เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 45169 บ้านเมืองเมื่อ 50+ ปีก่อน
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 11 มี.ค. 19, 20:59

ปากกาลูกลื่นยี่ห้อแรกที่ขายในเมืองไทยคือยี่ห้อ Schneider สั่งมาจากเยอรมันโดยบริษัท ดี. เอช. เอ. สยามวาลา จำกัด (DHAS) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ ปากกายี่ห้อนี้ถือเป็นพระเอกที่ช่วยให้ธุรกิจของครอบครัวสยามวาลาพลิกฟื้นจากที่ประสบปัญหาตลาดซบเซาหลังสงครามและชดใช้หนี้สินจากเหตุการณ์โรงงานไฟไหม้ แต่ Schneider มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่เพียงเพียง ๒ ปี ก็ถูกปากกาลูกลื่นยี่ห้อ Bic ชิงตลาดไป

โฆษณาปากกาลูกลื่นชไนเด้อร์ จากหนังสือ "งานแสดงศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๒๕ ครบรอบ ๕๐ ปี" ธันวาคม ๒๕๐๕

ผู้บัญญัติศัพท์ "Ballpoint pen" ว่า "ปากกาลูกลื่น" ก็คือ DHAS นี่เอง


http://www.forbesthailand.com/people-detail.php?did=2037
https://www.facebook.com/1823599227854580/posts/2160680670813099?sfns=mo


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 12 มี.ค. 19, 09:06

  เมื่อ 50+ ปีก่อน  นักเรียนชั้นประถมใช้ดินสอดำ  จนจบป. 4 ขึ้นม. 1 ทางโรงเรียนจึงให้ใช้ปากกาแทน    ปากกาสมัยนั้นเมื่อเทียบกับสมัยนี้มันก็แสนยุ่งยาก    เพราะปากกาลูกลื่น (ballpoint pen)  มีแล้วก็จริงแต่ทางร.ร.ไม่ให้ใช้     ให้ใช้ปากกาหมึกซึม (fountain pen) 
   ปากกาหมึกซึมต้องเติมหมึกเป็นระยะ  เพราะหมึกในหลอดมันจะพร่องลงไปเรื่อยๆ  จนหมด    นอกจากนี้ถ้าปากของปากกาไม่ดี   พอเติมหมึกใหม่ หมึกจะออกมากจนเลอะกระดาษ ต้องใช้กระดาษซับ    กระดาษซับนี่ก็เป็นอะไรอีกอย่างที่น่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว    เป็นกระดาษหนาๆคล้ายๆผ้าสักหลาดอย่างบาง  สามารถซับหมึกที่กองจากปลายปากกาลงมาเป็นหยดเเบ้อเร่อบนกระดาษสมุดให้ซึมหายเข้าไปในกระดาษได้  กลายเป็นด่างดวงหมึกบนกระดาษซับ  พอเต็มกระดาษก็ต้องเปลี่ยนแผ่นใหม่     นอกจากนี้ก็ต้องพกขวดหมึกเล็กๆติดกระเป๋านักเรียนไปด้วยสำหรับเติมหมึก 
   สรุปว่าปากกาด้ามเดียวต้องมีอุปกรณ์พ่วงอีก 2 อย่างคือกระดาษซับและขวดหมึก       ถ้าใครปิดขวดหมึกไม่แน่น  หมึกก็หกเลอะก้นกระเป๋าและหนังสือเรียน   ถูกครูทำโทษหนักเข้าไปอีก
   ความยุ่งยากอีกอย่างคือปากกาหมึกซึมสวยๆนั้นอาจหายได้ง่าย  ด้วยฝีมือนักหยิบ   นักเรียนจึงนิยมเหน็บปากกากับกระเป๋าเสื้อ   ถ้าปิดปลอกไม่แน่นหมึกก็ซึมออกมาเลอะเสื้อ    เป็นปัญหาในการซักเพราะหมึกซักออกยากมาก
   ปัญหาเหล่านี้ไม่มีเลยถ้าใช้ปากกาลูกลื่น

   แต่ปากกาหมึกซึมดีกว่าปากกาลูกลื่น  ตรงที่ช่วยให้ลายมือสวย    ยิ่งการคัดอักษรภาษาอังกฤษ ที่แต่ละตัวมีเส้นหนักเส้นเบา (เด็กยุคนี้คงไม่รู้จักว่า A B C D มีเส้นหนักเบาด้วย) ปากกาหมึกซึมช่วยคัดได้สวยมาก  เพราะพลิกปลายปากกาเป็นเส้นหนาเส้นบางได้   แต่ถ้าคัดด้วยปากกาลูกลื่นจะทำไม่ได้เลยค่ะ
   ครูบอกว่าปากกาลูกลื่นทำให้ลายมือเสียหมด   เหมาะจะเอาไว้เขียนหรือจดอะไรหวัดๆ  ไม่ต้องประณีตบรรจง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 12 มี.ค. 19, 09:25

  ปากกาหมึกซึมมีหลายราคา    เด็กนักเรียนใช้ปากกาด้ามละไม่กี่บาท    ยี่ห้อแพง อย่าง Sheaffer และ Parker เป็นของสำหรับผู้ใหญ่   
  ที่แพงที่สุดคือปากกาปลอกทอง    นิยมเหน็บกระเป๋าเสื้อ เห็นปลอกทองหรู โชว์ฐานะเจ้าของ

 พอเปลี่ยนโรงเรียน ใช้ปากกาลูกลื่นได้  สะดวกทุกอย่าง ก็เลยเลิกใช้ปากกาหมึกซึม    จนบัดนี้ยังไม่เคยใช้อีกเลยค่ะ


  ข้างล่างนี้คือปากกาปลอกทอง


บันทึกการเข้า
choo
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 12 มี.ค. 19, 09:51

 เมื่อ 50+ ปีก่อน  นักเรียนชั้นประถมใช้ดินสอดำ  จนจบป. 4 ขึ้นม. 1 ทางโรงเรียนจึงให้ใช้ปากกาแทน    ปากกาสมัยนั้นเมื่อเทียบกับสมัยนี้มันก็แสนยุ่งยาก    เพราะปากกาลูกลื่น (ballpoint pen)  มีแล้วก็จริงแต่ทางร.ร.ไม่ให้ใช้     ให้ใช้ปากกาหมึกซึม (fountain pen)  
   ปากกาหมึกซึมต้องเติมหมึกเป็นระยะ  เพราะหมึกในหลอดมันจะพร่องลงไปเรื่อยๆ  จนหมด    นอกจากนี้ถ้าปากของปากกาไม่ดี   พอเติมหมึกใหม่ หมึกจะออกมากจนเลอะกระดาษ ต้องใช้กระดาษซับ    กระดาษซับนี่ก็เป็นอะไรอีกอย่างที่น่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว    เป็นกระดาษหนาๆคล้ายๆผ้าสักหลาดอย่างบาง  สามารถซับหมึกที่กองจากปลายปากกาลงมาเป็นหยดเเบ้อเร่อบนกระดาษสมุดให้ซึมหายเข้าไปในกระดาษได้  กลายเป็นด่างดวงหมึกบนกระดาษซับ  พอเต็มกระดาษก็ต้องเปลี่ยนแผ่นใหม่     นอกจากนี้ก็ต้องพกขวดหมึกเล็กๆติดกระเป๋านักเรียนไปด้วยสำหรับเติมหมึก  
   สรุปว่าปากกาด้ามเดียวต้องมีอุปกรณ์พ่วงอีก 2 อย่างคือกระดาษซับและขวดหมึก       ถ้าใครปิดขวดหมึกไม่แน่น  หมึกก็หกเลอะก้นกระเป๋าและหนังสือเรียน   ถูกครูทำโทษหนักเข้าไปอีก
   ความยุ่งยากอีกอย่างคือปากกาหมึกซึมสวยๆนั้นอาจหายได้ง่าย  ด้วยฝีมือนักหยิบ   นักเรียนจึงนิยมเหน็บปากกากับกระเป๋าเสื้อ   ถ้าปิดปลอกไม่แน่นหมึกก็ซึมออกมาเลอะเสื้อ    เป็นปัญหาในการซักเพราะหมึกซักออกยากมาก
   ปัญหาเหล่านี้ไม่มีเลยถ้าใช้ปากกาลูกลื่น

   แต่ปากกาหมึกซึมดีกว่าปากกาลูกลื่น  ตรงที่ช่วยให้ลายมือสวย    ยิ่งการคัดอักษรภาษาอังกฤษ ที่แต่ละตัวมีเส้นหนักเส้นเบา (เด็กยุคนี้คงไม่รู้จักว่า A B C D มีเส้นหนักเบาด้วย) ปากกาหมึกซึมช่วยคัดได้สวยมาก  เพราะพลิกปลายปากกาเป็นเส้นหนาเส้นบางได้   แต่ถ้าคัดด้วยปากกาลูกลื่นจะทำไม่ได้เลยค่ะ
   ครูบอกว่าปากกาลูกลื่นทำให้ลายมือเสียหมด   เหมาะจะเอาไว้เขียนหรือจดอะไรหวัดๆ  ไม่ต้องประณีตบรรจง
 
โรงเรียนที่ผมเคยเรียนเมื่ออยู่ชั้นมูล(เตรียมประถม)ใช้กระดานชนวนและดินสอหิน ป.1-ป.4 ใช้ดินสอดำ พอขึ้น ม.1 ปากกาหมึกซึมคุณครูยังไม่ให้ใช้ให้นักเรียนใช้ปากกาจุ่มหมึกซึ่งมีสองชนิดคือแบบหัวแหลมเรียกว่าปากกาคอแร้งแลแบบหัวแบนเรียกว่าปากกาเบอร์ห้าใช้กับหมึกตราสิงโตขวดกลมๆมีหมึกน้ำเงินและแดง กระดาษซับเป็นของที่ขาดไม่ได้เป็นอันขาดถึงกระนั้นสมุดจะเลอะเทอะไปด้วยหมึกแดงและน้ำเงิน เมื่อเลิกเรียนเสื้อจะเปื้อนหมึกกันเกือบทุกคน พอขึ้น ม.2 ได้ใช้ปากกาหมึกซึมผู้ปกครงส่วนมากจะซื้อปากายี่ห้อ Pilot ให้ใช้เพราะราคาถูกและมาเรื่มใช้ปากกาลูกลื่นเมื่อโตแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 12 มี.ค. 19, 10:22

ใช่แล้ว มีปากกาคอแร้งอีกอย่างค่ะ ลืมไปเลย     โรงเรียนให้ใช้ในชั่วโมงวาดเขียน  เอาไว้ตัดเส้น
ปากกาคอแร้งประกอบด้วยด้ามกับหัว  หัวถอดเปลี่ยนได้    เป็นอุปกรณ์การเขียนที่ยุ่งยากอีกแบบหนึ่ง  ที่เจอบ่อยที่สุดคือเขียนๆไป ปลายปากกาซีกหนึ่งหักเปีาะ  ใช้ไม่ได้อีก ต้องเปลี่ยนหัว   นอกจากนั้นหมึกก็ออกมาเลอะเทอะยิ่งกว่าปากกาหมึกซึม   ทำเอารูปที่วาดไว้ดีๆแล้วเจ๊งไปหมดทั้งแผ่นตอนตัดเส้นนี่เอง

ทีแรกนึกชื่อปากกาหมึกซึมที่ใช้ประจำไม่ออก    จนคุณ Choo พูดถึงยี่ห้อ pilot จึงนึกออกว่าเคยใช้กันกว้างขวางในหมู่นักเรียน     ดิฉันก็ใช้เหมือนกันค่ะ   
เป็นปากการาคาเยา ที่มีสีสวยๆให้เลือกมากกว่าเชฟเฟอร์กับปาร์คเกอร์ซึ่งมีสีดำเป็นส่วนใหญ่
ปากกา pilot ที่เคยใช้  สีแดงเหมือนในรูปข้างล่างนี้ค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 12 มี.ค. 19, 10:51

โฆษณาปากกาหมึกซึมและน้ำหมึก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 12 มี.ค. 19, 10:53

อีกยี่ห้อหนึ่ง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 12 มี.ค. 19, 11:00

หมึกยอดนิยมในโรงเรียนไม่ใช่เกฮา แต่เป็นหมึก Quink 
หมึกควิ้งค์มีหลายเฉดสี   ทางร.ร.ไม่อนุญาตให้ใช้สีอื่นนอกจากน้ำเงิน  แต่น้ำเงินก็ยังมี royal blue  สีน้ำเงินสด  เขียนลงกระดาษขาวแล้วอ่านสบายตา สวยมาก     อีกสีคือ blue black  สีน้ำเงินแก่เกือบดำ   สีนี้เหมาะกับผู้ใหญ่ใช้เซ็นหนังสือ       


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 12 มี.ค. 19, 11:14

สะดุดตาที่คำว่า "มีดหลาวดินสอ" ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 12 มี.ค. 19, 11:27

คงสะกดตามเสียงเรียกค่ะ  ไม่ได้ดูจากพจนานุกรม (ในยุคนั้น มีแต่พจนานุกรมปี 2493    ซึ่งเก็บคำนี้ไว้หรือเปล่าก็ไม่ทราบ)
เหลา เป็นเสียงสั้น    หลาว เป็นเสียงยาว

ถ้าออกเสียงตามเสียงเรียกในสมัยนั้น   จะเป็นว่า "หลาวดินสออยู่ในเหลา"  ไม่ใช่ "เหลาดินสออยู่ในเหลา"
แต่พจนานุกรมไปกำหนดให้เขียนว่า เหลา  แทนค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 12 มี.ค. 19, 11:39

ปากกาลูกลื่นยอดนิยมเมื่อ 50+ ปีก่อน คือปากกา BIC  สมัยออกวางจำหน่ายมีแบบเดียวสีเดียวคือเป็นแท่งผอมๆ ยาวๆ สีเหลืองอ๋อย มีปลอกสีน้ำเงินสด    ไม่รู้สึกว่าสวยทั้งสีด้ามและสีปลอก   แต่ว่าใช้ง่าย สะดวกสบาย ไม่เลอะเทอะ  หมึกแห้งก็บรรจุเยอะมาก ใช้เท่าไหร่ไม่หมด  ไม่เหมือนหมึกซึมที่ต้องเติมทุกวัน   


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 12 มี.ค. 19, 12:36

พูดถึงอุปกรณ์การเรียนแล้วก็ขอเล่าต่อถึงหนังสือเรียน   50+ ปีก่อน มีหนังสือเรียนดีๆ มีคติสอนใจ  แต่ออกแบบไม่สวยเลย
เหมือนกำหนดไว้ว่าหนังสือเรียนต้องหน้าตาเคร่งขรึมเอางานเอาการ  จะมาทำสวยๆงามๆเหมือนหนังสืออ่านเล่นไม่ได้
เช่นเรื่องนกกางเขน

สมัยนั้นเรียกระดับว่า ประโยค
ประโยคประถม  ประโยคมัธยม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 12 มี.ค. 19, 12:43

เคยคุยเรื่องหนังสือเรียนภาษาไทยในยุคก่อนกันมาแล้ว ในกระทู้นี้ค่ะ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6005.90
บันทึกการเข้า
choo
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 13 มี.ค. 19, 19:58

เมือพูดถึงการเรียนเมื่อ 50+ ปีก่อนเด็กที่เรียนในชั้นที่ไม่ใช่อยู่ในชั้นระดับประโยค(คือ ป 4,ม 3,ม 6)ถ้าเรียนดีมากถึงระดับที่กำหนดจะสามารถ pass ชั้นคือข้ามไปเรียนในชั้นถัดไปได้หลังประกาศผลสอบเทอมต้นแล้ว ไม่ทราบว่าในปัจจุบันยังมีอีกหรือไม่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 13 มี.ค. 19, 20:04

   โรงเรียนดิฉันไม่มี pass ชั้นค่ะ มีแต่ซ้ำซั้น      ไม่ทราบโรงเรียนอื่นๆเป็นยังไง
   จำได้รางๆว่ามีการสอบเทียบ  เป็นคนละแบบกับ pass ชั้น    สองเทียบนี้คือโดดข้ามชั้นเรียนไปเลยเหมือนเรียน กศน.
   เรียกสั้นๆว่า  4 3 6  8    คือสอบเทียบป. 4  แล้วมาสอบเทียบม. 3  แล้วก็สอบเทียบม. 6  แล้วไปสอบเทียบม. 8
   พวกหัวดี เลือกสอบเทียบ แล้วสอบเข้ามหาวิทยาลัยไปเลย      มีหลายคนสอบติดแพทย์ด้วย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง