   อีกข้างเป็น D  
  ดังนั้นกลุ่มเด็กที่ได้คะแนนสูงสุดในชั้นเรียน  แม้ว่าได้แค่ 60 จาก 100  ก็จะได้ A    เพราะไม่มีใครได้มากกว่านี้อีกแล้ว
  รองลงมาก็คือกลุ่ม B  อาจจะได้คะแนนประมาณ 50 จาก 100  ก็ได้
  ความจริงเขามีวิธีคำนวณกันละเอียดกว่านี้ ว่าใครเหมาะจะได้ A  หรือ B  เรียกว่าตัด curve  แต่ดิฉันอธิบายแล้วจะงงกันเปล่าๆ
  ขอบอกง่ายๆแบบนี้  ถ้าผิดเดี๋ยวคุณเพ็ญชมพูคงเข้ามาแก้ให้เองละค่ะ

  

บันทึกการเข้า
choo
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 14 มี.ค. 19, 22:32

ขอบคุณมากครับอาจารย์ พอจับเค้าได้ว่าถ้ากลุ่มที่เรียนไม่มีคนเก่งๆ(วัดแบบวิธีเก่า)มากคนที่ได้ A อาจไม่ใช่คนที่มีความรู้ในวิชานั้นมากก็ได้ วิธีการตอบข้อสอบของการเรียนสมัยนี้เป็นแบบปรนัยมีหลายตัวเลือกตามความคิดผมน่าจะง่ายและมีโอกาสทำคะแนนได้สูงกว่าที่ผมเคยเรียนซึ่งเป็นแบบอัตนัยต้องเขียนบรรยายคำตอบการได้คะแนนขึ้นอยู่กับอาจารย์ผู้ตรวจข้อสอบ ดังนั้นผู้เรียนสมัยนี้ถ้าไม่แย่จริงๆจะมีโอกาสเรียนจบง่ายได้เกรดดีกว่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 21 มี.ค. 19, 08:50

    สมัยก่อน นักเรียนตอบข้อสอบแบบอัตนัยตั้งแต่อยู่ชั้นประถม   ทำให้รู้จักการสร้างประโยค  ลำดับความคิด เริ่มต้น สรุปความ  เขียนอะไรยาวๆได้   พอเปลี่ยนระบบเป็นปรนัย  ติ๊กคำตอบอย่างเดียว  ทักษะของการเขียนแบบอัตนัยก็เลยหายไปมากค่ะ

    เมื่อ 50+ ปีก่อน  มีบทเรียนเป็นคำร้อยกรองง่ายๆ ให้ข้อคิดเตือนใจ   อย่างเรื่องนี้   ท่านฟ. ฮีแลร์แต่งได้ไพเราะมาก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 21 มี.ค. 19, 08:51

รำลึกถึงถนนในกรุงเทพ ที่เดี๋ยวนี้หาต้นไม้อย่างในรูปอีกไม่ได้แล้ว  คอนกรีตแย่งเนื้อที่หมด


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 21 มี.ค. 19, 10:23

เมื่อ 50+ ปีก่อน  มีบทเรียนเป็นคำร้อยกรองง่ายๆ ให้ข้อคิดเตือนใจ   อย่างเรื่องนี้   ท่านฟ. ฮีแลร์แต่งได้ไพเราะมาก

ท่านฟ. ฮีแลร์มิได้แต่ดอก แต่เป็นของโบราณนานมาแล้ว  ยิงฟันยิ้ม

http://www.human.nu.ac.th/jhnu/file/journal/2014_07_24_09_06_52-06%20รศ.ดร.สุภาพร.pdf
http://www.assumptionmuseum.com/th-th/content/ว-ชาเหม-อนส-นค-า-แต-ทว-า-ฟฮ-แลร-ไม-ได-แต-ง/



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 21 มี.ค. 19, 10:59

ความรู้ใหม่นะเนี่ย  ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูค่ะ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 21 มี.ค. 19, 13:36

มีข้อสงสัยครับ

ตำแหน่ง "ล้าต้า" ผมลองค้นดูเบื้องต้น พบว่า เป็นตำแหน่ง ผู้ตรวจสอบบัญชีประจำเรือสำเภาครับ
การมอบหมายให้ผู้ตรวจบัญชีไปดูทิศทางลม ออกจะแปลกอยู่นะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 21 มี.ค. 19, 14:36

ล้าต้า   น. คนถือบัญชีเรือสำเภา.
ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย   ก. กำหนดจุดมุ่งหมาย เช่น ล้าต้าต้นหนก็มุ่งมอง ตั้งเข็มส่องกล้องสลัด (ม. ร่ายยาว กุมาร).

https://dict.longdo.com/search/%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2
ตีความได้ 3  ทางค่ะ

1  เจ้าจงเอาหูตา...................เป็นล้าต้าฟังดูลม
    แปลว่า  เจ้าจงเอาหูตา มากำหนดจุดมุ่งหมาย  ดูลมทิศต่างๆ
2  ล้าต้าในยุคต้นรัตนโกสินทร์ ทำหน้าที่ต้นหนด้วย
3  กวีเข้าใจผิด หรือแต่งผิด  เอาล้าต้ามาใช้ในความหมายของต้นหนเรือ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 22 มี.ค. 19, 16:52

ฟังหาเสียงและไปเลือกตั้ง ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๐

ชาวกรุงเทพฯ สมัยนั้นเมื่อออกจากบ้านแต่งตัวเรียบร้อย ไม่เห็นใส่เสื้อยืดสักคน  ยิงฟันยิ้ม

ภาพจาก https://www.facebook.com/100006028902334/posts/1041262492751371?sfns=mo


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 22 มี.ค. 19, 17:11

 เมื่อ 50+ ปีก่อน   เสื้อสีขาวเป็นที่นิยมมากที่สุดทั้งผู้หญิงผู้ชาย    ข้าราชการสมัยนั้นถ้าไม่ต้องแต่งเครื่องแบบสีกากีก็สวมเชิ้ตแขนสั้นสีขาว    ไปดูหนังวันหยุดก็เชิ้ตขาวอีกเหมือนกัน   ผู้หญิงก็มักสวมเสื้อขาวหรือสีเรียบๆ  ไปเล่นสีสันลวดลายที่กระโปรงบาน  

  ข้างล่างนี้คือแผงขายหนังสือที่ริมคลองหลอด


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 22 มี.ค. 19, 17:21

  ถ้าหนุ่มสาวยุคนี้ไม่รู้ว่าตรอกแตกต่างจากซอยอย่างไร  ขอเชิญดูภาพนี้นะคะ
  นี่คือตรอกแถวบางรัก   ถ่ายเมื่อพ.ศ. 2503  เป็นทางเดินแคบๆแยกจากถนนใหญ่   รถเข้าไม่ได้
  ตรอกเป็นทางเข้าบ้านช่องของประชาชนที่ปลูกอยู่ด้านหลังถนนสายใหญ่    ตรอกในภาพนี้พัฒนาแล้วเพราะเทคอนกรีตเรียบร้อย   ถ้าเป็นตรอกดั้งเดิมจะเป็นทางเดินที่ปูด้วยไม้กระดานเหนือพื้นดินที่เฉอะแฉะด้วยน้ำครำ  ทอดผ่านหน้าบ้านใหญ่น้อยไปจนสุดทาง  
  ตรอกมักจะอยู่ในส่วนเก่าแก่ของกรุงเทพ
  ส่วนซอยใหญ่กว่าตรอก  เป็นถนนสายเล็กแยกจากถนนใหญ่    ส่วนใหญ่รถเข้าได้ค่ะ   ซอยมักจะเกิดทีหลังตรอก ส่วนใหญ่อยู่รอบนอกของเมือง

   โปรดสังเกตว่า ผู้หญิงสองคนที่นุ่งผ้าถุง เห็นแต่ด้านหลัง ไม่สวมรองเท้า  ส่วนหญิงสาวที่เดินสวนทางมาแต่งกายทันสมัยทีเดียวสำหรับยุคนั้น  หอบเอกสารอะไรสักอย่างมาด้วยในมือขวา    เธอคงทำงานเอกชน  ข้าราชการไม่แต่งตัวแบบนี้     


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 23 มี.ค. 19, 09:11

หลังจากว่างเว้นการเลือกตั้งไป ๑๒ ปี นับจาก พ.ศ. ๒๕๐๐ ก็มีการเลือกตั้งอีกครั้งในวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๒

วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๑๑ คุณมิตร ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล ในนามกลุ่มหนุ่มได้เบอร์ ๘๑ หาเสียงในเขตบางรัก ยานนาวา สัมพันธวงศ์ ป้อมปราบ แต่ก็ไม่ได้รับเลือก ดังนั้น ในปี ๒๕๑๒ ก็ได้ลงสมัครอีกครั้งแต่เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พระนคร ได้เบอร์ ๓๔ คู่กับ คุณปราโมทย์ คชสุนทรเบอร์ ๓๕ แต่ก็ไม่ได้รับเลือกอีก

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันอังคารที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๑๒ ลงรูปมิตร ชัยบัญชา พระเอกยอดนิยมตลอดกาลขึ้นเวทีหาเสียงเป็น ส.ส. เขตพระนคร ท่ามกลางประชาชนนับแสนที่สนามหลวง (ตามพาดหัวข่าว)

ปี ๒๕๑๒ หนังสือพิมพ์ราคาเพียงฉบับละ ๑ บาท  ก่อนจะแพงขึ้น ๑๐ เท่าในอีก ๕๐ ปีต่อมา


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 24 มี.ค. 19, 17:00

ได้เวลาปิดหีบแล้ว ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ออกมาแล้ว แต่เป็นผลการเลือกตั้ง เมื่อ ๕๐ ปีก่อน

ชมบรรยากาศการประกาศผลการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๒ บริเวณกระทรวงมหาดไทย  ผลงานถ่ายทำของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัด

คนกรุงเทพฯ เมื่อ ๕๐ ปีก่อนก็ยังคงนิยมใส่เสื้อขาวอยู่เหมือนเดิม  ยิงฟันยิ้ม



จาก  FB หอภาพยนตร์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 19 คำสั่ง