เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 45112 บ้านเมืองเมื่อ 50+ ปีก่อน
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 09 มี.ค. 19, 07:30

เห็นรถขายผลไม้ดองแล้วนึกถึงลุงเทียมมี่พ่อค้าผลไม้ดอง คนดังของจุฬาฯ เมื่อ ๔๐-๕๐ ปีก่อน  ยิงฟันยิ้ม

ชื่อจริงของลุงเทียมมี่คือ เทียมซ้ง แซ่ลิ้ม ลูกค้าคนสำคัญคือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ซึ่งขณะศึกษาอยู่ที่จุฬาฯ ทรงโปรดเสวยมะม่วงดองเทียมมี่เป็นอย่างมาก หากไม่มาซื้อด้วยพระองค์เองก็จะต้องให้พระสหายสนิทมาซื้อให้ แม้เมื่อจบไปแล้วก็ยังทรงรับสั่งถามหาตาแป๊ะแก่ ๆ  ที่ขายผลไม้ดองสมัยทรงเป็นนิสิต ลุงเทียมมี่จึงได้เข้าเฝ้าฯ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งเป็นวันครบรอบ ๖๘ ปีของจุฬาฯ ด้วยชุดสูทสากลที่แปลกตาไปจากเดิม เพราะชุดประจำตัวของเขาคือเสื้อแขนสั้น กางเกงขาสั้น ไม่สวมรองเท้าเป็นส่วนใหญ่

จาก FB หอประวัติจุฬาฯ
https://www.facebook.com/MemorialHallOfChulalongkornUniversity/photos/a.102930363199043/266781320147279?type=3&sfns=mo



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 09 มี.ค. 19, 07:49

รุ่นลูกของลุงเทียมมี่คือ ลุงฟรุตตี้ ไม่ได้เข็นรถขายแล้ว แต่ขับเวสป้ามีถังสเตนเลสบรรจุผลไม้แช่เย็นขายในจุฬาฯ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 09 มี.ค. 19, 12:14

บรรยากาศการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๑๔ ใช้ต้นมะขามสนามหลวงเป็นที่ติดโปสเตอร์หาเสียง ความจริงนอกจากต้นมะขามแล้วตามเสาไฟฟ้า กำแพง และผนังอาคาร ล้วนมีชะตากรรมเดียวกัน  ยิงฟันยิ้ม

ขอใหสังเกตวันเลือกตั้งในโปสเตอร์เป็นวันศุกร์ไม่ใช่วันอาทิตย์ และอีก ๓ เดือนต่อมาก็มี รัฐประหาร
 เศร้า


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 10 มี.ค. 19, 10:11

กล่าวกันว่า การเลือกตั้ง ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐  "สกปรกที่สุดในประวติศาสตร์"  ตกใจ

ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีนวัตกรรม "ผ้าเช็ดหน้าหาเสียง" ผู้สมัครผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร พรรคมนังคศิลา  ๙ คน  ซึ่งน่าจะใช้ครั้งแรกในประวัติศาสตร์เช่นกัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 10 มี.ค. 19, 10:20

อีกเวอร์ชั่นหนึ่ง แถลงนโยบายบนผ้าเช็ดหน้า ห้อยท้ายด้วยการหาเสียงเป็นผู้แทนจังหวัดนครนายกของท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 10 มี.ค. 19, 17:12

62  ปีมาแล้ว
นี่คือภาพขบวนหาเสียงลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของ เจ้าประดิษฐ์ ณ น่าน ในนามพรรคเสรีมนังคศิลา ที่มีการฟ้อนเพื่อเรียกความสนใจจากประชาชนประมาณต้นปี พ.ศ. 2500


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 10 มี.ค. 19, 17:15

คู่มือประชาชนในเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2500

หนังสือเชิญชวนให้ประชาชนไปเลือกตั้งเมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500
ขั้นตอนที่ต่างจากปัจจุบันเห็นจะเป็นวิธีการลงคะแนน สมัยนั้นใช้วิธีฉีกตามรอบปรุและทากาวแล้วปิดไปที่ใบ "เครื่องหมายประจำตัวผู้สมัคร" เบอร์ที่อยู่ตรงกลางแผ่นคงฉีกยากหน่อย

อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=klongrongmoo&month=11-05-2011&group=17&gblog=2


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 10 มี.ค. 19, 19:12

หนังสือเชิญชวนให้ประชาชนไปเลือกตั้งเมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500
ขั้นตอนที่ต่างจากปัจจุบันเห็นจะเป็นวิธีการลงคะแนน สมัยนั้นใช้วิธีฉีกตามรอบปรุและทากาวแล้วปิดไปที่ใบ "เครื่องหมายประจำตัวผู้สมัคร" เบอร์ที่อยู่ตรงกลางแผ่นคงฉีกยากหน่อย

เป็นวิธีที่ยุ่งยากมาก ใครเป็นคนคิดวิธีนี้หนอ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 10 มี.ค. 19, 20:45

บุคคลสำคัญแถวหน้าของประเทศ เมื่อ 62 ปีก่อน
จอมพล ป. พิบูลสงคราม   พลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์(ยศในขณะนั้น)  และพล.อ.อ. บุญชู จันทรุเบกษา


บันทึกการเข้า
choo
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 10 มี.ค. 19, 20:54

หนังสือเชิญชวนให้ประชาชนไปเลือกตั้งเมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500
ขั้นตอนที่ต่างจากปัจจุบันเห็นจะเป็นวิธีการลงคะแนน สมัยนั้นใช้วิธีฉีกตามรอบปรุและทากาวแล้วปิดไปที่ใบ "เครื่องหมายประจำตัวผู้สมัคร" เบอร์ที่อยู่ตรงกลางแผ่นคงฉีกยากหน่อย

เป็นวิธีที่ยุ่งยากมาก ใครเป็นคนคิดวิธีนี้หนอ  ยิงฟันยิ้ม
 

คนที่อ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ถ้ามาลงคะแนนจะทำอย่างไรจะเลือกเบอร์แปะถูกตามต้องการไหมหนอ
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 11 มี.ค. 19, 07:18

ถ้าแปะกาวไม่ติด หรือเลอะออกมาทับเครื่องหมาย หรือแปะเอียงๆ ไปบ้าง จะถือเป็นบัตรเสียไหมครับ เพราะผมคงมีปัญหาเรื่องนี้แน่นอน
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 11 มี.ค. 19, 09:43

คงเป็นเพราะปัญหาการไม่รู้หนังสือแหละครับ เลยให้ใช้แปะเอา เพราะสามารถนับจุด เพื่อบ่งบอกหมายเลขเอาได้

แต่... ถ้าทำเพื่อผู้ลงคะแนนที่ไม่รู้หนังสือ แล้วผู้ลงคะแนนเหล่านั้น จะอ่านคำอธิบายแล้วทำถูกวิธีได้อย่างไรกันหละครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 11 มี.ค. 19, 10:26

เทคโนโลยีตัดแปะถูกใช้ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในอดีต อาจเนื่องมาจากสมัยนั้น "ปากกาลูกลื่น" ยังไม่มีขายในเมืองไทย

ปากกาลูกลื่นเป็นผลงานของ ๒ พี่น้องฮังกาเรียนตระกูล Biro จดสิทธิบัตรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๘ ที่อเมริกาผลิตออกขายเชิงพาณิชย์ในยี่ห้อ "Reynolds" ราคาด้ามละ ๑๐ ดอลลาร์ พ.ศ. ๒๔๙๒ ที่ฝรั่งเศสผลิตขายในยี่ห้อ "Bic" ขายในยุโรป  อีกสิบปีต่อมาจึงส่งไปขายที่อเมริกาในราคาเพียง ๒๙ เซนต์

http://www.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/howstuff1/ballpen/penthai2.htm
https://en.wikipedia.org/wiki/Ballpoint_pen
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 11 มี.ค. 19, 20:46

ใช้ดินสอดำได้ไหมคะ
ถ้ามีรอยลบ ขูดขีด ก็ถือเป็นบัตรเสีย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 11 มี.ค. 19, 20:58

การใช้ดินสอน่าจะมีปัญหาหลายอย่าง คือไส้ดินสอหักและกุดได้ อีกทั้งคุณภาพของไส้ดินสอบางแท่งอาจไม่เข้มพอและเลือนได้ง่าย  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.13 วินาที กับ 19 คำสั่ง